ลัทธิศักติ
ลัทธิศักติ หรือ ศากติ (สันสกฤต: शाक्त ศากฺต) เป็นนิกายในศาสนาฮินดูที่บูชาอาทิปราศักติเป็นพระเป็นเจ้า[1][2] ศักติในทางอภิปรัชญาคือความเป็นจริงและหมายถึงสตรีในรูปอุปมาซึ่งประกอบด้วยเทวีหลายองค์ ทุกพระองค์ล้วนถือว่าเป็นเทวีสูงสุดองค์เดียวกัน[1][3] ลัทธิศักติยังประกอบลัทธิย่อย ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่บูชาพระปารวตีผู้เลอโฉม ไปจนถึงพระแม่กาลีผู้ดุดัน[4][5]
คัมภีร์ศรุติและสมฤติเป็นเอกสารสำคัญของโครงสร้างความเชื่อในลัทธิศักติ นอกจากนี้ยังมี เทวีมาหาตมยะ เทวีภาควตปุราณะและ ศากตอุปนิษัท เช่น เทวีอุปนิษัท[6] ในความเชื่อของลัทธิศักติยกย่องเทวีมาหาตมยะเป็นพิเศษ และถือว่าสำคัญเทียบเท่ากับภควัทคีตา[7]
เทวีต่าง ๆ เป็นที่นิยมมากขึ้นภายหลังการเสื่อมของศาสนาพุทธในอินเดีย เทวีต่าง ๆ ของฮินดูและพุทธได้ถูกรวมเข้ากันเป็นมหาวิทยา หรือเทวีสิบองค์[8] เทวีที่เป็นที่บูชาทั่วไปในลัทธิศักติและพบได้บ่อย เช่น พระแม่ทุรคา, พระแม่กาลี, พระแม่สุรัสวดี, พระแม่ลักษมี, พระแม่ปารวตี และ พระแม่ตรีปุระสุนทรี[3] ลัทธิบูชาเทวีนี้เป็นที่นิยมมากเป็นพิเศษในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐอัสสัม ที่ซึ่งเทศกาลอย่างทุรคาบูชา เป็นที่นิยมสูงเป็นพิเศษ[4] แนวคิดของลัทธิศักติมีอิทธิพลต่อลัทธิไวษณพ (ลัทธิที่บูชาพระวิษณุเป็นหลัก) และ ลัทธิไศวะ (ลัทธิที่บูชาพระศิวะเป็นหลัก) โดยมีองค์เทวีต่าง ๆ เป็น ศักติ/พลัง ของพระวิษณุและพระศิวะตามลำดับ[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Klostermaier, Klaus K. (2010). Survey of Hinduism, A: Third Edition. State University of New York Press. pp. 30, 114–116, 233–245. ISBN 978-0-7914-8011-3.
- ↑ 2.0 2.1 Flood, Gavin D. (1996), An Introduction to Hinduism, Cambridge University Press, pp. 174–176, ISBN 978-0-521-43878-0
- ↑ 3.0 3.1 J. Gordon Melton; Baumann, Martin (2010). Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices, 2nd Edition. ABC-CLIO. pp. 2600–2602. ISBN 978-1-59884-204-3.
- ↑ 4.0 4.1 "Shaktism", Encyclopædia Britannica (2015)
- ↑ Yudit Kornberg Greenberg (2008). Encyclopedia of Love in World Religions. ABC-CLIO. pp. 254–256. ISBN 978-1-85109-980-1.
- ↑ Jones, Constance; Ryan, James (2014). Encyclopedia of Hinduism. Infobase Publishing. p. 399. ISBN 978-0816054589.
- ↑ Rocher, Ludo (1986). The Puranas. Otto Harrassowitz Verlag. p. 193. ISBN 978-3447025225.
- ↑ Sanderson, Alexis. "The Śaiva Literature". เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Journal of Indological Studies (Kyoto), Nos. 24 & 25 (2012–2013), 2014, pp. 80.