ชาบี อาลอนโซ
ชาบิเอร์ อาลอนโซ โอลาโน (บาสก์: Xabier Alonso Olano) หรือรู้จักในนาม ชาบี อาลอนโซ (Xabi Alonso) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 เป็นอดีตผู้เล่นทีมชาติสเปน โดยตำแหน่งที่ถนัดคือ กองกลางตัวคุมเกม ซึ่งมักจะเล่นในลักษณะครองบอลลึก ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ชาบิเอร์ อาลอนโซ โอลาโน[1] | ||
วันเกิด | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 | ||
สถานที่เกิด | โตโลซา สเปน | ||
ส่วนสูง | 1.83 m (6 ft 0 in)[2] | ||
ตำแหน่ง | กองกลาง | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน (ผู้จัดการทีม) | ||
สโมสรเยาวชน | |||
อันตีโกวโก | |||
เรอัลโซซิเอดัด | |||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1999–2000 | เรอัลโซซิเอดัด เบ | 39 | (2) |
1999–2004 | เรอัลโซซิเอดัด | 114 | (9) |
2000–2001 | → เอย์บาร์ (ยืมตัว) | 14 | (0) |
2004–2009 | ลิเวอร์พูล | 143 | (15) |
2009–2014 | เรอัลมาดริด | 158 | (4) |
2014–2017 | ไบเอิร์นมิวนิก | 79 | (5) |
รวม | 547 | (35) | |
ทีมชาติ‡ | |||
2000 | สเปน อายุไม่เกิน 18 ปี | 1 | (0) |
2002–2003 | สเปน อายุไม่เกิน 21 ปี | 9 | (0) |
2003–2014 | สเปน | 114 | (16) |
2001–2012 | บาสก์ | 5 | (0) |
จัดการทีม | |||
2019–2022 | เรอัลโซซิเอดัด เบ | ||
2022– | ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2014 |
อาลอนโซเริ่มต้นชีวิตนักฟุตบอลอาชีพกับทีมเรอัลโซซิเอดัด โดยถูกยืมตัวไปเล่นระยะสั้น ๆ ให้กับเอเซเด เอย์บาร์ ก่อนจะกลับมาลงเล่นในลาลิกา ผู้จัดการทีมเรอัลโซซิเอดัดในขณะนั้น จอห์น โทแช็ก ตั้งอาลอนโซเป็นกัปตันทีม และอาลอนโซก็ทำหน้าที่ได้ดีโดยพาเรอัลโซซิเอดัดไปถึงตำแหน่งรองแชมป์ลาลิกา ฤดูกาล 2002–03 หลังจากนั้นอาลอนโซได้ย้ายไปร่วมทีมกับลิเวอร์พูล ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 ด้วยค่าตัว 10.5 ล้านปอนด์ โดยฤดูกาลแรกที่มาถึงก็ช่วยให้ลิเวอร์พูลได้รับตำแหน่งแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเหนือเอซีมิลาน และในฤดูกาลต่อมาก็ได้แชมป์คอมมิวนิตีชีลด์และเอฟเอคัพ เขาย้ายมาอยู่กับเรอัลมาดริดเมื่อเริ่มฤดูกาล 2009–10 ด้วยค่าตัว 30 ล้านปอนด์
เขาลงเล่นเกมทีมชาตินัดแรกในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2003 ในชัยชนะ 4–0 ของทีมเหนือทีมชาติเอกวาดอร์ ในการลงแข่งขันในฐานะทีมชาติ อาลอนโซร่วมกับทีมชาติสเปน ชนะการแข่งขันในยูโร 2008, ยูโร 2012 และฟุตบอลโลก 2010 และยังได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมทีมในยูโร 2004 และฟุตบอลโลก 2006 ด้วย ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เขาลงแข่งในนามทีมชาติเป็นนัดที่ 100 ในรอบก่อนชิงชนะเลิศยูโร 2012 แข่งกับทีมชาติฝรั่งเศส ซึ่งเขายิงทั้ง 2 ประตูให้กับทีมชาติสเปน ส่งทีมเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
ประวัติ
แก้วัยเยาว์
แก้อาลอนโซเกิดในครอบครัวฟุตบอล พ่อของเขา เปรีโก อาลอนโซ เคยได้แชมป์ลาลิกา 2 สมัยติดต่อกันร่วมกับเรอัลโซซิเอดัด และครั้งที่ 3 กับบาร์เซโลนา ติดทีมชาติทั้งหมด 20 ครั้ง [3] อาลอนโซเกิดในโตโลซา เมืองเล็ก ๆ ในแคว้นประเทศบาสก์ ประเทศสเปน อาลอนโซอาศัยอยู่ในเมืองบาร์เซโลนา 6 ปีหลังจากนั้นจึงย้ายไปเมืองซานเซบาสเตียน ที่นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของฟุตบอลของเขา ในช่วงวัยเด็กเขามักจะไปเล่นที่ปลายาเดลากอนชา (Shell Beach) [3] เสมอ และมีเพื่อนเล่นที่ชายหาดคือ มีเกล อาร์เตตา ทั้งสองมักจะดวลเทคนิคกันอยู่เสมอ ๆ[4] เขาหมกมุ่นอยู่กับฟุตบอลร่วมกับพ่อและมีเกล พี่ชาย ในศูนย์ฝึกเซเอซาบาเดย์ อาลอนโซได้รับแรงบันดาลใจจากพ่อทำให้ชอบที่จะส่งบอลมากกว่ายิงประตู[5] ในช่วงแรกของอาชีพค้าแข้งเขาเลือกที่จะเล่นเป็นกองกลางตัวรับช่วยให้เขาได้เรียนรู้การถ่ายบอลอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถนี้แหละที่ทำให้เขาเป็นที่ต้องการทั้งในระดับชาติและระดับสโมสร[3]
เมื่ออายุ 15 ปี อาลอนโซ เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองเคลส์ ในเคาน์ตีมีท ประเทศไอร์แลนด์[6] โดยเขาเล่นฟุตบอลเกลิก ทำให้พัฒนาความสนใจในกีฬานี้
อาลอนโซและอาร์เตตาในวัยเด็กฝันว่าจะได้เล่นร่วมกันที่เรอัลโซซิเอดัดเมื่อโตขึ้น ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเรียนต่างโรงเรียนกัน แต่ก็ยังเข้าร่วมกับสมาคมฟุตบอลเยาวชนเดียวกันที่อันตีโกวโก และเล่นร่วมกันที่นั่นทุกสัปดาห์ ความสามารถของพวกเขาทั้งสองเป็นที่เตะตาแมวมองของทีมระดับยักษ์ใหญ่ ทำให้เส้นทางชีวิตหักเหจากเพื่อนสนิทสู่คู่แข่ง อาลอนโซเข้าร่วมทีมเรอัลโซซิเอดัด ส่วนอาร์เตตาเข้าร่วมทีมบาร์เซโลนา[7] อาลอนโซไปอยู่กับเรอัลโซซิเอดัด ที่พี่ชายของเขาก็อยู่ในทีมนี้ด้วย[3]
อาลอนโซผ่านการคัดเลือกระดับเยาวชนและทีมสำรองที่เรอัลโซซิเอดัด และมีผลงานประทับใจให้สามารถเข้าสู่ทีมชุดใหญ่เมื่ออายุ 18 ปี[5] ในเกมโกปาเดลเรย์ พบกับโลโกรเญสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999[8] แต่หลังจากเกมนั้นก็ไม่ได้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่อีกเลย แต่แล้วโอกาสก็มาถึงอีกครั้งในฤดูกาลถัดมา ต้นฤดูกาล 2000–01 คาเบียร์ เกลเมนเต ส่งอาลอนโซลงเล่นในเซกุนดาลีกากับเอเซเด เอย์บาร์เพื่อหาประสบการณ์ พ่อของเขาคิดว่าการได้เล่นร่วมกับทีมเล็ก ๆ จะช่วยให้เขาพัฒนาได้ดี[5] แต่โซซิเอดัดก็เปลี่ยนผู้จัดการเมื่อทีมต้องจมอยู่ท้ายตารางตั้งแต่เปิดฤดูกาลจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 โซซิเอดัดตั้งจอห์น โทแช็กขึ้นเป็นผู้จัดการ ผู้จัดการทีมคนใหม่แต่งตั้งเขาในวัยเพียง 19 ปีเป็นกัปตันทีมซึ่งโดยปกติแล้วตำแหน่งนี้จะเป็นของนักเตะรุ่นใหญ่ในทีม[3] ตอนท้ายฤดูกาลโซซิเอดัดปีนกลับจากขุมนรกได้โดยจบที่อันดับ 14 ของฤดูกาล โทแช็กกล่าวชื่นชมอาลอนโซเป็นอย่างมาก โดยกล่าวว่า "ทุกอย่างในสโมสรไม่มีอะไรเป็นที่น่าประทับใจเลย เว้นแต่นักเตะจากทีมเยาวชนเท่านั้น"[3]
เรอัลโซซิเอดัด
แก้ภายใต้การนำของจอห์น โทแช็ก ทีมของกัปตันอาลอนโซพลิกฟอร์มจากหน้ามือเป็นหลังมือ โทแช็กรู้ถึงความสามารถของอาลอนโซ จึงได้ทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อมและคิดวิธีการฝึกในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับกัปตันหนุ่มของเขา โดยเฉพาะการจับและควบคุมบอล[9] ในปี 2001–02 โซซิเอดัดจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13 โดยอาลอนโซลงเล่นไปทั้งหมด 30 เกมและยิงประตูแรกในลีกของเขาได้ในฤดูกาลนี้เอง และยิงรวมไปทั้งสิ้น 3 ประตู โซซิเอดัดเปลี่ยนผู้จัดการอีกครั้งเป็นเรนัลด์ เดอนูอิกซ์แต่ก็ยังไว้วางใจอาลอนโซเช่นเดิม[10]
ฤดูกาล 2002–03 เป็นปีที่ทำผลงานได้ดีที่สุดนับตั้งสโมสรได้แชมป์ลาลิกาครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1981–1982 โดยจบฤดูกาลด้วยอันดับรองแชมป์ตามหลังเรอัลมาดริดแค่ 2 คะแนน และก็เป็นคะแนนสูงสุดที่สโมสรเคยได้ และผ่านเข้าไปเล่นในแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรก อาลอนโซได้รับคำชมเป็นอย่างมากในบทบาทของกองกลางตัวรับรวมไปถึงได้รับรางวัลผู้เล่นสเปนยอดเยี่ยมจากนิตยสารกีฬา ดอนบาลอน และในฤดูกาลนั้นอาลอนโซยิงช่วยทีมไปถึง 12 ประตู (รวมทุกถ้วย)[11] และจากผลงานของเขาทำให้ได้รับการเรียกตัวติดทีมชาติสเปนในสมัยของอีญากี ซาเอซ เกมแรกในนามทีมชาติเป็นชัยชนะในเกมกระชับมิตรเหนือทีมชาติเอกวาดอร์ ในเดือนเมษายน 2003 และอีญากีได้กล่าวชื่นชมเป็นอย่างมากว่า "เขามีลูกส่งระยะไกลที่แม่นยำสูงมาก และมีทัศนวิสัยที่กว้างไกลจริง ๆ"[3]
ฤดูกาล 2003–04 ฤดูกาลแห่งความสับสน ในแชมเปียนส์ลีกโซซิเอดัดผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย แต่ต้องพ่ายให้กับโอลิมปิกลียง ส่วนในลีกก็จบลงด้วยอันดับ 15 การแสดงออกที่ยอดเยี่ยมของอาลอนโซขัดกับผลงานของทีมเป็นอย่างมาก นี่เองเป็นเหตุให้อาลอนโซต้องย้ายออกจากโซซิเอดัด[11] แม้มาดริดจะแสดงความสนใจแต่อาลอนโซก็ยังต้องอยู่กับทีมต่อไป[3] มาดริดไม่อาจยอมจ่ายค่าตัว 13 ล้านปอนด์[11] ในช่วงสิ้นฤดูกาลนี้ อาลอนโซเองก็มีภารกิจต้องรับใช้ชาติในยูโร 2004[12] เขาลงสนามเป็นตัวสำรองในเกมที่สเปนมีชัยเหนือรัสเซีย 1–0 และลงเล่นเต็มเกมพบกับโปรตุเกส และก็ต้องสิ้นสุดแค่นั้นเมื่อสเปนไม่อาจผ่านเข้ารอบต่อไปหลังจากทำคะแนนตามหลังกรีซและโปรตุเกส ถึงแม้จะได้ลงสนามเพียงเล็กน้อยแต่ก็เป็นที่เตะตาของแจน โมลบี ในการส่งบอลที่แม่นยำ[3]
เมื่อตลาดนักเตะเปิดโซซิเอดัดก็ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ มีเกล อาร์เตตา เพื่อนวัยเด็กที่ฝันว่าจะได้เตะบอลร่วมกัน[13] อาร์เตตาตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่จะได้เล่นบอลร่วมกับอาลอนโซอีกครั้ง แต่ความฝันนั้นก็คงอยู่ไม่นาน[4] เมื่อลิเวอร์พูลได้ยื่นข้อเสนอให้แก่โซซิเอดัด และโซซิเอดัดก็ไม่ได้นำอาลอนโซร่วมทีมในเกมช่วงก่อนฤดูกาลด้วย[13] และแล้ววันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2004 โซซิเอดัดก็ได้ประกาศรับข้อเสนอของลิเวอร์พูลที่ 10.5 ล้านปอนด์[8][14] อาลอนโซไม่ได้เสียใจเลยกับการไม่ได้ย้ายไปมาดริดเมืองที่เป็นคู่อริของแคว้นประเทศบาสก์ ซึ่งไม่มีวันกลายเป็นจริง ในทางกลับกันเขามุ่งมั่นเต็มที่กับสโมสรใหม่ภายใต้การคุมทีมของราฟาเอล เบนีเตซอดีตผู้จัดการทีมบาเลนเซีย[3]
ลิเวอร์พูล
แก้2004–05 ชัยชนะในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
แก้อาลอนโซย้ายมาลิเวอร์พูลพร้อม ๆ กับลุยส์ การ์ซีอา ซานซ์จากบาร์เซโลนาเป็นการเปิดยุคใหม่ของลิเวอร์พูล ผู้จัดการทีมคนใหม่ของลิเวอร์พูล ราฟาเอล เบนีเตซ พยายามปฏิวัติสโมสรโดยรวมไปถึงการยกเครื่องผู้เล่นใหม่หมดเพื่อให้เข้ากับรูปแบบและแทคติกของเขา[15] กองกลางจอมเทคนิคชาวสเปนรายนี้ เป็นผู้เล่นคนแรกที่เบนีเตซซื้อเข้ามาและเขาก็ได้ใช้จุดเด่นของเขาให้เป็นประโยชน์กับทีม และสร้างความแตกต่างให้กับทีม[14][16] อาลอนโซเริ่มเกมพรีเมียร์ลีกของเขาในเกมพบกับโบลตันวันเดอเรอส์ที่รีบอกสเตเดียม เมื่อ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2004 [8] ถึงแม้ลิเวอร์พูลจะแพ้ไป 1–0 แต่อาลอนโซก็ได้รับคำชื่นชมในการจ่ายบอลเป็นอย่างมากจากกลุ่มผู้สื่อข่าว[17] ในเกมพรีเมียร์ลีกพบกับฟูลัม อาลอนโซยิ่งแสดงความสามารถออกมา โดยลิเวอร์พูลตามหลังอยู่ 2–0 เบนีเตซตัดสินใจส่งอาลอนโซจากม้านั่งสำรองลงสนามในครึ่งหลัง การลงสนามของเขาทำให้ลิเวอร์พูลพลิกกลับมาชนะ 4–2[18] ในเกมนั้นอาลอนโซยิงฟรีคิกเป็นประตูขึ้นนำให้กับลิเวอร์พูล และก็เป็นประตูแรกของเขาในสีเสื้อลิเวอร์พูลด้วย[19]
อาลอนโซยังทำประตูสำคัญอย่างต่อเนื่องให้กับลิเวอร์พูล ทำประตูแรกในแอนฟิลด์กับเกมชนะ 2–1 เหนืออาร์เซนอล[20] เขามีความสุขเป็นอย่างยิ่งที่สามารถเริ่มต้นได้ดีในอังกฤษ "ผมคิดว่าตั้งตัวได้เร็วเหรอ ไม่หรอก คุณก็รู้ว่าการไปอยู่ต่างประเทศต่างวัฒนธรรมเป็นเรื่องยากแค่ไหนแต่คุณก็ต้องยอมรับมัน" "มันน่าตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่สามารถทำประตูได้ที่แอนฟีลด์ ผมเองก็ลองอยู่หลายครั้งแล้วผมก็รู้สึกเยี่ยมมากเมื่อทำได้ ยิ่งในเกมใหญ่อย่างนี้ด้วยแล้ว" [21] ในเกมกับอาร์เซนอล สตีเวน เจอร์ราร์ดหายเจ็บกลับมาลงเล่นได้อีกครั้ง การจับคู่กันของทั้งสองคนเป็นไปอย่างดีต่อเนื่องไปอีกหลายเกมจนกระทั่งอาลอนโซข้อเท้าหักในเกมพ่าย 0–1 ให้กับเชลซี ในวันปีใหม่ ค.ศ. 2005 และต้องหยุดพักไปนานถึง 3 เดือน[22][23]
เขากลับมาลงเล่นอีกครั้งในเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบก่อนรองชนะเลิศนัดที่ 2 พบกับยูเวนตุส แม้อาลอนโซจะมีความสมบูรณ์ของร่างกายไม่เต็มร้อยแต่ก็ต้องลงเล่นเต็มเกมเนื่องจากการบาดเจ็บของเจอราร์ด และลิเวอร์พูลก็ยันเสมอได้ 0–0 ที่อิตาลี ส่งให้ลิเวอร์พูลผ่านเข้ารอบต่อไปด้วยประตูรวม 2–1 [24] เควิน แมกคาร์รา คอลัมนิสต์แห่งหนังสือพิมพ์อังกฤษ เดอะการ์เดียน ยกให้ความสามารถของอาลอนโซเป็นสิ่งชี้นำความสำเร็จโดยกล่าวว่า "ผลการแข่งขันอันแสนวิเศษที่สตาดีโอเดลเลอัลปี เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเทคนิคอันยอดเยี่ยมสามารถลบข้อแตกต่างของร่างกายได้"[25] ในรอบรองชนะเลิศพบกับเชลซี นัดแรกอาลอนโซได้รับใบเหลืองจากการแสดงอารมณ์ฮึดฮัดเล็กน้อยในเกม 0–0 ที่ สแตมฟอร์ดบริดจ์ ทำให้ถูกห้ามลงแข่งในเกมนัดที่ 2[26] อาลอนโซกังวลกับเรื่องนี้และพยายามอุทธรณ์ต่อผู้ตัดสินแต่ไม่ได้ผล[27][28] เป็นกัปตันเจอราร์ดที่กลับมาจากบาดเจ็บในนัดที่สองและนำทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศด้วยประตูชัย 1–0 จากลุยส์ การ์เซีย โดยจะเข้าไปพบกับเอซี มิลาน[29]
พรีเมียร์ลีกปิดฉากลงแล้ว ลิเวอร์พูลได้อันดับ 5 แต่ฤดูกาลแรกของอาลอนโซยังไม่ปิดฉากลง ถ้วยใบใหญ่สุดของยุโรปแชมเปียนส์ลีกรอบชิงชนะเลิศยังรอเขาอยู่ ลิเวอร์พูลตามหลังเอซีมิลานอยู่ 3–0 เมื่อจบครึ่งแรก แต่แล้วก็กลายเป็นมหากาพย์ชั้นเยี่ยม[30] เมื่อลิเวอร์พูลไล่ตามหลังมาเป็น 3–2 และได้ลูกจุดโทษ เป็นอาลอนโซที่ต้องดวลกับดีดา ผู้รักษาประตูทีมชาติบราซิลของเอซีมิลาน ดีดาเซฟได้ในจังหวะแรกแต่อาลอนโซเข้าซ้ำได้ทัน ส่งให้ลิเวอร์พูลกลับมาตีเสมอเอซีมิลานเป็น 3–3[31] และสุดท้ายเป็นลิเวอร์พูลที่ได้แชมป์จากการยิงจุดโทษ (3–2) หลังช่วงต่อเวลา[32] อาลอนโซได้รับคำสรรเสริญเป็นอย่างมากว่าเป็นจุดสำคัญของในการกลับมาของลิเวอร์พูล และเบนีเตซเองก็ได้เพิ่มบทบาทของอาลอนโซต่อทีมมากขึ้น[33][34][35] อาลอนโซตื่นเต้นยินดีกับความสำเร็จนี้เป็นอย่างมากโดยกล่าวว่า "นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตการค้าแข้งของผม"[36] นี่เป็นปีแรกในอังกฤษที่ประสบความสำเร็จอย่างมากของอาลอนโซวัย 23 ปี และแสดงให้เห็นอนาคตอันสดใส
2005–06: ชนะถ้วยเอฟเอคัพ
แก้ปี 2005–06 อาลอนโซลงเล่นในทีมชุดใหญ่อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้รับบาดเจ็บหนักเหมือนฤดูกาลแรก ช่วงปิดฤดูกาล การมาถึงของกองหน้าปีเตอร์ เคราช์ กับส่วนสูงของเขาส่งให้ลิเวอร์พูลปรับเปลี่ยนรูปแบบของทีมเป็นการโยนบอลยาว เคราช์ปฏิเสธว่ามิได้เกิดเพราะการเข้ามาของเขาแต่เป็นเพราะความสามารถในการจ่ายบอลของอาลอนโซและเจอร์ราร์ดที่เป็นผู้กำหนดสไตล์การเล่นของลิเวอร์พูล[37] อาลอนโซต้องต่อสู้มากยิ่งขึ้นเพื่อแย่งตำแหน่งกับโมฮัมเหม็ด ซิสโซโก แต่เมื่อเจอร์ราร์ดได้รับบาดเจ็บและความที่เบนีเตซชอบแผนการเล่นในแบบ 4-5-1 มากกว่า ทำให้อาลอนโซได้ลงเล่นอย่างสม่ำเสมอ อาลอนโซลงเล่นในทุกเกมของลิเวอร์พูลในแชมเปียนส์ลีก แต่ทีมก็ต้องพ่ายตกรอบอย่างรวดเร็วต่อเบนฟีกา ตั้งแต่รอบ 16 ทีมสุดท้าย
7 มกราคม ค.ศ. 2006 ในเอฟเอคัพ รอบสามพบลูตันทาวน์ อาลอนโซช่วยให้ทีมพลิกกลับมาชนะ 5–3 หลังจากทีมต้องตกเป็นรอง 3–1 เมื่อเริ่มครึ่งหลังได้ไม่นาน[38] อาลอนโซทำ 2 ประตู และเป็นลูกยิงระยะไกลทั้ง 2 ประตู ลูกแรกเป็นลูกยิงจากระยะ 35 หลา ส่วนอีกลูกเป็นลูกปิดกล่องจากระยะมากกว่า 65 หลาหลังเส้นกลางสนามด้วยซ้ำ[39][8] และผลที่ตามมาจากประตูของอาลอนโซส่งให้แฟนผู้โชคดีของลิเวอร์พูลคนนึงชนะพนันถึง 25,000 ปอนด์ จากเงินต้น 200 ปอนด์ โดยลงพนันว่าอาลอนโซจะทำประตูได้จากแดนของตัวเอง[40] อาลอนโซได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าในนัดมีชัย 3–1 เหนือพอร์ตสมัท ซึ่งอาจทำให้เขาหมดสิทธิ์ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศ[41] แต่อย่างไรก็ตามเขากลับมาทันลงสนามพบกับเวสต์แฮมได้ แต่อาลอนโซก็ต้องถูกเปลี่ยนตัวออกในช่วงกลางครึ่งหลังเนื่องจากอาการบาดเจ็บ และเป็นสตีเวน เจอร์ราร์ดที่ทำประตูที่ 3 ให้ลิเวอร์พูลตามตีเสมอเวสต์แฮมอย่างเหลือเชื่อในช่วงทดเจ็บ ก่อนจะปิดท้ายด้วยชัยชนะในการดวลจุดโทษเหนือเวสต์แฮม ส่งให้อาลอนโซได้รับเหรียญรางวัลเอฟเอคัพเหรียญแรก[42]
2006–07 และ 2007–08
แก้เป็นอาลอนโซอีกครั้งที่ทำประตูในชัยชนะ 2–0 เหนือนิวคาสเซิล ด้วยสุดยอดลูกยิงประตูจากกลางสนามอีกครั้ง (70 หลา) [43] แอนดี้ ฮันเตอร์ จากดิอินดีเพนเดนต์ ให้คำจำกัดความว่าเป็น "หนึ่งในลูกยิงสุดมหัศจรรย์ในประวัติศาสตร์ 117 ปีของลิเวอร์พูล" [44] อาลอนโซบอกว่าเขาฝึกซ้อมยิงประตูระยะไกลเป็นประจำอยู่แล้วไม่ใช่ลูกฟลุก[45] เมื่อมีคนถามว่าลูกไหนดีกว่ากัน เขาบอกว่า "ผมคิดว่าลูกยิงกับนิวคาสเซิลดีกว่า เพราะลูกที่ยิงกลับลูตันนั้นกระดอนพื้น 2–3 ครั้งก่อนเข้าประตู แต่ลูกนี้ลอยเข้าประตูไปเลย และประตูกับลูตัน ผมใช้เท้าซ้ายยิง มันต่างกัน แต่ผมก็รู้สึกยินดีที่สามารถทำประตูได้" [46] นี่เป็นประตูแรกของเขานับแต่เกมพบกับลูตัน กลายเป็นการยิงประตูจากแดนตัวเอง 2 ลูกติดต่อกัน[43]
8 มิถุนายน ค.ศ. 2007 อาลอนโซต่อสัญญากับลิเวอร์พูลอีก 5 ปีเป็นการสิ้นสุดข่าวลือการย้ายทีม เขาทำผลงานได้ดีหลังจากต่อสัญญา และกล่าวว่า "ผมรู้ว่ามีหลายสโมสรสนใจผม แต่ผมรักที่จะอยู่นี่ ผมอยู่ที่นี่มา 3 ปีแล้ว และมีความรู้สึกพิเศษกับแฟน ๆ ของทีม ผมรู้ว่าสโมสรนี้มีความหมายต่อคนหลายคน และเป็นสโมสรพิเศษที่ผมไม่อยากจากไป"[47] การขาดหายไปของเจอร์ราร์ดในช่วงออกสตาร์ตฤดูกาล 2007–08 ทำให้อาลอนโซต้องมีส่วนในเกมรุกมากขึ้นและเขายิง 2 ประตูในชัยนะ 6–0 เหนือทีมน้องใหม่ดาร์บีเคาน์ตี[48][49] แต่ทว่าการเปิดตัวอย่างสวยงามก็จบลงอย่างรวดเร็วด้วยอาการบาดเจ็บจากเกมกับพอร์ตสมัธ[50] อาการบาดเจ็บที่กระดูกฝ่าเท้าส่งผลให้เขาต้องพักไปถึง 6 สัปดาห์ และเมื่อเร่งการกลับมามากเกินไปทำให้บาดเจ็บซ้ำในเกมแรกที่กลับมา อาลอนโซกล่าวถึงเกมนั้นในภายหลังว่า "ผมรู้สึกเหนื่อยมาก เพราะเป็นเกมแรกที่ได้ลงเล่นและยังเป็นเกมที่เร็วมาก แต่ไม่มีผู้เล่นคนไหนหรอกที่อยากถูกเปลี่ยนตัวออก โดยเฉพาะในเกมที่เรากำลังได้เปรียบ"[51]
อาลอนโซกลับมาจากอาการบาดเจ็บอีกครั้งในช่วงปลายปี 2007 แต่ยังต้องต่อสู้เพื่อแย่งตำแหน่งในทีมอีกร่วมเดือนกับคาเบียร์ มาเชราโน และลูกัส เลย์วา[52][53] ตำแหน่งในทีมของเขาได้รับการการันตีเมื่อใช้กองกลาง 5 คน และแม้ว่าเบนีเตซจะยอมรับว่าอาลอนโซเป็นผู้เล่นระดับสุดยอดก็ตาม แต่เบนีเตซเลือกที่จะใช้เขาเป็นตัวเปลี่ยนเกมและทลายเกมรับของคู่แข่งขันมากกว่า[54][55] อาลอนโซลงเล่นในเกมที่ 100 ให้กับลิเวอร์พูลในวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2008 พบกับมิดเดิลสโบร[56]
ฤดูกาล 2008–09
แก้ก่อนเริ่มฤดูกาล 2008–2009 อาลอนโซได้รับอาจต้องย้ายออกจากสโมสร เมื่อสโมสรกำลังจะแทนที่เขาด้วยกองกลางทีมชาติอังกฤษ แกเร็ท แบร์รี[57] แม้การย้ายจะไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งเริ่มฤดูกาล แต่ข่าวลือก็ยังไม่จบและอาลอนโซรู้สึกไม่สบายใจนัก พร้อมกับที่ตำแหน่งในทีมเริ่มสั่นคลอน[58][59] แต่อย่างไรก็ตาม แฟน ๆ ของทีมช่วยให้เขามีกำลังใจเป็นอย่างมากไม่ว่าจะอยู่บนสนามหรือบนม้านั่งสำรอง อาลอนโซรับรู้เรื่องนี้ดี และกล่าวว่า "แฟนของเราแสดงความรู้สึกของพวกเขาได้อย่างไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบแล้ว ตอนที่ผมไปกินข้าวหรือกาแฟ จะมีซักคนเสมอที่เดินเข้ามาและบอกผมว่า "เราอยากให้คุณอยู่ที่นี่นะ" ผมรู้สึกยินดีที่สุดท้ายแล้วจบลงโดยไม่มีการย้ายทีมเกิดขึ้น และผมเองก็ไม่เคยขอย้ายทีมเลย"[60]
ถึงจะมีข่าวเรื่องการย้ายตัวในช่วงหน้าร้อน แต่อาลอนโซก็ยังแสดงผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมและได้รับคำชื่นชมทั้งจากเพื่อนร่วมทีมและผู้สื่อข่าวในเรื่องกำลังใจอันแข็งแกร่ง และส่งให้สโมสรเปิดฤดูกาลได้ดีที่สุดในรอบหลายปี[60][61] ความสำคัญของอาลอนโซต่อทีมถูกชี้ให้เห็นอีกครั้ง ในประตูโทนเหนือเชลซี เป็นการหยุดสถิติไร้พ่าย 4 ปี (86 นัด) ในสแตมฟอร์ดบริดจ์ของเชลซี[62] จากการเปิดเผยผลวิเคราะห์ทางสถิติของออปตา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ระบุว่า อาลอนโซเป็นนักเตะคนแรกที่ผ่านบอลสำเร็จเกิน 1,000 ครั้ง ในฤดูกาล 2008–2009 [63] ประตูสุดท้ายของเขาสำหรับการเล่นให้ลิเวอร์พูลคือในแมตช์ที่พบกับฮัลซิตี เขาทำประตูด้วยการยิงลูกวอลเลย์และยิงฟรีคิก
เรอัลมาดริด
แก้ฤดูกาล 2009–2010
แก้อาลอนโซได้ย้ายไปอยู่ สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดด้วยค่าตัว 30 ล้านยูโรในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2009[64] มีนัยว่า เขาไม่เคยต้องการที่จะออกจากแอนฟิลด์ ด้วยสัญญาของเขาที่มีอยู่อย่างน้อยก็จนกว่าปี ค.ศ. 2012 และที่เขาออกจากสโมสรเนื่องจากมีความขัดแย้งกับ ราฟาเอล เบนีเตซ[65][66][67] อดีตเพื่อนร่วมทีมของเขา สตีเวน เจอร์ราร์ด บอกว่าเขาหมดสภาพจิตใจไปโดยการตัดสินใจของอาลอนโซและอ้างที่เขาออกจากสโมสรเป็นหนึ่งในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของลิเวอร์พูลที่ฟอร์มตกในฤดูกาลถัดมา[68]
อาลอนโซได้รับหมายเลข 22 ในเสื้อของมาดริดและเล่นในตำแหน่งกองกลาง เขาทำประตูแรกของเขาให้กับทีมใหม่ของเขาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2010 ด้วยการยิงลูกโทษชนะบิยาร์เรอัลไป 6–2[69] ถึงแม้เขาจะบาดเจ็บหรือถูกพักตัว แต่หลังจากนั้นมานวยล์ เปเยกรีนีก็เริ่มให้อาลอนโซเล่นในการแข่งขันของทุกอย่างเช่นใน แชมเปียนส์ลีกและในลาลิกา ในฤดูกาลแรกของเขากับเรอัลมาดริด[70]ในลาลิกาเขาช่วยสโมสรจบด้วยสถิติใหม่ของสโมสร 96 คะแนน ซึ่งตามหลัง สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา อยู่ 3 คะแนน[71] และเป็นครั้งที่สามในอาชีพของอาลอนโซในการที่เขาช่วยให้ทีมของเขาตั้งสถิติของสโมสรใหม่ในแง่ของ สถิติคะแนน ที่จบในตำแหน่งอันดับสอง (เขาประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกันกับ เรอัลโซซิเอดัด ในฤดูกาล 2002–03 และ ลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2008–09) ในช่วงฤดูกาลแรกของเขาที่เรอัลมาดริดอาลอนโซยิงสามประตูและถือเป็นหนึ่งในสโมสร "ผู้เล่นที่เหนียวแน่นมากที่สุด"[72] หนังสือพิมพ์มาร์กา ได้เผยแพร่ข่าวว่าอาลอนโซได้เป็นหนึ่งในผู้เล่นแห่งฤดูกาลโดยลงไว้ในตำแหน่งกองกลางตัวรับ และอีกคนจากเรอัลมาดริดคือ คริสเตียโน โรนัลโด[73] อาลอนโซได้รับรางวัลเดียวกันจาก อีเอสพีเอ็น ซ็อกเกอร์เน็ต[74] นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัล แอลเอฟพีอวอร์ด รางวัลจากลีกาเดฟุตบอลโปรเฟซีอองนัล สหพันธ์ฟุตบอลสเปนลีก และอาลอนโซได้เข้าชิงรางวัลกองกลางที่ดีที่สุดโดยมี ชาบี และ คาบี มาร์ตีเนซได้เข้าชิงรางวัลนี้ด้วย[75] สมาชิกหลายคนของสื่อมวลชนสเปนเช่นเดียวกับผู้สนับสนุนของเรอัลมาดริด ตั้งฉายาใหม่ในช่วงฤดูกาลนี้ชื่อว่า La Barba Roja (เคราสีแดง)[76]
ฤดูกาล 2010–2011
แก้ฤดูกาลที่สองของเขาที่เรอัลมาดริดเริ่มต้นด้วยการมาถึงของผู้จัดการคนใหม่ โชเซ มูรีนโย เขาสวมเสื้อหมายเลข 14 หลังจากการจากไปของรองกัปตันทีม กูตี[77] เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน เมื่อถามว่าถ้าจะเคยพิจารณาที่จะกลับไปลิเวอร์พูล อาลอนโซบอกผ่านทาง Liverpoolfc.tv "ทำไมจะไม่ล่ะ" เขายังบอกด้วยว่า "ในขณะนี้ผมไม่ทราบว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น แต่มันอาจจะเป็นไปได้ อย่าพูดว่าไม่"[78]
ฤดูกาล 2011–2012
แก้อาลอนโซ เริ่มต้นฤดูกาลที่สามของเขาที่เรอัลมาดริดโดยการยิงประตูที่สองให้กับเรอัลมาดริดในนัดที่เสมอ 2–2 กับ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ใน 2011 ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา ที่ซานเตียโก เบร์นาเบว ต่อมาในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2011 เขาเล่นเกมอย่างเป็นทางการของเขาครบ 100 นัดสำหรับเรอัลมาดริด ในนัดที่เสมอ 0–0 กับราซินเดซันตันเดร์ อาลอนโซยังคงเป็นกำลังหลักที่ไม่มีปัญหาในสิบเอ็ดคนแรกของทีมและเรอัลมาดริดก็สามารถคว้าแชมป์ลีกมาครองได้ถือว่าเป็นแชมป์ลีกที่อาลอนโซได้เป็นครั้งแรก
ไบเอิร์นมิวนิก
แก้หลังจากประกาศยุติการเล่นให้กับทีมชาติสเปนแล้ว อาลอนโซได้ย้ายจากเรอัลมาดริดไปร่วมทีมไบเอิร์นมิวนิก ในบุนเดิสลีกา เยอรมนี อย่างกระทันหัน[79]
การแข่งขันระดับทีมชาติ
แก้ยูโร 2004
แก้อาลอนโซได้ลงเป็นตัวสำรองในนัดที่สเปนชนะรัสเซีย 1–0 และได้ลงเต็มเวลา 90 นาทีในนัดเจอกับโปรตุเกส สเปนตกรอบในรอบแบ่งกลุ่ม
ฟุตบอลโลก 2006
แก้อาลอนโซติดอยู่ในชุดทีมชาติสเปนในฟุตบอลโลก 2006 เขาเป็นผู้ยิงประตูแรกให้กับทีมชาติสเปน ประตูแรกในฐานะทีมชาติยิงในนัดเจอกับยูเครนเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2006[80] ถึงแม้ว่าในรอบแบ่งกลุ่มสเปนจะชนะในทุกครั้ง แต่เขาก็ไม่สามารถนำทีมสู่ชัยชนะได้ โดยท้ายสุดแพ้ให้กับฝรั่งเศสในรอบแรกของรอบแพ้คัดออก[81]
ยูโร 2008
แก้ลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2007–08 จบลงแบบไร้ถ้วยรางวัล แต่ชัยชนะที่อาลอนโซรออยู่นั้นคือ ยูโร 2008 ในการแข่งขันครั้งนี้เขามักได้ลงเป็นตัวสำรอง แต่ก็ถือเป็นผู้เล่นสำคัญ เขานำสเปนผ่านรอบแบ่งกลุ่มโดยชนะกรีซ และได้รับตำแหน่งแมนออฟเดอะแมตช์ด้วย[82] ถึงแม้ว่าเขาแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง แต่เขาก็ไม่สามารถลงในตำแหน่งตัวจริงกับทีม แสดงเห็นถึงความแข็งแกร่งของทีมชาติสเปน[83] สเปนชนะในการแข่งขันยูโรครั้งนี้ เขาลงเล่น 4 นัด จาก 6 นัด[84] กีเยม บาลาเก ผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอลกล่าวว่า สเปนสมควรได้ชัยชนะและทีมเวิร์กที่ยอดเยี่ยมของทีมตลอดทั้งการแข่งขัน อาลอนโซรู้สึกปลาบปลื้มกับชัยชนะครั้งนี้และประกาศว่า "ขณะนี้ เรากำลังอยู่ในเวลาสำคัญซึ่งไม่น่าเชื่อและพวกเรากำลังเดินอยู่ในความฝัน ช่างน่ามหัศจรรย์"[85] ในฐานะทีมชาติ เขายังยิงประตูอีก 2 ประตู ในนัดชนะ 3–0 แข่งกับเดนมาร์กในนัดกระชับมิตรในเดือนสิงหาคม[86]
ฟุตบอลโลก 2010
แก้ชาบี อาลอนโซลงแข่งในทุกเกมในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ลงเล่นร่วมกับเซร์คีโอ บุสเกตส์และชาบีในตำแหน่งกองกลางและช่วยให้ทีมชนะในฟุตบอลโลกครั้งแรกของทีมชาติสเปนได้[87] ในนาทีที่ 28 ของนัดตัดสินที่แข่งกับฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์ เขาถูกกองกลางเนเธอร์แลนด์ ไนเจล เดอ ยองถีบลงที่หน้าอกแบบกังฟู การฟาวล์ครั้งนี้เป็นข้อพิพาท เหตุเพราะควรเป็นการฟาวล์ที่ได้ใบแดงตรงแทนที่จะเป็นใบเหลืองจากฮาเวิร์ด เวบบ์ และเกรงว่าอาลอนโซจะเจ็บรวมถึงกลัวว่ากระดูกซี่โครงหัก[88] แต่ถึงแม้ว่ายังเจ็บ เขายังคงเล่นจนครบ 1 ชั่วโมง
ยูโร 2012
แก้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ชาบี อาลอนโซลงแข่งเป็นนัดที่ 100 ให้กับทีมชาติสเปน[89]ในรอบรองชนะเลิศที่แข่งกับฝรั่งเศส เขายิงทั้ง 2 ประตู ทำให้สเปนชนะด้วยประตู 2–0 ประตูแรกเป็นประตูหม่ง ที่ฌอร์ดี อัลบาส่งมาจากทางด้านซ้าย ส่วนลูกที่ 2 เป็นการยิงลูกโทษ หลังจากที่เปโดร โรดรีเกซถูกทำฟาวล์โดยอังตอนี เรแวแยร์ในนาทีสุดท้าย ต่อมาในรอบรองชนะเลิศอาลอนโซดวลลูกโทษพลาด ในนัดที่สเปนชนะดวลจุดโทษได้ 4–2 หลังจากเสมอ 0–0
ประกาศเลิกเล่น
แก้หลังจบฟุตบอลโลก 2014 ที่สเปนซึ่งเป็นแชมป์เก่าแต่ต้องตกรอบแรก อาลอนโซได้ประกาศยุติการเล่นให้กับทีมชาติสเปนไป หลังจากติดทีมชาติมาอย่างยาวนาน 11 ปี ติดทีมชาติทั้งสิ้น 114 นัด ยิงได้ 16 ประตู [90]
ทีมชาติบาสก์
แก้อาลอนโซลงแข่งนัดแรกให้กับทีมชาติบาสก์ในนัดกระชับมิตรแข่งกับกานาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2001[91] และได้รับการเรียกตัวอยู่ประจำ แต่เนื่องจากเขายุ่งกับการแข่งสโมสร ทำให้ไม่สามารถลงแข่งได้ การแข่งครั้งล่าสุด อาลอนโซลงแข่งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2011[92] โดยพ่ายให้กับตูนิเซีย 2–0[93]
ชีวิตส่วนตัว
แก้อาลอนโซเป็นคนไม่ค่อยพูดแต่เป็นมิตรกับทุกคนในทีม[94] เขาพบรักกับนาโกเร อารันบูรู และมีลูกชายคนแรกเกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2008 ชื่อว่า คอนต์ชู อาลอนโซ อารันบูรู[95][96] และลูกสาว 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2010 ชื่ออาเน อาลอนโซ[97][98] อาลอนโซอยู่ข้างเธอในวันที่คลอด โดยไม่ได้ลงสนามในเกมกับอินเตอร์มิลาน อาลอนโซกล่าวในภายหลังว่า "มันน่าเสียใจนิดหน่อยที่ไม่ลงเล่นกับอินเตอร์ แต่ผมต้องอยู่กับครอบครัว"[99] แต่นี่ก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างเบนีเตซกับอาลอนโซเพราะทำให้เขาไม่สามารถใช้งานอาลอนโซได้ในเกมสำคัญแบบนี้[100][101][102]
อาลอนโซกับเพื่อนในวัยเด็ก มีเกล อาร์เตตา ได้กลับมาเป็นเพื่อนบ้านกันอีกครั้งเหมือนสมัยที่อยู่ในซานเซบาสเตียน[103] หลังจากที่อาลอนโซกล่อมอาร์เตตาให้ย้ายมาร่วมทีมกับเอฟเวอร์ตัน[104] อาลอนโซยังได้ช่วยอดีตเพื่อนร่วมทีมเรอัลโซซิเอดัด ควน อูการ์เต ย้ายไปร่วมทีมกับเร็กซ์แฮม เมื่อปี 2004 ด้วย[105]
พี่ชายของเขา มีเกล อาลอนโซ อยู่กับสโมสรฟุตบอลชาร์ลตันแอธเลติก ก่อนหน้านี้าร่วมทีมกับโบลตันในแบบยืมตัวในฤดูกาล 2007–2008 โดยมีเงื่อนไขที่อาจซื้อขาดได้[106][107] แต่สุดท้ายก็ไม่มีการย้ายถาวร มีเกลกลับสู่เรอัลโซซิเอดัดเช่นเดิม[108] อาลอนโซยังมีพี่ชายชื่อ จอน ทำงานเป็นผู้ตัดสินฟุตบอล[109]
อาลอนโซยังเป็นผู้สนับสนุนเกลิกฟุตบอล โดยเขาเชียร์ทีมมีท (Meath GAA) เขาสนใจในกีฬานี้ตั้งแต่อายุ 15 ปี เมื่อเขาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเพื่อเรียนภาษาอังกฤษที่เคลส์ เคาน์ตีมีท โดยเขาใช้เวลาว่างในการเล่นเกลิกฟุตบอล
ขณะที่เขาเล่นอยู่ที่เรอัลมาดริด อาลอนโซประกาศว่าเป็นผู้สนับสนุนสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลและกลับมาดูการแข่งขันที่แอนฟีลด์หากเขามีเวลาว่าง เขาพูดกับ เดอะไทมส์ออนไลน์ ในปี ค.ศ. 2011 ว่า "เขายังคงเป็นแฟนลิเวอร์พูลและยังเป็นตลอดไป" และเขาจะเลี้ยงลูกชายของเขาที่เกิดในลิเวอร์พูลให้เป็นแฟนหงส์แดง[110]
อาลอนโซยังเป็นผู้บริหารด้านการสื่อสารของ Laspalmas.dk ผู้สนับสนุนชาวเดนมาร์กของสโมสรสเปน สโมสรลัสปัลมัสที่เล่นอยู่ในเซกุนดาดิบิซิออน[111]
สถิติอาชีพ
แก้ระดับสโมสร
แก้- ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2017
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | ถ้วย1 | ลีกคัป | ยุโรป | อื่น ๆ2 | รวม | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงแข่ง | ประตู | ลงแข่ง | ประตู | ลงแข่ง | ประตู | ลงแข่ง | ประตู | ลงแข่ง | ประตู | ลงแข่ง | ประตู | ||
เรอัลโซซิเอดัด | 1999–2000 | 0 | 0 | 1 | 0 | – | 0 | 0 | – | 1 | 0 | ||
รวม | 0 | 0 | 1 | 0 | – | 0 | 0 | – | 1 | 0 | |||
เอย์บาร์ | 2000–01 | 14 | 0 | 0 | 0 | – | 0 | 0 | – | 14 | 0 | ||
รวม | 14 | 0 | 0 | 0 | – | 0 | 0 | – | 14 | 0 | |||
เรอัลโซซิเอดัด | 2000–01 | 18 | 0 | 0 | 0 | – | 0 | 0 | – | 18 | 0 | ||
2001–02 | 29 | 3 | 0 | 0 | – | 0 | 0 | – | 29 | 3 | |||
2002–03 | 33 | 3 | 1 | 0 | – | 0 | 0 | – | 34 | 3 | |||
2003–04 | 34 | 3 | 0 | 0 | – | 8 | 1 | – | 42 | 4 | |||
รวม | 114 | 9 | 1 | 0 | – | 8 | 1 | – | 123 | 10 | |||
ลิเวอร์พูล | 2004–05 | 24 | 2 | 0 | 0 | 0 | 0 | 8 | 1 | – | 32 | 3 | |
2005–06 | 35 | 3 | 5 | 2 | 0 | 0 | 10 | 0 | 3 | 0 | 53 | 5 | |
2006–07 | 32 | 4 | 1 | 0 | 2 | 0 | 15 | 0 | 1 | 0 | 51 | 4 | |
2007–08 | 19 | 2 | 3 | 0 | 1 | 0 | 4 | 0 | – | 27 | 2 | ||
2008–09 | 33 | 4 | 3 | 0 | 1 | 0 | 10 | 1 | – | 47 | 5 | ||
รวม | 143 | 15 | 12 | 2 | 4 | 0 | 47 | 2 | 4 | 0 | 210 | 19 | |
เรอัลมาดริด | 2009–10 | 34 | 3 | 0 | 0 | – | 7 | 0 | – | 41 | 3 | ||
2010–11 | 34 | 0 | 7 | 1 | – | 11 | 0 | – | 52 | 1 | |||
2011–12 | 36 | 1 | 4 | 0 | – | 10 | 0 | 2 | 1 | 52 | 2 | ||
2012–13 | 28 | 0 | 7 | 0 | – | 10 | 0 | 2 | 0 | 47 | 0 | ||
2013–14 | 26 | 0 | 7 | 0 | – | 9 | 0 | 0 | 0 | 42 | 0 | ||
2014–15 | 0 | 0 | 0 | 0 | – | 0 | 0 | 2 | 0 | 2 | 0 | ||
รวม | 158 | 4 | 25 | 1 | – | 47 | 0 | 6 | 1 | 236 | 6 | ||
ไบเอิร์นมิวนิก[112] | 2014–15 | 24 | 2 | 4 | 0 | – | 8 | 2 | 0 | 0 | 36 | 4 | |
2015–16 | 26 | 0 | 4 | 1 | – | 8 | 1 | 1 | 0 | 39 | 2 | ||
2016–17 | 27 | 3 | 3 | 0 | – | 7 | 0 | 1 | 0 | 38 | 3 | ||
รวม | 79 | 5 | 11 | 1 | – | 25 | 3 | 2 | 0 | 117 | 9 | ||
รวมทั้งหมด | 508 | 33 | 50 | 4 | 4 | 0 | 128 | 6 | 11 | 1 | 701 | 44 |
- 1 รวม เอฟเอคัพและโกปาเดลเรย์
- 2 รวม ยูฟ่าซูเปอร์คัพ, ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ และ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา
ระดับทีมชาติ
แก้- ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2012
ทีมชาติ | ฤดูกาล | ลงแข่ง | ประตู |
---|---|---|---|
สเปน | |||
2002–03 | 1 | 0 | |
2003–04 | 10 | 0 | |
2004–05 | 6 | 0 | |
2005–06 | 12 | 1 | |
2006–07 | 8 | 0 | |
2007–08 | 10 | 2 | |
2008–09 | 14 | 4 | |
2009–10 | 15 | 4 | |
2010–11 | 10 | 1 | |
2011–12 | 16 | 3 | |
2012–13 | 5 | 0 | |
2013–14 | 5 | 1 | |
รวมทั้งหมด | 112 | 16 |
ประตูทีมชาติ
แก้# | วัน | สถานที่ | คู่แข่ง | คะแนน | ผล | การแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 14 มิถุนายน ค.ศ. 2006 | เซนทรัลชตาดีโยน, ไลพ์ซิจ, เยอรมนี | ยูเครน | 1–0 | 4–0 | ฟุตบอลโลก 2006 |
2. | 20 สิงหาคม ค.ศ. 2008 | ปาร์เกน, โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก | เดนมาร์ก | 0–1 | 0–3 | นัดกระชับมิตร |
3. | 20 สิงหาคม ค.ศ. 2008 | ปาร์เกน, โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก | เดนมาร์ก | 0–3 | 0–3 | นัดกระชับมิตร |
4. | 1 เมษายน ค.ศ. 2009 | อาลีซามีเยน, อิสตันบูล, ตุรกี | ตุรกี | 1–1 | 1–2 | รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 |
5. | 28 มิถุนายน ค.ศ. 2009 | รอยัลบาโฟเกง, รุสเทนเบิร์ก, แอฟริกาใต้ | แอฟริกาใต้ | 3–2 | 3–2 | 2009 คอนเฟเดเรชันส์คัป |
6. | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 | บีเซนเตกัลเดรอน, มาดริด, สเปน | อาร์เจนตินา | 1–0 | 2–1 | นัดกระชับมิตร |
7. | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 | บีเซนเตกัลเดรอน, มาดริด, สเปน | อาร์เจนตินา | 2–1 | 2–1 | นัดกระชับมิตร |
8. | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 | ตีโซลี, อินส์บรุค, ออสเตรีย | ซาอุดีอาระเบีย | 2–1 | 3–2 | นัดกระชับมิตร |
9. | 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010 | กอนโดมีนา, มูร์เซีย, สเปน | โปแลนด์ | 3–0 | 6–0 | นัดกระชับมิตร |
10. | 7 มิถุนายน ค.ศ. 2011 | โคเซอันโตเนียวอันโซอาเตกิ, ปวยร์โตลากรุซ, เวเนซุเอลา | เวเนซุเอลา | 0–3 | 0–3 | นัดกระชับมิตร |
11. | 10 สิงหาคม ค.ศ. 2011 | ซานนีโกลา, บารี, อิตาลี | อิตาลี | 1–1 | 2–1 | นัดกระชับมิตร |
12. | 7 ตุลาคม ค.ศ. 2011 | เจเนราลีอารีนา, ปราก, สาธารณรัฐเช็ก | เช็กเกีย | 0–2 | 0–2 | รอบคัดเลือกยูโร 2012 |
13. | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 | สตาดเดอซูส, แบร์น, สวิตเซอร์แลนด์ | เกาหลีใต้ | 2–1 | 4–1 | นัดกระชับมิตร |
14. | 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 | ดอนเบสส์อารีนา, โดเนตสค์, ยูเครน | ฝรั่งเศส | 1–0 | 2–0 | ยูโร 2012 |
15. | 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 | ดอนเบสส์อารีนา, โดเนตสค์, ยูเครน | ฝรั่งเศส | 2–0 | 2–0 | ยูโร 2012 |
16 | 13 June 2014 | Arena Fonte Nova, Salvador, Brazil | เนเธอร์แลนด์ | 1–0 | 1–5 | 2014 FIFA World Cup |
เกียรติประวัติ
แก้สโมสร
แก้- ลิเวอร์พูล
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (1): 2004–05
- เอฟเอคัพ (1): 2005–06
- เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ (1): 2006
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ (1): 2005
- เรอัลมาดริด
- ลาลิกา (1): 2011–12
- โกปาเดลเรย์ (2): 2010–11 2013-2014
- ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา (1): 2012
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (1): 2013–14
- ไบเอิร์นมิวนิก
ทีมชาติ
แก้- สเปน
- ฟุตบอลโลก (1): 2010
- ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (2): 2008, 2012
ส่วนตัว
แก้- ผู้เล่นยอดเยี่ยมชาวสเปนในลาลิกา: 2003
- ฟีฟ่า/ฟิฟโปรเวิลด์ XI: 2011
- แมนออฟเดอะแมตช์ ยูโร 2012: นัดเจอกับฝรั่งเศส
- ทีมแห่งการแข่งขันยูโร 2012: 2012
- กองกลางยอดเยี่ยมแห่งลาลิกา: 2012
ผู้จัดการทีม
แก้- ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน
- บุนเดิสลีกา (1): 2023-24
เหรียญตรา
แก้- เหรียญทองเกียรติยศด้านกีฬา (1): 2011[113]
อ้างอิง
แก้- ↑ "FIFA World Cup South Africa 2010: List of Players" (PDF). Fédération Internationale de Football Association (FIFA). 4 June 2010. p. 29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-17. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
- ↑ "Alonso". realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 5 June 2015.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Ballague, Guillem (2005-05-22). "Clever Xabi sets the pass mark". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
- ↑ 4.0 4.1 Fifield, Dominic (2006-03-25). "Arteta seeks revenge in battle of Basques". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Balague, Guillem (2008-05-18). "Dads and Lads: Periko and Xabi Alonso". Liverpool FC. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ "Royal help for Alonso". eleven-a-side.com. Lynn Group. 25 May 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-26. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
- ↑ Hunter, Andy (2005-11-19). "Mikel Arteta: 'It's a long way from San Sebastian...'". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "Xabi Alonso Profile". Liverpool. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
- ↑ Abbandonato, Paul (2008-07-03). "It's the Real deal for Toshack". Wales Online (Western Mail). สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
- ↑ Lowe, Sid (2002-11-04). "Sociedad enjoy ride of their lives". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Sinnott, John (2004-08-21). "Alonso the pass master". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
- ↑ "Xabi Alonso Profile". Football Database. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
- ↑ 13.0 13.1 "Real Sociedad drop Alonso". BBC Sport. 2004-08-11. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
- ↑ 14.0 14.1 "Alonso makes Anfield move". BBC Sport. 2004-08-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
- ↑ Ortego, Enrique (2008-11-03). "La 'Rafalution' entra en la historia del Liverpool (The 'Rafalution' becomes part of Liverpool history)". Diario AS. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
- ↑ "Liverpool grab Garcia". BBC Sport. 2004-08-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
- ↑ "Bolton 1-0 Liverpool". BBC Sport. 2004-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
- ↑ Cox, Gerry (2004-10-17). "Alonso inspires a change of fortune". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
- ↑ "Fulham 2-4 Liverpool". BBC Sport. 2004-10-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
- ↑ "Liverpool 2-1 Arsenal". BBC Sport. 2004-11-28. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ Xabi Alonso (2004-12-03). Alonso happy to be at Anfield (Windows Media Player/Real Video) (Video). BBC Sport. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 0.05mins/2.00mins. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
I think I'm settling quickly no? You know you come to a different country with a different culture but you have to accept all this"/"It was exciting to score at Anfield. I was looking for it and I felt great when I did, in a big game as well
- ↑ "Liverpool 0-1 Chelsea". BBC Sport. 2005-01-01. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ "Alonso sidelined for three months". BBC Sport. 2005-01-05. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ "Juventus 0-0 Liverpool". BBC Sport. 2005-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ McCarra, Kevin (2005-04-14). "Liverpool set up Chelsea clash". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ McCarra, Kevin (2005-04-28). "Red resistance tips the balance". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ Shaw, Phil (2005-05-25). "Alonso adds touch of the sublime". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ "Alonso tells of Reds heartbreak". BBC Sport. 2005-04-28. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ Winter, Henry (2005-05-04). "Glorious Liverpool a big noise again". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ Keogh, Frank (2005-05-25). "Why it was the greatest cup final". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ McCarra, Kevin (2005-05-26). "Grit, spirit and the ultimate glory". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ "AC Milan 3-3 Liverpool (aet)". BBC Sport. 2005-05-25. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ Fifield, Dominic (2005-05-26). "Gerrard inspires Liverpool by sheer willpower". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ "Benítez's brave change of tack leaves Milan in reverse gear". The Guardian. 2005-05-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ "Benítez demands trophy defence for Reds". The Guardian. 2005-05-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ "Benítez stunned by epic comeback". BBC Sport. 2006-05-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
- ↑ "Crouch defends Liverpool tactics". BBC Sport. 2005-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
- ↑ Bradbury, Jamie (2006-01-07). "Reds edge classic". The FA. สืบค้นเมื่อ 2008-11-12.
- ↑ McCarra, Kevin (2006-01-09). "Echoes of another epic as Liverpool forced to treat Luton like Milan". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-11-12.
- ↑ "Fan makes £25,000 on dream goal". BBC Sport. 2006-01-10. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
- ↑ Anthony, Peter (2006-05-08). "Football: Classic Fowler turn undoes Portsmouth". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
- ↑ "Liverpool 3-3 West Ham (aet)". BBC Sport. 2006-05-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
- ↑ 43.0 43.1 Hughes, Ian (2006-09-20). "Liverpool 2-0 Newcastle". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
- ↑ Hunter, Andy (2006-09-21). "Liverpool 2 Newcastle United 0: Alonso hits 70-yard wonder goal to thrill Reds". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
- ↑ Winrow, Ian (2006-09-22). "Alonso denies his long shots are a gamble". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ "Newcastle goal my best". The Daily Star. 2006-09-22. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
- ↑ "Alonso signs five-year Reds deal". The Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
- ↑ Jackson, Jamie (2007-09-02). "Benítez has Liverpool dreaming of a new tilt at the title". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
- ↑ "Xabi Alonso is aware he won't be playing". The Independent. 2007-09-04. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
- ↑ "Bad breaks put Xabi Alonso and Daniel Agger out for six weeks". Liverpool Daily Post. 2007-09-20. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
- ↑ "Xabi Alonso speaks of his Liverpool injury hell". Liverpool Daily Post. 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
- ↑ Barrett, Tony (2007-12-18). "Steven Gerrard out of cup clash as Xabi Alonso returns". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
- ↑ Winter, Henry (2008-03-12). "Torres ensures Liverpool place in Fab Four". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
- ↑ McNulty, Phil (2008-08-14). "Liverpool may fall short in title tilt". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
- ↑ "Rafa Benítez: "Xabi Alonso es un jugador de clase superior" (Xabi Alonso is a top class player)" (ภาษาสเปน). Marca. 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
- ↑ Hassall, Paul (2008-01-12). "Xabi's sweeper dream". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
- ↑ "Liverpool FC still want Gareth Barry". Liverpool Daily Post. 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
- ↑ Barrett, Chris (2008-07-16). "Juventus end pursuit of Alonso". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
- ↑ "Alonso admits summer sorrow". Sky Sports. 2008-10-04. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
- ↑ 60.0 60.1 Taylor, Daniel (2009-10-04). "The adopted son they couldn't drive away". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
- ↑ "Gerrard Tribute to Xabi Alonso". Liverpool FC. 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
- ↑ "Alonso Fires Reds Clear at the Top". Liverpool F.C. 2008-10-26. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ Rice, Jimmy (2008-12-11). "Xabi's 1,000 passes". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
- ↑ "Alonso completes £30m Real move". BBC Sport. 2009-08-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-25.
- ↑ Pearce, James. "Liverpool's Xabi Alonso hands in transfer request". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 2009-07-30.
- ↑ Eaton, Paul. "Liverpool agree Alonso Deal". Liverpool. สืบค้นเมื่อ 2011-12-01.
- ↑ "Alonso completes £30m Real move". BBC Sport. 2009-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.
- ↑ "Gerrard 'devastated' by Alonso exit". Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-09. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
- ↑ "Real Madrid 6 – 2 Villarreal". ESPN. 2010-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-27. สืบค้นเมื่อ 2010-02-24.
- ↑ "Xabi Alonso statistics". ESPN Soccernet. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Spanish Primera División Table 2009-2010". ESPN Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
- ↑ Ball, Phil (17 May 2010). "At the end of the day..." ESPN Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-22. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
- ↑ "Seis azulgranas, en el once ideal de la Liga". Marca. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
- ↑ Alvarez, Eduardo (17 May 2010). "La Liga Team of the Season". ESPN Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-20. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
- ↑ "Finalistas Premios LPF". LFP. สืบค้นเมื่อ 15 july 2010.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Torres, Diego (23 February 2010). "Capitán sin brazalete". El Pais. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
- ↑ Irish, Ollie. "Cristiano Ronaldo Takes Raul's No.7 Shirt At Real Madrid, Benzema Moves To No.9, Xabi Alonso Takes No.14". Whoateallthepies.tv. สืบค้นเมื่อ 2011-12-01.
- ↑ "Alonso won't rule out Reds return". Sky Sports News. 2010-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
- ↑ "คอนเฟิร์ม! บาเยิร์น ตกลงคว้า อลอนโซ่ คุมเกมแดนกลางเรียบร้อย". เอ็มไทย. 28 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
- ↑ Bulman, Erica (2006-06-14). "David Villa scores twice as Spain reigns over Ukraine 4–0". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
- ↑ "Spain 1–3 France". BBC Sport. 2007-07-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
- ↑ Baskett, Simon (2008-06-18). "Second string Spain too good for Greece". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
- ↑ Taylor, Daniel (2008-06-19). "Second-string Alonso displays class of Spanish squad". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
- ↑ "Xabi Alonso Player Profile Euro 2008". Sky Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-02. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
- ↑ Balague, Guillem (2008-06-30). "Exclusive Interview: Xabi Alonso". Guillem Balague. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ McLaughlin, Kim (2008-08-20). "UPDATE 1-Soccer-Alonso double helps Spain ease past Denmark". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
- ↑ "FIFA player Statistics: XABI ALONSO". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
- ↑ Joyce, Paul. "Xabi Alonso in broken rib fear". the Daily and Sunday Express. สืบค้นเมื่อ 15 July 2010.
- ↑ "Xabi Alonso fires Spain to Euro 2012 semifinals". 24 June 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
- ↑ "อลอนโซ ประกาศอำลาทีมชาติสเปน". 28 August 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Euskadi-Ghana". Euskadiko Futbol Federakundea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
- ↑ "Euskal Selekzioa–Tunisia preview". thoffside.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
- ↑ "Euskal Selekzioa 0 Tunisia 2". thoffside.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
- ↑ Rice, Jimmy (2008-12-03). "Reina hails 'One of world's best'". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
- ↑ Recalde, Mikel (2008-07-03). "Valoro mis títulos, pero me falta una liga (I value my honours, but I still lack a league title)" (ภาษาสเปน). Noticias de Gipuzkoa (Gipuzkoa News). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
- ↑ Beesley, Chris (2008-03-31). "Chance of Real Madrid move for Xabi Alonso". Liverpool Daily Post. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ Recalde, Mikel (2008-07-03). "Valoro mis títulos, pero me falta una liga (I value my honours, but I still lack a league title)" (ภาษาสเปน). Noticias de Gipuzkoa(Gipuzkoa News). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
- ↑ Beesley, Chris (2008-03-31). "Chance of Real Madrid move for Xabi Alonso". Liverpool Daily Post. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ "Xabi Alonso: "Fue un poco frustrante no jugar, pero tenía que estar con mi familia" (It was a little frustrating to miss the match, but i had to be with my family)" (ภาษาสเปน). El Mundo. 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ Wallace, Sam (2008-03-11). "Alonso left at home after Benítez tires of baby talk". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ Thomas, Phil (2008-03-11). "That's yer tot, Alonso". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ Martín, Luis (2008-03-12). "La paternidad de Xabi Alonso provoca un lío en Anfield (Xabi Alonso's fatherhood whips up a storm at Anfield)" (ภาษาสเปน). El Pais. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ Ducker, James (2006-03-25). "Arteta puts friendship on hold as Everton eye Europe". The Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Prentice, David (2008-09-26). "Mikel Arteta and Xabi Alonso's special bond put on hold in Everton-Liverpool derby". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ Rice, Jimmy (2007-01-18). "Xabi Alonso: The Big Interview". Liverpool FC. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ "Bolton clinch Alonso". Manchester Evening News. 2007-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ "Alonso joins Bolton from Sociedad". BBC Sport. 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ Lorenzo, J. L. (2008-09-03). "El club presentará mañana el ERE con Alonso y Stevanovic (The club will release Alonso and Stefanovic tomorrow under ERE legislation)" (ภาษาสเปน). Mundo Deportivo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-12-01.
- ↑ Daswani, Manoj (2009-01-28). El Tenerife elige a Mikel Alonso ("Tenerife sign Mikel Alonso") เก็บถาวร 2012-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. La Opinion de Tenerife. Retrieved on 2009-01-29.
- ↑ "Alonso: My son's a Red". Liverpool. 2011-04-04. สืบค้นเมื่อ 2011-04-05.
- ↑ "UDLP Peña Danesa". Laspalmas.dk. สืบค้นเมื่อ 2011-01-12.
- ↑ "Xabi Alonso" (ภาษาเยอรมัน). kicker.de. สืบค้นเมื่อ 15 April 2015.
- ↑ "Royal Order of Sporting Merit 2011".
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Profile at liverpoolfc.tv
- Xabi Alonso – สถิติการลงแข่งจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA) (ในภาษาอังกฤษ)
- สถิติของ Xabi Alonso ที่ Soccerbase
- Profile at BBC Sport เก็บถาวร 2005-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Podcast from The Times เก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: Mikel and Xabi Alonso interview
- ชาบี อาลอนโซ ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)