ภาษาซิซิลี
ภาษาซิซิลี (อังกฤษ: Sicilian; ซิซิลี: sicilianu) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาหนึ่งที่ใช้พูดกันในเกาะซิซิลีและบรรดาเกาะบริวาร[4] นอกจากนี้ยังมีรูปแปรคือ ภาษาถิ่นคาลาเบรีย-ซิซิลี[4] เนื่องจากยังใช้พูดในภาคใต้ของแคว้นคาลาเบรียซึ่งเรียกรูปแปรนี้ว่า ภาษาถิ่นคาลาเบรียใต้[4][5] โดยเฉพาะในเขตมหานครเรจโจคาลาเบรีย[6] ภาษาถิ่นในบริเวณนี้ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวต่อเนื่องภาษาถิ่นของภาษาซิซิลี[7] นักภาษาศาสตร์บางคนจัดว่าภาษาถิ่นบางภาษาทางตอนกลางและตอนใต้ของแคว้นคาลาเบรีย ทางตอนใต้ของแคว้นปุลยา (ภาษาถิ่นซาเลนโต) และทางตอนใต้ของจังหวัดซาแลร์โนในแคว้นคัมปาเนีย (ภาษาถิ่นชีเลนโต) บนคาบสมุทรอิตาลีรวมกับภาษาถิ่นต่าง ๆ ของภาษาซิซิลีเป็นกลุ่มภาษาอิตาลีใต้สุด (อิตาลี: italiano meridionale estremo)[8]
ภาษาซิซิลี | ||
---|---|---|
sicilianu | ||
ประเทศที่มีการพูด | อิตาลี | |
ภูมิภาค | แคว้นซิซิลี, แคว้นคาลาเบรีย (บางส่วน) และแคว้นปุลยา (ซาเลนโต) | |
ชาติพันธุ์ | ชาวซิซิลี, ชาวอิตาลี | |
จำนวนผู้พูด | 4.7 ล้านคน (2545)[1] | |
ตระกูลภาษา | ||
สถานภาพทางการ | ||
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | แคว้นซิซิลี (รับรองอย่างจำกัด)[2] แคว้นคาลาเบรีย (รับรองอย่างจำกัด)[3] | |
รหัสภาษา | ||
ISO 639-2 | scn | |
ISO 639-3 | scn | |
Linguasphere | 51-AAA-re, -rf (แผ่นดินใหญ่: 51-AAA-rc, -rd) | |
ภาษาซิซิลีในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาอิตาลีกลาง-ใต้
ตอสคานา อิตาลีกลาง อิตาลีใต้ระหว่างกลาง อิตาลีใต้สุด (รวมซิซิลี)
|
เอ็ทนอล็อก อธิบายว่าภาษาซิซิลี "แตกต่างจากภาษาอิตาลีมาตรฐานมากพอที่จะถือว่าเป็นภาษาต่างหาก"[4] ยูเนสโกได้รับรองว่าภาษานี้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยภาษาหนึ่ง[9][10][11][12] และทางการแคว้นซิซิลีก็ถือว่าภาษานี้เป็นภาษาต่างหากเช่นกัน[2] ภาษาซิซิลียังมีแบบแผนประเพณีทางวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาภาษาสมัยใหม่ในอิตาลีอีกด้วย[13][14]
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาษาซิซิลี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ 2.0 2.1 Iniziative per la promozione e valorizzazione della lingua Siciliana e l'insegnamento della storia della Sicilia nelle scuole di ogni ordine e grado della Regione, May 15, 2018 (in Italian). สืบค้นเมื่อ July 17, 2018.
- ↑ "Consiglio Regionale della Calabria" (PDF).
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Sicilian entry in Ethnologue". www.ethnologue.com. สืบค้นเมื่อ 27 Dec 2017.
(20th ed. 2017)
- ↑ Rohlfs, Gerhard (1972). Studi su lingua e dialetti d'Italia [Studies on the language and dialects of Italy] (ภาษาอิตาลี). Florence: Sansoni.
- ↑ Varvaro, Alberto (1988). "Sizilien". Italienisch, Korsisch, Sardisch [Italian, Corsican, Sardinian] (ภาษาเยอรมัน). Tübingen: Max Niemeyer Verlag.
- ↑ Devoto, Giacomo; Giacomelli, Gabriella (1972). I dialetti delle regioni d'Italia [Dialects of the regions of Italy] (ภาษาอิตาลี). Florence: Sansoni. p. 143.
- ↑ Avolio, Francesco (2012). Lingue e dialetti d'Italia [Languages and dialects of Italy] (ภาษาอิตาลี) (2nd ed.). Rome: Carocci. p. 54.
- ↑ Wei, Li; Dewaele, Jean-Marc; Housen, Alex (2002). Opportunities and Challenges of Bilingualism (ภาษาอังกฤษ). Walter de Gruyter. ISBN 9783110852004.
- ↑ Facaros, Dana; Pauls, Michael (2008). Sicily (ภาษาอังกฤษ). New Holland Publishers. ISBN 9781860113970.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "UNESCO Atlas of the World's Languages in danger". www.unesco.org. สืบค้นเมื่อ August 16, 2016.
- ↑ "Lingue riconosciute dall'UNESCO e non tutelate dalla 482/99". Piacenza: Associazion Linguìstica Padaneisa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04.
- ↑ Cipolla, Gaetano (2004), "U sicilianu è na lingua o un dialettu? / Is Sicilian a Language?", Arba Sicula (ภาษาอังกฤษ และ ซิซิลี), XXV (1&2): 150–151
- ↑ Sammartino, Peter; Roberts, William (2001-01-01). Sicily: An Informal History (ภาษาอังกฤษ). Associated University Presses. ISBN 9780845348772.