ราชอาณาจักรมารวาร
รัฐโชธปุระ (อักษรโรมัน: Jodhpur) หรือชื่อโบราณว่า ราชอาณาจักรมารวาร (อักษรโรมัน: Marwar) เป็นราชอาณาจักรเอกราชในภูมิภาคมารวารในปี 1226 ถึง 1818 และกลายมาเป็นรัฐมหาราชาภายใต้ปกครองอังกฤษในปี 1818 ถึง 1947 กระทั่งอินเดียได้รับเอกราช รัฐตั้งขึ้นที่นครปาลีโดยราว สีหะ (Rao Siha) ซึ่งเข้าใจว่าเป็นขุนนางที่อพยพมาจากราชวงศ์คาหฑวาละ ในปี 1243 และในปี 1395 ได้ย้ายราชธานีไปยังมานเทาร์โดยราว จุนทะ (Rao Chunda) และในปี 1459 ได้ย้ายราชธานีอีกครั้งไปยังโชธปุระโดยราว โชธะ
รัฐโชธปุระ (1818–1947 CE) ราชอาณาจักรมารวาร (1226–1581; 1583–1818 CE) | |
---|---|
1226–1581 CE 1583–1947 CE | |
แผนที่รัฐโชธปุระนราชกิจจานุเบกษาอินเดีย | |
สถานะ |
|
เมืองหลวง | ปาลี (1243-1395) มานเทาร์ (1395-1459) Jodhpur |
ภาษาทั่วไป | มารวารี ฮินดี |
ศาสนา | ฮินดู |
มหาราชา | |
• 1226–1273 CE | Rao Siha (แรก) |
• 1947–1949 CE | หันวันต์ สิงห์ (ท้าย) |
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย |
ราชอาณาจักรดำรงเอกราชไว้ได้กระทั่งถูกหนวกเข้ากับจักรวรรดิโมกุลในปี 1581 หลังการเสียชีวิตของจันทรเสน รฐูร รัฐอยู่ภายใต้ปกครองโดยตรงของโมกุลจนถึงสมัยของอุทัย สิงห์ ซึ่งได้ฟื้นฟูราชบัลลังก์ขึ้นมาอละได้รับนาม ราชา ในปี 1583 ในสมัยปลายศตวรรษที่ 17 รัฐอยู่ภายใต้ปกครองโดยตรงของเอารังเซบ ส่วนราชวงศ์ของรฐูรได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่และมีสถานะกึ่งเอกราช ทุรคทาส รฐูร ได้นำทัพรบมารวารชนะและเป็นเอกราชจากโมกุลหลังการรบยาวนาา 31 ปี ต่อมาในสมัยปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 รัฐกลายมาเป็นรัฐบรรณาการของราชวงศ์มราฐาศินทิยา และ โหลการ ด้วยค่าบรรณาการที่ต้องส่งให้ชาวมราฐาสูงมาก ประกอบกับสงครามระหว่างขุนนางภายใน รัฐเมรวารมีคลังร่อยหรอจนเมื่อังกฤษเข้ามาตั้งอาณานิคม รัฐเมรวารจึงต้องขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากอังกฤษ
อังกฤษไม่มีบทบาทในกิจการของรัฐจนถึง 6 มกราคม 1818 มาน สิงห์ ได้ลงนามเป็นผลให้รัฐมารวารมีความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกับอังกฤษและกลายเป็นรัฐมหาราชา ในการกบฏใหญ่ปี 1857 บรรดาขุนนางราชปุตที่ปาลี ภายใต้ฐากูร กุศล สิงห์ นำการกบฏต่อราชาตัขตะ สิงห์ และต่ออังกฤษ กระนั้นก็พ่ายให้กับกองทัพของอังกฤษ[1] กองทัพของรัฐโชธปุระยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอังกฤษในการรบตามที่ต่าง ๆ โดยการรบครั้งสำคัญได้แก่การยุทธ์ที่ไฮฟา ปี 1918 ที่ซึ่งพลม้าถือทวน (lancers) ของโชธปุระ และไมสูรุ ร่วมรบกับอังกฤษและเอาชนะกองทัพของชาวเติร์กกับเยอรมันได้สำเร็จ และการรบที่สุเอซ, กาซา, หับเขาจอร์แดน, อาบูเตลลูล และเมกิดโด
หลังอินเดียได้เอกราชในปี 1947 ราชาหันวันต์ สิงห์ ซึ่งเป็นมหาราชาสุดท้ายแห่งโชธปุระ ลังเลว่าจะลงนามถ่ายโอนสิทธิ์ปกครองให้แก่อินเดียหรือปากีสถาน ราชาได้รับข้อเสนอในการเข้าถึงท่าสำคัญจากอาลี จินนาห์ หากเข้าร่วมกับปากีสถาน แต่ท้ายที่สุดก็เข้าร่วมกับอินเดียเนื่องจากการโน้มน้าวของสรทาร วัลลภบาอี ปเฏล และ ลอร์ดเมาต์บัตเตน[2][3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Political Awakening and Indian Freedom Movement with Special Reference to Rajasthan pg 28–35
- ↑ How did Maharaja of Jodhpur get convinced to be part of Independent India instead of Pakistan?
- ↑ Ramachandra Guha, India after Gandhi: The History of the World's Largest Democracy. HarperCollins, 2007