กัสซีนี–เฮยเคินส์
ภารกิจ กัสซีนี–เฮยเคินส์ (Cassini–Huygens) หรือตามสื่อนิยมเขียนเป็น แคสสินี–ฮอยเกนส์ เป็นความร่วมมือระหว่างนาซา, องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศอิตาลี (ASI) เพื่อส่งยานไปศึกษาดาวเสาร์และระบบดาวเสาร์ อันรวมถึงวงแหวนดาวเสาร์และดาวบริวาร ยานอวกาศหุ่นยนต์ไร้คนบังคับชั้นแฟลกชิปประกอบด้วยยานกัสซีนีของนาซา และส่วนลงจอดเฮยเคินส์ของ ESA ซึ่งจะลงจอดบนไททัน ดาวบริวารใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ กัสซีนีเป็นยานอวกาศลำที่สี่ที่เยือนดาวเสาร์และเป็นลำแรกที่เข้าสู่วงโคจร ยานนี้ตั้งชื่อตามโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี และคริสตียาน เฮยเคินส์ นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์
กัสซีนี–เฮยเคินส์ | |
---|---|
ภาพยาน กัสซีนี โคจรรอบดาวเสาร์โดยศิลปิน | |
ประเภทภารกิจ | กัสซีนี: โคจรรอบดาวเสาร์ เฮยเคินส์: จอดบนดวงจันทร์ไททัน |
ผู้ดำเนินการ | กัสซีนี: NASA / JPL เฮยเคินส์: ESA / ASI |
COSPAR ID | 1997-061A |
SATCAT no. | 25008 |
เว็บไซต์ | |
ระยะภารกิจ |
|
ข้อมูลยานอวกาศ | |
ผู้ผลิต | กัสซีนี: Jet Propulsion Laboratory เฮยเคินส์: Thales Alenia Space |
มวลขณะส่งยาน | 5,712 kg (12,593 lb)[1][2] |
มวลแห้ง | 2,523 kg (5,562 lb)[1] |
กำลังไฟฟ้า | ~885 วัตต์ (BOL)[1] ~670 วัตต์ (2010)[3] ~663 วัตต์ (EOM/2017)[1] |
เริ่มต้นภารกิจ | |
วันที่ส่งขึ้น | 08:43:00, 15 ตุลาคม 2540 (UTC) |
จรวดนำส่ง | Titan IV(401)B B-33 |
ฐานส่ง | Cape Canaveral SLC-40 |
สิ้นสุดภารกิจ | |
การกำจัด | บังคับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวเสาร์[4][5] |
ติดต่อครั้งสุดท้าย | 15 กันยายน พ.ศ.2560
|
ลักษณะวงโคจร | |
ระบบอ้างอิง | Kronocentric |
บินผ่านดาวศุกร์ (Gravity assist) | |
เข้าใกล้สุด | 26 เมษายน พ.ศ.2541 |
ระยะทาง | 283 km (176 mi) |
บินผ่านดาวศุกร์ (แรงโน้มถ่วง) | |
เข้าใกล้สุด | 24 มิถุนายน พ.ศ.2542 |
ระยะทาง | 623 km (387 mi) |
บินผ่านระบบโลก-ดวงจันทร์ (แรงโน้มถ่วง) | |
เข้าใกล้สุด | 18 สิงหาคม พ.ศ.2542, 03:28 UTC |
ระยะทาง | 1,171 km (728 mi) |
บินผ่าน2685 Masursky (โดยบังเอิญ) | |
เข้าใกล้สุด | 23 มกราคม พ.ศ.2543 |
ระยะทาง | 1,600,000 km (990,000 mi) |
บินผ่านดาวพฤหัส (แรงโน้มถ่วง) | |
เข้าใกล้สุด | 30 ธันวาคม พ.ศ.2543 |
ระยะทาง | 9,852,924 km (6,122,323 mi) |
ยานอวกาศโคจรรอบ ดาวเสาร์ | |
แทรกวงโคจร | 1 กรกฎาคม พ.ศ.2547, 02:48 UTC |
ยานลงจอด ไททัน | |
ส่วนประกอบยานอวกาศ | เฮยเคินส์ |
วันที่ลงจอด | 14 มกราคม พ.ศ.2548 |
ยานโดยสารไปกับไททัน 4บี/เซ็นทอร์เมื่อวันี่ 15 ตุลาคม 2540 ปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลากว่า 19 ปี โดยใช้เวลา 13 ปีโคจรรอบดาวเสาร์ แล้วศึกษาดาวเคราะห์และระบบดาวหลังเข้าสู่โคจรเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 การเดินทางสู่ดาวเสาร์มีการบินผ่านดาวศุกร์ (เมษายน 2541 ถึงกรกฎาคม 2542) โลก (สิงหาคม 2542) ดาวเคราะห์น้อย 2685 มาเซอร์สกี และดาวพฤหัสบดี (ธันวาคม 2543) ภารกิจสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2560 เมื่อกัสซีนีได้รับคำสั่งให้บินเข้าชั้นบรรยากาศบนของดาวเสาร์และถูกเผาไหม้เพื่อป้องกันความเสี่ยงการทำให้ดาวบริวารของดาวเสาร์ปนเปื้อนจุลชีพจากโลกที่ติดไปกับยาน ทั้งนี้ ดาวบริวารของดาวเสาร์บางดวงมีสิ่งแวดล้อมที่อาจมีสิ่งมีชีวิตได้ ภารกิจดังกล่าวเป็นที่รู้กันแพร่หลายว่าประสบความสำเร็จเหนือความคาดหมาย ผู้อำนวยการกองวิทยาดาวเคราะห์ของนาซาเรียก กัสซีนี–เฮยเคินส์ ว่าเป็น "ภารกิจแห่งครั้งแรก" ซึ่งปฏิบัติความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับระบบดาวเสาร์ ซึ่งรวมทั้งดาวบริวารและวงแหวน และความเข้าใจว่าอาจพบสิ่งมีชีวิตได้ในระบบสุริยะ
ภารกิจดั้งเดิมของกัสซีนีวางแผนไว้กินเวลาสี่ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 ถึงพฤษภาคม 2551 ต่อมาภารกิจถูกขยายเวลาไปสองปีถึงเดือนกันยายน 2553 เรียก ภารกิจวิษุวัตกัสซีนี (Cassini Equinox Mission)[7] และขยายเวลาครั้งที่สองและครั้งสุดท้ายด้วย ภารกิจอายันกัสซีนี (Cassini Solstice Mission) ที่กินเวลาต่อมาอีกเจ็ดปีถึงวันที่ 15 กันยายน 2560
16 ประเทศในทวีปยุโรปพร้อมทั้งสหรัฐจัดตั้งทีมซึ่งรับผิดชอบต่อการออกแบบ การก่อสร้าง การบิน และการเก็บข้อมูลจากส่วนโคจรกัสซีนีและยานสำรวจเฮยเคินส์ ภารกิจดังกล่าวบริหารจัดการโดยห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซาในสหรัฐ ที่ซึ่งส่วนบนรนโคจรถูกออกแบบและประกอบ การพัฒนายานสำรวจไททันเฮยเคินส์บริหารจัดการโดยศูนย์วิจัยอวกาศและเทคโนโลยียุโรป อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับยานสำรวจดังกล่าวได้รับการจัดหาจากหลายประเทศ องค์การอวกาศอิตาลี (ASI) จัดหาเสาวิทยุกำลังขยายสูงของยานสำรวจกัสซีนี และเรดาร์น้ำหนักเบาและกะทัดรัด ซึ่งทำหน้าที่อเนกประสงค์ทั้งเป็นการถ่ายภาพจากเรดาร์ (synthetic aperture radar) มาตรความสูงเรดาร์และมาตรรังสี
กัสซีนีได้รับพลังงานโดยพลูโทเนียม-238 หนัก 32.7 กิโลกรัม[8] โดยเป็นความร้อนจากการสลายกัมมันตรังสีของธาตุนั้นและเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เฮยเคินส์ได้รับการสนับสนุนโดยกัสซีนีระหว่างการเดินทาง และเมื่อแยกออกมาใช้แบตเตอรีเคมี
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Cassini–Huygens: Quick Facts". NASA. สืบค้นเมื่อ August 20, 2011.
- ↑ Krebs, Gunter Dirk. "Cassini / Huygens". Gunter's Space Page. สืบค้นเมื่อ June 15, 2016.
- ↑ Barber, Todd J. (August 23, 2010). "Insider's Cassini: Power, Propulsion, and Andrew Ging". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2012. สืบค้นเมื่อ August 20, 2011.
- ↑ Brown, Dwayne; Cantillo, Laurie; Dyches, Preston (September 15, 2017). "NASA's Cassini Spacecraft Ends Its Historic Exploration of Saturn". NASA. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.
- ↑ Chang, Kenneth (September 14, 2017). "Cassini Vanishes Into Saturn, Its Mission Celebrated and Mourned". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.
- ↑ "Cassini Post-End of Mission News Conference" (Interview). Pasadena, CA: NASA Television. September 15, 2017.
- ↑ Brown, Dwayne; Martinez, Carolina (April 15, 2008). "NASA Extends Cassini's Grand Tour of Saturn". NASA / Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ August 14, 2017.
- ↑ Ruslan Krivobok: Russia to develop nuclear-powered spacecraft for Mars mission. Ria Novosti, November 11, 2009, retrieved January 2, 2011
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Cassini-Huygens main page เก็บถาวร 2012-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at NASA
- Cassini Mission Homepage เก็บถาวร 2006-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by the Jet Propulsion Laboratory