ปอดบวม
โรคปอดบวม (อังกฤษ: pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (อังกฤษ: pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด[3][14] ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ[15] เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก[16] แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทือนทางกายภาพก็ได้เช่นกัน[3]
ปอดบวม | |
---|---|
ชื่ออื่น | ปอดอักเสบ |
ภาพเอกซเรย์ปอดแสดงให้เห็นบริเวณของปอดที่กำลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นบริเวณสีขาวรูปลิ่มในปอดขวา | |
การออกเสียง |
|
สาขาวิชา | วิทยาปอด, โรคติดเชื้อ |
อาการ | ไอ, อาการหายใจลำบาก , หายใจเร็วกว่าปกติ , fever[1] |
ระยะดำเนินโรค | ไม่กี่สัปดาห์[2] |
สาเหตุ | แบคทีเรีย, ไวรัส, การสูดสำลัก[3][4] |
ปัจจัยเสี่ยง | ซิสติก ไฟโบรซิส, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคหืด, เบาหวาน, ภาวะหัวใจวาย, การสูบบุหรี่, สูงอายุ[5][6][7] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยตามอาการ, การถ่ายภาพรังสีทรวงอก[8] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคหืด, ปอดบวมน้ำ, หลอดเลือดอุดตันในปอด[9] |
การป้องกัน | วัคซีน, การล้างมือ, ไม่สูบบุหรี่[10] |
ยา | ยาปฏิชีวนะ, ยาต้านไวรัส, oxygen therapy[11][12] |
ความชุก | 450 ล้านคนต่อปี (7%) [12][13] |
การเสียชีวิต | 4 ล้านคนต่อปี [12][13] |
ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไป ได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ[17] การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ
ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้วย[18]
การป้องกัน
แก้วารสาร แลนเซ็ต ฉบับเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2007 เผยรายงานทีมแพทย์สหรัฐอเมริกาพบว่า วัคซีนไอพีดีที่ฉีดป้องกันโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า นิวโมคอคคัส สามารถช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็กเล็กได้[19] วัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมี 2 ชนิด คือ วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบคอนจูเกต และวัคซีนนิวโมคอคคัสแบบโพลีแซคคาไรด์[16]
ประวัติศาสตร์
แก้ปอดบวมเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีการบันทึกมาตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์[20] มีการบรรยายอาการของโรคเอาไว้ตั้งแต่ช่วงหลายร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยฮิปโปคราเตส (c. 460 BC - 370 BC)[20] ว่า "สามารถสังเกตเห็นผลที่เกิดกับเนื้อรอบปอดบวมและเยื่อหุ้มปอดได้ อาจมีไข้อย่างเฉียบพลัน มีอาการเจ็บทรวงอกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีอาการไอ มีเสมหะสีเหลืองหรือไม่มีสี หรือพบมีเสมหะเหลว หรือเป็นฟอง หรือมีสีแดง หรือลักษณะอื่น ๆ ที่แตกต่างจากเสมหะปกติ หากเป็นมากเสียแล้วโรคนี้ไม่อาจรักษาได้ จะยิ่งแย่หากมีอาการเหนื่อย ปัสสาวะออกน้อยหรือมีกลิ่นแรง หากมีเหงื่อออกที่ศีรษะหรือที่คอนั้นยิ่งแย่ อาจกำเริบมากขึ้นจนหายใจไม่ออก หายใจมีเสียงกรอบแกรบ แสดงว่าโรคในระยะนั้นเป็นมากจนไม่อาจย้อนกลับได้แล้ว"[21][22] อย่างไรก็ดีแม้ฮิปโปคราเตสก็ยังระบุว่าปอดบวมเป็นโรคที่ "เป็นที่รู้จักมาแต่โบราณ" และยังบรรยายวิธีการระบายหนองออกจากทรวงอกเอาไว้ด้วย ไมโมนิเดส (1134-1204 AD) ได้บรรยายอาการของปอดบวมเอาไว้ว่า "อาการพื้นฐานของผู้ป่วยปอดบวมซึ่งต้องมีเสมอ คือ มีไข้ เจ็บสีข้าง หายใจสั้นเร็ว ชีพจรถี่ และไอ"[23][24] คำบรรยายอาการเช่นนี้คล้ายคลึงกับที่เขียนไว้ในตำราแพทย์สมัยใหม่ และสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาของวิชาแพทย์จากสมัยกลางจนถึงศตวรรษที่ 19
มีการค้นพบแบคทีเรียในทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากปอดบวมใน ค.ศ. 1875 โดยเอดวิน เคลบส์[25] คาร์ล ฟรีดแลนเดอร์ ค้นพบ Streptococcus pneumoniae ใน ค.ศ. 1882[26] และอัลเบิร์ต ฟรานเคล ค้นพบ Klebsiella pneumoniae ใน ค.ศ. 1884[27] การศึกษาวิจัยในช่วงแรกของฟรีดแลนเดอร์เป็นรากฐานของการนำสีย้อมกรัมมาใช้ในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นวิธีตรวจที่ยังมีการใช้แพร่หลายในปัจจุบัน บทความวิจัยของคริสเตียน กรัม ได้บรรยายวิธีการย้อมสีเช่นนี้เอาไว้ใน ค.ศ. 1884 ว่าสามารถแยกแบคทีเรียออกได้เป็น 2 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าปอดบวมอาจมีเชื้อก่อโรคมากกว่าหนึ่งชนิด[28]
เซอร์วิลเลียม ออสเลอร์ ผู้เป็นบิดาของการแพทย์สมัยใหม่ รู้ซึ้งดีถึงความตายและความพิการที่เกิดจากปอดบวม จนขนานนามปอดบวมว่าเป็น "นายแห่งสาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์" ("captain of the men of death") เอาไว้ใน ค.ศ.1918 จากการที่ในช่วงนั้นอัตราการเสียชีวิตของปอดบวมมีมากเหนือกว่าวัณโรค วลีนี้เสนอใช้ครั้งแรกโดยจอห์น บันแยน ในการอ้างถึงวัณโรค[29][30] นอกจากนี้ออสเลอร์ยังบรรยายว่าปอดบวมเป็น "เพื่อนของคนแก่" ("the old men's friend") ด้วยเห็นว่าปอดบวมทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วและไม่เจ็บปวด ในขณะที่ช่วงเวลานั้นยังมีสาเหตุการเสียชีวิตอื่น ๆ ที่เจ็บปวดทรมานและใช้เวลานานกว่ามาก[31]
ในศตวรรษที่ 19 มีการพัฒนาทางการแพทย์มากมายที่ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นอย่างมาก จากการประดิษฐ์เพนนิซิลลินและยาปฏิชีวนะอื่นๆ เทคนิกการผ่าตัดสมัยใหม่ และการพัฒนาเวชบำบัดวิกฤตในศตวรรษที่ 20 อัตราการตายของปอดบวมในประเทศพัฒนาแล้วที่เคยสูงถึง 30 % ได้ลดลงอย่างมาก ค.ศ. 1988 เริ่มมีโครงการเสริมภูมิคุ้มกัน Haemophilus influenzae ชนิด B แก่ทารก ทำให้จำนวนผู้ป่วยปอดบวมยิ่งลดลงไปอีก[32] การให้วัคซีนต่อ Streptococcus pneumoniae ในผู้ใหญ่ที่เริ่มใน ค.ศ. 1977 และในเด็กที่เริ่มใน ค.ศ. 2000 ก็ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยลดลงในลักษณะเดียวกัน[33]
อ้างอิง
แก้- ↑ Ashby B, Turkington C (2007). The encyclopedia of infectious diseases (3rd ed.). New York: Facts on File. p. 242. ISBN 978-0-8160-6397-0. สืบค้นเมื่อ 21 April 2011.
- ↑ Behera D (2010). Textbook of pulmonary medicine (2nd ed.). New Delhi: Jaypee Brothers Medical Pub. pp. 296–97. ISBN 978-81-8448-749-7.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 3.0 3.1 3.2 McLuckie, A. (2009). Respiratory disease and its management. New York: Springer. p. 51. ISBN 9781848820944.
- ↑ Pommerville JC (2010). Alcamo's Fundamentals of Microbiology (9th ed.). Sudbury, MA: Jones & Bartlett. p. 323. ISBN 978-0-7637-6258-2.
- ↑ "Pneumonia - Causes and Risk Factors | NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 October 2022.
- ↑ Caldeira D, Alarcão J, Vaz-Carneiro A, Costa J (July 2012). "Risk of pneumonia associated with use of angiotensin converting enzyme inhibitors and angiotensin receptor blockers: systematic review and meta-analysis". BMJ. 345 (jul11 1): e4260. doi:10.1136/bmj.e4260. PMC 3394697. PMID 22786934.
Susceptibility is higher among elderly people (≥65 years)
- ↑ "Complications and Treatments of Sickle Cell Disease | CDC". Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 June 2019. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "How Is Pneumonia Diagnosed?". NHLBI. 1 March 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
- ↑ Hoare Z, Lim WS (May 2006). "Pneumonia: update on diagnosis and management". BMJ. 332 (7549): 1077–9. doi:10.1136/bmj.332.7549.1077. PMC 1458569. PMID 16675815.
- ↑ "How Can Pneumonia Be Prevented?". NHLBI. 1 March 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
- ↑ "How Is Pneumonia Treated?". NHLBI. 1 March 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Ruuskanen O, Lahti E, Jennings LC, Murdoch DR (April 2011). "Viral pneumonia". Lancet. 377 (9773): 1264–75. doi:10.1016/S0140-6736(10)61459-6. PMC 7138033. PMID 21435708.
- ↑ 13.0 13.1 Lodha R, Kabra SK, Pandey RM (June 2013). "Antibiotics for community-acquired pneumonia in children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 6 (6): CD004874. doi:10.1002/14651858.CD004874.pub4. PMC 7017636. PMID 23733365.
- ↑ Leach, Richard E. (2009). Acute and Critical Care Medicine at a Glance (2 ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 1-4051-6139-6. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
- ↑ Jeffrey C. Pommerville (2010). Alcamo's Fundamentals of Microbiology (9 ed.). Sudbury, Mass: Jones & Bartlett Publishers. p. 323. ISBN 0-7637-6258-X.
- ↑ 16.0 16.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-15. สืบค้นเมื่อ 2012-11-15.
- ↑ Ashby, Bonnie; Turkington, Carol (2007). The encyclopedia of infectious diseases (3 ed.). New York: Facts on File. p. 242. ISBN 0-8160-6397-4. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Causes of death in neonates and children under five in the world (2004)" (PDF). World Health Organization. 2008.
- ↑ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=1770&catid=28
- ↑ 20.0 20.1 al.], Ralph D. Feigin ... [et (2003). Textbook of pediatric infectious diseases (5th ed.). Philadelphia: W. B. Saunders. p. 299. ISBN 9780721693293.
- ↑ "Peripneumonia, and pleuritic affections, are to be thus observed: If the fever be acute, and if there be pains on either side, or in both, and if expiration be if cough be present, and the sputa expectorated be of a blond or livid color, or likewise thin, frothy, and florid, or having any other character different from the common... When pneumonia is at its height, the case is beyond remedy if he is not purged, and it is bad if he has dyspnoea, and urine that is thin and acrid, and if sweats come out about the neck and head, for such sweats are bad, as proceeding from the suffocation, rales, and the violence of the disease which is obtaining the upper hand."
- ↑ Hippocrates On Acute Diseases wikisource link
- ↑ "The basic symptoms which occur in pneumonia and which are never lacking are as follows: acute fever, sticking [pleuritic] pain in the side, short rapid breaths, serrated pulse and cough."
- ↑ Maimonides, Fusul Musa ("Pirkei Moshe").
- ↑ Klebs E (1875-12-10). "Beiträge zur Kenntniss der pathogenen Schistomyceten. VII Die Monadinen". Arch. Exptl. Pathol. Parmakol. 4 (5/6): 40–488.
- ↑ Friedländer C (1882-02-04). "Über die Schizomyceten bei der acuten fibrösen Pneumonie". Virchow's Arch pathol. Anat. U. Physiol. 87 (2): 319–324. doi:10.1007/BF01880516.
- ↑ Fraenkel A (1884-04-21). "Über die genuine Pneumonie, Verhandlungen des Congress für innere Medicin". Dritter Congress. 3: 17–31.
- ↑ Gram C (1884-03-15). "Über die isolierte Färbung der Schizomyceten in Schnitt- und Trocken-präparaten". Fortschr. Med. 2 (6): 185–9.
- ↑ Tomashefski Jr JF, บ.ก. (2008). Dail and Hammar's pulmonary pathology (3rd ed.). New York: Springer. p. 228. ISBN 978-0-387-98395-0.
- ↑ Osler W, McCrae T (1920). The principles and practice of medicine: designed for the use of practitioners and students of medicine (9th ed.). D. Appleton. p. 78.
One of the most widespread and fatal of all acute diseases, pneumonia has become the "Captain of the Men of Death", to use the phrase applied by John Bunyan to consumption.
- ↑ Eddy, Orin (Dec 2005). "Community-Acquired Pneumonia: From Common Pathogens To Emerging Resistance". Emergency Medicine Practice. 7 (12).
- ↑ Adams WG, Deaver KA, Cochi SL, Plikaytis BD, Zell ER, Broome CV, Wenger JD (January 1993). "Decline of childhood Haemophilus influenzae type b (Hib) disease in the Hib vaccine era". JAMA. 269 (2): 221–6. doi:10.1001/jama.1993.03500020055031. PMID 8417239.
- ↑ Whitney CG, Farley MM, Hadler J, Harrison LH, Bennett NM, Lynfield R, และคณะ (Active Bacterial Core Surveillance of the Emerging Infections Program Network) (May 2003). "Decline in invasive pneumococcal disease after the introduction of protein-polysaccharide conjugate vaccine". The New England Journal of Medicine. 348 (18): 1737–46. doi:10.1056/NEJMoa022823. PMID 12724479.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |