ปลาฉลามอาบแดด
ปลาฉลามอาบแดด ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีนตอนต้น-ปัจจุบัน, 34.0–0Ma [1] | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Lamniformes |
วงศ์: | Cetorhinidae Gill, 1862 |
สกุล: | Cetorhinus Blainville, 1816 |
สปีชีส์: | C. maximus |
ชื่อทวินาม | |
Cetorhinus maximus (Gunnerus, 1765) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก (สีน้ำเงิน) | |
ชื่อพ้อง | |
Cetorhinus blainvillei Capello, 1869
* ชื่อพ้องคลุมเครือ |
ปลาฉลามอาบแดด หรือ ปลาฉลามยักษ์น้ำอุ่น[3] (อังกฤษ: basking shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cetorhinus maximus) เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Cetorhinidae และสกุล Cetorhinus[4]
ปลาฉลามอาบแดดจัดอยู่ในอันดับ Lamniformes เช่นเดียวกับปลาฉลามขาว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองมาจากปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามอาบแดดมีความยาวได้ถึง 10 เมตร เท่ากับรถโดยสารสองชั้นคันหนึ่ง (ขนาดโดยเฉลี่ย 8 เมตร) มีน้ำหนักมากถึงได้ 7 ตัน เท่ากับช้างสองเชือก มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวสีเทาออกน้ำตาล มีปลายจมูกเป็นรูปกรวย มีปากขนาดใหญ่ มีซี่กรองเหงือกสีแดงมีลักษณะเป็นซี่คล้ายหวีหรือแปรงที่พัฒนามาเป็นอย่างดีสำหรับกรองอาหาร มีริ้วเหงือกภายนอกตั้งแต่ส่วนบนหัวถึงด้านล่างหัว ซึ่งปลาฉลามอาบแดดจะใช้ซี่กรองเหงือกนี้ในการหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย กรองกินแพลงก์ตอนสัตว์ต่าง ๆ ผ่านซี่กรองนี้เป็นอาหารเหมือนปลาฉลามวาฬ และปลาฉลามเมกาเมาท์ จัดเป็นปลาฉลามที่มีสมองขนาดเล็ก แต่ก็มีประสาทสัมผัสโดยเฉพาะประสาทการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยมเหมือนปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น[5]
ปลาฉลามอาบแดด เป็นปลาฉลามขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรเขตน้ำอุ่นทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ เกาะอังกฤษ นับเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในเกาะอังกฤษ ปลาฉลามอาบแดดบางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ เพื่อกินแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณผิวน้ำ ตามสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่แพลงก์ตอนสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี คือ มีแสงแดด มีอุณหภูมิอบอุ่นที่เหมาะสม ปลาฉลามอาบแดดจะอ้าปากได้กว้าง จนกระทั่งเห็นซี่กรองภายในปากชัดเจน ไล่กินแพลงก์ตอนสัตว์ตามผิวน้ำ แต่โดยปกติจะอาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะมีพฤติกรรมย้ายถิ่นฐานไปตามแพลงก์ตอนตามฤดูกาล ซึ่งเชื่อว่าจะว่ายตามแพลงก์ตอนไปตามกลิ่น จากการศึกษาพบว่าสามารถเดินทางได้ไกลถึง 2,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 7 วัน[5]
ปลาฉลามอาบแดด เหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ ที่ถูกล่าเพื่อการพาณิชย์มามาตั้งแต่อดีต เพื่อนำไปเพื่อการบริโภค ครีบนำไปทำเป็นหูฉลาม และน้ำมันตับปลาฉลาม[6] อีกทั้งในปัจจุบัน ผลจากการตรวจสอบทางดีเอ็นเอและเนื้อเยื่อพบว่า ซากปลาฉลามอาบแดด คือ ซากของสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ที่เรือประมงสัญชาติญี่ปุ่นเคยกว้านขึ้นมาได้เมื่อ ปี ค.ศ. 1977 ที่ชายฝั่งนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นปริศนามาอย่างยาวนานว่าคือสัตว์ชนิดใด จนกระทั่งมีความเชื่อกันว่าเป็นพลีซิโอซอรัส สัตว์เลื้อยคลานทะเลคอยาวขนาดใหญ่ยุคเดียวกับไดโนเสาร์ที่ยังไม่สูญพันธุ์[7]
รูปภาพ
แก้-
ส่วนหัว
-
ภาพจากบนผิวน้ำ
-
ส่วนหัวและครีบหลังขณะกินแพลงก์ตอน
อ้างอิง
แก้- ↑ Sepkoski, Jacktology (2002). "สำเนาที่เก็บถาวร". 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Cetorhinus maximus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.3. 2005. สืบค้นเมื่อ October 26, 2010.
- ↑ ความตกลงเพื่อการอนุวัติการตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติ
- ↑ "Cetorhinus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ 5.0 5.1 The Basking Shark, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 16 มกราคม 2556
- ↑ Leonard J. V. Compagno (1984). Sharks of the World: An annotated and illustrated catalogue of shark species known to date. Food and Agriculture Organization of the United Nations.
- ↑ Kuban, Glen. "Sea-monster or Shark?: An Analysis of a Supposed Plesiosaur Carcass Netted in 1977".
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cetorhinus maximus ที่วิกิสปีชีส์