ครวญ สุทธานินทร์
พลเอก ครวญ สุทธานินทร์ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2534) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 และอดีตรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2
ครวญ สุทธานินทร์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | ทวี จุลละทรัพย์ |
ถัดไป | ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2442 อำเภอหลังสวน จังหวัดหลังสวน ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2534 |
คู่สมรส | สังวาลย์ สุทธานินทร์ |
ประวัติ
แก้พล.อ. ครวญ สุทธานินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2442 ที่ตำบลขันเงิน อำเภอเมืองหลังสวน จังหวัดหลังสวน (ปัจจุบันคืออำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร)[1] เป็นบุตรของนายแคล้ว สุทธานินทร์ กับนางกิ้ม (สกุลเดิม สร้างแก้ว) มีน้องชาย 1 คน คือนายนวล สุทธานินทร์ สมรสกับคุณหญิงสังวาลย์ สุทธานินทร์ มีบุตรธิดา 2 คน รับบุตรบุญธรรม 1 คน รวมมีบุตร 3 คน คือ[2][3]
- นางเครือวัลย์ สุทธานินทร์
- นางเครือวงษ์ สุทธานินทร์
- นายกฤษฎา สุทธานินทร์
พล.อ. ครวญ สุทธานินทร์ จบการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และจบหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พล.อ. ครวญ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ เช่น เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก[4] แม่ทัพภาคที่ 2[5] แม่ทัพภาคที่ 3[6] นอกจากนี้ยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ[7]
งานการเมือง
แก้ในพ.ศ. 2517 พล.อ. ครวญ สุทธานินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์[8][9] และพ้นจากตำแหน่งไปหลังมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 นอกนากนี้พล.อ. ครวญ สุทธานินทร์ ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[10]และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 4[11] และเป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2492 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเท
แก้- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2502 - เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกร็องตอฟีซีเย[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ ครวญ สุทธานินทร์,พล.อ. เก็บถาวร 2013-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Province - My First Info.com
- ↑ "ตระกูลสุทธานินทร์ - สุทธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ หนังสือ ประวัติวงษ์ตระกูล ของ พลเอก ครวญ สุทธานินทร์ พิมพ์เป็นที่ระลึกในวาระฉลองอายุครบ ๗ รอบ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๒๖
- ↑ "ทำเนียบเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-01. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ "ทำเนียบอดีตแม่ทัพภาคที่ 2". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-06. สืบค้นเมื่อ 2007-05-06.
- ↑ "ทำเนียบอดีตแม่ทัพภาคที่ ๓". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-12. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ "รายพระนามและรายนามนายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 34 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ "วุฒิสภาชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ ทำเนียบรองประธานคนที่สอง เก็บถาวร 2015-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติและผลงานของสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 76 ตอนที่ 15 หน้า 171, 27 มกราคม 2502
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 77 เล่มที่ 15 หน้า 559, 23 กุมภาพันธ์ 2503