กรมพลศึกษา (อังกฤษ: Department of Physical Education) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นการโอนภารกิจบางส่วนมาจากกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนและประชาชนด้วยการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬา นันทนาการ การออกกำลังกาย เล่นกีฬา สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน การส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน มีคุณภาพคู่คุณธรรมห่างไกลอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ โดยการใช้กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติ[2]

กรมพลศึกษา
Department of Physical Education
ตราพระพลบดีทรงช้างเอราวัณ
ตราประจำกรมพลศึกษา
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง9 ธันวาคม พ.ศ. 2476; 90 ปีก่อน (2476-12-09)
กรมก่อนหน้า
  • สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจส่วนราชการ
สำนักงานใหญ่สนามกีฬาแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บุคลากร218 คน (พ.ศ. 2566)
งบประมาณต่อปี774,555,000 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารกรม
  • จรูญ แก้วมุกดากุล, รักษาการอธิบดี
  • สุธน วิชัยรัตน์, รักษาการรองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

ประวัติ

แก้

ยุคก่อตั้งกรมพลศึกษา

แก้

กรมพลศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 ในชื่อ กรมพลศึกษา เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่หลักในการผลิตบุคลากรทางการศึกษาด้านพลศึกษา กิจการลูกเสือ และกิจการสารวัตรนักเรียน โดยมีหน่วยงานหลักในการดำเนินการ คือ วิทยาลัยพลศึกษา

ในปี พ.ศ. 2485 กรมพลศึกษา ได้แบ่งส่วนราชการ 6 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองกายบริหาร กองกีฬา กองกรีฑาสถานแห่งชาติ กองการลูกเสือ และกองอนุสภากาชาด[3] และมีการปรับปรุงโครงสร้างเรื่อยมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกรมพลศึกษาอีกครั้ง โดยกำหนดภารกิจให้กรมพลศึกษา มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ นันทนาการ การกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สุขภาพ ลูกเสือ ยุวกาชาด และสารวัตรนักเรียนและนักศึกษา ตลอดจนการจัดการศึกษาด้านพลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์ทางจิตและประสาท และวิทยาศาสตร์สุขภาพ[4]

ยุคสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ

แก้

ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม และถ่ายโอนภารกิจของกรมพลศึกษา แยกออกไปสังกัดกับหน่วยงานต่างๆ เช่น งานสารวัตรนักเรียน ไปขึ้นกับสำนักพัฒนานักเรียนนักศึกษาและกิจการพิเศษ งานลูกเสือ ไปขึ้นกับสำนักกิจการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนกิจการด้านการผลิตบุคลากรทางการศึกษา ไปขึ้นกับสถาบันการพลศึกษา และภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ นันทนาการ เป็นสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (Office of Sport and Recretion Development) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ยุคกรมพลศึกษา พ.ศ. 2553

แก้

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กลับไปเป็น กรมพลศึกษาเช่นเดิม [5] ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ คือ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553[6]

รายนามอธิบดี

แก้
ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1   หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) พ.ศ. 2477[7] พ.ศ. 2485[8]
2   พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2490
3   หลวงประเวศวุฑฒศึกษา (ประเวศ จันทนยิ่งยง) พ.ศ. 2490[9] พ.ศ. 2494
4 ไฟล์:อภัย จันทวิมล.jpg อภัย จันทวิมล พ.ศ. 2494[10] พ.ศ. 2495
5   พลโท เผชิญ นิมิบุตร พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2503
6   กอง วิสุทธารมณ์ พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2511
7   ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2523
8   สำอาง พ่วงบุตร พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2529
9   วิรัช กมุทมาศ พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2530
10   ปรีดา รอดโพธิ์ทอง พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2535
11   สนั่น อินทรประเสริฐ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2536
12   สุวิทย์ วิสุทธิสิน พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2537
13   กว้าง รอบคอบ พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2538
14   ไพฑูรย์ จัยสิน พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2540
15   รองศาสตราจารย์ ทองคูณ หงส์พันธุ์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541
16   สุวรรณ กู้สุจริต พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2543
17   วีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2544
18   สุทธิ ผลสวัสดิ์ พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2545
19 ไฟล์:จรวยพร ธรณินทร์.jpg จรวยพร ธรณินทร์ พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545
20   สมบัติ กลิ่นผา พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545
21   ทินกร นำบุญจิตต์ พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2550
22   สมบัติ คุรุพันธ์ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2554
23   สุวัตร สิทธิหล่อ พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2554
24   แสงจันทร์ วรสุมันต์ พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557
25   พัฒนาชาติ กฤดิบวร พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558
26   กิตติพงษ์ โพธิมู พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559
27   นเร เหล่าวิชยา พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
28   ปัญญา หาญลำยวง พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2562
29   สันติ ป่าหวาย พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563
30   นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2567

สถานที่ตั้ง

แก้

ที่ทำการของกรมพลศึกษา ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับกรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

การแบ่งส่วนราชการ

แก้
  • สำนักงานเลขานุการกรม[11]
  • สำนักการกีฬา
  • สำนักนันทนาการ
  • สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • สถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษา และการกีฬา
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มคุ้มครองจริยธรรม
  • ศูนย์ฝึกกรมพลศึกษา สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 103ก 9 ตุลาคม 2545
  3. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมพลศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2485ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 26 เล่ม 59 15 เมษายน 2485
  4. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2536ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนนที่ 189 17 พฤศจิกายน 2536
  5. “ครม.” เปลี่ยนชื่อสนง.พัฒนาการกีฬาฯเป็น “กรมพลศึกษา” พร้อมเปลี่ยนสนง.พัฒนาท่องเที่ยวเป็น “กรมการท่องเที่ยว”[ลิงก์เสีย]
  6. "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓" (PDF). Royal Gazette. 127 (52 ก): 4. 2010-08-27.
  7. ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมพลศึกษา
  8. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้นายนาวาเอก หลวงศุภชลาลัย พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา และแต่งตั้งผู้รักษาการแทน
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมพลศึกษา
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมพลศึกษา
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/048/16.PDF