ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์

ประเภทของดาวเคราะห์
(เปลี่ยนทางจาก ดาวแก๊สยักษ์)

ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ (อังกฤษ: Gas giant) เป็นดาวเคราะห์ยักษ์ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่[1] ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์คือดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ในระบบสุริยะ ในช่วงคริสตทศวรรษ 1990 ค้นพบว่าดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนนั้นเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่ต่างประเภทกับดาวเคราะห์แก๊สยักษ์โดยสิ้นเชิง เนื่องจากมีส่วนประกอบเป็นสสารระเหยที่มีมวลมากกว่า (คือ "น้ำแข็ง") ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนจึงถูกจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์[2]

ภาพของดาวพฤหัสบดี ถ่ายภาพโดยยาน นิวฮอไรซันส์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007
ภาพดาวเสาร์ในช่วงวิษุวัต ถ่ายภาพโดย กัสซีนี ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009

ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ "ดั้งเดิม" คือดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีส่วนประกอบโดยพื้นฐานเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม ส่วนดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนอาจจัดเป็นประเภทย่อยอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์" เพราะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น น้ำ แอมโมเนีย และมีเทน ส่วนไฮโดรเจนกับฮีเลียมจะอยู่ในส่วนรอบนอกสุดของดาว สำหรับกลุ่มดาวเคราะห์นอกระบบ "ดาวพฤหัสบดีร้อน" (Hot Jupiter) คือดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่โคจรใกล้กับดาวฤกษ์ของมันมากและมีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงมาก ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้เราสามารถตรวจจับมันพบได้ง่าย ลักษณะของดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมากที่ค้นพบ จะเป็นแบบดาวพฤหัสบดีร้อนเกือบทั้งหมด

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. D'Angelo, G.; Lissauer, J. J. (2018). "Formation of Giant Planets". ใน Deeg H., Belmonte J. (บ.ก.). Handbook of Exoplanets. Springer International Publishing AG, part of Springer Nature. pp. 2319–2343. arXiv:1806.05649. Bibcode:2018haex.bookE.140D. doi:10.1007/978-3-319-55333-7_140. ISBN 978-3-319-55332-0. S2CID 116913980.
  2. National Aeronautics and Space Administration website, Ten Things to Know About Neptune