กิตฮับ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
กิตฮับ (อังกฤษ: GitHub) เป็นเว็บบริการพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต (hosting service) สำหรับเก็บการควบคุมการปรับปรุงแก้ไข (version control) โดยใช้กิต (Git) โดยมากจะใช้จัดเก็บรหัสต้นฉบับ (source code) แต่ยังคงคุณสมบัติเดิมของกิตไว้ อย่างการให้สิทธิ์ควบคุมและปรับปรุงแก้ไข (distributed version control) และระบบการจัดการรหัสต้นฉบับรวมถึงทางกิตฮับได้เพิ่มเติมคุณสมบัติอื่นๆผนวกไว้ด้วย เช่น การควบคุมการเข้าถึงรหัสต้นฉบับ (access control) และ คุณสมบัติด้านความร่วมมือเช่น ติดตามข้อบกพร่อง (bug tracking), การร้องขอให้เพิ่มคุณสมบัติอื่นๆ (feature requests), ระบบจัดการงาน (task management) และวิกิสำหรับทุกโครงการ[2]
ประเภท | เอกชน |
---|---|
วันที่ก่อตั้ง | 8 กุมภาพันธ์ 2008 |
สำนักงานใหญ่ | ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
ผู้ก่อตั้ง | ทอม เพรสตัน-เวอร์เนอร์ คริส วานสเตรท พีเจ ไฮเอท |
ซีอีโอ | แนท ฟรายด์แมน (หลังการซื้อกิจการ) คริส วานสเตรท (หยุดพักชั่วคราว) |
อุตสาหกรรม | ซอฟต์แวร์ |
เว็บไซต์ | github |
อันดับอเล็กซา | 61 (กรกฎาคม 2018[update])[1] |
การลงทะเบียน | ไม่จำเป็น (จำเป็นสำหรับการสร้างและการเข้าร่วมโครงการ) |
ผู้ใช้ | 100 ล้าน (มกราคม 2023) |
ภาษาที่มี | อังกฤษ |
สถานะปัจจุบัน | เคลื่อนไหว |
กิตฮับเสนอแผนการให้บริการใน 2 รูปแบบคือ แบบส่วนตัว และ แบบบัญชีฟรี[3] โดยอย่างหลังมักจะใช้ในการเก็บตัวแบบซอฟต์แวร์ในโครงการโอเพนซอร์ซ[4] ในเดือนมิถุนายนปี 2018 กิตฮับได้รายงานว่ามีผู้ใช้งานกว่า 28 ล้านราย[5] และได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับจำนวน 57 ล้านโครงการ[6] ในจำนวนนี้มีโครงการสาธารณะจำนวน 28 ล้านโครงการ ทำให้กิตฮับกลายเป็นพื้นที่จัดเก็บรหัสต้นฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก[7]
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่าทางบริษัทได้บรรลุข้อตกลง ในการซื้อกิจการกิตฮับเป็นมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ[8] โดยทางไมโครซอฟท์ไม่ได้เปิดเผยวันเวลาที่ยื่นเจตจำนงซื้อกิจการ
ประวัติบริษัท
แก้กิตฮับได้รับการพัฒนาขึ้นโดย คริส วานสเตรท, พีเจ ไฮเอท และ ทอม เพรสตัน-เวอร์เนอร์ โดยเขียนขึ้นจากรูบีออนเรลส์ เริ่มกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 บริษัทกิตฮับ อิงค์ตั้งอยู่ตั้งแต่ปี 2007 อยู่ในซานฟรานซิสโก (San Franscisco)
ในเดือนมีนาคม 2008 คริส วานสเตรท ได้โพสต์ในบล็อกส่วนตัว[9]ว่ากิตฮับมีผู้ใช้งานกว่า 2,000 รายแล้ว
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2009 สมาชิกทีมกิตฮับได้ขึ้นพูดในงานเสวนาที่จัดโดยยาฮู! (Yahoo!) สำนักงานใหญ่ ว่าภายในปีแรกที่กิตฮับออนไลน์ กิตฮับได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับโครงการสาธารณะจำนวนกว่า 46,000 โครงการสาธารณะ โดย 17,000 มาจากยอดของเดือนมกราคม ในเวลานั้นมีโครงการประมาณ 6,200 โครงการที่แยกสายพัฒนาออกไป (fork) และมีโครงการที่รวมสายพัฒนา (merge) อย่างน้อย 1 ครั้งจำนวน 4,600 โครงการ
ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2009 กิตฮับได้ประกาศว่ามีผู้ใช้งานกว่า 100,000 รายแล้ว ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2009 อีกงานเสวนาที่จัดโดยยาฮู! ทอม เพรสตัน-เวอร์เนอร์ ได้ประกาศการเติบโตของกิตฮับ ว่าตอนนี้มีโครงการสาธารณะรวมกันกว่า 90,000 โครงการ และมีโครงการจำนวน 12,000 ที่ถูกแยกสายพัฒนาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หากนับรวมทั้งสาธารณะ ส่วนตัว และโครงการแยก กิตฮับจัดเก็บรหัสต้นฉบับจำนวนกว่า 135,000 โครงการ[10]
ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2010 กิตฮับได้ประกาศว่าได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับแล้วกว่า 1 ล้านโครงการ[11] และในวันที่ 20 เมษายน 2011 กิตฮับได้ประกาศว่าได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับไป 2 ล้านโครงการแล้ว[12]
ในวันที่ 2 มิถุนายน 2011 ทางรีดไรทฺเว็บ (ReadWriteWeb) รายงานว่าทางกิตฮับได้มียอดคอมมิท (commit) เกินกว่ายอดของซอร์ซฟอร์จฺ (SourceForge) และ กูเกิ้ลโค้ด (Google Code) ในช่วงมกราคมถึงพฤกษาคม 2011[13]
ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2012 ทางปีเตอร์ เลวิน (Peter Levine) หุ้นส่วนทั่วไปของกิตฮับและนักลงทุนของแอนดรีสเซน โฮโรวิตซ์ (Andreessen Horowitz) กล่าวว่าทางกิตฮับมีรายได้เพิ่มขึ้น 300% เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2008 โดยทางเลวินกล่าวว่า "ทางกิตฮับแทบมีกำไรตลอดเวลา"[14]
ในวันที่ 16 มกราคม 2013 กิตฮับได้ประกาศว่ามีผู้ใช้งานกว่า 3 ล้านรายและจัดเก็บรหัสต้นฉบับไปกว่า 5 ล้านโครงการแล้ว[15] ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันกิตฮับได้ประกาศว่าได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับไปกว่า 10 ล้านโครงการแล้ว[16]
ในเดือนมิถุนายน 2015 กิตฮับได้เปิดสำนักงานที่ญี่ปุ่น ถือเป็นสำนักงานแรกนอกสหรัฐฯของกิตฮับ[17]
ในวันที่ 29 มิถุนายน 2015 กิตฮับได้ประกาศว่าขอระดมทุนได้มากกว่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่นำโดยซีคัวญาแคพพิเทิล (Sequoia Capital) จากการระดมทุนรอบนี้มีการประเมินว่ากิตฮับมีจะมูลค่ากว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ[18]
ในปี 2016 กิตฮับอยู่อันดับที่ 14 ในรายชื่อ Forbes Cloud 100[19]
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2018 กิตฮับตกเป็นเหยื่อของการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (DDos) ที่หนักที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยอัตราการแทรฟฟิคสูงถึง 1.35 เทราบิตต่อวินาที[20]
ในวันที่ 19 มิถุนายน 2018 กิตฮับได้เพิ่มแผนให้บริการใหม่ กิตฮับเพื่อการศึกษา (GitHub Education) โดยเป็นแผนให้บริการฟรีกับทุกโรงเรียน[21][22]
ในเดือนมีนาคม 2020 กิตฮับได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้ซื้อเอ็นพีเอ็ม ผู้ให้บริการจัดเก็บแพ็กเกจสำหรับ Nodejs ด้วยจำนวนเงินที่ไม่ระบุ[23]
ถูกซื้อกิจการโดยไมโครซอฟท์
แก้ในวันที่ 4 มิถุนายน 2018 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิตฮับมูลค่า 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใต้ร่มเงาไมโครซอฟท์ แนท ฟรายด์แมน (Nat Friedman) ผู้ก่อตั้งซามารีน (Xamarin) จะขึ้นเป็นซีอีโอใหม่ของกิตฮับ และ ซีอีโอปัจจุบันคริส วานสเตรท จะยังคงดำรงตำแหน่ง "ผู้ปรึกษาทางเทคนิค" ให้กับกิตฮับอยู่ โดยทั้งสองจะต้องรายงานความเคลื่อนไหวของกิตฮับ ให้สก็อตต์ กูธรี (Scott Guthrie) รองประธานไมโครซอฟท์คลาวด์และเอไอทราบ ไมโครซอฟท์กลายเป็นผู้ใช้รายสำคัญของกิตฮับ โดยใช้กิตฮับในทางจัดเก็บและพัฒนาโครงการโอเพนซอร์ซของตน เช่น จักระคอร์ (Chakra Core), พาวเวอร์เชล (PowerShell) และ วิชวลสตูดิโอโค้ด (Visual Studio Code) รวมถึงช่วยสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์ซอื่น ๆ อาทิ ลินุกซ์ และช่วยพัฒนากิตเวอชวลไฟล์ซิสเทิม (Git Virtual File System) ส่วนขยาย (extension) ของกิตสำหรับจัดการพื้นที่จัดเก็บซอร์ซโค้ดขนาดใหญ่[24][25][26]
ภายหลังการซื้อกิจการ กลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์เกิดความกังวลต่ออนาคตของกิตฮับ ซึ่งอาจประสบชะตากรรมเดียวกันกับธุรกิจที่ไมโครซอฟท์เคยซื้อไปก่อนหน้านี้อาทิ โนเกีย (Nokia), ลิงกต์อิน (LinkedIn) และ สไกป์ (Skype) ในขณะที่หลายคนมองว่าการซื้อกิจการนี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจของไมโครซอฟท์ โดยภายใต้การบริหารของซีอีโอสัตยา นาเดลลา (Satya Nadella) ที่ให้ความสำคัญแก่การขายคอมพิวเตอร์คลาวด์เป็นหลัก ในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนา และการสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์ซอย่างลินุกซ์ ซึ่งตรงข้ามกับระบบปฏิบัติการอย่างไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows)[25][26] ทางฮาร์วาร์ดบิซซิเนสรีวิว (Havard Business Review) ได้มองว่าการเข้าซื้อของไมโครซอฟท์ จะทำให้ไมโครซอฟท์เข้าถึงฐานข้อมูลผู้ใช้ เพื่อนำมาส่งเสริมการตลาด โดยยอมขาดทุนเพื่อดึงดูด (loss leader) ผู้ใช้งานหันมาใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ ของบริษัท[27]
ความกังวลต่ออนาคตกิตฮับได้ช่วยเพิ่มน่าความสนใจให้ธุรกิจคู่แข่งของกิตฮับอย่างบิทบัคคิท (BitBucket), กิตแล็ป (GitLab) และ ซอร์ซฟอร์จฺ (SourceForge) ต่างก็รายงานว่าพวกเขาพบผู้ใช้งานใหม่ที่นำโครงการจากกิตฮับไปจัดเก็บไว้กับบริการของตน[28][29][30][31]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Github.com Alexa Ranking". Alexa Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-31. สืบค้นเมื่อ July 20, 2018.
- ↑ Williams, Alex (9 July 2012). "GitHub Pours Energies into Enterprise – Raises $100 Million From Power VC Andreessen Horowitz". TechCrunch.
Andreessen Horowitz is investing an eye-popping $100 million into GitHub
- ↑ "Why GitHub's pricing model stinks (for us)". LosTechies. วันที่ 7 พฤศจิกายน 2012. กรุข้อมูล จากต้นฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2015. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2015.
- ↑ "The Problem With Putting All the World's Code in GitHub". Wired. 29 June 2015. กรุข้อมูล จากต้นฉบับเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2015. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2015.
- ↑ "การค้นหาผู้ใช้บนกิตฮับ". GitHub. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2018 "แสดงผู้ใช้งานจำนวน 28,337,706 ไอดี"
- ↑ "Celebrating nine years of GitHub with an anniversary sale". github.com. Github. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2017
- ↑ Gousios, Georgios; Vasilescu, Bogdan; Serebrenik, Alexander; Zaidman, Andy. "Lean GHTorrent: GitHub Data on Demand" (ไฟล์รูปแบบ PDF). เนเธอร์แลนด์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟ์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเวน : 1. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2014.
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, กิตฮับ (2008) ได้กลายเป็นพื้นที่เก็บรหัสต้นฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- ↑ TechCrunch. "Microsoft has acquired GitHub for $7.5B in stock" นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018
- ↑ Wanstrath, Chris วันที่ 1 มีนาคม 2008. "กิตฮับ ฟรีสำหรับโครงการโอเพนซอร์ซ". Github.
- ↑ Dascalescu, Dan วันที่ 3 พฤศจิกายน 2009. "The PITA Threshold: GitHub vs. CPAN" เก็บถาวร 2020-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dan Dascalescu's Wiki.
- ↑ "One Million Repositories, Git Official Blog". วันที่ 25 กรกฎาคม 2010.
- ↑ "Those are some big numbers, Git Official Blog". วันที่ 20 เมษายน 2011.
- ↑ "Github Has Surpassed Sourceforge and Google Code in Popularity".
ในช่วงเวลาดังกล่าวทาง Black Duck ได้ตรวจพบว่า, กิตฮับมียอดคอมมิทที่ 1,153,059, ซอร์ซฟอร์จฺที่ 624,989, กูเกิ้ลโค้ดที่ 287,901 และ โค้ดเพล็กซ์ที่ 49,839
- ↑ Levine, Peter วันที่ 9 กรกฎาคม 2012. "Software Eats Software Development"
- ↑ "Code-sharing site Github turns five and hits 3.5 million users, 6 million repositories". TheNextWeb.com. วันที่ 11 เมษายน 2013. นำมาใช้อ้างเมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2013.
- ↑ "10 Million Repositories". GitHub.com. วันที่ 23 ธันวาคม 2013. นำมาใช้อ้างเมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2013.
- ↑ "GitHub Expands To Japan, Its First Office Outside The U.S." TechCrunch. วันที่ 4 มิถุนายน 2015.
- ↑ "GitHub raises $250 million in new funding, now valued at $2 billion". Fortune. วันที่ 29 กรกฎาคม 2015
- ↑ "Forbes Cloud 100". Forbes. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2016.
- ↑ "GitHub Survived the Biggest DDoS Attack Ever Recorded". Wired.com. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2018.
- ↑ Hughes, Matthew วันที่ 19 มิถุนายน 2018. "GitHub's free education bundle is now available to all schools". The Next Web. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2018
- ↑ "GitHub Education is a free software development package for schools". Engadget. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2018
- ↑ "GitHub is acquiring NPM, a service used by 12 million developers" [กิตฮับได้เอ็นพีเอ็มแล้ว บริการซึ่งใช้งานโดยผู้พัฒนากว่า 12 ล้านคน]. Business insider. 16 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Microsoft confirms it will acquire GitHub for $7.5 billion". VentureBeat. วันที่ 4 มิถุนายน 2018 นำมาใช้อ้างเมื่อ 4 มิถุนายน 2018
- ↑ 25.0 25.1 "Microsoft has acquired GitHub for $7.5B in stock". TechCrunch. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018
- ↑ 26.0 26.1 "Microsoft confirms it will acquire GitHub for $7.5 billion". The Verge. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018
- ↑ "ทำไมไมโครซอฟท์จึงยอมจ่ายเงินให้กิตฮับมากเหลือเกิน" (บทความภาษาอังกฤษ). Harvard Business Review. วันที่ 6 มิถุนายน 2018. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2018.
- ↑ "10 เหตุผลว่าทำไมทางทีมถึงเปลี่ยนมาใช้บิทบัคคิท หลังไมโครซอฟท์ซื้อกิตฮับ" (บทความภาษาอังกฤษ). นำมาใช้อ้างเมื่อ 4 มิถุนายน 2018.
- ↑ Tung, Liam. "คู่แข่งกิตฮับเตรียมอ้าแขนรับผู้อพยพ แต่ดูเหมือนจะมาไม่กี่ราย" (บทความภาษาอังกฤษ). ZDNet. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2018.
- ↑ "ถ้าการที่ไมโครซอฟท์ซื้อกิตฮับทำให้คุณอยากเผ่นละก็ นี่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด"(บทความภาษาอังกฤษ). TechRepublic. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018.
- ↑ "วิธีนำโครงการจากกิตฮับเข้ามา" (บทความภาษาอังกฤษ). SourceForge. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2018