การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์
การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า คือการประท้วงที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบเท่าตัว และขึ้นราคาก๊าซหุงต้มถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า[1] การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองปะโคะกู ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป สื่อมวลชนบางแห่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า Saffron Revolution หรือ "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"[2][3]
การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติสี | |
ผู้ประท้วงในย่างกุ้งที่ถือป้าย ไม่ใช้ความรุนแรง: ขบวนการระดับชาติ ในภาษาพม่า ด้านหลังคือเจดีย์ชเวดากอง | |
วันที่ | 15 สิงหาคม ค.ศ. 2007 – 26 กันยายน ค.ศ. 2008 |
สถานที่ | ประเทศเมียนมาร์ |
สาเหตุ |
|
เป้าหมาย |
|
วิธีการ | การประท้วงของพลเรือน, การเดินขบวน, การประท้วงโดยไม่ใช้รุนแรง |
ผล | เกิดการปราบปรามการจลาจล, ปฏิรูปการเมือง และเลือกตั้งใหม่ |
คณะพระภิกษุ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพอย่างสูงจากชาวพม่า ประกาศ "ปฐมนิคหกรรม" ไม่รับบิณฑบาตจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงด้วย ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ในการใช้กำลังทหารเข้าสลายการประท้วง[4]
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน คณะสงฆ์และประชาชนได้เดินทางไปยังบ้านพักนางออง ซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตั้วต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546[5]
จนถึงวันที่ 27 กันยายน รัฐบาลพม่าได้แถลงการณ์ออกมาแล้วว่ามีผู้เสียชึวิตจากเหตุการณ์แล้ว 9 คน โดยหนึ่งในนั้นเป็นช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่ทำงานให้กับสำนักข่าวเอเอฟพี นายเค็นจิ นางาอิ (長井 健司)[6][7] พร้อมกันนั้นรัฐบาลพม่าได้จับกลุ่มผู้ชุมนุมและพระสงฆ์ไปเป็นอีกจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 29 กันยายน ทูตพิเศษของสหประชาชาติ นายอิบราฮิม กัมบารี ได้เดินทางถึงพม่าแล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายคือเจรจากับรัฐบาลพม่าเรื่องดังกล่าว และนำสารจากเลขาธิการสหประชาชาติมาให้ นอกจากนั้นนายอิบราฮิมยังกล่าวว่าเขาหวังที่จะเข้าพบกับบุคคลที่สมควรพบทุกคนอีกด้วย[8]
ช่วงเวลา
แก้ก่อนการประท้วง
แก้ก่อนจะเกิดการประท้วงนั้น มีความไม่พอใจของประชาชนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย การเจริญทางเศรษฐกิจหยุดนิ่ง จนกลายเป็นประเทศยากจนที่สุด 20 อันดับแรกสุดของสหประชาชาติ สหประชาชาติได้ประณามความเป็นผู้นำของกองทัพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการนำรายได้ของชาติไปใช้ในทางทหาร[9] ใน พ.ศ. 2549 ราคาของสินค้าหลายชนิดในพม่าเริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งข้าว ไข่ และน้ำมันปรุงอาหาร ซึ่งเพิ่มขึ้น 30–40% เด็ก 1 ใน 3 คนเป็นโรคขาดสารอาหาร ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 300 เหรียญสหรัฐ กองทัพพม่าดำรงอยู่ในฐานะรัฐซ้อนรัฐ มีความเป็นอยู่ที่ต่างจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศ นายพลในกองทัพมีฐานะร่ำรวย ดังที่เห็นในงานแต่งงานของลูกสาวนายพลต้านชเว ซึ่งสวมเครื่องเพชรที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ[10][11] ตามรายงานของบีบีซีในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีผู้ประท้วงกลุ่มเล็กออกมาประท้วงเกี่ยวกับราคาสินค้าภายในประเทศ มีผู้ถูกจับ 9 คน ซึ่งเป็นการประท้วงครั้งแรกในรอบสิบปีในย่างกุ้ง
เมษายน
แก้กองทัพได้จับกุมประชาชน 8 คนเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ที่ออกมาประท้วงในย่างกุ้ง เรียกร้องให้ลดราคาสินค้า ปรับปรุงบริการทางด้านสุขภาพ การศึกษา การประท้วงสิ้นสุดโดยสงบภายใน 70 นาที เมื่อรัฐบาลแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะปราบปรามผู้ประท้วง มีผู้ประท้วง 2 คนได้รับบาดเจ็บ
15 สิงหาคม ปัญหาราคาเชื้อเพลิง
แก้ในวันที่ 15 สิงหาคม รัฐบาลได้ยกเลิกเงินอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาเพิ่มขึ้นจาก 1.40 เหรียญต่อแกลลอนเป็น 2.80 เหรียญต่อแกลลอน ราคาแก๊สธรรมชาติเพิ่มขึ้น 500% ทำให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น มีประชาชนออกมาประท้วง กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกได้ให้คำแนะนำว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นการเปิดโอกาสให้ใช้ตลาดเสรีในการกำหนดราคาเชื้อเพลิง[12] โดยไม่ได้แนะนำให้ยกเลิกเงินอุดหนุนโดยไม่ประกาศ เชื้อเพลิงนี้ขายโดยบริษัทน้ำมันและแก๊สเมียนมาซึ่งเป็นบริษัทของรัฐ
การประท้วงในช่วงเริ่มต้น
แก้ในการตอบสนองต่อการเพิ่มราคาน้ำมัน ประชาชนได้เริ่มออกมาประท้วงในวันที่ 19 สิงหาคม รัฐบาลได้เริ่มจับกุมผู้ประท้วง 13 คน หนังสือพิมพ์ของรัฐ New Light of Myanmar รายงานการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงทำให้เกิดความวุ่นวายที่เป็นอันตรายต่อสันติภาพและความปลอดภัยของรัฐ[13] ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 กองทัพพม่าได้เข้ามาปราบปรามการประท้วงโดยสงบในปะกกกู และทำร้ายพระสงฆ์ 3 รูป[14] ในวันต่อมา พระสงฆ์รุ่นหนุ่มในปะกกกูได้ออกมาเรียกร้องให้กล่าวคำขอโทษภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ฝ่ายทหารปฏิเสธ ทำให้มีการประท้วงโดยพระสงฆ์เพิ่มขึ้น พร้อมกับการงดบริการทางศาสนาสำหรับกองทัพ การประท้วงได้แพร่กระจายไปทั่วพม่ารวมทั้งในย่างกุ้ง ชิตเว ปะกกกู และมัณฑะเลย์
ในวันที่ 21 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผู้เข้าร่วมการประท้วงในวันที่ 19 สิงหาคมถูกค้นบ้านโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยไม่เตือนล่วงหน้า ผู้ประท้วงถูกจำคุก 1 ปี ตามกฎหมาย 5/96 ในฐานะผู้ก่อกวนความสงบของรัฐ
การเพิ่มความรุนแรง
แก้ในวันที่ 22 กันยายน พระสงฆ์ 2,000 รูป ออกมาเดินขบวนในย่างกุ้งและอีกพันรูปในมัณฑะเลย์ และยังมีการประท้วงในอีก 5 เมือง ขบวนได้เดินผ่านหน้าบ้านของอองซาน ซูจี[15] แม้จะอยู่ระหว่างถูกกักตัว ซูจีได้ออกมาปรากฏกายที่ประตูบ้าน ในวันที่ 23 กันยายน แม่ชี 150 คน เข้าร่วมประท้วงในย่างกุ้ง ในวันนั้น พระสงฆ์ 15,000 รูป ได้ออกมาเดินขบวนประท้วงทหารพม่า พันธมิตรพระสงฆ์พม่าทั้งมวลประกาศจะต่อต้านต่อไป จนกว่ากองทัพพม่าจะสลายตัว
24 กันยายน
แก้ในวันนี้ มีพยานรายงานว่ามีผู้ประท้วงในย่างกุ้ง 30,000 - 100,000 คน[16] การเดินขบวนเกิดขึ้นในเมือง 25 เมืองในพม่า ในวันนี้ รัฐมนตรีกระทรวงศาสนา นายพลทุรา มยินต์ หม่อง ออกมาเตือนพระสงฆ์ให้ยุติการประท้วง[17]
25 กันยายน
แก้ในวันนี้ กองทัพได้เริ่มปราบปรามและส่งรถบรรทุกทหารไปยังพระเจดีย์ชเวดากอง มีพระสงฆ์ 5,000 รูปและประชาชนเดินขบวนไปยังพระเจดีย์ชเวดากอง[18] มีการประกาศในย่างกุ้งให้ฝูงชนยุติการประท้วง อองซาน ซูจีถูกนำตัวออกจากบ้านไปยังเรือนจำอินเส่ง[19]
การปราบปรามของกองทัพ
แก้26 กันยายน
แก้ในวันที่ 26 กันยายน วิน ไนง์ กลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยถูกจับที่บ้านในย่างกุ้งเมื่อ 2.30 น. หลังจากนำอาหารและน้ำไปให้พระสงฆ์ที่ออกมาประท้วง แต่ถูกปล่อยตัวหลังจากคุมขังไว้ 1 คืน[20] กองทหารเข้าปืดล้อมพระเจดีย์ชเวดากอง และโจมตีกลุ่มผู้ประท้วง 700 คนด้วยแก๊สน้ำตาและกระบอง ตำรวจพร้อมโล่และกระบองเข้าขับไล่พระสงฆ์และผู้ประท้วง 200 คนที่ยังเหลืออยู่ในบริเวณใกล้ประตูทางตะวันออกของพระเจดีย์ชเวดากอง ทหารเข้าปิดล้อมบริเวณพระเจดีย์เพื่อป้องกันไม่ให้เข้ามาประท้วงอีก[21][22] แต่ล้มเหลว ยังมีพระสงฆ์ 5,000 รูปประท้วงในย่างกุ้ง บางคนสวมหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตา ในวันนั้น รายงานว่ามีอย่างน้อยมีพระสงฆ์ 3 รูป และผู้หญิง 1 คน ถูกฆ่า เมื่อกลุ่มประชาชนและพระสงฆ์ยังคงประท้วงต่อไป[23]
27 กันยายน
แก้ในวันที่ 27 กันยายน กองทัพได้ปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง จับกุมพระสงฆ์อย่างน้อย 200 รูปในย่างกุ้ง และมากกว่า 500 รูปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[24] กองทัพได้เข้าจับกุมพระสงฆ์หลายรูปในย่างกุ้งและจุดชุมนุมในสถานที่สำคัญทางศาสนาต่าง ๆ มีผู้ประท้วงมากกว่า 50,000 คน ออกมาสู่ท้องถนนในย่างกุ้ง ฝ่ายทหารเตรียมใช้ยาฆ่าแมลงในการฉีดไล่ฝูงชน ซึ่งมีผู้เห็นรถบรรทุกบรรทุกเครื่องจักรและสเปรย์ฉีดยาในตลาดเทียนจีในย่างกุ้ง[25]
ในข่าวต่าง ๆรายงานว่าทหารได้ประกาศให้ฝูงชนสลายตัว 10 นาทีก่อนจะปราบปรามอย่างรุนแรง[26] สถานีวิทยุเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่ารายงานว่าพลเรือน 9 คน รวมทั้งช่างภาพชาวญี่ปุ่น เคนจิ นากาอิ ถูกยิงและถูกฆ่าโดยทหาร[27][28] และถูกยึดกล้องถ่ายรูปไป ทหารพม่าได้ยิงเข้าใส่ทั้งยิงขึ้นฟ้าและยิงใส่ฝูงชนที่ประท้วง มีพยานเห็นผู้ถูกยิงกว่า 100 คน นักเรียนนักศึกษากว่า 300 คนถูกจับกุม หลังจากกองทัพเคลื่อนกำลังเข้าหาฝูงชน มีผู้ประท้วงอย่างสงบ 50,000 คน ในขณะที่ทหารเข้าควบคุมสถานที่สำคัญรวมทั้งที่ทำการของรัฐบาล
ในช่วงเย็น โทรทัศน์ของรัฐบาลพม่ารายงานว่ามีผู้ถูกฆ่า 9 คนในการปราบปรามผู้ประท้วงในย่างกุ้งโดยกองทัพ มีผู้บาดเจ็บเป็นผู้ประท้วง 11 คน และทหาร 31 คน ในวันนี้ มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าครอบครัวของตัน ฉ่วยได้เดินทางออกนอกประเทศ โดยเครื่องบินของครอบครัวลงจอดที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว[29]
28 กันยายน
แก้ในวันนี้กรุงย่างกุ้งเงียบเหงาเพราะประชาชนหวาดกลัวความรุนแรงจากกองทัพ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ กลอเรีย มากาปากัลป์ ได้เรียกร้องให้พม่าดำเนินการไปตามขั้นตอนประชาธิปไตย ฟิลิปปินส์จะระงับความช่วยเหลือทางการเงินแก่พม่าถ้าไม่ปล่อยตัวอองซาน ซูจี สหรัฐเรียกร้องให้จีนแสดงอิทธิพลต่อพม่า
รัฐบาลพม่าพยายามหยุดยั้งการประท้วงโดยตัดการให้บริการอินเทอร์เน็ต ทหารได้มุ่งเป้าในการจับกุมช่างภาพ หลังจากช่างภาพชาวญี่ปุ่นถูกทหารพม่าสังหาร นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยาซูโอะ ฟุกุดะ ได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตและเรียกร้องให้มีการสืบสวนขยายผล อาเซียนได้ถกเถียงกันเรื่องการผลักดันให้ส่งตัวแทนสหประชาชาติเข้าสู่พม่า ในขณะที่สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าใช้ความอดกลั้น
มีรายงานว่าทหารจากภาคกลางเริ่มเคลื่อนพลเข้าสู่ย่างกุ้งโดยทหารเหล่านี้มาจากศูนย์บัญชาการภาคกลางที่ตองอูและกองบัญชาการตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่ทราบเหตุผลแน่ชัดของการเคลื่อนพล.[30] นายพล หม่อง อเย ซึ่งมีตำแหน่งรองลงมาจากนายพลตัน ฉ่วย[31]แสดงความไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามผู้ประท้วง และมีแผนจะเข้าพบอองซาน ซูจี บางแหล่งข่าวรายงานว่าหม่อง อเยเตรียมทำรัฐประหารล้มล้างนายพลตัน ฉ่วย และส่งทหารของเขาออกมาคุ้มกันอองซาน ซูจี และมีรายงานว่าทหารบางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามประชาชน[32]
29 กันยายน
แก้มีรายงานเตือนว่ากองทัพอาจจัดการประท้วงต่อต้านการประท้วงที่เกิดขึ้น โดยบังคับให้ประชาชนเข้าร่วม กลุ่มนักกิจกรรม 88 ได้โต้แย้งสหประชาชาติ รวมทั้งสถานทูตสหราชอาณาจักรและสหรัฐในย่างกุ้ง ให้เปิดบริการเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ด้วยไวไฟ เพื่อต่อต้านการบล็อกอินเทอร์เน็ตของรัฐบาล
มีรายงานว่าตัวแทนสหประชาชาติเข้าพบนายพลหม่อง อเย ผู้บัญชาการคนที่ 2 ของกองทัพ บีบีซีรายงานว่ามีคนหลายร้อยคนถูกจับในย่างกุ้ง มีพยานรายงานว่าผู้ประท้วงถูกล้อมรอบด้วยกองกำลังรักษาความปลอดภัยและประชาชนที่นิยมทหาร ผู้สังเกตการณ์จากสหประชาชาติ อิบราฮิม กัมบารี ได้เดินทางมาถึงย่างกุ้งแล้วเดินทางต่อไปยังเนย์ปยีดอว์ทันทีเพื่อพูดคุยกับนายพลในกองทัพพม่า[33]
มีประชาชนออกมาประท้วงในกรุงมัณฑะเลย์ประมาณ 5,000 คน รถทหารได้ขับตามฝูงชน และพยายามแยกประชาชนออกจากกัน กองทัพบังคับให้พระที่มาจากนอกมัณฑะเลย์ให้กลับไปยังเมืองของตน มีการส่งทหารไปล้อมบ้านของอองซาน ซูจีในตอนกลางคืน
30 กันยายน
แก้ในวันนี้ อิบราฮิม กัมบารีได้รับอนุญาตให้เข้าพบอองซาน ซูจี และได้พบปะพูดคุยกัน 90 นาทีในกรุงย่างกุ้ง[34] ตอนเช้าวันนี้ที่ถนนเวยซายันตาร์ในย่างกุ้ง พยานได้เล่าว่า มีทหารเข้ามากวาดต้อนพระสงฆ์ขึ้นรถบรรทุกไป พระที่เป็นหัวหน้ามรณภาพในวันรุ่งขึ้น[35] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น มิโตจิ ยาบุนากะ ได้เดินทางมาถึงเนปยีดอว์ในวันนี้ เนื่องจากการเสียชีวิตของช่างภาพชาวญี่ปุ่น[36]
1 ตุลาคม
แก้สิ่งกีดขวางรอบ ๆพระเจดีย์ชเวดากองถูกรื้อถอนออกไป แต่ทหารยังคงเฝ้าทางเข้าทั้งสี่ประตู พระสงฆ์กล่าวว่ามีพระอย่างน้อย 5 รูปถูกฆ่าระหว่างการกวาดล้าง ทหารและตำรวจยังคงเฝ้าตามจุดสำคัญในย่างกุ้ง ทำให้การประท้วงเกิดขึ้นไม่ได้[37] ทหารตรวจค้นรถเพื่อหากล้องถ่ายภาพ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือถูกรบกวน พระสงฆ์ราว 4,000 รูปเล่าว่าพวกท่านถูกล้อมโดยทหารในสัปดาห์ที่ผ่านมาขณะที่ประท้วง เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าได้เผยแพร่ภาพศพของพระสงฆ์ที่ลอยใกล้ปากแม่น้ำย่างกุ้ง[38] มีผู้ประท้วง 5,000 คนในรัฐยะไข่เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด ลดราคาสินค้า และลดความดื้อดึง[39]
2 ตุลาคม
แก้อิบราฮิม กัมบารีเข้าพบอองซาน ซูจีเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เข้าพบตัน ฉ่วย ที่เนปยีดอว์ โดยแสดงความกังวลถึงความรุนแรงที่ปะทุขึ้น[40] มีพระสงฆ์ปฏิเสธการรับบิณฑบาตจากทหาร[41] สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประชุมและอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในพม่า เรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมทั้งหมดระหว่างการประท้วง
3 ตุลาคม
แก้พระสงฆ์ 25 รูปถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยจับกุมที่วัดในย่างกุ้งตอนกลางคืน พระสงฆ์บางส่วนพยายามหนีจากย่างกุ้ง แต่คนขับรถบัสปฏิเสธไม่รับ[42]
4 ตุลาคม
แก้ร่างของเคนจิ นากาอิ นักวารสารชาวญี่ปุ่น ถูกส่งถึงญี่ปุ่น ต้นสังกัดของเขาเรียกร้องให้ทหารคืนกล้องของเขา[43]
5 ตุลาคม
แก้รอยเตอร์รายงานว่าผู้ประท้วงที่ถูกจับตัวได้จะถูกจำคุก 2-5 ปี ส่วนแกนนำถูกจำคุก 20 ปี ทหารพม่าเข้าปรามปรามการประท้วงที่ยะไข่ที่ดำเนินมาได้ 3 วัน[44]
8 ตุลาคม
แก้มีการขว้างปาก้อนหินใส่ทหารในย่างกุ้ง และสามารถจับผู้ขว้างปาก้อนหินบางคนได้[45]
10 ตุลาคม
แก้มีรายงานว่าวิน ชเว สมาชิกสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเสียชีวิตในสะกายง์ บริเวณภาคกลางของพม่า เขาและผู้ร่วมงานอีก 5 คน ถูกจับเมื่อ 26 กันยายน มีพยานเล่าว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยค้นบ้านเรือนผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการประท้วง ร่างของวิน ชเวไม่ได้ถูกส่งคืนให้ครอบครัวแต่ถูกเผาไป[46] มีรายงานว่านายพล 5 คน และทหารอีกราว 400 นายในพื้นที่ใกล้เคียงมัณฑะเลย์ถูกสั่งขังเพราะปฏิเสธที่จะยิงและจับกุมพระสงฆ์ระหว่างการประท้วง[47]
12 ตุลาคม
แก้ทหารได้จับกุมอดีตผู้นำในการประท้วง พ.ศ. 2531 จำนวน 4 คน ทหารได้จัดแรลลี่เพื่อสนับสนุนรัฐบาลในย่างกุ้ง แต่มีผู้เข้าร่วมน้อยกว่าที่รัฐบาลคาดหวัง[48]
16 ตุลาคม
แก้ญี่ปุ่นประกาศยกเลิกการให้เงินสนับสนุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์แก่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการกระทำของกองทัพพม่า
17 ตุลาคม
แก้รัฐบาลปล่อยตัวแกนนำการประท้วงบางคน เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าได้กล่าวอ้างว่าประธานพรรค NLD อู จอไคน์และเลขาธิการพรรค โก มัน อ่อง ถูกจำคุก 7 ปีครึ่ง อู ทุนจี และอู ทันเป สมาชิกพรรค ถูกจำคุก 4 ปีครึ่ง อู เซ่งจออยู่ระหว่างการสอบสวน มีสมาชิกพรรคถูกจับกุมไปทั้งหมด 280 คน โดยถูกจับในมัณฑะเลย์ 50 คน[49] และอู อินทริยา พระสงฆ์ที่เป็นผู้นำการประท้วงในชิตตเวถูกจำคุก 7 ปีครึ่ง[50]
18 ตุลาคม
แก้อดีตครู 2 คนคือ ติน หม่อง โอ และนินิไมมาขึ้นศาลหลังจากกล่าวต่อต้านกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล และถูกกลุ่มผู้สนับสนุนจับตัวเมื่อ 16 ตุลาคม ซึ่งศาลให้เข้ามาฟังคำตัดสินในวันที่ 30 ตุลาคม[51]
20 ตุลาคม
แก้รัฐบาลทหารยังประกาศห้ามออกนอกเคหสถานในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์[52]
24 ตุลาคม
แก้มีชนกลุ่มน้อยในพม่าราวร้อยคนได้ลี้ภัยไปยังรัฐไมโซรัม ประเทศอินเดีย ที่มีชายแดนติดต่อกับพม่าเพื่อหลีกหนีการปกครองของทหาร โดยพวกเขาถูกบังคับให้เข้าร่วมแรลลีของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและต้องจ่ายเงินถึง 10,000 จ๊าด บางส่วนถูกจับกุมเพราะเป็นบาทหลวง ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชาวฉิ่นที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งกล่าวว่าถูกบีบให้ออกจากพม่าเพราะนับถือศาสนาคริสต์และไม่ใช่ชาวพม่า[53][54]
26 ตุลาคม
แก้ตำรวจปราบจลาจลและทหารหลายร้อยคนพร้อมไรเฟิลเข้าประจำการในถนนในย่างกุ้ง[55] ล้อมรอบพระเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์สุเลเพื่อป้องกันการประท้วงอีกรอบหนึ่ง แต่ไม่พบการประท้วงใด ๆเกิดขึ้น
31 ตุลาคม
แก้พระภิกษุมากกว่า 100 รูปเดินขบวนในเมืองปะกกกูทางตะวันตกเฉียงเหนือของย่างกุ้ง ซึ่งเป็นการเดินขบวนครั้งแรกหลังการปราบปรามของกองทัพในเดือนกันยายน[56] พระภิกษุที่ประท้วงกล่าวกับเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าว่า พวกเขายังไม่ได้ในสิ่งที่เรียกร้องคือค่าครองชีพที่ต่ำลง และการปล่อยตัวอองซาน ซูจีโดยทันที รวมทั้งนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังด้วย[57]
กันยายน พ.ศ. 2551
แก้หนึ่งปีหลังการประท้วงเริ่มต้น สัญลักษณ์ของการต่อต้านเล็กน้อยยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเครื่องหมายหยุด ที่ประทับตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเตือนความจำถึงการประท้วง[58]
ความเสียหาย
แก้จำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไม่ชัดเจน รายงานที่เป็นทางการกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิต 13 ราย[59] ช่างภาพชาวญี่ปุ่น เคนจิ นากาอิ เป็นชาวต่างชาติคนเดียวที่เสียชีวิต แต่เป็นไปได้ว่าจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่ารายงานที่เป็นทางการ[60] สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติรายงานว่า แหล่งข่าวอิสระกล่าวว่ามีพระภิกษุ 30 – 40 รูป และพลเรือน 50-70 คนถูกฆ่า[61] วิทยุเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่ารายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 138 คน[62]
การจับกุมและการปล่อยตัว
แก้ในวันที่ 7 ตุลาคม สำนักข่าวอัลญาซีรารายงานว่ามีผู้จับกุมอย่างน้อย 1,000 คน ในวันที่ 11 ตุลาคม มีรายงานว่ามีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 2,100 คน และถูกปล่อยตัวมาแล้ว 700 คน[63] แต่แหล่งข่าวต่างประเทศรายงานว่าถูกจับกุมมากกว่า 6,000 คน[64] ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ศาลในคุกอินเส่ง สั่งจำคุกสมาชิกกลุ่มนักศึกษา 88 จำนวน 14 คน ที่ถูกจับกุมระหว่างการประท้วงให้ถูกจำคุก 65 ปี นักกิจกรรม 26 คน รวมทั้งพระภิกษุ 5 รูปถูกจำคุก 6-24 ปี[65] อูคัมภีระถูกตัดสินจำคุก 68 ปี[66]
การควบคุมอินเทอร์เน็ต
แก้รัฐบาลพยายามบล็อกเว็บไซต์ทั้งหมดและบริการที่นำข่าวหรือข้อมูลเกี่ยวกับพม่า ป้องกันการเข้าถึงอีเมล แต่ผู้ประท้วงสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้[67] ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในย่างกุ้งรายงานถึงการเซ็นเซอร์การโพสต์ภาพและวีดีโอในบล็อก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในพม่าพยายามใช้อินเทอร์เน็ตฟอรัมเพื่อหาข้อมูลภายนอกที่ไม่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น ในวันที่ 28 กันยายน มีรายงานว่ารัฐบาลได้สกัดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั้งหมด[68][69]อินเทอร์เน็ตใช้งานได้อีกครั้งในราววันที่ 6 ตุลาคม
ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อเหตุการณ์
แก้- สิงคโปร์ - โฆษกรัฐบาลสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์ผ่านอีเมลว่า วิตกต่อข่าวการใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมในพม่าเป็นอย่างยิ่ง และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าใช้ความอดกลั้น พร้อมกับขอให้ทุกฝ่ายหาทางสร้างความปรองดองและหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการยั่วยุ พร้อมประกาศแนะให้ชาวสิงคโปร์ที่อาศัยอยู่ในพม่าไปลงชื่อในเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุจำเป็นขึ้นมา[70]
- ญี่ปุ่น - รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น นายมะซะฮิโกะ คุมุระกล่าวว่า ญี่ปุ่นในฐานะเป็นผู้บริจาครายใหญ่ให้แก่พม่ากำลังกดดันให้ทางรัฐบาลพม่าแสดงความอดกลั้นในการตอบโต้ผู้ประท้วง และทางญี่ปุ่นจะยังคงเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดต่อไป
- มาเลเซีย - รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย นายซายเอ็ด ฮามิด อัลบาร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่ามาเลเซียเชื่อว่ามาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่านั้นไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ดี แต่หนทางที่ดีสุดในการแก้ไขปัญหาคือให้พยายามสร้างความสมานฉันท์พร้อมให้ดำเนินการจัดร่างรัฐธรรมนูญต่อไป พร้อมหวังว่าสถานการณ์คงไม่เลวร้ายลงไปจนต้องให้สหประชาชาติมาแทรกแซง[71]
- สหราชอาณาจักร - นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายกอร์ดอน บราวน์ เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าในทันที พร้อมเสนอให้สหประชาชาติส่งผู้แทนพิเศษไปยังพม่า[72]
- สหรัฐอเมริกา - ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช กล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติว่า สหรัฐฯ จะบังคับใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินนอกจากนี้ พร้อมประกาศว่าจะเพิ่มมาตรการห้ามออกวีซ่ากับคณะผู้นำรัฐบาลพม่าที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน[73]
- จีน - นายกรัฐมนตรีจีน นายเวิน เจีย เป่า ระบุผ่านแถลงการณ์กระทรวงต่างประเทศจีนว่าหลังได้หารือทางโทรศัพท์กับนายกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษ ทางจีนหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพม่าจะใช้ความอดทนอดกลั้น และใช้สันติวิธีทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็วที่สุด รวมถึงสนับสนุนการสร้างความสมานฉันท์และประชาธิปไตยในชาติ[74] ถึงอย่างไรก็ตาม ทางจีนก็มิได้พูดถึงเรื่องพม่าเลยในการประชุมสหประชาชาติ[75]
- ทิเบต - องค์ทะไลลามะ ได้กล่าวว่าสนับสนุนกลุ่มพระสงฆ์ที่เรียกร้องเพื่อการอิสรภาพและประชาธิบไตย พร้อมให้พรกับกลุ่มผู้ประชุม และนางอองซานซูจี[76]
- สหภาพยุโรป - โฆษกของนายฆาบิเอร์ โซลานา ผู้ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า นายเฮลกา ชมิดต์ รองผู้ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของอียู ได้เรียกนาย ฮาน ตู่ อุปทูตพม่าประจำกรุงบรัสเซลส์เข้าพบ โดยนายชมิดต์ได้เตือนว่าอียูกำลังเตรียมขยายการคว่ำบาตรกับรัฐบาลทหารพม่า พร้อมกับเตือนว่าตอนนี้อียูกำลังประสานงานกับทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของพม่าในเรื่องนี้อยู่ นอกจากนั้นนักการทูตยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ก็กำลังหารือกับตัวแทนประเทศอาเซียนทั้งหมด เพื่อกระตุ้นให้ประเทศเหล่านี้ออกมากดดันพม่าด้วย ขณะเดียวกันอียูก็กำลังวางแผนให้การช่วยเหลือชาวพม่าโดยตรงอีกด้วย[77]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9500000100787[ลิงก์เสีย] พม่าอ้างขึ้นราคาน้ำมันเพื่อแบ่งเบาภาระประเทศ
- ↑ "Military junta threatens monks in Burma". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-10. สืบค้นเมื่อ 2009-09-25.
- ↑ "100,000 Protestors Flood Streets of Rangoon in "Saffron Revolution"".
- ↑ http://www.voanews.com/thai/2007-09-20-voa2.cfm พระสงฆ์หลายร้อยรูปในพม่า เดินขบวนประท้วงรัฐบาลทหารเป็นครั้งที่ 2
- ↑ http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9658&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai การปรากฏตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ออง ซาน ซูจี
- ↑ "นาทีระทึก?! ชายปริศนาตายในย่างกุ้ง". ผู้จัดการออนไลน์. 27 กันยายน 2007.
- ↑ http://www.sanspo.com/shakai/top/sha200709/sha2007092801.html เก็บถาวร 2012-09-10 ที่ archive.today ミャンマーで邦人カメラマン死亡…デモ取材中の長井健司さん", 2007-09-28.
- ↑ "ทูตพิเศษของสหประชาชาติมุ่งหน้าสู่พม่าเพื่อคลี่คลายวิกฤตการณ์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 29 กันยายน 2007.
- ↑ The hardship that sparked Burma's unrest BBC, 2 October 2007 เก็บถาวร 21 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The hardship that sparked Burma's unrest BBC News 2 October 2007
- ↑ Burma leader's lavish lifestyle aired BBC, 2 November 2006
- ↑ "Asia Times Online :: Southeast Asia news - Fuel price policy explodes in Myanmar". atimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 16 May 2015.
- ↑ Glenn Kessler, U.S. Condemns Burmese Arrests Of 13 Dissidents: Sharp Increases in Prices Spur Protests The Washington Post, 23 August 2007
- ↑ Q&A: Protests in Burma BBC, 24 September 2007
- ↑ 20,000 March in Myanmar protest. เก็บถาวร 12 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 100,000 protest Myanmar junta CNN, 24 September 2007. เก็บถาวร 25 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Burmese military threatens monks". BBC News. 24 September 2007. สืบค้นเมื่อ 1 January 2010.
- ↑ Burmese riot police attack monks BBC News, 9 October 2007
- ↑ Myanmar junta sets curfew Reuters, 25 September 2007.
- ↑ "Pro-democracy politician arrested in Myanmar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-08. สืบค้นเมื่อ 10 April 2009.
- ↑ Jenkins, Graeme; Paris, Natalie (26 September 2007). "Burma troops charge monks with batons". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
- ↑ Burma riot police beat back monks BBC, 26 September 2007.
- ↑ Over 100,000 people in Rangoon and parts of Burma protest Mizzima News, 26 September 2007. เก็บถาวร 23 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Burmese junta raids monasteries, arrests over 200 monks Mizzima News, 27 September 2007. เก็บถาวร 23 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Insect spray to be used for crackdown on protesters Mizzima News, 27 September 2007. เก็บถาวร 23 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Jenkins, Graeme (27 September 2007). "Burma troops issue 'extreme action' ultimatum". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 27 September 2007.
- ↑ "Soldater dræber ni i Myanmar". Politiken. 27 September 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 27 September 2007.
- ↑ "Japansk fotograf dræbt i Myanmar". TV2. 27 September 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 27 September 2007.
- ↑ Than Shwe's family in Laos Mizzima News, 27 September 2007. เก็บถาวร 3 มกราคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Troops marching to Rangoon Mizzima News, 28 September 2007. เก็บถาวร 31 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Burma-Myanmar Genocide". สืบค้นเมื่อ 10 April 2009.
- ↑ Rangoon: ‘army mutiny’ reported The First Post Newsdesk special report. เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ New protests on Rangoon streets BBC News article.
- ↑ Breaking News – Gambari meets Daw Aung San Suu Kyi Mizzima News 30 September 2007. เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 30 Sept ko htike's prosaic collection), 30 September 2007.
- ↑ UN envoy waits for talks with Burmese junta ABC News 1 October 2007
- ↑ Army barricades lifted around key Myanmar temple เก็บถาวร 2009-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters, India 1 October 2007.
- ↑ Burmese monks 'to be sent away' BBC News 1 October 2007
- ↑ New Protests in Arakan เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Narinjara News 1 October 2007
- ↑ UN envoy holds key Burmese talks BBC News 2 October 2007
- ↑ Myanmar's monks keep up protests from prison The Globe and Mail 3 October 2007
- ↑ Monks trying to escape Rangoon BBC News 3 October 2007
- ↑ Reporter's body returned to Japan BBC News 4 October 2007
- ↑ Troops Dispatched to Man Aung to Crack Down on Demonstration เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Narinjara News 5 October 2007
- ↑ Resistance to Myanmar Soldiers Continues The Guardian 8 October 2007 เก็บถาวร 25 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Burma activist dies in custody BBC World News, 11 October 2007
- ↑ Generals, soldiers jailed for refusing to shoot monks Jakarta Post, 10 October 2007 เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Pro-junta rally to be held in Rangoon". Mizzima. 12 October 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2017-02-18.
- ↑ Arakan NLD members jailed Democratic Voice of Burma 18 October 2007 เก็บถาวร 15 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Five NLD Members, One Monk Sentenced to Prison The Irrawaddy 18 October 2007
- ↑ Bago couple arrested for challenging government protests Democratic Voice of Burma 19 October 2007 เก็บถาวร 15 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Burma lifts curfew on main cities BBC NEWS | Asia-Pacific | Burma lifts curfew in main cities BBC 20 October 2007. Retrieved 20 October 2007.
- ↑ BBC NEWS | South Asia | Burma minority 'fleeing to India' BBC, Burma minority 'fleeing to India' Retrieved 24 October 2007.
- ↑ "The News International: Latest News Breaking, Pakistan News". thenews.com.pk. สืบค้นเมื่อ 16 May 2015.
- ↑ One month on, Burmese regime stages show of strength Guardian Newspaper online (UK). Retrieved 26 October 2007 เก็บถาวร 27 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Yahoo News UK & Ireland - Latest World News & UK News Headlines". uk.news.yahoo.com. สืบค้นเมื่อ 16 May 2015.
- ↑ Monks return to streets of Burma BBC. Retrieved 2 November 2007.
- ↑ 'In tiny acts of defiance, a revolution still fickers เก็บถาวร 2008-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Times, 26 September 2008.
- ↑ More Burma protesters arrested as curfew orders ignored ABC News Australia
- ↑ Death Toll may be higher than reported Forbes
- ↑ "Myanmar: UN rights expert to probe allegations of abuses during crackdown" (Press release). UN News Centre. 25 October 2007. สืบค้นเมื่อ 25 October 2007.
- ↑ Michael Casey (1 ตุลาคม 2007). "Groups struggle to tally Myanmar's dead". Associated Press.
- ↑ "US Diplomat Meets Burma Leader". Time. Associated Press. 12 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2008. สืบค้นเมื่อ 10 April 2009.
- ↑ AJE – Al Jazeera English Aljazeera News, More protesters held in Myanmar.
- ↑ "40 Burmese Dissidents Given Prison Terms of up to 65 Years". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-02-26.
- ↑ "MYANMAR: Monk Receives 68 Years in Prison" (PDF). Amnesty International. 3 ตุลาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2011.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนChallenging the Authoritarian State: Buddhist Monks and Peaceful Protests in Burma. vol.32:1 winter 2008. Retrieved 7 April 2009. 16 May 2009.
- ↑ Burma 'cuts all Internet links' Bangkok Post, 28 September 2007
- ↑ Warning Shots Fired At Protesters Sky News, 28 September 2007
- ↑ http://www.komchadluek.net/2007/09/26/a001_156527.php?news_id=156527 ต่างชาติเตือนรัฐบาลพม่า
- ↑ "ASEAN will never suspend Burma, says Malaysia". ABC AU. 16 ตุลาคม 2007.
- ↑ http://www.titv.in.th/World/ เก็บถาวร 2007-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "บราวน์" นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติจัดประชุมด่วนเรื่องพม่า
- ↑ http://www.titv.in.th/World/ เก็บถาวร 2007-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "บุช" ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจพม่า
- ↑ "Premier Wen Jiabao Holds Telephone Talks with His British Counterpart Brown". Consulate-General of the People Republic of China in Manchester. 28 กันยายน 2007.
- ↑ "China quietly prods Myanmar leaders to calm tensions". CNN. 26 กันยายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ธันวาคม 2007.
- ↑ http://www.tibet.com/NewsRoom/hhburma1.htm เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน His Holiness supports call for democracy in Burma
- ↑ "EU Urges China to Pressure Myanmar Rulers on Crackdown". Deutsche Welle (ภาษาอังกฤษ). 30 กันยายน 2007.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กลุ่มพระสงฆ์เริ่มเคลื่อนตัวในวันที่ 24 กันยายน ที่ยูทูบ
- กลุ่มพระสงฆ์พร้อมด้วยประชาชนเรือนแสนเริ่มเคลื่อนขบวนในวันที่ 24 กันยายน ที่ยูทูบ
- กลุ่มตำรวจปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมในวันที่ 26 กันยายน ที่ยูทูบ
- ขบวนประท้วงในวันที่ 27 กันยายน ที่ยูทูบ
- ทหารยิงกลุ่มผู้ประท้วงอย่างรุนแรงในวันที่ 27 กันยายน ที่ยูทูบ
- ทหารพม่ายิงนาย เคนจิ นากาอิ จนเสียชีวิตลงในวันที่ 27 กันยายน ที่ยูทูบ
- ย่างกุ้งในวันที่ 28 กันยายน ที่ยูทูบ