จรวยพร ธรณินทร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา [1] อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อดีตกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ดร.ผดุง ธรณินทร์ มีบุตร 2 คน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร และนายพิชชา ธรณินทร์
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ | |
---|---|
ไฟล์:จรวยพร ธรณินทร์.jpg | |
เกิด | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 พระนครศรีอยุธยา |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2549-2551) |
คู่สมรส | ดร.ผดุง ธรณินทร์ |
บุตร | พ.ญ.ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร และนายพิชชา ธรณินทร์ |
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก จากการรณรงค์การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะการออกกำลังแบบแอโรบิกดานซ์ การเป็นผู้อำนวยการจัดการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ หาดยาว จังหวัดชลบุรี เมื่อปลายปี พ.ศ. 2545 และการทำงานด้านกิจการนักเรียนนักศึกษา
การศึกษา
แก้ดร.จรวยพร ธรณินทร์ สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (เกียรตินิยมและรางวัลเหรียญทอง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ระดับปริญญาโท สาขาพลศึกษา จาก มหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตต สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา จาก มหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต สหรัฐอเมริกา
ด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ได้เข้ารับการอบรมหลายหลักสูตร อาทิ นักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 13 ปรอ.3 วปรอ.4313 และ วตท.4
ประวัติการทำงาน
แก้ดร.จรวยพร ธรณินทร์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ตรี วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2513 หลังจากนั้นได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกที่สหรัฐ ด้วยทุนของรัฐบาล และกลับมารับราชการที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เดิมคือ วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพ) ต่อมา พ.ศ. 2519 ได้โอนมารับราชการในสังกัดกรมพลศึกษา และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายทดสอบสมรรถภาพ ในปี พ.ศ. 2521 หัวหน้ากองยุวกาชาด ปี พ.ศ. 2523 ผู้อำนวยการกองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพ ปี พ.ศ. 2524
ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านส่งเสริมมาตรฐานพลศึกษา และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมพลศึกษา ในปี พ.ศ. 2536 รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2537 ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พ.ศ. 2541 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมพลศึกษา พ.ศ. 2545 รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2549 จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2551
ราชการพิเศษ
แก้ในระหว่างที่รับราชการ ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการสำคัญหลายงาน อาทิ
- อ.ก.ก.ประเมินผลงานวิชาการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2534-2545
- คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ในคณะกรรมการการเลือกตั้ง) พ.ศ. 2549-2550
- กรรมการกองทุนสนับสนุนและสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2547-2551
- กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2547 - 2549
- กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (รัฐวิสาหกิจ )พ.ศ. 2546 - 2549
ในระหว่างปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ประธานกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรการศึกษา รองประธานกรรมการบริหารคณะลูกเสือแห่งชาติ รองประธานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการข้าราชการพลเรือน ประธานกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน กรรมการโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้ กรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระตำหนัก กรรมการสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น และกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
รางวัลเกียรติคุณ
แก้- 2531 ชนะเลิศ การเขียนหนังสืออ่านระดับประถมศึกษา 2 รางวัล
- 2535 “นักพลศึกษาดีเด่นด้านการบริหาร”
- 2536 “ครุศาสตร์ปราชญ์จุฬา”
- 2543 รางวัลชมเชยงานวิจัย”ปฏิรูปการศึกษาฯ” จากปปร
- 2546 “บุคคลดีเด่นด้านป้อง กันปัญหายาเสพติด” ปปส.
- 2546 เกียรติบัตร "ผู้อำนวยการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่20 "
- 2549 “ศิษย์เก่าสวนสุนันทาดีเด่น”
- 2549 “ทูตสันติภาพ” จากสหพันธ์นานาชาติ และศาสนาเพื่อสันติภาพโลก
- 2550 “ศิษย์เก่าเกียรติยศ” คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 2551 “บุคคลดีเด่นด้านควบคุมยาสูบในกลุ่มเยาวชน”
- 2551 “นักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น”
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[4]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
งานสังคม
แก้ดร.จรวยพร ธรณินทร์ มีบทบาทในงานสังคมกับองค์กรต่างๆ หลายองค์การ อาทิ เป็นกรรมการบริหารสภากีฬานักเรียนแห่งอาเซียน เลขาธิการสมาคมพลศึกษา ในปี พ.ศ. 2526-2528 อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นประธานสหพันธ์ฟุตบอลนักเรียนแห่งเอเชีย พ.ศ. 2534-2536 และนายกสมาคมศิษย์เก่าสวนสุนันทาในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2550-2552
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/260/5.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๗, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๐๔, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙