ไอคิว 180
ไอคิว 180 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทควิชโชว์ทางวิชาการสำหรับเด็กและเยาวชน ที่มีอาจารย์ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย (ปัจจุบันเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น) รับหน้าที่เป็นพิธีกร และเครือซีเมนต์ไทยเป็นผู้สนับสนุนรายการ โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2525 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. แล้วย้ายมาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5ในปี พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2540 ในชื่อรายการ "180 ไอคิว" ต่อมารายการก็ได้ออกอากาศทางช่อง 9 อีกระยะหนึ่ง จนยุติรายการเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543
ไอคิว 180 | |
---|---|
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ | IQ 180, 180 ไอคิว |
ประเภท | เกมโชว์ |
พัฒนาโดย | เครือซิเมนต์ไทย (พ.ศ. 2525 – 2543)
ททบ.5 (พ.ศ. 2528 – 2540) |
พิธีกร | ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
การผลิต | |
ความยาวตอน | 60 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย |
|
ออกอากาศ | 2525 – 2543 |
รูปแบบรายการเป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นผู้เข้าร่วมแข่งขัน ในรอบสุดท้ายเป็นการแข่งขันคิดเลขเร็ว โดยจะมีการสุ่มตัวเลขหนึ่งหลักมา 5 ตัว และตัวเลขสองหลักเป็นผลลัพธ์มา 1 ตัว แล้วนำมาคิดด้วยวิธีใดก็ได้ ให้ได้ผลลัพธ์ เท่ากับจำนวนที่กำหนด[1]
รายการได้รับรางวัลเมขลา ประเภทรายการแข่งขันตอบปัญหาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2528 และรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทรายการแข่งขันตอบปัญหาดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 และผู้ดำเนินรายการฝ่ายชายดีเด่น ปี พ.ศ. 2535
รูปแบบการแข่งขันช่วงคณิตศาสตร์
แก้- รูปแบบที่ 1 โดยจะทำการสุ่มตัวเลขหนึ่งหลักมา 5 ตัว แต่ละตัวจะมีตัวซ้ำ และตัวเลขคำตอบที่เราต้องการมี 2 คำตอบ ทั้งตัวเลข 2 หลัก และ 3 หลัก เลือกคำตอบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความยากง่าย
- รูปแบบที่ 2 จึงมีการเปลี่ยนแปลง ในส่วนคำตอบที่เราต้องการมี 1 คำตอบ แต่จะมี 2 หลัก และ 3 หลักเช่นเดียวกัน
กติกาในการเล่น
แก้ผู้ดำเนินรายการจะสุ่มตัวเลข 5 ตัว แต่ละตัวจะไม่ซ้ำ โดย 5 ตัวที่ได้จะเป็นโจทย์ ส่วนคำตอบที่เราต้องการโดยในรอบที่ 1–5 มี 2 หลัก รอบที่ 6–10 มี 3 หลัก คำตอบที่ได้มีความใกล้เคียงและถูกต้อง ในกรณีที่พิธีกรสุ่มตัวเลขเลข 0 จะทำการสุ่มใหม่อีกครั้ง ผู้เข้าแข่งขันใช้เวลาไม่จำกัดในการคิดเลข จนกว่าผู้เข้าแข่งคิดเลขเสร็จ โดยพิธีกรจะถามว่าได้เท่าไร ซึ่งคำตอบที่ได้มีค่าใกล้เคียงที่สุด โดยผู้เข้าแข่งที่กดไฟก่อนจะเป็นคนตอบและจะต้องคำนวณให้ถูกต้อง ทีมไหนทำคะแนนมากที่สุดได้ตอบคำถามข้อสุดท้ายที่เกี่ยวกับโจทย์เลข และถ้าหากว่าทีมที่เข้ารอบทำโจทย์ข้อสุดท้ายจะได้รับรางวัล ถ้าผิดที่ข้อสุดท้ายจะไม่ได้รับรางวัล
อ้างอิง
แก้- ↑ "เปิดลิ้นชักความทรงจำ "อ.ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย" กับ รายการ ไอคิว 180". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2007.