มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: University of Manchester) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่มาก มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ที่แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร โดยเป็นการรวมกันระหว่างมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์วิกตอเรียและมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาจำนวนมากที่สุดในสหราชอาณาจักรรวมทุกระดับ ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาโดยไม่นับมหาวิทยาลัยเปิด (Open University) นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมอย่างมากในบรรดานักศึกษานอกสหภาพยุโรปอีกด้วย[6]
คติพจน์ | ละติน: Cognitio, sapientia, humanitas อังกฤษ: Knowledge, Wisdom, Humanity ไทย: เสริมสร้างความรู้ เชิดชูปัญญา พัฒนาการครองคน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถาปนา | พ.ศ. 2547 – มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สถาบันก่อนหน้า: พ.ศ. 2499 – มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ พ.ศ. 2447 – มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์วิกตอเรีย พ.ศ. 2423 – มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย พ.ศ. 2394 – วิทยาลัยโอเวนส์ พ.ศ. 2367 – สถาบันกลศาสตร์แมนเชสเตอร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทุนทรัพย์ | £238.4 ล้าน (31 กรกฎาคม 2562)[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณ | £1095.4 ล้าน (2561–2562)[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อธิการบดี | Lemn Sissay MBE[2] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | Dame Nancy Rothwell[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาจารย์ | 3,849 คน[4] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ศึกษา | 40,250 คน (2561-2562)[5] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปริญญาตรี | 26,855 คน (2561-2562){[5] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บัณฑิตศึกษา | 13,395 คน (2561-2562)[5] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยาเขต | ในเมืองและชานเมือง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สี | ผ้าพันคอ: ม่วงและทอง, องค์กร: ม่วง ทอง และฟ้า
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครือข่าย | Universities Research Association Sutton 30 กลุ่มรัสเซล EUA กลุ่ม N8 NWUA ACU Universities UK | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | manchester.ac.uk | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และบูรพสถาบันทั้งสอง เป็นสถานที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลจำนวนหลายท่าน อาทิ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด, โจเซฟ จอห์น ทอมสัน, นีลส์ บอร์, เจมส์ แชดวิก ฯลฯ
ประวัติ
แก้ยุคเริ่มแรก
แก้มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ถือกำเนิดจากการรวมกันระหว่างมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแมนเชสเตอร์ (Victoria University of Manchester) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ หรือยูมิสต์ (University of Manchester Institute of Science and Technology; UMIST) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยมีการทำความตกลงที่จะรวมสถาบันกันในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 [7][8]
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฯ มีประวัติย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ. 2367 ซึ่งได้มีการก่อตั้งสถาบันช่างกล (Mechanics' Institute) เพื่อให้ทำการสอนแก่นายช่างฝีมือ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2456 เพื่อรองรับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก[9] เมื่อวิทยาลัยเจริญมากขึ้น จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ เมื่อ พ.ศ. 2498 [10]
ส่วนมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ก่อตั้งขึ้นโดยเงินที่จอห์น โอเวนส์ (John Owens) พ่อค้าชาวอังกฤษอุทิศให้จำนวนทั้งสิ้น 96,942 ปอนด์ทองคำ (หรือ 5 ล้าน 6 แสนปอนด์ในปัจจุบัน[11]) โดยก่อตั้งเป็นวิทยาลัยชื่อ วิทยาลัยโอเวนส์ ตามนามสกุลเจ้าของเงินทุน มีที่ตั้งอยู่ที่บ้านของริชาร์ด คอบเดน (Richard Cobden) ต่อมาเมื่อวิทยาลัยขยายตัว จึงได้ย้ายออกไปยังถนนออกซฟอร์ด และใช้บ้านดังกล่าวเป็นที่ตั้งของศาลจังหวัดแมนเชสเตอร์แทน ครั้นกิจการของวิทยาลัยเจริญมากขึ้น จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย เมื่อ พ.ศ. 2423[12] ต่อมาได้มีการเติมชื่อเมืองที่ตั้งต่อท้ายเป็น มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ณ แมนเชสเตอร์ เมื่อ พ.ศ. 2446[13][14]
ยุคปัจจุบัน
แก้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติควบรวมมหาวิทยาลัยวิกตอเรียและมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฯเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547[15] มีอลัน กิลเบิร์ต (Alan Gilbert) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เป็นอธิการบดีคนแรก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2553[16] หลังจากนั้นมีแนนซี รอทเวลล์ (Nancy Rothwell) เป็นอธิการบดีสืบต่อ
เมื่อ พ.ศ. 2554 คณาจารย์สี่คนของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบล ได้แก่ แอนเดร เจม (Andre Geim)[17] คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) [18] จอห์น ซัลสตัน (John Sulston) และโจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz)
ในปีต่อมา สภาวิจัยวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์กายศาสตร์กายภาพ (Engineering and Physical Sciences Research Council; EPSRC) ได้จัดตั้งสถาบันกราฟีนแห่งชาติที่มหาวิทยาลัย ใช้เงินทุนทั้งสิ้น 45 ล้านปอนด์ โดย 38 ล้านปอนด์มาจากรัฐบาลกลาง ส่วนที่เหลือเป็นของมหาวิทยาลัย[19] เมื่อการจัดตั้งศูนย์สำเร็จ จึงได้รับเงินอีก 23 ล้านปอนด์ จากกองทุนพัฒนาท้องถิ่นยุโรป[20] พร้อมกันนั้น มหาวิทยาลัยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพได้รับเลือกเป็นที่ตั้งศูนย์นานาชาติว่าด้วยวัสดุขั้นสูง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน และมหาวิทยาลัยอิลลินอย[21][22]
ส่วนงาน
แก้มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์แบ่งออกเป็น 4 คณะวิชา แต่ละคณะมีภาควิชาสังกัด ดังนี้[23]
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวิทยาศาสตร์วิเคราะห์
- ภาควิชาเคมี
- ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ภาควิชาโลกศาสตร์ บรรยากาศ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาควิชาวัสดุศาสตร์
- ภาควิชาคณิตศาสตร์
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อากาศยาน และโยธา
- ภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์
- ภาควิชาศิลปะ ภาษาและวัฒนธรรม
- ภาควิชาสิ่งแวดล้อม ศึกษาศาสตร์ และพัฒนศาสตร์
- สถาบันนโยบายและการจัดการการพัฒนา
- ภาควิชานิติศาสตร์
- ภาควิชาบริหารธุรกิจ
- ภาควิชาสังคมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- คณะแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์มนุษย์
- ภาควิชาทันตแพทยศาสตร์
- ภาควิชาแพทยศาสตร์
- ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ การผดุงครรภ์ และสังคมสงเคราะห์
- ภาควิชาเภสัชศาสตร์
- ภาควิชาจิตวิทยา
- สถาบันสมอง พฤติกรรม และสุขภาพจิต
- สถาบันวิทยาศาสตร์มะเร็ง
- สถาบันวิทยาศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด
- สถาบันการพัฒนามนุษย์
- สถาบันการอักเสบและการซ่อมแซมร่างกาย
- สถาบันสาธารณสุขศาสตร์
ที่ตั้ง
แก้มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์มีวิทยาเขตหลักสามแห่งในใจกลางเมือง (ท้องที่อำเภอแมนเชสเตอร์) ได้แก่[24]
- วิทยาเขตถนนแซควิลล์ (Sackville Street Campus) ตั้งที่ถนนแซควิลล์ วิทยาเขตนี้เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ใจกลางเมืองที่สุด
- วิทยาเขตถนนออกซฟอร์ด (Oxford Road Campus) ตั้งที่ถนนออกซฟอร์ด
ทั้งสองวิทยาเขตมีมหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ (Manchester Metropolitan University) และอาคารที่มิใช่ส่วนงานของมหาวิทยาลัยคั่นกลาง นอกจากนี้ ยังมีวิทยาเขตฟอลโลว์ฟีลด์ (Fallowfield Campus) ตั้งห่างจากวิทยาเขตทั้งสองลงไป 3 กิโลเมตร ใช้เป็นที่ตั้งหอพักนักศึกษาและอาจารย์
นอกจากที่ตั้งทั้งสามแห่งในเขตจังหวัดแมนเชสเตอร์แล้ว มหาวิทยาลัยยังมีหอดูดาวจอร์เดรลล์ แบงก์ (Jordrell Bank Observatory) ที่จังหวัดเชชเชอร์ และศูนย์การประชุมที่ตำบลมอสตัน อำเภอแมนเชสเตอร์ จังหวัดแมนเชสเตอร์[25]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Financial statements for the year ended 31 July 2021". University of Manchester. สืบค้นเมื่อ 2 February 2022.
- ↑ "Lemn Sissay announced as next University of Manchester Chancellor". The University of Manchester. 22 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 25 April 2017.
- ↑ ROTHWELL, Dame Nancy (Jane). ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2015 (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc. (ต้องรับบริการ)
- ↑ Facts and Figures, The University of Manchester, 2013, p24
- ↑ 5.0 5.1 5.2 แม่แบบ:HESA citation
- ↑ "Table 1 - UK/EU/non-EU students by HE provider". hesa.ac.uk. Higher Education Statistics Agency. 21 January 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ "Manchester merger creates UK's largest university". London: The Guardian. 6 March 2003. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
- ↑ Carter, Helen (7 March 2003). "Super university for Manchester". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
- ↑ "Our History". The University of Manchester. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07. สืบค้นเมื่อ 6 November 2014.
- ↑ "History and Origins". The University of Manchester. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-02. สืบค้นเมื่อ 17 August 2011.
- ↑ "National Archives Currency Converter ~ 1850". สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
- ↑ Charlton, H. B. (1951). Portrait of a university, 1851–1951. Manchester, England: Manchester University Press. pp. x, 185.
- ↑ Charlton, H. B. (1951). Portrait of a university, 1851–1951. Manchester, England: Manchester University Press. pp. x, 185.
- ↑ ขณะนั้น แมนเชสเตอร์มีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดแลงคาเชอร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงได้แยกตัวมาตั้งเป็นจังหวัดอิสระ ชื่อ เกรตเตอร์แมนเชสเตอร์ (Greater Manchester) แบ่งย่อยออกเป็น 10 อำเภอ
- ↑ "University gets royal approval". BBC News. 22 October 2004. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
- ↑ "President and Vice-Chancellor to retire". University of Manchester. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ 16 January 2010.
- ↑ GEIM, Sir Andre (Konstantin). ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2015 (online edition via Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc. (ต้องรับบริการ)
- ↑ NOVOSELOV, Sir Konstantin S. ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2015 (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc. (ต้องรับบริการ)
- ↑ "EPSRC Press Release". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 3 February 2012.
- ↑ "Huge funding boost for graphene Institute". manchester.ac.uk. 13 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
- ↑ Gosden, Emily (7 August 2012). "BP invests in UK research to help it drill deeper". London: The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
- ↑ "Research facility will explore materials use in energy sector". The Engineer. 7 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-17. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
- ↑ "Faculties and Schools". manchester.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
- ↑ "Campus Map".
- ↑ Manchester New Technology Institute. "Locations--One Central Park". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.