กฤษณ์ กาญจนกุญชร

กฤษณ์ กาญจนกุญชร (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2491) กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[1] อดีตอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์ อดีตราชเลขาธิการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาล กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549

กฤษณ์ กาญจนกุญชร
อธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าตนเองในฐานราชเลขาธิการ
ถัดไปพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล
ราชเลขาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าอาสา สารสิน
ถัดไปตนเองในฐานอธิบดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 ตุลาคม พ.ศ. 2491 (76 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสระวีวรรณ จารุสุนทรศรี
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

กฤษณ์ กาญจนกุญชร เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2491 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมายจากควีนส์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประกาศนียบัตรกฎหมายระหว่างประเทศ และปริญญาเอกสาขาเดียวกัน มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ทั้งผ่านหลักสูตร วปอ. รุ่น 37

การทำงาน

แก้

กฤษณ์เริ่มเข้ารับราชการเป็นเลขานุการตรี กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเศรษฐกิจสัมพันธ์และความร่วมมือ กรมเศรษฐกิจ, รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, ในปี พ.ศ. 2532 ดำรงตำแหน่งอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ต่อมาไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง, อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, ปี พ.ศ. 2538 ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา, อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ครั้งที 2, อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก, รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส, ปี พ.ศ. 2547 เป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แล้วในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2550 เป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ต่อมา ปี พ.ศ. 2551 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นรองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ [2]

ในอดีต กฤษณ์เป็นอดีตกรรมการธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 12 ตุลาคม 2549 - 1 เมษายน 2550[3] และจากนั้น ดร. กฤษณ์ กาญจนกุญชร ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ ตามพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สืบต่อจากอาสา สารสิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555[4] และรวมทั้งเป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[5]

ในปี พ.ศ. 2555 มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของสำนักราชเลขาธิการ ไปจัดตั้งเป็นกรมราชเลขานุการในพระองค์ สังกัดสำนักพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเขาเป็นราชเลขานุการในพระองค์ ระดับ 11 เทียบเท่าเลขาธิการพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  2. ราชเลขาธิการคนใหม่ กฤษณ์ กาญจนกุญชร
  3. รู้จัก "กฤษณ์ กาญจนกุญชร" ราชเลขาธิการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[ลิงก์เสีย]
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (พิเศษ 149 ง): 12. 1 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "คณะกรรมการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  6. "พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 150 ง): 1. 6 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  9. 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐๐, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
ก่อนหน้า กฤษณ์ กาญจนกุญชร ถัดไป
อาสา สารสิน   ราชเลขาธิการ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)
  ยุบเลิกตำแหน่ง
สถาปนาตำแหน่ง   อธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์
(4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน)
  พลอากาศเอก​ สถิตย์พงษ์ สุขวิมล