พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

เจ้าชายสยาม
(เปลี่ยนทางจาก กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)

มหาอำมาตย์โท[2] พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือนามปากกาว่า น.ม.ส. (10 มกราคม พ.ศ. 2420 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) เป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย เป็นองค์ต้นราชสกุล รัชนี[3]

พระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
พระราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าชั้นโท
อธิบดีกรมกษาปณ์สิทธิการ[1]
ดำรงตำแหน่ง22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447
ประสูติ10 มกราคม พ.ศ. 2420
สิ้นพระชนม์23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (68 ปี)
ชายา
หม่อม
หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี
หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา
พระบุตร11 องค์
ราชสกุลรัชนี
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาเลี่ยมเล็ก
ลายพระอภิไธย

พระประวัติ

แก้

พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับจอมมารดาเลี่ยมเล็ก (ธิดานายสุดจินดา (พลอย ชูโต) [4] ประสูติเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2420 ในพระบวรราชวัง มีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์คือพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชธิดา

เมื่อเยาว์วัยทรงเรียนหนังสือกับพระมารดาที่ตำหนัก เมื่อพระชันษา 5 ปี ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อพ.ศ. 2429 และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึงพ.ศ. 2436 จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษา 16 ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ผนวชเป็นสามเณร โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระเมธาธรรมรส (อ่อน อหึสโก) เป็นพระศีลาจารย์[5]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย ทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลาสองปี และเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2442

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[6]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระริเริ่มตั้งลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2470 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการองคมนตรี[7] โดยทรงได้รับเลือกเป็นสภานายก เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2474[8]

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ด้วยพระโรคหลอดเลือดในสมองตัน สิริพระชันษา 68 ปี 195 วัน มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2491 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[9]

พระกรณียกิจ

แก้

พ.ศ. 2442 ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี

พ.ศ. 2444 ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็นผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์

วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นองคมนตรี[10] และในวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น พระราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงศักดินา 11000 เครื่องยศพระราชทานประกอบด้วย พระมาลาเส้าเสทิน เครื่องทองคำลงยา มีพระยี่ก่า หีบหมากทองคำลงยา กากระบอกมีถาดรองทองคำ และพระแสงดาบญี่ปุ่นฝักถม[11] ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีต่อไป[12] โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[13]

พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"[14]

การสหกรณ์ไทย

แก้

ทรงดำริให้จัดสร้างสหกรณ์วัดจันทร์ สหกรณ์แห่งแรกของไทย[15]

พระนิพนธ์

แก้
 
ปกนิทานเวตาล ฉบับแปลโดย น.ม.ส.

ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากตัวอักษรท้ายพระนามเดิม รัชนี แจ่ม จรัส ทรงมีผลงานตีพิมพ์ (บางส่วน) ได้แก่

  • พ.ศ. 2447 - สงครามญี่ปุ่น กับ รัสเซีย 2 เล่ม
  • พ.ศ. 2448 - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2453 - สืบราชสมบัติ
  • พ.ศ. 2459 - พระนลคำฉันท์ และ ตลาดเงินตรา
  • พ.ศ. 2461 - นิทานเวตาล พิมพ์ครั้งแรก เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพัฒน์ รัชนี
  • พ.ศ. 2465 - กนกนคร
  • พ.ศ. 2467 - ความนึกในฤดูหนาว
  • พ.ศ. 2469 - ปาฐกถา เล่ม 1 พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม
  • พ.ศ. 2472 - ปาฐกถา เล่ม 2
  • พ.ศ. 2473 - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญา
  • พ.ศ. 2473 - กลอนและนักกลอน
  • พ.ศ. 2474 - เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2475
  • พ.ศ. 2474 - บทร้อง"อโหกุมาร" - ทรงนิพนธ์ด้วยสยามวิเชียรฉันท์8 ประทานให้เป็นบทร้องประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์
  • พ.ศ. 2474 - กาพย์เรื่องศรีธนนชัย[16]: 177 
  • พ.ศ. 2474 - คำทำนาย
  • พ.ศ. 2475 - ฉันท์สดุดีสังเวยสมโภชพระมหาเศวตฉัตร[16]: 176 
  • พ.ศ. 2477 - เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์
  • พ.ศ. 2477 - สักรวาไปรษณีย์[16]: 176 
  • พ.ศ. 2478 - นิทานกลอนพาไป[16]: 177 
  • พ.ศ. 2480 - เสภาสภา[16]: 176 
  • พ.ศ. 2480 - สักรวาชุด (สักรวาคราเลือกตั้ง สักรวาชุดชายสามโบสถ์ และสักวาชุดของครูเทพ)[16]: 177 [17]: 74 
  • พ.ศ. 2480 - โคลงนิทานกันโชกรามเกียรติ์[16]: 177 
  • พ.ศ. 2480 - โคลงไหว้ครู[18]: 7 
  • พ.ศ. 2481 - ปฤษาณาเถลิงศก[16]: 177 
  • (ไม่ทราบปีที่พิมพ์ แต่ทรงนิพนธ์ช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2) - ยุคกลางในยุโรป หรือ นิทานชาลมาญ
  • พ.ศ. 2487 - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรต้อกระจก ทรงให้ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต (พระธิดาในกรม) จดตามคำบอกของพระองค์

ครอบครัว

แก้
 
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ และหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี พระชายา

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ได้ทำพิธีอาวาหะมงคลกับหม่อมพัฒน์ (สกุลเดิม บุนนาค) บุตรีของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2444 มีพระโอรส-ธิดาหกองค์[19] ครั้นเมื่อหม่อมพัฒน์ถึงแก่กรรมแล้ว พระองค์จึงเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (พระนามเดิม หม่อมเจ้าพิมลพรรณ วรวรรณ) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์[20] เมื่อ พ.ศ. 2462 มีพระโอรส-ธิดาด้วยกันสององค์

ประสูติแต่หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา ต.จ.
  1. จันทร์เจริญ รัชนี (พ.ศ. 2445–2515) นามปากกา จ.จ.ร.[21]
  2. ศะศิเพลินพัฒนา บุนนาค
  3. หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) นามปากกา พ. ณ ประมวญมารค
  4. หม่อมเจ้ารัชนีพัฒน์พิทยาลงกรณ์ รัชนี
  5. ศะศิธรพัฒนวดี บุนนาค (18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549) เสกสมรสกับวิลาศ บุนนาค มีบุตรสี่คน[22]
  6. หม่อมเจ้าจันทร์พัฒน์โมลีจุฑาพงศ์ รัชนี (12 มิถุนายน พ.ศ. 2459 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
ประสูติแต่หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี
  1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) นามปากกา ว. ณ ประมวญมารค เสกสมรสกับหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต มีพระธิดาสองคน
  2. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี (20 มกราคม พ.ศ. 2465 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) นามปากกา ภ. ณ ประมวญมารค เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ดัชรีรัช[23] หรือดัชรีรัชนา[24] (ราชสกุลเดิม วรวรรณ) มีโอรส-ธิดาสามคน
ไม่ทราบหม่อม
  1. หม่อมเจ้าจันทร์จิรกาล รัชนี
  2. หม่อมเจ้าชาย
  3. หม่อมเจ้าจันทร์จรัส รัชนี (ไม่มีข้อมูล – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2450)

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
 
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • 10 มกราคม พ.ศ. 2420 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 : พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 : พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 : พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   อิตาลี :
    • พ.ศ. 2458 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1[32]

พระสมัญญานาม

แก้

พระยศ

แก้
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
รับใช้กองเสือป่า
ชั้นยศนายกองตรี

พระยศพลเรือน

แก้
  • มหาอำมาตย์ตรี[34]
  • มหาอำมาตย์โท[35][36]

พระยศเสือป่า

แก้
  • นายหมู่ตรี[37]
  • นายหมู่โท[38]
  • นายหมู่ใหญ่[39]
  • นายกองตรี[40]

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ. เล่ม ๒๑ หน้า ๖๒๔. วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๓.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานยศเลื่อนยศ. เล่ม ๓๐ หน้า ๙๗๖. วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๔๕๖.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๗๒. เล่ม ๓๔ หน้า ๒๑๑๕. วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙.
  4. องค์ บรรจุน. หญิงมอญ, อำนาจ และราชสำนัก. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, มติชน, 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-02-0059-8.
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ข่าวพระองค์เจ้า และหม่อมเจ้าทรงผนวช. เล่ม ๖ ตอน ๑๕ หน้า ๑๒๕. วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๐๘. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานสัญญาบัตร์องคมนตรี. เล่ม ๒๘ หน้า ๑๓๔๐. วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๕๔.
  7. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศตั้งกรรมการองคมนตรี พ.ศ. ๒๔๗๔-๖. เล่ม ๔๗ หน้า ๔๓๓. วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๓.
  8. ราชกิจจานุเบกษา. สภากรรมการองคมนตรี. เล่ม ๔๘ หน้า ๑๗๖. วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๗๔.
  9. ราชกิจจานุเบกษา. หมายกำหนดการ ที่ 3/2491 พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑. เล่ม ๖๕ ตอน ๑๙ ง หน้า ๑๑๑๗. วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๑.
  10. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรี. เล่ม ๒๘ ตอน ๐ง หน้า ๑๓๔๐. วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๕๔. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559.
  11. ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา. เล่ม ๓๐ ตอน ก หน้า ๓๓๙–๓๔๒. วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๖. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559.
  12. ราชกิจจานุเบกษา. การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี. เล่ม ๔๒ หน้า ๒๗๑๔. วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๖๘.
  13. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐. เล่ม ๔๙ หน้า ๒๐๐. วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๗๕.
  14. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศตั้งกรรมการบัณฑิตย์สภา. เล่ม ๔๓ หน้า ๑๐๕–๑๐๖. วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๖๙.
  15. Jack Shaffer (31 สิงหาคม 1999). Historical Dictionary of the Cooperative Movement – Thailand. Scarecrow Press. p. 384. ISBN 978-0-8108-6631-7.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 16.7 ประทีป วาทิกทินกร. (2539). วรรณกรรมพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (Litterary Works of H.H. Prince Bidyalankarana). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์. 180 หน้า. ISBN 974-599-763-6 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  17. วัชรี รมยะนันทน์ และคณะ. (2538). รายงานผลการวิจัยเรื่อง "เพลงสักวา". โครงการวิจัยแม่บทเรื่อง วรรณคดีเพื่อความสุขของชนในชาติ: วรรณกรรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย. 266 หน้า. ISBN 978-974-6-3111-2-0
  18. จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี, หม่อมเจ้า. (2536). กวีหน้าพระลาน บ่อนโคลงนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง พ. ณ ประมวญมารค. กรุงเทพฯ: เลเซอร์ปริ๊น. 184 หน้า.
  19. "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 3 สายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ดิศ บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2018.
  20. ราชสกุลวงศ์. หน้า 180.
  21. "ชีวิต จ.จ.ร. (หม่อมเจ้าหญิงจันทร์เจริญ รัชนี)". Oncebookk. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2018.
  22. "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 7 สายพระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) บุตรพระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2018.
  23. ชีวิตเสี่ยง ๆ. หน้า 3.
  24. "ม.ร.ว. ดัชนีรัชนา (วรวรรณ) รัชนี ถึงแก่อนิจกรรม". เดลินิวส์. 29 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2018.
  25. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามสมาชิกสมาชิกาเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๖, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
  26. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๗๔, ๔ มกราคม ๒๔๕๖
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๙, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๗๙, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  30. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๕๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๒๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๖, ๕ มีนาคม ๒๔๕๘
  33. "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย". ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2018.
  34. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ. เล่ม ๒๘ หน้า ๑๐๑๕. วันที่ ๒๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๓๐.
  35. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานยศแลเลื่อนยศ. เล่ม ๓๐ หน้า ๙๗๖. วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๔๕๖.
  36. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานยศพิเศษ. เล่ม ๔๓ หน้า ๒๓๑๕. วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๖๙.
  37. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานสัญญาบัตร์กองเสือป่า. เล่ม ๒๘ หน้า ๖๖๒. วันที่ ๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๐.
  38. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานสัญญาบัตร์กองเสือป่า. เล่ม ๒๘ หน้า ๑๕๐๔. วันที่ ๘ ตุลาคม ร.ศ. ๑๓๐.
  39. ราชกิจจานุเบกษา. เลื่อนแลตั้งตำแหน่งยศนายกองนายหมู่เสือป่า. เล่ม ๓๐ หน้า ๒๖๘๔. วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖.
  40. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า. เล่ม ๓๑ หน้า ๒๒๔๒. วันที่ ๓ มกราคม ๒๔๕๗.

บรรณานุกรม

แก้
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 141. ISBN 978-974-417-594-6.
  • ภ. ณ ประมวญมารคชีวิตเสี่ยง ๆ. กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560. 30 หน้า. ISBN 978-616-18-1702-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้