ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2499) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 9 สมัย อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตเหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ | |
---|---|
ชินวรณ์ ใน พ.ศ. 2554 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ |
ถัดไป | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2499 อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2525–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | จิรารัตน์ บุญยเกียรติ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้ชินวรณ์ เกิดวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรนายช้น นางพริ้ง บุณยเกียรติ ด้านครอบครัวสมรสกับนางจิรารัตน์ บุญยเกียรติ มีบุตร 4 คน หนึ่งในนั้นคือนางสาวปุณณ์สิริ บุณยเกียรติ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
ด้านการศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์การปกครอง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี พ.ศ. 2525 และระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยทักษิณ
การทำงาน
แก้นายชินวรณ์ เข้าสู่การเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 9 สมัย (พ.ศ. 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554 และ 2562) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำหน่งสำคัญในการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ เลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการเยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2538, 2546 และ 2547 รองประธานคณะกรรมาธิการการติดตามการบริหารงบประมาณปี พ.ศ. 2539, 2544-2547
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเหรัญญิกพรรค[2][3]
ผลงานทางด้านการเมือง
แก้ในการทำงานด้านการเมือง นายชินวรณ์ ได้ทำหน้าที่ต่างๆ เช่น
- เป็นเลขานุการรัฐมนตรี 3 กระทรวง
- กระทรวงต่างประเทศ (ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ)
- กระทรวงศึกษาธิการ (นายอาคม เอ่งฉ้วน)
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอาคม เอ่งฉ้วน)
- เป็นผู้เสนอกระทู้ปากเปล่าคนแรกของเรื่อง การให้เงินแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 10 ล้านของ นายสุขวิช รังสิตพล
- เป็นผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 2 กระทรวง
- อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)
- อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายปองพล อดิเรกสาร)
- อภิปรายไม่ไว้วางใจและยื่นถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอดิศัย โพธารามิก)
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
แก้ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายชินวรณ์ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ถือเป็นแนวร่วมคนสำคัญคนหนึ่ง โดยเป็นผู้รับผิดชอบเวทีชุมนุมที่สวนลุมพินี และแยกศาลาแดง ร่วมกับนายวิทยา แก้วภราดัย แกนนำกปปส.ด้วย[4]
และหลังเหตุการณ์นี้ นายชินวรณ์ก็ได้เข้าอุปสมบทที่วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เหมือนกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ[5]
เกียรติประวัติ
แก้นายชินวรณ์ บุยเกียรติ เคยได้รับรางวัล และมีผลงานดีเด่นในด้านต่างๆ เช่น
- นักเรียนดีเด่น พ.ศ. 2515 สอบได้ที่ 1 ได้รับเกียรติบัตรสภานักเรียน
- นักศึกษาดีเด่น พ.ศ. 2517 ได้รับเกียรติบัตรนักศึกษากิจกรรมดีเด่น
- ครูผู้สอนดีเด่น พ.ศ. 2521 (ครูหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2521)
- ผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น พ.ศ. 2523 ของ สปช.
- เหรียญทองสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2531
- เครื่องหมาย "รักษาดินแดนยิ่งชีพ" กระทรวงมหาดไทย 2540
- รับพระราชทานเหรียญทองคำผู้สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2540
- เครื่องหมาย "เกษตราธิปัตย์" กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2543
- รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยทักษิณ ปี 2546 จาก ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ
- รางวัลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นปี 2546,2547 จาก นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "ชินวรณ์"นั่งเหรัญญิก ปชป. -"ชวนนท์"เกือบวืดตำแหน่งโฆษกพรรค[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ "'ชินวรณ์' ลั่น ปักหลักชัตดาวน์ จนกว่าจะชนะ". ไทยรัฐออนไลน์. 13 Jan 2015. สืบค้นเมื่อ 19 Apr 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วรงค์,ชินวรณ์,เชน 3 ปชป. บวชวัดสวนโมกข์สุราษฎร์". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 31 Jan 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 Apr 2015.
- ↑ ราชกิขจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | ชินวรณ์ บุณยเกียรติ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (15 มกราคม พ.ศ. 2553 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล |