ปลาฉลามเมกาเมาท์
ปลาฉลามเมกาเมาท์ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Lamniformes |
วงศ์: | Megachasmidae Taylor, Compagno & Struhsaker, 1983 |
สกุล: | Megachasma Taylor, Compagno & Struhsaker, 1983 |
สปีชีส์: | M. pelagios |
ชื่อทวินาม | |
Megachasma pelagios Taylor, Compagno & Struhsaker, 1983 | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก (สีน้ำเงิน) |
ปลาฉลามเมกาเมาท์ (อังกฤษ: Megamouth shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Megachasma pelagios) เป็นปลาฉลามน้ำลึกขนาดใหญ่ที่พบได้ยากมาก หลังจากพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1976 จากการติดกับสมอของเรือรบ AFB 14 ของกองทัพเรือสหรัฐ เมื่อกว้านขึ้นมา พบเป็นซากปลาฉลามขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครรู้จักเหมือนสัตว์ประหลาดขนาดความยาวประมาณ 4.5 เมตร น้ำหนักราว 3-4 ตัน มีจุดเด่น คือ ปากที่กว้างใหญ่มากและฟันซี่แหลม ๆ เหมือนเข็มอยู่ทั้งหมด 7 แถว ซึ่งมีความยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร นักวิทยาศาสตร์เมื่อได้ศึกษาแล้วพบว่าเป็นปลาชนิดใหม่ และมีจุดที่แตกต่างไปจากปลาฉลามทั่วไป จึงจัดให้อยู่ในสกุล Megachasma และวงศ์ Megachasmidae ซึ่งยังมีเพียงชนิดนี้ชนิดเดียวเท่านั้น[2]
ปัจจุบัน เป็นปลาที่ยังพบได้น้อย โดยมีรายงานการพบเห็นและเก็บตัวอย่าง 39 ครั้ง และมีการบันทึกภาพไว้ได้ 3 ครั้ง (ตามข้อมูลเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007) โดย 1 ใน 3 ของการพบตัวอย่างปรากฏในเขตน่านน้ำญี่ปุ่น [3]
ปลาฉลามชนิดนี้กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเหมือนปลาฉลามบาสกิ้น และปลาฉลามวาฬ โดยมีปากกว้างใหญ่เพื่อกลืนเอาน้ำเข้าไปมาก ๆ แล้วกรองน้ำออกให้เหลือแต่แพลงก์ตอนและแมงกะพรุน ส่วนหัวขนาดใหญ่และริมฝีปากเป็นผิวหนังเหนียวจัดเป็นลักษณะเด่นของปลาฉลามชนิดนี้ [4]
นอกจากนี้แล้ว จากการสังเกตของนักวิทยาศาสตร์ ดร.ลีห์ตัน อาร์. เทย์เลอร์ ซึ่งเป็นผู้ตรวจซากของปลาฉลามเมกาเมาท์ครั้งแรกที่ถูกพบในปี ค.ศ. 1976 พบว่าในเพดานปากกรามบนจะมีพื้นผิวสีเงินแวววาวและจะสะท้อนแสงให้สว่างได้มากยิ่งขึ้นเมื่อต้องกับแสง สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับเรืองแสงในน้ำลึกเพื่อล่อเหยื่อ ซึ่งได้แก่ แพลงก์ตอน และเคยชนิดต่าง ๆ ให้เข้ามาเล่นกับแสงและอ้าปากกินเป็นอาหาร ในเวลากลางคืนที่เมื่อเคยขึ้นมาใกล้ผิวน้ำในระดับความลึกไม่เกิน 20 เมตร เพื่อกินอาหาร ปลาฉลามเมกาเมาท์ก็จะว่ายตามขึ้นมาเพื่อกินเคยด้วย[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ L. J. V. Compagno (2005). "Megachasma pelagios (Megamouth Shark)". IUCN Red List of Threatened Species. 2005. สืบค้นเมื่อ 16 December 2014.
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ 3.0 3.1 "ท่องโลกกว้าง: สุดยอดตำนานแห่งท้องทะเล ตอน ฉลามทะเลลึก". ไทยพีบีเอส. 19 September 2014. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ฉลามเมก้า เมาท์ (The Megamouth Shark)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2012-05-02.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Megachasma pelagios ที่วิกิสปีชีส์