การจลาจล

(เปลี่ยนทางจาก จลาจล)

การจลาจล เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อความไม่สงบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทรัพย์สินหรือประชาชน ซึ่งมีลักษณะเป็นการปรากฏตัวออกมาทันใดของกลุ่มคนที่ไม่มีการจัดระเบียบและหุนหันพลันแล่นที่จะใช้ความรุนแรง ถึงแม้ว่าอาจมีคนหรือกลุ่มคนพยายามที่จะนำหรือควบคุมการจลาจล แต่ส่วนใหญ่แล้วการจลาจลมักไร้ระเบียบเป็นธรรมดาและแสดงพฤติกรรมฝูง

การจุดไฟเผารถยนต์ระหว่างการจลาจล

การจลาจลมักเกิดขึ้นเป็นปฏิกิรยาจากการได้รับความเดือดร้อนหรือการแสดงความไม่เห็นด้วย ในประวัติศาสตร์ การจลาจลเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับค่าแรงต่ำหรือคุณภาพชีวิต รัฐบาล การกดขี่ ภาษีหรือการเกณฑ์ทหาร ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเชื้อชาติ การขาดแคลนอาหารหรือความขัดแย้งทางศาสนา ผลจากการแข่งขันกีฬาหรือความไม่พอใจกับช่องทางของกฎหมายผ่านการแสดงความคับข้องใจ

การจลาจลมักเกี่ยวข้องกับการทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน ทรัพย์สินที่ตกเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของการจลาจลและการโน้มเอียงทางความคิด เป้าหมายสามารถรวมไปถึงร้านค้า รถยนต์ ร้านอาหาร สถาบันของรัฐหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา

ผู้ก่อการจลาจลจำนวนหนึ่งค่อนข้างมีความชำนาญในการทำความเข้าใจและการสกัดยุทธวิธีที่ตำรวจใช้ในสถานการณ์จลาจล คู่มือสำหรับการจลาจลให้ประสบความสำเร็จสามารถเข้าถึงได้บนอินเทอร์เน็ต คู่มือเหล่านี้ยังกระตุ้นให้ผู้ก่อการจลาจลนำสื่อเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากพบว่าการมีกล้องไปด้วยจะมีความปลอดภัยและได้รับความสนใจมากกว่า พลเมืองที่มีกล้องวิดีโอยังสามารถมีผลกระทบต่อทั้งผู้ก่อการจลาจลและตำรวจได้

เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนสวมเกราะลำตัวและโล่

การรับมือกับการจลาจลมักจะเป็นงานยากของกรมตำรวจบ่อยครั้ง และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกส่งตัวไปรับมือกับการจลาจลมักจะถือโล่ยุทธวิธีและลูกซองปราบจลาจล ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการกระจายที่กว้างกว่าของล้ากล้องสั้น ตำรวจยังอาจใช้แก๊สน้ำตาหรือแก๊สซีเอสเพื่อหยุดผู้ก่อการจลาจล ตำรวจปราบจลาจลส่วนใหญ่ใช้วิธีอาวุธไม่ร้ายแรงในการควบคุมฝูงชน อย่างเช่น ปืนลูกซองที่ยิงกระสุนยางและกระสุนถุงตะกั่วเพื่อทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือทำให้ผู้ก่อการจลาจลง่ายต่อการจับกุม

การรับมือ

แก้

ตำรวจมักจะเป็นผู้รับผิดชอบการรับมือกับการจลาจล (การควบคุมฝูงชน) ถึงแม้ว่าวิธีการควบคุมฝูงชนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ยุทธวิธีและอาวุธที่ใช้สามารถรวมไปถึงสุนัขจู่โจม ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง กระสุนพลาสติก กระสุนยาง สเปรย์พริกไทย กระสุนถุงตะกั่ว และยุทธวิธีสแนทช์สควอด ซึ่งถึงแม้ว่าจะได้รับการอธิบายว่าเป็นอาวุธไม่ร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิต ก็มีประชาชนบางส่วนที่ได้รับการระบุว่าเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการใช้งาน

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แก้
  • Applegate, Col. Rex (1992). Riot Control: Materiel and Techniques. Paladin Press. ISBN 9780873642088.
  • Beene, Capt. Charles (2006). Riot Prevention and Control: A Police Officer's Guide to Managing Violent and Nonviolent Crowds. Paladin Press. ISBN 1581605188.
  • Bessel, Richard Emsley, Clive (2000). Patterns of Provocation: Police and Public Disorder. Berghahn Books. ISBN 1571812288.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Hernon, Ian (2006). Riot!: Civil Insurrection from Peterloo to the Present Day. Pluto Press. ISBN 0745325386.
  • Waddington, P. A. J. (1991). The Strong Arm of the Law: Armed and Public Order Policing. Clarendon Press. ISBN 0198273592.

ดูเพิ่ม

แก้