ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา
ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา หรือ สายพันธุ์ B.1.617.2 เป็นสายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 เป็นสายพันธุ์ย่อยของ B.1.617 อีกทีหนึ่ง[1] พบครั้งแรกในอินเดียช่วงปลายปี 2020[2][3] และองค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อว่า เดลตา ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2021[4]
ไวรัสมีการกลายพันธุ์ในยีนที่ถอดรหัสเป็นโปรตีนหนาม (spike protein) ที่เปลือกหุ้มไวรัส[5] การกลายพันธุ์เป็นการแทนที่กรดอะมิโนชนิด T478K, P681R และ L452R[6] ซึ่งอาจเพิ่มการติดต่อของโรค และอาจมีผลให้แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ที่กระตุ้นโดยวัคซีนหรือการติดโรคโควิด-19 มาก่อนสามารถกำจัดเชื้อได้ลดลง ในเดือนพฤษภาคม 2021 สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษคือพีเอชอี (Public Health England, PHE) พบว่าอัตราการติดโรคต่อภายในกลุ่ม (secondary attack rate)[A] ของเชื้อนี้สูงกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึงร้อยละ 51-67[11] ต่อมาในเดือนมิถุนายนจึงรายงานเพิ่มว่าความเสี่ยงการเข้า รพ. ก็สูงขึ้นด้วย[12]
วัคซีนโควิด-19 มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลตาที่อาการหนักจนถึงเข้า รพ. แม้จะมีหลักฐานบ้างว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีโอกาสเกิดอาการจากเชื้อนี้มากกว่าสายพันธุ์โควิด-19 อื่น ๆ[13]
ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 พีเอชอียกระดับสายพันธุ์นี้จากสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบ (variant under investigation, VUI) ให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง (variant of concern, VOC) เพราะประเมินว่า เชื้อติดต่อได้ง่ายอย่างน้อยก็เท่ากับสายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7) ที่เบื้องต้นพบในสหราชอาณาจักร[14] ต่อมากลุ่มผู้ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของสหราชอาณาจักร (SAGE) จึงประเมินว่า เชื้อติดต่อได้ง่ายกว่าอัลฟาประมาณ 50%[15] วันที่ 11 พฤษภาคม องค์การอนามัยโลกจึงจัดเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยระบุว่า มีหลักฐานว่าติดต่อได้ง่ายกว่าและภูมิต้านทาน (เนื่องกับวัคซีนและการติดโรค) ก็จัดการมันได้น้อยลง ต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2021 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐก็ได้ยกระดับเดลตาว่าน่าเป็นห่วง[16]
สายพันธุ์นี้เชื่อว่าเป็นส่วนให้เกิดการระบาดระลอกที่สองในอินเดียเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021[17][18][19] เป็นส่วนให้เกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในสหราชอาณาจักร[20][21] และในแอฟริกาใต้[22] ในเดือนกรกฎาคม 2021 องค์การอนามัยโลกจึงเตือนว่า อาจเกิดผลเช่นกันในยุโรปและในแอฟริกา[23][22] ในปลายเดือนกรกฎาคม จึงพบว่าสายพันธุ์ได้เพิ่มการติดเชื้อแต่ละวันในภูมิภาคต่าง ๆ ของเอเชีย[24] ในสหรัฐ[25] และในออสเตรเลีย[26]
จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2021 มีประเทศ 163 ประเทศที่ได้พบสายพันธุ์นี้แล้ว[27] โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตาจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่พบในการระบาดทั่วของโควิด-19 ในอีกไม่นาน หรืออาจจะเป็นไปแล้ว ณ ตอนนี้ ก็เป็นไปได้[28][29]
การจัดหมวด
แก้สายพันธุ์เดลตามีการกลายพันธุ์ที่ยีนซึ่งเข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัส[5] เป็นการกลายพันธุ์แบบแทนที่ชนิด D614G, T478K, P681R และ L452R[30][31] การจำแนกวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของเน็กซ์เสตน (Nextstrain) จัดสายพันธุ์ให้อยู่ในเคลด 21A[32]
ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อสายพันธุ์นี้เป็นเดลตา หลังเริ่มใช้อักษรกรีกเป็นชื่อสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงและสายพันธุ์ที่น่าสนใจ[4]
สายพันธุ์ลูกหลานอื่น ๆ ของ B.1.617
แก้ปัจจุบันมีสายพันธุ์ลูกหลานของ B.1.617 ที่จัดหมู่ไว้ 3 หมวด
ในเดือนเมษายน 2021 พีเอชอีจัด B.1.617.1 ให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบ ต่อมาในเดือนเดียวกัน ก็จัด B.1.617.2 (คือเดลตา) และ B.1.617.3 ให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบเช่นกัน สายพันธุ์ B.1.617.3 มีการกลายพันธุ์ L452R และ E484Q เช่นเดียวกันกับ B.1.617.1 แต่ B.1.617.2 ก็ไม่มีการกลายพันธุ์แบบ E484Q โดยยังมีการกลายพันธุ์ T478K ที่ไม่พบใน B.1.617.1 และ B.1.617.3 อีกด้วย[33][34] ในช่วงเดียวกัน ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคยุโรป (ECDC) ก็ได้ระบุสายพันธุ์ย่อยทั้งสามว่า น่าสนใจ และประเมินว่า จะต้องเพิ่มเข้าใจความเสี่ยงก่อนจะพิจารณาเปลี่ยนมาตรการจัดการโรคที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[35]
การกลายพันธุ์
แก้ยีน | กรดอะมิโน |
---|---|
ORF1b | P314L |
P1000L | |
โปรตีนหนาม | G142D |
T19R | |
R158G | |
L452R | |
T478K | |
D614G | |
P681R | |
D950N | |
E156del | |
F157del | |
M | I82T |
N | D63G |
R203M | |
D377Y | |
orf3a | S26L |
orf7a | V82A |
T120I | |
แหล่งอ้างอิง: ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ[37], Covariants.org[38] |
จีโนมของสายพันธุ์เดลตา หรือ B.1.617.2 มีการกลายพันธุ์ 13 ตำแหน่ง[B] ซึ่งทำให้โปรตีนที่ผลิตเนื่องกับลำดับยีนที่เปลี่ยนไปเช่นนั้น เปลี่ยนไป[3] มีการกลายพันธุ์ 4 อย่างทั้งหมดที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษในโปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งโดด ๆ แล้วไม่เฉพาะเจาะจงต่อสายพันธุ์นี้ แต่การมีการกลายพันธุ์ทั้ง 4 อย่างเป็นลักษณะพิเศษของสายพันธุ์นี้[31][39] การกลายพันธุ์รวมทั้ง
- D614G เป็นการแทนที่กรดแอสปาร์ติกด้วยไกลซีนที่ตำแหน่ง 614 ซึ่งก็มีในสายพันธุ์ที่ติดต่อได้เร็วอื่น ๆ รวมทั้งอัลฟา เบตา และแกมมา[40]
- T478K[40][30] เป็นการแทนที่ทรีโอนีนด้วยไลซีนที่ตำแหน่ง 478[41]
- L452R เป็นการแทนที่ลิวซีนด้วยอาร์จินีนที่ตำแหน่ง 452 ทำให้โปรตีนหนามมีสัมพรรคภาพจับกับหน่วยรับเซลล์มนุษย์คือ ACE2 ได้แน่นขึ้น[42] และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันรู้จำโปรตีนได้น้อยลง[31][43]
- P681R เป็นการแทนที่ proline ด้วยอาร์จินีนที่ตำแหน่ง 681 ตามนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันท่านหนึ่ง การกลายพันธุ์นี้อาจทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อเพิ่มขึ้นโดยอำนวยการตัดโปรตีนตั้งต้นของโปรตีน S ให้เป็นรูปแบบที่มีฤทธิ์คือ S1/S2[44]
ให้สังเกตว่า การกลายพันธุ์ E484Q ไม่มีอยู่ในจีโนมของสายพันธุ์เดลตา[44][45]
สายพันธุ์เดลตาพลัส
แก้สายพันธุ์เดลตาบวกกับการกลายพันธุ์ K417N จัดอยู่ในเคลด 2 เคลดคือ AY.1 และ AY.2 ตามการจำแนกสายพันธุ์ของแพงโก (PANGOLIN)[46] และมีชื่อเล่นว่า เดลตาพลัส หรือสายพันธ์เนปาล มีการกลายพันธุ์ชนิด K417N[47] ซึ่งก็พบในสายพันธุ์เบตาด้วย[48] เป็นการแทนที่ไลซีนด้วยแอสพาราจีนที่ตำแหน่ง 417[49]
ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2021 สายพันธุ์ AY.3 เป็นตัวทำให้ติดเชื้อร้อยละ 21 ในสหรัฐ[50]
อาการ
แก้ติดโรคหรือติดเชื้อ | มีอาการรุนแรง: ยังป้องกันได้ มีอาการ: อาจป้องกันได้น้อยลง |
---|---|
มีอาการรุนแรง | : แอสตร้าเซนเนก้า(1), โมเดอร์นา(1), ไฟเซอร์- |
มีอาการ | ถึง : ไฟเซอร์-ไบออนเทค(3) : โคแว็กซิน(1) : แอสตร้าเซนเนก้า-Vaxzevria(2) |
การติดเชื้อ | : แอสตร้าเซนเนก้า-Vaxzevria(1), ไฟเซอร์-ไบออนเทค(1) |
สัญลักษณ์แสดงอัตราที่ประสิทธิภาพของวัคซีน (VE) ลดลง ให้สังเกตว่า การลดประสิทธิภาพไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถป้องกันได้ เพราะประสิทธิภาพการป้องกันที่สูงอยู่แล้ว (เช่น 95%) เมื่อลดลงไปบ้าง (เช่น 10%) ก็ยังสามารถป้องกันได้ (เช่น 85%) ตัวเลขในวงเล็บเป็นจำนวนงานศึกษาที่สนับสนุนข้อมูล งานเหล่านี้ศึกษากลุ่มประชากรที่ต่างกัน นิยามผลที่ตรวจสอบต่างกัน และมีรูปแบบ/แบบแผนอันต่างกันเป็นต้น จึงอาจทำให้ค่า VE สำหรับวัคซีนเดียวกันต่างกันในงานศึกษาอันต่างกัน อนึ่ง ค่าที่ลดลงสะท้อนถึงค่าประเมินประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งไม่ได้รวมเอาความไม่แน่นอนเกี่ยวกับค่าเหล่านั้น โดยอาจจะต่างกันมากในงานศึกษาต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาค่าที่ลดลงตามข้อจำกัดเหล่านี้ด้วย
: VE ลดลง <10%, หรือ VE >90% โดยไม่มีค่าเปรียบเทียบ | |
ผลต่อการลบล้างฤทธิ์ของไวรัส (ได้วัคซีนครบ)[27] | |
ถึง : Anhui-ZIFIVAX(2), โคแว็กซิน(3) : จอห์นสัน(3), โมเดอร์นา(3), Covishield(2) ถึง : แอสตร้าเซนเนก้า(4), ไฟเซอร์-ไบออนเทค(8) : โมเดอร์นาและไฟเซอร์(1)* ถึง : ซิโนแวค(2) | |
สัญลักษณ์แสดงอัตราที่แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์สามารถกำจัดไวรัสได้น้อยลงเมื่อได้วัคซีนครบแล้ว ตัวเลขในวงเล็บเป็นจำนวนงานศึกษาที่สนับสนุนข้อมูล
: ลดลง <2 เท่า |
อาการที่สามัญสุดของการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาอาจผิดไปจากโควิด-19 ดั้งเดิม และคนที่ติดโรคอาจเข้าใจผิดว่าเป็นหวัดหนักโดยไม่รู้ว่าต้องแยกตัว อาการสามัญรวมปวดศีรษะ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และเป็นไข้[51][52]
ในสหราชอาณาจักรที่ผู้ติดโรคใหม่เกินร้อยละ 91 ติดสายพันธุ์เดลตา งานศึกษาหนึ่งพบว่า อาการสามัญสุดคือปวดศีรษะ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล[53]
การป้องกัน
แก้องค์การอนามัยโลกยังไม่ระบุวิธีการป้องกันการติดเชื้อเดลตาโดยเฉพาะ การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วไปน่าจะยังใช้ได้ผลเหมือนเดิม วิธีการป้องกันโดยทั่วไปเหล่านี้ได้แก่ การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่แตะปาก จมูก หรือตาด้วยมือที่ยังไม่ล้าง และไม่เข้าไปในบริเวณอาคาร/บ้านที่อากาศไม่ถ่ายเทโดยเฉพาะเมื่อมีคนกำลังพูด[54]
ในอินเดีย งานศึกษาหนึ่งพบว่า เลือดของคนไข้ที่ติดโควิดมาก่อนและของผู้ที่ได้รับวัคซีนโคแว็กซินสามารถกำจัดฤทธิ์ของสายพันธุ์ B.1.617 แม้จะมีประสิทธิภาพลดลง[55] ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า เลือดของผู้ฉีดวัคซีน Covishield (แอสตร้าเซนเนก้า) สามารถป้องกันสายพันธุ์ B.1.617 ได้[56]
พีเอชอีพบว่า หลังจากฉีดโดสแรก ทั้งวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพป้องกันการติดโรคแบบแสดงอาการร้อยละ 33 และ 2 สัปดาห์หลังจากฉีดโดสที่ 2 วัคซีนของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพร้อยละ 88 และวัคซีนของแอสตร้าร้อยละ 60[57][58]
ในอังกฤษ งานศึกษาที่ศูนย์วิจัยชีวเวชคือสถาบันฟรานซิสคริกและตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ทั้งสองเข็มแล้วน่าจะมีระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์สำหรับเชื้อสายพันธุ์เดลตา 5 เท่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม[59][60]
ในเดือนมิถุนายน 2021 พีเอชอีประกาศผลงานศึกษาที่พบว่า หลังจากฉีด 2 โดส วัคซีนของไฟเซอร์และของแอสตร้ามีผลป้องกันการติดเชื้อซึ่งทำให้เข้า รพ. เนื่องจากสายพันธุ์เดลตาถึงร้อยละ 96 และ 92 ตามลำดับ[61][62]
งานศึกษาเดือนกรกฎาคม 2021 ในศรีลังกาพบว่า วัคซีนของซิโนฟาร์มก่อ seroconversion ในบุคคลที่ได้วัคซีนทั้งสองโดสร้อยละ 95 อัตราในคนอายุระหว่าง 20-39 ปีสูงกว่า คือ 98.9% ส่วนอัตราในคนอายุ 60 ปีขึ้นก็ต่ำกว่าเล็กน้อยคือ 93.3% แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์พบในคนที่ฉีดวัคซีน 81.25%[63][64]
ในปลายเดือนกรกฎาคม พีเอชอีตีพิมพ์งานศึกษาที่พบว่า วัคซีนของไฟเซอร์หลังโดสที่สองมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลตาที่แสดงอาการ 93.7% เทียบกับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่ 67%[65]
การรักษา
แก้การรักษาผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาจะเหมือนกับเมื่อรักษาโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ
การรักษาปัจจุบันเป็นการบำบัดประคับประคอง ซึ่งอาจรวมถึงการให้สารน้ำ การรักษาด้วยออกซิเจน และประคับประคองอวัยวะสำคัญอื่นที่ได้รับผลกระทบ[66][67][68] มีการใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) เพื่อรักษาทางเดินหายใจล้มเหลว แต่ประโยชน์ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา[69][70] การรักษาแบบประคับประคองอาจมีประโยชน์ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงในการติดเชื้อระยะต้น[71]
WHO และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนจัดพิมพ์ข้อแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับรักษาในโรงพยาบาล[72][73][74] แพทย์เวชบำบัดวิกฤตและแพทย์โรคระบบการหายใจในสหรัฐรวบรวมข้อแนะนำการรักษาจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าเป็นทรัพยากรเสรี คือ IBCC[75][76]วิทยาการระบาด
แก้การแพร่เชื้อ | เพิ่มการแพร่เชื้อและการติดโรคต่อภายในกลุ่ม (secondary attack rate)[A] ส่วนทั้งผู้ฉีดวัคซีนแล้วและยังไม่ได้ฉีดแพร่โรคได้พอกัน |
---|---|
ศักยภาพก่อโรค | เพิ่มความเสี่ยงต้องเข้า รพ. |
การติดเชื้อซ้ำ | ลดระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ |
การวินิจฉัย | ยังไม่มีรายงานว่ามีผล |
*เป็นผลทั่วไปที่พบเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น อาศัยหลักฐานรวมทั้งสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน |
การแพร่เชื้อ
แก้นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้ระบุว่า เดลตาแพร่เชื้อได้ยิ่งกว่าอัลฟาซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักมาก่อนถึง 40-60%[77] เพราะอัลฟาแพร่เชื้อได้ 150% เทียบกับสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมอยู่แล้ว[77] และถ้าเดลตาแพร่เชื้อได้ 150% เทียบกับอัลฟา เดลตาอาจสามารถแพร่เชื้อได้ 225% เทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม[78]
ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน ( ) หมายถึงจำนวนคนที่ติดเชื้อจากคนเดียว ๆ ภายในกลุ่มที่ทุกคนเสี่ยงติดเชื้อ บีบีซีรายงานว่า ของสายพันธุ์อู่ฮั่นอยู่ที่ 2.4-2.6 ของอัลฟาที่ 4-5 และของเดลตาที่ 5-8[79] นี่เปรียบเทียบกับโรคเมอร์ส (0.29-0.80[80]) ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (1.2-1.4[81]) อีโบลา (1.4-1.8[82]) หวัดธรรมดา (2-3[83]) ซาร์ส (2-4[84]) ฝีดาษ (3.5-6[85]) และอีสุกอีใส (10-12[86]) เอกสารภายในของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐที่หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้มาระบุว่า เดลตาระบาดได้เท่ากับอีสุกอีใส ระบาดได้น้อยกว่าโรคที่กล่าวมาก่อนที่เหลือ แต่ระบาดได้น้อยกว่าโรคหัด (12-18[87][88]) โดยระบุว่า ของเดลตาอยู่ระหว่าง 5-9.5[89]
งานศึกษาหนึ่ง[90] ที่ตีพิมพ์ออนไลน์โดยไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันและทำโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคมณฑลกวางตุ้ง อาจจะอธิบายการเพิ่มแพร่เชื้อได้เป็นบางส่วน คือ
- คนที่ติดเชื้อเดลตามีจำนวนไวรัสเป็นพันเท่าในทางเดินหายใจมากกว่าคนที่ติดเชื้ออู่ฮั่น
- คนที่ติดเชื้อเดลตาใช้เวลาโดยเฉลี่ย 4 วันจึงจะตรวจพบไวรัสได้เทียบกับ 6 วันสำหรับสายพันธุ์อู่ฮั่น[91][92]
ข้อมูลการตรวจตราของรัฐบาลสหรัฐ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์แสดงว่า จำนวนการติดเชื้อเดลตาเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าทุก ๆ 2 สัปดาห์เทียบกับอัลฟา[93][94][95]
สายพันธุ์เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งอินเดีย สหราชอาณาจักร[96] โปรตุเกส[97] รัสเซีย[98] เม็กซิโก ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย[99] แอฟริกาใต้ เยอรมนี[100] ลักเซมเบิร์ก[101] สหรัฐ[102] เนเธอร์แลนด์[103] เดนมาร์ก[104] ฝรั่งเศส[105] และไทย[106] ปกติการรายงานสายพันธุ์โรคจะช้ากว่าการรายงานจำนวนคนติดโรคโดยช้ากว่าประมาณ 3 สัปดาห์
จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2021 มีประเทศ 163 ประเทศที่ได้พบสายพันธุ์นี้แล้ว[27] โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของโควิดในอีกไม่นาน หรืออาจจะเป็นไปแล้วก็เป็นได้[28][29]
กลุ่มอายุผู้ติดเชื้อ
แก้ข้อมูลการตรวจตราของรัฐบาลอินเดีย (IDSP) พบว่า คนไข้ 32% ทั้งที่เข้า รพ. และไม่เข้า รพ. มีอายุน้อยกว่า 30 ปีในการระบาดระลอกที่ 2 เทียบกับ 31% ในระลอกแรก ส่วนสัดส่วนของคนอายุระหว่าง 30-40 ปีคงที่โดยอยู่ที่ 21% การเข้า รพ. ของผู้อายุ 20-39 ปีเพิ่มเป็น 25.5% จาก 23.7% และอายุ 0-19 ปีเพิ่มเป็น 5.8% จาก 4.2% ข้อมูลยังแสดงด้วยว่า มีคนไข้ที่ไม่แสดงอาการในอัตราส่วนสูงกว่าที่เข้า รพ. และมีอัตราสูงกว่าที่ระบุว่าหายใจไม่ออก ดังนั้น แม้คนอายุน้อยจะติดโรคในสัดส่วนเท่ากับระลอกแรก แต่ก็ป่วยหนักกว่า[107]
ศักยภาพก่อโรค
แก้ในวันที่ 7 มิถุนายน 2021 นักวิจัยสิงค์โปร์ได้เผยแพร่ผลงานที่แสดงนัยว่า คนไข้ที่ตรวจพบเชื้อเดลตามีโอกาสเกิดปอดบวมและ/หรือจำเป็นต้องให้ออกซิเจนยิ่งกว่าคนไข้สายพันธุ์ดั้งเดิมหรืออัลฟา[108]
วันที่ 11 มิถุนายน 2021 พีเอชอีรายงานว่ามีความเสี่ยงเข้า รพ. เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญในการติดเชื้อเดลตาเทียบกับอัลฟา[109] วันที่ 14 มิถุนายนต่อมา นักวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขสกอตแลนด์ก็ระบุว่า ความเสี่ยงเข้า รพ. ของผู้ติดเชื้อเดลตาเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเทียบกับอัลฟา[110]
ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2021 งานศึกษาของกลุ่มนักวิทยาการระบาดในแคนาดาที่กำลังรอการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันพบว่า เดลตามีความเสี่ยงให้เข้า รพ. 120%, เข้าห้องไอซียู 287% และเสียชีวิต 137% เทียบกับสายพันธุ์โควิดที่ไม่น่าเป็นห่วงอื่น ๆ[111]
ประวัติ
แก้ในประเทศนอกเหนือจากอินเดีย สายพันธุ์นี้ได้พบเป็นครั้งแรกในปลายเดือนกุมภาพันธ์รวมทั้งสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 22 สหรัฐเมื่อวันที่ 23 และสิงค์โปร์เมื่อวันที่ 26[112][3][2]
ในวันที่ 7 พฤษภาคม พีเอชอีได้ระบุสายพันธุ์นี้ว่า น่าเป็นห่วง (VOC-21APR-02)[113] หลังจากที่พบหลักฐานว่า มันติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมโดยเบื้องต้นคาดว่าอาจติดต่อได้ง่ายเท่ากับสายพันธุ์อัลฟา อีกเหตุผลหนึ่งก็คือพบการระบาดสายพันธุ์นี้ใน 48 คลัสเตอร์ซึ่งแสดงการติดต่อในชุมชน[114][115] ในต้นเดือนมิถุนายนต่อมา ก็ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหราชอาณาจักรเพราะกรณีติดสายพันธุ์เพิ่มขึ้นเร็วมาก[116] คือพบว่า กรณีติดโรคใหม่ร้อยละ 90 ในสหราชอาณาจักรต้นเดือนมิถุนายนเกิดจากสายพันธุ์นี้ พีเอชอีระบุหลักฐานด้วยว่า สายพันธุ์นี้สัมพันธ์กับความเสี่ยงติดต่อภายในบ้านเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 เทียบกับสายพันธุ์อัลฟา[117]
กรณียืนยันแรกของแคนาดาพบที่รัฐควิเบกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2021 แล้วในวันเดียวกันก็พบกรณี 39 กรณีในรัฐบริติชโคลัมเบีย[118]
ประเทศฟิลิปปินส์ได้ยืนยันสองกรณีแรกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2021 แม้จะได้ระงับการเดินทางจากประเทศต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย (ยกเว้นภูฏานและมัลดีฟส์) โดยคนไข้ทั้งสองคนไม่มีประวัติเดินทางไปอินเดียในช่วง 14 วันก่อน แต่มาจากโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[119]
ประเทศบางประเทศมีปัญหาตรวจสอบสายพันธุ์นี้ เพราะไม่มีชุดตรวจโดยเฉพาะ ๆ สำหรับสายพันธุ์หรือไม่มีแหล็บที่ถอดลำดับยีนได้[120][121] ยกตัวอย่างเช่น ณ วันที่ 18 พฤษภาคม ปากีสถานไม่มีรายงานผู้ติดสายพันธุ์นี้เลย แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ระบุว่า ตัวอย่างเชื้อถึงร้อยละ 15 จัดอยู่ใน "สายพันธุ์ที่ไม่รู้จัก" คือจริง ๆ ไม่สามารถตรวจเพื่อระบุสายพันธุ์นี้ได้ ทั้ง ๆ ที่ประเทศอื่น ๆ ก็รายงานผู้เดินทางมาจากปากีสถานที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้[120]
ในกลางเดือนมิถุนายน นักวิทยาศาสตร์อินเดียได้เน้นการมีสายพันธุ์ใหม่คือ B.1.617.2.1 หรือ AY.1 หรือเดลตาพลัส ซึ่งมีการกลายพันธุ์ K417N เพิ่ม[47] และได้พบในยุโรปตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว โดยต่อมาก็ได้พบทั้งในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกา[47]
ในวันที่ 25 มิถุนายน 2021 พีเอชอีรายงานผู้เสียชีวิต 32 รายจากผู้ติดเชื้อเดลตาในสหราชอาณาจักร 11,250 รายที่ติดตามเป็นเวลา 28 วันโดยมีอัตราป่วยตายที่ร้อยละ 0.3 ซึ่งใกล้เคียงกับผู้ติดเชื้ออัลฟาในเวลาใกล้ ๆ กัน เป็นอัตราที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.9 ซึ่งสมมุติว่าเป็นเพราะผู้ที่เสี่ยงโรคได้ฉีดวัคซีนแล้วเป็นจำนวนมาก[12][122] แต่ปัญหาหลักก็คืออัตราการเพิ่มเค้สของเดลตาเมื่อเทียบกับอัลฟา[C] ซึ่งหมายความว่า จำนวนเค้สเดลตากำลังเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 เท่า[D] เทียบกับสายพันธุ์อัลฟา ดังนั้น จำนวนเค้สของเดลตาก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเปรียบเทียบจนกระทั่งถึงระดับหนึ่ง[123][124]
การตอบสนองของรัฐบาล
แก้หลังจากเกิดระบาดระลอกที่สอง ประเทศอย่างน้อย 20 ประเทศได้ระงับหรือจำกัดการเดินทางจากอินเดียในเดือนเมษายนและพฤษภาคม นายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสัน ได้ยกเลิกการไปเยี่ยมอินเดียถึงสองครั้ง และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นโยชิฮิเดะ ซูงะก็ได้เลื่อนการเดินทางในเดือนเมษายน[125][126][127]
ในเยอรมนีเดือนพฤษภาคม 2021 คนในตึกสองตึกถูกกักตัวหลังจากตรวจพบหญิงคนหนึ่งผู้ติดโควิดสายพันธุ์นี้[128]
ในเดือนพฤษภาคม มุขยมนตรีของกรุงเดลีกล่าวว่า มีไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในสิงค์โปร์ที่เป็นอันตรายมากต่อเด็กและอาจก่อการระบาดระลอกที่สามในอินเดีย แต่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ก็โต้ว่า ไม่มีสายพันธุ์ใหม่ที่พบในสิงค์โปร์ และก็ไม่มีสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาไหน ๆ ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเด็ก[129][130] แต่การติดโรคที่เพิ่มขึ้นในสิงค์โปร์มีเหตุจากสายพันธุ์เดลตา[130]
ในวันที่ 14 มิถุนายน นายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสันประกาศว่า วันอิสรภาพที่ประกาศไว้คือวันที่ 21 มิถุนายน อาจต้องเลื่อนไปอีก 4 สัปดาห์โดยจะเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเพราะเป็นห่วงเรื่องสายพันธุ์เดลตา ซึ่งทำให้ติดโรคใหม่ถึงร้อยละ 90[131] นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้กล่าวว่า สายพันธุ์นี้ติตต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึง 40-60%[77]
ในวันที่ 16 มิถุนายน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยคาดว่า สายพันธุ์เดลตาจะเป็นสายพันธุ์หลักแทนอัลฟาในประเทศไทยในไม่เกิน 2-3 เดือน[132][133]
ในวันที่ 23 มิถุนายน แอสตร้าเซนเนก้าระบุว่าวัคซีนของบริษัทสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้[132][134] ในวันเดียวกัน รัฐออนแทรีโอของแคนาดาได้เร่งฉีดวัคซีนโดสที่สองให้แก่ประชาชนผู้อยู่ในเขตซึ่งเดลตากำลังระบาดอย่างรวดเร็ว เช่น กรุงโทรอนโตเป็นต้น[135]
ในวันที่ 25 มิถุนายน ประเทศอิสราเอลได้กลับมาบังคับให้ใช้แมสก์อีกโดยอ้างความเสี่ยงการระบาดสายพันธุ์เดลตา[136]
ในวันที่ 27 มิถุนายน แอฟริกาใต้ได้ห้ามการชุมนุมกันทั้งในอาคารและนอกอาคารยกเว้นงานศพ ประกาศให้เคอร์ฟิว และห้ามไม่ให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[137]
ในวันที่ 28 มิถุนายน กรุงซิดนีย์และเมืองดาร์วินในออสเตรเลียได้กลับไปล็อกดาวน์อีกเพราะการระบาดของเดลตา[138]
ในวันที่ 3 กรกฎาคม เกาะบาหลีและเกาะชวาในอินโดนีเซียได้ประกาศล็อกดาวน์[139]
ในวันที่ 5 กรกฎาคม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยได้ระบุว่า เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดใน กทม. แล้ว[140]
ในวันที่ 8 กรกฎาคม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินในนครโตเกียว และผู้ชมกีฬาโดยมากจะถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมชมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (เลื่อนเป็นจัดในปี 2021) ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 23 กรกฎาคม[141]
ในวันที่ 9 กรกฎาคม เกาหลีใต้ยกระดับนโยบายให้ใส่แมสก์นอกอาคารและจำกัดจำนวนผู้คนในการชุมนุม[142]
ในวันที่ 12 กรกฎาคม ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประกาศว่า เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขทั้งหมดจะต้องฉีดวัคซีนก่อนวันที่ 15 กันยายน และฝรั่งเศสจะเริ่มใช้พาสปอร์ตสุขภาพเพื่อการเข้าบาร์ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และศูนย์การค้าเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม[143]
เทศมณฑลลอสแอนเจลิสในสหรัฐประกาศว่าจะเริ่มบังคับให้ใช้แมสก์ภายในอาคารอีกเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม[144]
ในวันที่ 19 กรกฎาคม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยเปิดเผยว่า สายพันธุ์เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนอัลฟาในประเทศไทยแล้ว[106] ในวันเดียวกัน สหราชอาณาจักรได้ยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 โดยมากแม้การติดโรคจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่เดลตากลายเป็นสายพันธุ์หลัก โดยรัฐบาลอ้างประสิทธิภาพป้องกันและการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางให้แก่ประชาชน แม้ผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุขจะได้แสดงข้อคิดที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้[145][146]
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Confirmed cases of COVID-19 variants identified in UK". www.gov.uk. 2021-04-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20. OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0:
- ↑ 2.0 2.1 "Tracking of Variants". gisaid.org. GISAID. 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Expert reaction to cases of variant B.1.617 (the 'Indian variant') being investigated in the UK". Science Media Centre. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
- ↑ 4.0 4.1 "Covid: WHO renames UK and other variants with Greek letters". BBC News. 2021-05-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
- ↑ 5.0 5.1 Shang, Jian; Yushun, Wan; Lou, Chuming; Ye, Gang; Geng, Qibin; Auerbach, Ashley; Fang, Li (2020). "Cell entry mechanisms of SARS-CoV-2". Proceedings of the National Academy of Sciences. 117 (21): 11727–11734. doi:10.1073/pnas.2003138117. PMC 7260975. PMID 32376634.
- ↑ "expert reaction to VUI-21APR-02/B.1.617.2 being classified by PHE as a variant of concern". sciencemediacentre.org. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-18.
- ↑ "บทที่ 6 ดัชนีอนามัยnew". Nakhon Pathom Rajabhat University. 2017-08-15. p. 12.
อัตราผู้ป่วยระลอกสอง (secondary attack rate) หมายถึงอัตราร้อยละหรืออัตราต่อพันของผู้สัมผัสโรคที่มีภูมิไวรับเกิดป่วยเป็นโรคขึ้นภายหลังไปสัมผัสผู้ป่วยกลุ่มแรก
- ↑
"Secondary Attack Rate". Epiville - Columbia University Mailman School of Public Health. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-08. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
Secondary attack rate refers to the spread of disease in a family, household, dwelling unit, dormitory, or similar circumscribed group. The spread of infection from an index case (the initial case, i.e. the case that introduced the organism into the population) to the attending medical staff is called secondary attack rate.
- ↑
Liu, Yang; Eggo, Rosalind M; Kucharski, Adam J (2020). "Secondary attack rate and superspreading events for SARS-CoV-2". The Lancet. 395 (10227): e47. doi:10.1016/S0140-6736(20)30462-1. ISSN 0140-6736.
The secondary attack rate (SAR), defined as the probability that an infection occurs among susceptible people within a specific group (ie, household or close contacts)...
- ↑
Porta, Miquel (2014). Secondary Attack Rate. A Dictionary of Epidemiology (6th ed.). Oxford University Press. ISBN 9780199390069. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-27.
The number of cases of an infection that occur among contacts within the incubation period following exposure to a primary case in relation to the total number of exposed contacts; the denominator is restricted to susceptible contacts when these can be determined.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England" (PDF). 2021-05-27. สืบค้นเมื่อ 2021-06-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0: - ↑ 12.0 12.1 "SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England" (PDF). assets.publishing.service.gov.uk. Public Health England Technical Briefing 16 (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-19. p. 8. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29. OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0:
- ↑ Burn-Murdoch, John; Mancini, Donato Paolo (2021-07-09). "How effective are coronavirus vaccines against the Delta variant?". www.ft.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-07-23.
- ↑ "Confirmed cases of COVID-19 variants identified in UK". www.gov.uk. 2021-05-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07. OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0:
- ↑ "Is The Variant From India The Most Contagious Coronavirus Mutant On The Planet?". NPR. 2021-05-14. cited "Eighty-ninth SAGE meeting on COVID-19, 13 May 2021 (Held via Video Teleconference)" (PDF). UK Government. 2021-05-13.
- ↑ "06/15/2021: Lab Advisory: CDC Classifies SARS-CoV-2 Variant B.1.617.2 (Delta) a Variant of Concern". CDC. 2021-06-15.
- ↑ "WHO labels a Covid strain in India as a 'variant of concern' — here's what we know". CNBC. 2021-05-11.
- ↑ "WHO says India Covid variant of 'global concern'". BBC News. 2021-05-11.
- ↑ "India's second COVID-19 wave". The Wire Science. 2021-04-22.
- ↑ Callaway, Ewen (2021-06-22). "Delta coronavirus variant: scientists brace for impact". Nature (ภาษาอังกฤษ). 595 (7865): 17–18. doi:10.1038/d41586-021-01696-3. PMID 34158664. S2CID 235609029.
- ↑ CNN, Rob Picheta. "Britain thinks it can out-vaccinate the Delta variant. The world isn't so sure". CNN. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
- ↑ 22.0 22.1 "Health service buckling as third coronavirus wave fuelled by Delta variant sweeps across South Africa". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-04. สืบค้นเมื่อ 2021-07-07.
- ↑ Ellyatt, Holly (2021-07-01). "New Covid wave could be imminent as delta variant sweeps Europe, WHO says". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
- ↑ "Delta variant: Which Asian countries are seeing rising cases?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-07-19. สืบค้นเมื่อ 2021-07-23.
- ↑ "US in 'another pivotal moment' as Delta variant drives surge in Covid cases". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-23.
- ↑ "New Zealand suspends quarantine-free travel bubble with Australia". ITV News (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-23.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 "Weekly epidemiological update on COVID-19 - 24 August 2021". World Health Organization. 2021-08-24.
- ↑ 28.0 28.1 "อนามัยโลกเตือน 'ไม่กี่เดือน' โควิด-19 'เดลตา' ระบาดหนักทั่วโลก". M Truth for Thai. 2021-07-16.
- ↑ 29.0 29.1
"WHO Director-General's opening remarks at the 8th meeting of the IHR Emergency Committee on COVID-19 - 14 July 2021". WHO. 2021-07-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-15.
The Delta variant is now in more than 111 countries and we expect it to soon be the dominant COVID-19 strain circulating worldwide, if it isn’t already.
- ↑ 30.0 30.1 "SARS-CoV-2 Variant Classifications and Definitions". CDC.gov. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 Starr, Tyler N.; Greaney, Allison J.; Dingens, Adam S.; Bloom, Jesse D. (April 2021). "Complete map of SARS-CoV-2 RBD mutations that escape the monoclonal antibody LY-CoV555 and its cocktail with LY-CoV016". Cell Reports Medicine. 2 (4): 100255. doi:10.1016/j.xcrm.2021.100255. PMC 8020059. PMID 33842902.
- ↑ "Genomic epidemiology of novel coronavirus - Global subsampling (Filtered to B.1.617)". nextstrain.org. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "SARS-CoV-2 Variant Classifications and Definitions". Centers for Disease Control and Prevention. 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-16.
- ↑ Di Giacomo, Simone; Mercatelli, Daniele; Rakhimov, Amir; Giorgi, Federico M. (2021). "Preliminary report on severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) Spike mutation T478K". Journal of Medical Virology. doi:10.1002/jmv.27062. PMC 8242375. PMID 33951211.
- ↑ "Threat Assessment Brief: Emergence of SARS-CoV-2 B.1.617 variants in India and situation in the EU/EEA". European Centre for Disease Prevention and Control. 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
- ↑ "Spike Variants: Delta variant, aka B.1.617.2". covdb.stanford.edu. 2021-06-24.
- ↑ "SARS-CoV-2 Variant Classifications and Definitions". cdc.gov. Centers for Disease Control and Prevention. 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-06-18.
- ↑ "Dedicated 21A.S.478K Nextstrain build". covariants.org. 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
- ↑ Koshy, Jacob (2021-04-08). "Coronavirus | Indian 'double mutant' strain named B.1.617". The Hindu (ภาษาIndian English). สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
Though these mutations have individually been found in several other coronavirus variants, the presence of both these mutations together have been first found in some coronavirus genomes from India.
- ↑ 40.0 40.1 "SARS-CoV-2 variants of concern as of 24 May 2021". European Centre for Disease Prevention and Control. สืบค้นเมื่อ 2021-05-29.
- ↑ Greenwood, Michael (2021-03-30). "SARS-CoV-2 mutation T478K spreading at alarming speed in Mexico". Medical News. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.
- ↑ South, Andrew M.; Diz, Debra I.; Chappell, Mark C. (2020). "COVID-19, ACE2, and the cardiovascular consequences". American Journal of Physiology-Heart and Circulatory Physiology. 318 (5): H1084–H1090. doi:10.1152/ajpheart.00217.2020. ISSN 0363-6135.
- ↑ Zhang, Wenjuan; Davis, Brian D.; Chen, Stephanie S.; Sincuir Martinez, Jorge M.; Plummer, Jasmine T.; Vail, Eric (2021-04-06). "Emergence of a Novel SARS-CoV-2 Variant in Southern California". JAMA. 325 (13): 1324–1326. doi:10.1001/jama.2021.1612. PMC 7879386. PMID 33571356.
- ↑ 44.0 44.1 Haseltine, William. "An Indian SARS-CoV-2 Variant Lands In California. More Danger Ahead?". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
- ↑ Hoffmann, Markus; Hofmann-Winkler, Heike; Krüger, Nadine; Kempf, Amy; Nehlmeier, Inga; Graichen, Luise; Arora, Prerna; Sidarovich, Anzhalika; Moldenhauer, Anna-Sophie; Winkler, Martin S.; Schulz, Sebastian; Jäck, Hans-Martin; Stankov, Metodi V.; Behrens, Georg M.N.; Pöhlmann, Stefan (2021). "SARS-CoV-2 variant B.1.617 is resistant to bamlanivimab and evades antibodies induced by infection and vaccination". Cell Reports. 36 (3): 109415. doi:10.1016/j.celrep.2021.109415. ISSN 2211-1247.
Collectively, our study reveals that antibody evasion of B.1.617 may contribute to the rapid spread of this variant... ...The RBD of the B.1.617 S protein harbors two mutations associated with (L452R) or suspected (E484Q) of antibody evasion... ...Moreover, E484K present the B.1.351 and P.1 variants confers antibody resistance (Li et al., 2021) and one could speculate that exchange E484Q might have a similar effect.
- ↑ SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England, technical briefing 16 (PDF) (Briefing). Public Health England. 2021-06-18. GOV-8641. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
- ↑ 47.0 47.1 47.2 "Delta plus: New Covid variant identified, experts say no cause of concern for now". The Indian Express. Press Trust of India. 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
- ↑ Sample, Ian (2021-06-03). "Nepal Covid variant: does it exist and should we be concerned?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
- ↑ Tang, Julian W.; Oliver, T.R. (2021). "Introduction of the South African SARS-CoV-2 variant 501Y.V2 into the UK". The Journal of Infection. 82 (4): e8–e10. doi:10.1016/j.jinf.2021.01.007. PMC 7813514. PMID 33472093.
- ↑ "AY.3 Lineage Report". outbreak.info. สืบค้นเมื่อ 2021-07-18.
- ↑ Grover, Natalie (2021-06-14). "Delta variant Covid symptoms 'include headaches, sore throat and runny nose'". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2021-06-30.
- ↑ Roberts, Michelle (2021-06-14). "Headache and runny nose linked to Delta variant". BBC News. London. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
- ↑ Radcliffe, Shawn (2021-06-14). "The COVID-19 Delta Variant: Here's Everything You Need to Know". Healthline. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
- ↑ "Advice for Public". WHO. สืบค้นเมื่อ 2021-07-14.
- ↑ Yadav, PD; Sapkal, GN; Abraham, P; Ella, R; Deshpande, G; Patil, DY; และคณะ (2021-05-07). "Neutralization of variant under investigation B.1.617 with sera of BBV152 vaccinees". Clinical Infectious Diseases. doi:10.1093/cid/ciab411. PMID 33961693.
- ↑ "Covishield, Covaxin effective against 'Indian strain' of coronavirus, study suggests - ET HealthWorld". ETHealthworld.com (ภาษาอังกฤษ). The Economic Times. 2021-04-28.
- ↑ Ellyatt, Holly (2021-05-24). "Two doses of Covid vaccines provide effective protection against variant found in India: Study". CNBC (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Bernal, Jamie Lopez; Andrews, Nick; Gower, Charlotte; Gallagher, Eileen; Simmons, Ruth; Thelwall, Simon; และคณะ (2021-05-24). "Effectiveness of COVID-19 vaccines against the B.1.617.2 variant". medRxiv (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1101/2021.05.22.21257658. S2CID 235152312.
- ↑ Wall, Emma C; Wu, Mary; Harvey, Ruth; Kelly, Gavin; Warchal, Scott; Sawyer, Chelsea; และคณะ (June 2021). "Neutralising antibody activity against SARS-CoV-2 VOCs B.1.617.2 and B.1.351 by BNT162b2 vaccination". The Lancet. 397 (10292): 2331–2333. doi:10.1016/s0140-6736(21)01290-3. ISSN 0140-6736. PMC 8175044. PMID 34090624.
- ↑ "COVID-19 vaccine: Pfizer jabs not the best for Delta variant, says Lancet study". The New Indian Express. 2021-06-05.
- ↑ "Vaccines highly effective against hospitalisation from Delta variant". www.gov.uk (ภาษาอังกฤษ). Public Health England. 2021-06-14. OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0:
- ↑ "UK study finds vaccines offer high protection against hospitalisation from Delta variant". Reuters (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.
- ↑ "Over 95% individuals developed antibodies against the Sinopharm vaccine - USJ Researchers". USJ - University of Sri Jayewardenepura, Sri Lanka (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.
- ↑ Jeewandara, Chandima; Aberathna, Inoka Sepali; Pushpakumara, Pradeep Dharshana; Kamaladasa, Achala; Guruge, Dinuka; Jayathilaka, Deshni; Gunesekara, Banuri; Tanussiya, Shyrar; Kuruppu, Heshan; Ranasinghe, Thushali; Dayarathne, Shashika (2021-07-19). "Antibody and T cell responses to Sinopharm/BBIBP-CorV in naive and previously infected individuals in Sri Lanka". medRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2021.07.15.21260621. doi:10.1101/2021.07.15.21260621. ISSN 2126-0621.
- ↑ Lopez Bernal, Jamie; Andrews, Nick; Gower, Charlotte; Gallagher, Eileen; Simmons, Ruth; Thelwall, Simon; Stowe, Julia; Tessier, Elise; Groves, Natalie; Dabrera, Gavin; Myers, Richard; Campbell, Colin N.J.; Amirthalingam, Gayatri; Edmunds, Matt; Zambon, Maria; Brown, Kevin E.; Hopkins, Susan; Chand, Meera; Ramsay, Mary (2021). "Effectiveness of Covid-19 Vaccines against the B.1.617.2 (Delta) Variant". New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2108891. ISSN 0028-4793.
- ↑ Fisher D, Heymann D (February 2020). "Q&A: The novel coronavirus outbreak causing COVID-19". BMC Medicine. 18 (1): 57. doi:10.1186/s12916-020-01533-w. PMC 7047369. PMID 32106852.
- ↑ Liu K, Fang YY, Deng Y, Liu W, Wang MF, Ma JP, และคณะ (May 2020). "Clinical characteristics of novel coronavirus cases in tertiary hospitals in Hubei Province". Chinese Medical Journal. 133 (9): 1025–1031. doi:10.1097/CM9.0000000000000744. PMC 7147277. PMID 32044814.
- ↑ Wang T, Du Z, Zhu F, Cao Z, An Y, Gao Y, Jiang B (March 2020). "Comorbidities and multi-organ injuries in the treatment of COVID-19". Lancet. Elsevier BV. 395 (10228): e52. doi:10.1016/s0140-6736(20)30558-4. PMID 32171074.
- ↑ Guan WJ, Ni ZY, Hu Y, Liang WH, Ou CQ, He JX, และคณะ (April 2020). "Clinical Characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China". The New England Journal of Medicine. Massachusetts Medical Society. 382 (18): 1708–1720. doi:10.1056/nejmoa2002032. PMC 7092819. PMID 32109013.
- ↑ Henry BM (April 2020). "COVID-19, ECMO, and lymphopenia: a word of caution". The Lancet. Respiratory Medicine. Elsevier BV. 8 (4): e24. doi:10.1016/s2213-2600(20)30119-3. PMC 7118650. PMID 32178774.
- ↑ Wang Y, Wang Y, Chen Y, Qin Q (March 2020). "Unique epidemiological and clinical features of the emerging 2019 novel coronavirus pneumonia (COVID-19) implicate special control measures". Journal of Medical Virology. n/a (n/a): 568–576. doi:10.1002/jmv.25748. PMC 7228347. PMID 32134116.
- ↑ "COVID-19 Treatment Guidelines". www.nih.gov. National Institutes of Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 21 April 2020.
- ↑ Cheng ZJ, Shan J (April 2020). "2019 Novel coronavirus: where we are and what we know". Infection. 48 (2): 155–163. doi:10.1007/s15010-020-01401-y. PMC 7095345. PMID 32072569.
- ↑ "Clinical management of severe acute respiratory infection when novel coronavirus (nCoV) infection is suspected". World Health Organization (WHO). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
- ↑ Farkas J (March 2020). COVID-19—The Internet Book of Critical Care (Reference manual). USA: EMCrit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (digital)เมื่อ 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
- ↑ "COVID19—Resources for Health Care Professionals". Penn Libraries. 11 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2020. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
- ↑ 77.0 77.1 77.2 "How Dangerous Is the Delta Variant, and Will It Cause a COVID Surge in the U.S.?". Scientific American. 2021-06-29. อ้างอิง Scientific Pandemic Influenza Group on Modelling, Operational sub-group (SPI-M-O) (2021-06-02). "SPI-M-O: Consensus Statement on COVID-19" (PDF). SAGE, UK Government.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "With The Delta Variant Spreading Fast, Is It Time To Mask Up Again?". NPR. 2021-07-17. cited "Is The Variant From India The Most Contagious Coronavirus Mutant On The Planet?". NPR. 2021-05-14.
- ↑ "Covid: Is there a limit to how much worse variants can get?". BBC News. 2021-06-12.
- ↑ Kucharski, AJ; Althaus, CL (June 2015). "The role of superspreading in Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) transmission". Euro Surveillance. 20 (25): 14–8. doi:10.2807/1560-7917.ES2015.20.25.21167. PMID 26132768.
- ↑ Chowell, G; Miller, MA; Viboud, C (June 2008). "Seasonal influenza in the United States, France, and Australia: transmission and prospects for control". Epidemiology and Infection. Cambridge University Press. 136 (6): 852–64. doi:10.1017/S0950268807009144. PMC 2680121. PMID 17634159.
The reproduction number across influenza seasons and countries lied in the range 0.9-2.0 with an overall mean of 1.3, and 95% confidence interval (CI) 1.2-1.4.
- ↑ Wong, ZS; Bui, CM; Chughtai, AA; Macintyre, CR (April 2017). "A systematic review of early modelling studies of Ebola virus disease in West Africa". Epidemiology and Infection. 145 (6): 1069–1094. doi:10.1017/S0950268817000164. PMID 28166851.
The median of the R0 mean estimate for the ongoing epidemic (overall) is 1.78 (interquartile range: 1.44, 1.80)
- ↑ Freeman, C. "Magic formula that will determine whether Ebola is beaten". The Telegraph. Telegraph.Co.Uk. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
- ↑ Consensus document on the epidemiology of severe acute respiratory syndrome (SARS). Department of Communicable Disease Surveillance and Response (Technical report). World Health Organization. p. 26. hdl:10665/70863. WHO/CDS/CSR/GAR/2003.11.
A number of researchers have estimated the basic reproduction number by fitting models to the initial growth of epidemics in a number of countries. Their observations indicate that the SARS-CoV is less transmissible than initially thought with estimates of Ro in the range of 2-4.
- ↑ Gani, R; Leach, S (December 2001). "Transmission potential of smallpox in contemporary populations". Nature. 414 (6865): 748–51. Bibcode:2001Natur.414..748G. doi:10.1038/414748a. PMID 11742399. S2CID 52799168. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
- ↑ Ireland's Health Services. Health Care Worker Information (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ Guerra, FM; Bolotin, S; Lim, G; Heffernan, J; Deeks, SL; Li, Y; Crowcroft, NS (December 2017). "The basic reproduction number (R0) of measles: a systematic review". The Lancet. Infectious Diseases. 17 (12): e420–e428. doi:10.1016/S1473-3099(17)30307-9. PMID 28757186.
- ↑ Delamater, PL; Street, EJ; Leslie, TF; Yang, YT; Jacobsen, KH (January 2019). "Complexity of the Basic Reproduction Number (R0)". Emerging Infectious Diseases. 25 (1): 1–4. doi:10.3201/eid2501.171901. PMC 6302597. PMID 30560777.
- ↑ CDC (2020-02-08). "Delta Variant" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Lu, Jing (2021-07-07). "Viral infection and transmission in a large well-traced outbreak caused by the Delta SARS-CoV-2 variant". virological.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-22.
- ↑ "Why The Delta Variant Is Hyper-Contagious: A New Study Sheds Light". NPR. 2021-07-21.
- ↑ Haseltine, William A (2021-07-13). "The Delta Dilemma: Loosening Covid-19 Controls At A Time Of Increased Danger". Forbes.
- ↑
"CDC covid variant tracker". 2020-03-28. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
"RIVM Covid variant tracker". สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "RKI - Coronavirus SARS-CoV-2 - Berichte zu Virusvarianten von SARS-CoV-2 in Deutschland". www.rki.de. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
- ↑ Cave, Damien (2021-07-02). "Why the Delta Variant Could End Australia's Pursuit of 'Covid Zero'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-07-09.
- ↑ "Delta variant 'spreading rapidly' from Lisbon to rest of Portugal". Reuters. 2021-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
- ↑ "COVID-19: Russia battles Delta variant in deadly 3rd wave (video)". Deutsche Welle. 2021-07-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-09.
- ↑ Lawler, Dave (2021-07-08). "Indonesia's surging death rate underscores danger of Delta variant". Axios. สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.
- ↑ "Delta-Variante dominiert in Deutschland". www.aerzteblatt.de (ภาษาเยอรมัน). 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ 2021-07-09.
- ↑ "14 to 20 June: Delta variant dominates cases in Luxembourg with 59.4 percent". today.rtl.lu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "COVID-19 Data Explorer". Our World in Data. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "Delta variant rapidly advancing in Netherlands; Possibly caused 50% of infections". NL Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "Risikovurdering af B.1.617.2 - opdatering" (PDF). 2021-07-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Delta variant to account for most new French COVID cases from this weekend - minister". Reuters. 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-09.
- ↑ 106.0 106.1 ""เดลตา"ขึ้นแท่นสายพันธุ์หลักระบาดในไทย". PPTVHD36. 2021-07-19.
- ↑ Dey, Sushmi. "Covid second wave in India: Percentage of young infected in second wave same, but more serious". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
- ↑ "Clinical and Virological Features of SARS-CoV-2 Variants of Concern: A Retrospective Cohort Study Comparing B.1.1.7 (Alpha), B.1.315 (Beta), and B.1.617.2 (Delta)". SSRN. 2021-06-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-07.
- ↑ Public Health England (2021-06-11). "SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England Technical briefing 15" (PDF). gov.uk. p. 50. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
- ↑ Sheikh, Aziz; McMenamin, Jim; Taylor, Bob; Robertson, Chris (2021). "SARS-CoV-2 Delta VOC in Scotland: demographics, risk of hospital admission, and vaccine effectiveness". The Lancet. 397 (10293): 2461–2462. doi:10.1016/S0140-6736(21)01358-1. ISSN 0140-6736.
- ↑ Fisman, David; Tuite, Ashleigh (2021-07-12). "Progressive Increase in Virulence of Novel SARS-CoV-2 Variants in Ontario, Canada". medrxiv. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
- ↑ "PANGO lineages Lineage B.1.617". cov-lineages.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-03. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
- ↑ SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England - Technical briefing 10 (PDF) (Report) (ภาษาอังกฤษ). London. Public Health England. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07. OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0:
- ↑ "British scientists warn over Indian coronavirus variant". Reuters. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ Davis, Nicola (2021-05-07). "Indian Covid variant is 'of concern', says Public Health England". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ "Confirmed cases of COVID-19 variants identified in UK". www.gov.uk. 2021-06-03. สืบค้นเมื่อ 2021-06-03. OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0:
- ↑ "Confirmed cases of COVID-19 variants identified in UK". www.gov.uk. 2021-06-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11. OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0:
- ↑ Carrigg, David (2021-04-21). "COVID-19: Double mutant virus first identified in India is now in B.C." Vancouver Sun. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28.
- ↑ "Philippines detects 2 cases of COVID-19 India variant". Rappler. 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-05-11.
- ↑ 120.0 120.1 Shakil, F.M. (2021-05-18). "Pakistan in blind denial over Indian virus variant". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
- ↑ "Iraqi labs don't have ability to identify Indian Covid variant". Healthworld, Economic Times. 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
- ↑ "SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England" (PDF). assets.publishing.service.gov.uk. Public Health England Technical Briefing 17 (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-25. p. 8. สืบค้นเมื่อ 2021-07-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0: - ↑
"SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England" (PDF). assets.publishing.service.gov.uk. Public Health England Technical Briefing 15 (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-11. p. 22. สืบค้นเมื่อ 2021-07-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) OGL บทความนี้ รวมเนื้อความที่ตีพิมพ์ใต้สัญญา Open Government Licence v3.0: - ↑ Wise, Jacqui (2021-05-21). "Covid-19: UK cases of variant from India rise by 160% in a week". BMJ (ภาษาอังกฤษ). 373: n1315. doi:10.1136/bmj.n1315. ISSN 1756-1833. PMID 34020965. S2CID 235075923.
- ↑ report, Web. "India Covid crisis: 20 countries that have imposed travel bans, suspensions". Khaleej Times. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- ↑ "Countries enact travel bans to contain India's COVID variant—and protect against 'a global resurgence all over again'". Fortune. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- ↑ "Countries that have put India in red list due to rising COVID-19 cases". Times of India Travel. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- ↑ "Indian variant: Tower blocks quarantined in Germany". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
- ↑ Choudhury, Saheli Roy (2021-05-20). "Singapore orders Facebook, Twitter to correct false claims on a 'new' Covid variant". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
- ↑ 130.0 130.1 "Singapore says 'no truth' to Kejriwal's new variant claims". BBC News. 2021-05-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
- ↑ "'Freedom Day' for England pushed back 4 weeks to July 19". AP News. 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.
- ↑ 132.0 132.1 "Timeline สถานการณ์ COVID-19 มิ.ย. 2021". Thai Civil Rights and Investigative Journalism. 2021-07-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-28.
- ↑ "กรมวิทย์ฯ เฝ้าระวังสายพันธุ์ "เดลตา" คาดระบาดในไทย 2-3 เดือนนี้". Thai PBS NEWS. 2021-06-16.
- ↑ ""แอสตร้าเซนเนก้า" เผยวัคซีนป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้า-แคปปา ได้มากกว่า 90%". TNN ONLINE. 2021-06-23.
- ↑ "Ontario Covid-19 Vaccine Update June". Toronto Citynews. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "Israel requires masks indoors again as Delta variant drives up cases". Reuters. 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ Ramaphosa, Cyril (2021-06-27). "President Cyril Ramaphosa: South Africa's response to Coronavirus COVID-19 pandemic | South African Government". Government of South Africa. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "Australia Locks Down to Fight Coast-to-coast Covid-19 Outbreaks". National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ Yeung, Jessie. "Dozens die in Indonesia hospital with oxygen shortage, as Delta variant sweeps the country". CNN. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "สธ.ประกาศ 'เดลตา' สายพันธุ์หลักโควิดระบาดในกทม". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-07-05.
- ↑ "Olympics host city Tokyo bans spectators amid COVID-19 emergency". Reuters. 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "South Korea reverses loosening of mask mandate, ramps up curbs as cases soar". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "Mandatory vaccination, Covid-19 pass and access to PCR tests: the main points from Macron's address". France24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "Los Angeles County will require masks to be worn indoors as Delta variant spreads". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.
- ↑ "'We are a petri dish': world watches UK's race between vaccine and virus". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-02. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
- ↑ "COVID-19: Sajid Javid's approach has party support - but scientists are getting worried". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.