วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์
วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (อังกฤษ: New England Journal of Medicine ตัวย่อ NEJM) เป็นวารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Medical Society) เป็นวารสารที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันที่มีเกียรติที่สุดฉบับหนึ่งของโลก[1] และที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องกันมายาวนานมากที่สุด[1] ในประเทศไทย เว็บไซต์ของวารสารเปิดให้อ่านฟรีเป็นบางเนื้อหา
สาขาวิชา | การแพทย์ |
---|---|
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
บรรณาธิการ | Jeffrey M. Drazen |
รายละเอียดการตีพิมพ์ | |
ชื่อเดิม | The New England Journal of Medicine and Surgery, The New England Medical Review and Journal, The Boston Medical and Surgical Journal |
ประวัติการตีพิมพ์ | 2355-present |
ผู้พิมพ์ | Massachusetts Medical Society (สหรัฐอเมริกา) |
ปัจจัยกระทบ | 55.873 (2557) |
ชื่อย่อมาตรฐาน | |
ISO 4 | N. Engl. J. Med. |
การจัดทำดรรชนี | |
CODEN | NEJMAG |
ISSN | 0028-4793 1533-4406 |
LCCN | 20020456 |
OCLC | 231027780 |
การเชื่อมโยง | |
ประวัติ
แก้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2354 นพ.ชาวบอสตันสองคน (John Collins Warren และ James Jackson) ยื่นหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดตั้ง วารสารการแพทย์ ศัลยกรรม และวิทยาศาสตร์สาขาเคียงข้างของนิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine and Surgery and Collateral Branches of Science) โดยเป็นวารสารการแพทย์และปรัชญา[2][3] ต่อมา วารสารโดยชื่อที่ว่าก็พิมพ์เป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม 2355[4] โดยเป็นวารสารพิมพ์ทุก ๆ 3 เดือน
-
วารสารฉบับมกราคม พ.ศ. 2357
-
Boston Medical Intelligencer ปี 2366
-
Boston Medical and Surgical Journal ปี 2371
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2371 วารสารได้ซื้อวารสารการแพทย์อีกวารสารหนึ่งชื่อว่า Boston Medical Intelligencer ที่เริ่มพิมพ์ตั้งแต่ปี 2366 แล้วรวมวารสารทั้งสองภายใต้ชื่อ Boston Medical and Surgical Journal โดยพิมพ์เป็นรายสัปดาห์[5][6]
ในปี 2464 สมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ซื้อวารสารเป็นราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ[7] แล้วเปลี่ยนชื่อวารสารเป็น วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine) ต่อมาในปี 2471
บทความที่เด่น
แก้บทความเด่นจากประวัติวารสารรวมทั้ง
- ในเดือนพฤศจิกายน 2389 นพ.ชาวบอสตันผู้หนึ่งรายงานการค้นพบยาสลบโดยให้สูดอีเทอร์ ซึ่งช่วยให้คนไข้สลบตลอดการผ่าตัด[8] โดยกล่าวว่า "คนไข้คนหนึ่งถึงความไม่รู้สึกตัวในการตัดขาออก แล้วฟื้นคืนสติหลังจากนั้นไม่นาน... มีการผ่าตัดใหญ่อื่น ๆ ที่ทำโดยคนไข้ไม่รู้สึกตัว"
- ในเดือนตุลาคม 2415 นพ.ประสาทวิทยาพิมพ์เล็กเช่อร์ที่เสนอแนวคิดเชิงปฏิวัติในเวลานั้นว่า ซีกสมองข้างหนึ่งสามารถมีผลต่อกายทั้งสองข้าง แล้วพรรณนากลุ่มอาการอัมพาตที่ทุกวันนี้รู้จักกันว่า Brown-Sequard syndrome[9]
- ในเดือนมิถุนายน 2449 นพ.พยาธิวิทยาผู้หนึ่งตีพิมพ์บทความกล่าวถึงการที่เขาย้อมสีและศึกษาไขกระดูก และพรรณนาถึงสิ่งที่ทุกวันนี้รู้จักกันว่า เกล็ดเลือด และ megakaryocyte (เซลล์ไขกระดูกขนาดใหญ่ที่ผลิตเกล็ดเลือด)[10]
- ในเดือนมิถุนายน 2491 นพ.พยาธิวิทยาท่านหนึ่งรายงานผลที่มีแววในการบำบัดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในต้นวัยเด็ก คือหลังจากที่ได้หลักฐานโดยเรื่องเล่าว่า เด็กที่มีโรคแบบฉับพลันจะแย่ลงถ้าบริโภคกรดโฟลิก เขาจึงทำงานเพื่อระงับเมแทบอลิซึมที่ย่อยกรด แล้วให้สารยับยั้งกรดโฟลิกคือ aminopterin แก่ทารกกับเด็ก 16 คน ที่มีมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก เด็ก 10 ดีขึ้นหลังจากการให้ยา 3 เดือนทั้งโดยกำหนดต่าง ๆ ทางคลินิกและโดยค่าต่าง ๆ ของเลือด[11] แต่นายแพทย์แนะนำให้ใช้ผลอย่างระมัดระวัง คือ "ขอเน้นอีกทีว่า การทุเลาของโรคยังมีลักษณะชั่วคราว และสารที่ให้ก็มีพิษ และอาจจะทำให้เกิดปัญหาอย่างอื่น ๆ มากกว่าที่เราพบในงานศึกษาของเรา... ไม่มีหลักฐานใด ๆ ในรายงานนี้ที่สมเหตุสมผลให้ควรใช้คำว่า (เป็น)การรักษาแบบหายขาด สำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันในเด็ก"
- ในเดือนพฤศจิกายน 2495 นพ.หทัยวิทยาคนหนึ่งตีพิมพ์รายงานการกู้ชีพหัวใจ "จุดประสงค์ของรายงานนี้ก็เพื่อพรรณนาวิธีการที่เร็ว ง่าย ได้ผล และปลอดภัยที่ใช้สำเร็จกับคนไข้สองคน ในการกระตุ้นหัวใจที่ห้องล่างหยุดนิ่งโดยตัวคุมจังหวะหัวใจไฟฟ้าเทียมภายนอก... นี่เป็นครั้งแรกที่สามารถประทังชีวิตของคนไข้ในกรณีที่หัวใจห้องล่างหยุดนิ่งเป็นชั่วโมง ๆ จนกระทั่งเป็นวัน ๆ วิธีการนี้อาจจะมีค่าในสถานการณ์ทางคลินิกหลายอย่าง"[12]
- ในเดือนกุมภาพันธ์ 2516 วารสารพิมพ์รายงานแรกเกี่ยวกับการตัดติ่งเนื้อเมือกโดยใช้กล้อง colonoscope แล้วเสนอวิธีการที่สามารถทำในระหว่างการตรวจคัดโรคเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็ง ผู้เขียนรายงานคนไข้ 218 กรณีที่ตัดติ่งเนื้อเมือกออก 303 ติ่ง[13]
- ในเดือนธันวาคม 2524 มีบทความทำประวัติศาสตร์สองบทความ ที่พรรณนาถึงความเป็นไปทางคลินิกของคนไข้ 4 ราย ซึ่งแรกรายงานในรายงาน Morbidity and Mortality Weekly Report ของ CDC ในเดือนมิถุนายน เกี่ยวกับโรคที่ต่อมารู้จักกันว่าเอดส์[14][15]
- ในเดือนเมษายน 2554 นพ.ผู้หนึ่งกับคณะ รายงานการบำบัดเฉพาะเป้าหมายต่อมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ (CML) อาศัยความรู้ว่า BCR-ABL ซึ่งเป็นเอนไซม์ tyrosine kinase ที่ออกฤทธิ์โดยเฉพาะ เป็นเหตุของ CML ผู้เขียนจึงทดสอบสารยับยั้ง BCR-ABL ในคนไข้ที่การรักษาขั้นต้นไม่ได้ผล ผลที่พบในงานศึกษานี้ช่วยเริ่มยุคการออกแบบยาบำบัดมะเร็งที่เฉพาะเจาะจงต่อความผิดปกติระดับโมเลกุลเฉพาะอย่าง ๆ[16]
เว็บไซต์
แก้ในวันที่ 25 เมษายน 2539 วารสารประกาศว่ามีเว็บไซต์ใหม่ ที่พิมพ์เป็นประจำอาทิตย์บทคัดย่อของงานวิจัยต่าง ๆ และข้อความเต็มสำหรับบทบรรณาธิการ กรณีคนไข้ และจดหมายส่งถึงบรรณาธิการ นี่เป็นครั้งแรกที่วารสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการตีพิมพ์หลังจากที่ดำเนินการมาแล้ว 184 ปี[17] อีกสองปีต่อมา ระบบออนไลน์ก็เริ่มรวมบทความเต็มทั้งหมดที่มี[18]
หลังจากนั้น วารสารก็ได้เพิ่มสื่อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ
- วิดีโอเกี่ยวกับการแพทย์ทางคลินิก และวิดีโอการศึกษาที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน เพื่อสอนกระบวนการที่ต้องใช้ทักษะ และสอนการตรวจสอบคนไข้แบบพิเศษ[19]
- กรณีคนไข้เชิงโต้ตอบ ซึ่งเลียนแบบการประสบกับคนไข้โดยแสดงคนไข้พร้อมกับผลการตรวจสอบทางกายภาพ ทางแล็บ และทางการถ่ายภาพรังสี และจะมีคำถามที่ตรวจสอบความรู้ของคนที่ทำข้อสอบ[20]
- ที่เก็บข้อมูลเก่าของวารสาร (NEJM Archive) ซึ่งรวมสิ่งตีพิมพ์ของวารสารทั้งหมด
อิทธิพล
แก้วารสารได้รับ "George Polk Awards" ในปี 2520 โดยองค์กรที่ให้กล่าวว่า เป็นการให้กับ "สิ่งตีพิมพ์ที่จะได้ความสนใจและเกียรติคุณอย่างมหาศาลในทศวรรษต่อ ๆ ไป"[21]
วารสารปกติมีปัจจัยกระทบสูงสุดของวารสารอายุรศาสตร์ เช่นที่ 55.873 ในปี 2557[22] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ 1 ในบรรดาวารสาร 153 วารสารในหมวดหมู่ "การแพทย์ทั่วไปและอายุรศาสตร์"[23] และเป็นวารสารเดียวในหมวดหมู่ที่มีปัจจัยสูงกว่า 50 โดยเปรียบเทียบกับวารสารตำแหน่งที่ 2 และ 3 (คือ เดอะแลนเซ็ต และ JAMA) ที่มีปัจจัยกระทบที่ 45.217 และ 35.289 ตามลำดับ[24]
นโยบายห้ามพิมพ์ที่อื่นมาก่อน
แก้วารสารบังคับให้บทความที่จะพิมพ์ไม่เคยพิมพ์หรือเผยแพร่ในที่อื่นมาก่อน ซึ่งช่วยรักษาความดั้งเดิมของบทความ เป็นกฎที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 2512[25] ซึ่งต่อมาวารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์อื่น ๆ จึงเริ่มใช้กฎเดียวกันนี้ด้วย
ข้อโต้แย้งเรื่องยา Vioxx
แก้ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 วารสารเกี่ยวข้องกับข้อโต้เถียงเรื่องปัญหางานวิจัยของยา Vioxx (ชื่อสามัญ Rofecoxib) คือ มีงานศึกษาที่พิมพ์ในวารสารในเดือนพฤศจิกายน 2543 โดยรับการสนับสนุนจากบริษัทที่ผลิตยาเมอร์ค ที่แสดงว่ามีกรณีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดสูงขึ้นในคนไข้ที่ใช้ยา แต่นักวิจัยตีความว่า เป็นผลการป้องกันโรคหัวใจของยาที่ใช้ในกลุ่มควบคุม ไม่ใช่ผลที่เกิดจากยา Vioxx[26]
ตามอดีตบรรณาธิการของวารสารการแพทย์ BMJ มีการบอกความสงสัยเรื่องความถูกต้องของงานศึกษากับบรรณาธิการของ NEJM ไม่เกินเดือนสิงหาคม 2544 และในปีนั้น ทั้งองค์การอาหารและยาสหรัฐและวารสาร JAMA ต่างก็ตั้งข้อสงสัยถึงความสมเหตุสมผลของการตีความข้อมูลที่พิมพ์ใน NEJM[27] ต่อมาในเดือนกันยายน 2547 บ.เมอร์ค จึงได้ถอนยาออกจากตลาด แล้วในเดือนธันวาคม 2548 วารสารจึงได้พิมพ์นิพจน์แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับงานศึกษาดั้งเดิม หลังจากที่พบว่า ผู้เขียนรู้ถึงอาการไม่พึงประสงค์ (adverse event) มากกว่าที่เปิดเผยเมื่อตีพิมพ์งานศึกษา โดยนิพจน์แสดงว่า "จนกระทั่งปลายเดือนพฤศจิกายน 2548 เราเชื่อว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงหลัง ๆ ที่ผู้เขียนไม่รู้ท่วงทันพอที่จะรวมเข้าในบทความที่พิมพ์ในวารสารวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่า จากหนังสือบันทึกช่วยจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ที่ได้โดยหมายศาลในคดี Vioxx และเปิดเผยให้แก่วารสาร ผู้เขียนอย่างน้อยสองท่านรู้ถึงเหตุการณ์กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดอีก 3 กรณีอย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนที่ผู้เขียนจะส่งบทความแก้ไข 2 รุ่นแรก และสี่เดือนครึ่งก่อนที่บทความจะตีพิมพ์"[28]
ในช่วงเวลา 5 ปีระหว่างการตีพิมพ์บทความดั้งเดิมกับการตีพิมพ์นิพจน์แสดงความเป็นห่วง มีการประเมินว่า บ.เมอร์คจ่าย NEJM มากถึง 836,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36 ล้านบาท) เพื่อพิมพ์เพิ่มบทความดั้งเดิมเพื่อใช้โปรโหมตยา[29] และต่อมาวารสารก็ถูกตำหนิอย่างเป็นสาธารณะเรื่องการตอบสนองต่อปัญหางานวิจัย ในบทความบรรณาธิการต่าง ๆ รวมทั้งในวารสารการแพทย์ BMJ[27] และ Journal of the Royal Society of Medicine[30]
โดยปี 2550 บ.เมอร์คได้ตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฟ้องร้องในศาลเรื่องยา Vioxx เป็นมูลค่า 970 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 29,429 ล้านบาท) และได้ตั้งกองทุนมีมูลค่า 4,850 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 147,149 ล้านบาท) เพื่อสะสางคดีข้อเรียกร้องเอาทรัพย์โดยคนอเมริกัน
นโยบายให้เข้าถึงได้ฟรี
แก้วารสารให้เข้าถึงบทความได้ฟรีแต่ถ่วงเวลา คือหลังจาก 6 เดือนที่พิมพ์บทความ และให้เข้าถึงบทความย้อนหลังได้ถึงปี 2533[31] แต่การถ่วงเวลาไม่มีสำหรับประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่ำที่สุด ซึ่งสามารถเข้าถึงบทความทุกเนื้อหาได้ฟรีเมื่อใช้เป็นส่วนบุคคล[32] แต่ไม่รวมประเทศไทยในปี 2559[32][33]
วารสารยังมีพอดแคสต์ 2 รายการ รายการแรกเป็นการสัมภาษณ์แพทย์และนักวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร และรายการที่สองเป็นการสรุปเนื้อความของวารสารแต่ละฉบับ สื่อรายการอื่น ๆ รวมทั้ง Continuing Medical Education (การศึกษาแพทย์ต่อเนื่อง), Videos in Clinical Medicine (วิดีโอในการแพทย์คลินิก) ที่ฉายวิธีการทางการแพทย์, และ Image Challenge (ภาพปริศนา) ที่เปลี่ยนทุกอาทิตย์
วารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษอื่น
แก้- เดอะแลนเซ็ต เป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปอันดับสอง
- JAMA เป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปอันดับสาม
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Zuger, Abigail (19 March 2012). "A journal stands out in prestige and longevity". เดอะนิวยอร์กไทมส์. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
- ↑ Cary, John (1961). Joseph Warren: Physician, Politician, Patriot. Urbana: University of Illinois Press. OCLC 14595803.
- ↑
Boston Patriot. 28 September 1811.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "1812-01-01, table of contents for the New England Journal of Medicine and Surgery and the Collateral Branches of Medical Science". สืบค้นเมื่อ 2011-12-22.
- ↑ "The Boston Medical Library: A reconstruction of the collection of 1805 and its history". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-12-22.
- ↑
Fitz-Gilbert Waters, Henry (1961). The New England Historical and Genealogical Register. Vol. 48. New England Historic Genealogical Society.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ "About NEJM: Past and Present". nejm.org. สืบค้นเมื่อ 2011-12-22.
- ↑ Bigelow, Henry Jacob (1846). "Insensibility during surgical operations produced by inhalation". The Boston Medical and Surgical Journal. 35 (16): 309–17. doi:10.1056/NEJM184611180351601.
- ↑ Brown-Sequard, C.E.; Webber, S.G. (1872). "The origin and signification of the symptoms of brain disease". The Boston Medical and Surgical Journal. 87 (16): 261–3. doi:10.1056/NEJM187210170871601.
- ↑ Wright, James Homer (1906). "The origin and nature of the blood plates". The Boston Medical and Surgical Journal. 154 (23): 643–45. doi:10.1056/NEJM190606071542301.
- ↑ Farber, Sidney; Diamond, Louis K.; Mercer, Robert D.; Sylvester, Robert F.; และคณะ (1948). "Temporary remissions in acute leukemia in children produced by folic acid antagonist, 4-Aminopteroyl-Glutamic Acid (Aminopterin)". New England Journal of Medicine. 238 (23): 787–93. doi:10.1056/NEJM194806032382301. PMID 18860765.
- ↑ Zoll, PM (November 1952). "Resuscitation of the heart in ventricular standstill by external electric stimulation". New England Journal of Medicine. 247 (20): 768–71. doi:10.1056/NEJM195211132472005. PMID 13002611.
- ↑ Wolff, William I.; Shinya, Hiromi (1973). "Polypectomy via the fiberoptic colonoscope". New England Journal of Medicine. 288 (7): 329–32. doi:10.1056/NEJM197302152880701. PMID 4682941.
- ↑ Gottlieb, Michael S.; Schroff, Robert; Schanker, Howard M.; Weisman, Joel D.; และคณะ (1981). "Pneumocystis carinii pneumonia and mucosal candidiasis in previously healthy homosexual men". New England Journal of Medicine. 305 (24): 1425–31. doi:10.1056/NEJM198112103052401. PMID 6272109.
- ↑ Masur, Henry; Michelis, Mary Ann; Greene, Jeffrey B.; Onorato, Ida; และคณะ (1981). "An outbreak of community-acquired pneumocystis carinii pneumonia". New England Journal of Medicine. 305 (24): 1431–38. doi:10.1056/NEJM198112103052402. PMID 6975437.
- ↑ Druker, Brian J.; Talpaz, Moshe; Resta, Debra J.; Peng, Bin; และคณะ (2001). "Efficacy and safety of a specific inhibitor of the BCR-ABL tyrosine kinase in chronic myeloid leukemia". New England Journal of Medicine. 344 (14): 1031–7. doi:10.1056/NEJM200104053441401. PMID 11287972.
- ↑ Campion, Edward W. (1996). "The Journal's new presence on the internet". New England Journal of Medicine. 334 (17): 1129. doi:10.1056/NEJM199604253341712.
- ↑ "First NEJM website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.
- ↑ McMahon, Graham T.; Ingelfinger, Julie R.; Campion, Edward W. (2006). "Videos in clinical medicine — A new Journal feature". New England Journal of Medicine. 354 (15): 1635. doi:10.1056/NEJMe068044.
- ↑ McMahon, Graham T.; Solomon, Caren G.; Ross, John J.; Loscalzo, Joseph; และคณะ (2009). "Interactive medical cases — A new Journal feature". New England Journal of Medicine. 361 (11): 1113. doi:10.1056/NEJMe0809756.
- ↑ Hershey, Edward. "A history of journalistic integrity, superb reporting and protecting the public: The George Polk Awards in Journalism". LIU Brooklyn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2010.
- ↑ "Media Center: Fact Sheet". nejm.org. Massachusetts Medical Society. สืบค้นเมื่อ 2014-08-20.
- ↑ "Rank in Category: New England Journal of Medicine". 2014 Journal Citation Reports. Web of Science (Science ed.). Thomson Reuters. 2015.
- ↑ "Journals Ranked by Impact: Medicine, General & Internal". 2014 Journal Citation Reports. Web of Science (Science ed.). Thomson Reuters. 2015.
- ↑ "Definition of sole contribution". New England Journal of Medicine. 281 (12): 676–77. 1969. doi:10.1056/NEJM196909182811208. PMID 5807917.
- ↑ VIGOR Study Group; Bombardier, C.; Laine, L.; Reicin, A.; และคณะ (2000). "Comparison of upper gastrointestinal toxicity of rofecoxib and naproxen in patients with rheumatoid arthritis". New England Journal of Medicine. 343 (21): 1520–28. doi:10.1056/NEJM200011233432103. PMID 11087881.
- ↑ 27.0 27.1 Dobson, Roger (15 July 2006). "NEJM "failed its readers" by delay in publishing its concerns about VIGOR trial". BMJ. 333 (7559): 116. doi:10.1136/bmj.333.7559.116-f. PMC 1502213. PMID 16840463.
- ↑ Curfman, Gregory (29 December 2005). "Expression of Concern: Bombardier et al., "Comparison of upper gastrointestinal toxicity of rofecoxib and naproxen in patients with rheumatoid arthritis," N Engl J Med 2000;343:1520-8". สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
- ↑ Lemmens, Trudo; Bouchard, Ron A. (2007). "Regulation of Pharmaceuticals in Canada"". ใน Downie, Jocelyn; Caulfield, Timothy A.; Flood, Colleen M. (บ.ก.). Canadian Health Law and Policy (3rd ed.). Toronto: LexisNexis Canada. p. 336. ISBN 9780433452218.
- ↑ Smith, Richard (August 2006). "Lapses at The New England Journal of Medicine" (PDF). Journal of The Royal Society of Medicine (editorial). 99 (8): 380–2. doi:10.1258/jrsm.99.8.380. PMC 1533509. PMID 16893926. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
- ↑ "About NEJM: Online access levels" (PDF). nejm.org. Massachusetts Medical Society. สืบค้นเมื่อ 2011-10-26.
- ↑ 32.0 32.1 "About NEJM: Access from outside the U.S". nejm.org. Massachusetts Medical Society. สืบค้นเมื่อ 2011-10-26.
- ↑ "Eligibility for Access to Research4Life". Research4Life. 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- Conaboy, Chelsea (17 June 2012). "You've come a long way, doc". The Globe Magazine (milestones of the NEJM).
- Müller, Daniel C.; Duff, Ellen M.C.; Stern, Kathy L. (2012). "Timeline: 200 years of the New England Journal of Medicine". The New England Journal of Medicine. 366 (1): e3. doi:10.1056/NEJMp1114819. PMID 22216863.