รางวัลเมขลา

รางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ โดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย

รางวัลเมขลา เป็นรางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2547 และได้มีการจัดงานขึ้นอีกครั้งหลังจากหายไป 6 ปี โดยจัดขึ้นในปี 2555 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นการจัดครั้งที่ 24 และพิจารณาผลงานละครประจำปี พ.ศ. 2554

รางวัลเมขลา
ปัจจุบัน: รางวัลสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2555
รางวัลเมขลา ผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์
รางวัลสำหรับผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์
ประเทศ ไทย
จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย
รางวัลแรก10 มกราคม พ.ศ. 2523 (44 ปี)
ตัวอย่างผู้ชนะรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีล่าสุด
← 2554 2555
 
สาขา บุคคลผู้ทรงคุณค่าในวงการโทรทัศน์ บุคคลบันเทิงผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ผู้ชนะเลิศ อารีย์ นักดนตรี ฤทธิ์ ลือชา
 
สาขา ศิลปินต่อต้านยาเสพติด (ชาย) ศิลปินต่อต้านยาเสพติด (หญิง)
ผู้ชนะเลิศ ภาณุพล เอกเพชร เขมนิจ จามิกรณ์
 
สาขา นักแสดงนำชายดีเด่น ประเภทมหานิยม นักแสดงนำหญิงดีเด่น ประเภทมหานิยม
ผู้ชนะเลิศ ณเดชน์ คูกิมิยะ
(ธรณีนี่นี้ใครครอง)
อุรัสยา เสปอร์บันด์
(ธรณีนี่นี้ใครครอง)

ประวัติ

แก้

สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ได้จัดงานรางวัลเมขลา เพื่อส่งเสริมและเป็นกำลังใจแก่ผู้เกี่ยวข้องในสายงานโทรทัศน์ โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 มี นายนคร วีระประวัติ เป็นนายกสมาคมฯ ส่วนผู้ตั้งชื่อรางวัล "เมขลา" คือ ศ.คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน จนถึงครั้งที่ 4 พ.ศ. 2528 กลุ่มคนดังกล่าวได้แยกตัวออกไปตั้งชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ เพื่อจัดรางวัลโทรทัศน์ทองคำ[1] สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยจึงได้มีการเปลี่ยนตัวนายกสมาคมเป็น นายชาญ มีศรี ทำให้การจัดรางวัลเมขลายังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงครั้งที่ 23 พ.ศ. 2547

ในปี พ.ศ. 2554 สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย โดยนายชาตรี ศรียาภัย นายกสมาคม ได้รื้อฟื้นการจัดงานรางวัลเมขลาขึ้นมาอีกครั้ง โดยเริ่มจัดเป็นครั้งที่ 24 โดยมีการแบ่งรางวัลออกเป็น 3 ประเภท คือ รางวัลเมขลา, รางวัลมณีเมขลา หรือ รางวัลยอดนิยมแห่งปี และ รางวัลดาวเมขลา ที่มอบให้กับเหล่าคนบันเทิง โดยสื่อมวลชนเป็นผู้ตัดสิน นอกจากนี้ยังมอบ รางวัลเมขลามหานิยมแห่งปี ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถโหวตให้กับดารานำชาย-หญิง, ผู้กำกับ, พิธีกร และผู้ดำเนินรายการที่ชื่นชอบ [2] เป็นการจัดรางวัลเกียรติยศเป็นรายการแรกของไทย

รางวัลเมขลา ประกอบด้วยรางวัลประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการโทรทัศน์ ทั้งนี้มิได้เป็นการประกวดรายการโทรทัศน์ แต่เป็นการพิจารณาผลงานทุกรายการในแต่ละปี โดยทำการคัดเลือกเพื่อมอบประกาศเกียรติคุณแก่เจ้าของผลงานทางโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ผ่านการตัดสินรางวัลของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักข่าว นักสื่อสารมวลชน โดยยึดแนวการตัดสินมอบรางวัลจากการจัดงาน Emmy Awards ของสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนสำคัญ [3] มีพิธีมอบรางวัลเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนมกราคม

เกร็ดน่ารู้

  • ปีที่งดจัดได้แก่ปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2546 ด้วยเหตุขัดข้องด้านการเตรียมงาน
  • ผลจากการงดจัดสองปี ทำให้ดารามากฝีมืออย่าง อำภา ภูษิต พลาดการเข้าชิงถึงสองครั้ง ปี 2527 เธอฝากฝีมือยอดเยี่ยมในบทฝาแฝดจากเรื่อง 'สุดสายป่าน' อีกครั้งในปี 2546 จากเรื่อง 'นิราศสองภพ' แต่เธอก็ได้รับรางวัลจาก 'โทรทัศน์ทองคำ' มาครอง ส่วนอีกท่าน จริยา แอนโฟเน่ ได้รับรางวัลเกือบทุกสถาบัน จากละครเรื่อง 'ดงดอกเหมย' ก็พลาดรางวัลนี้ในปี 2546
  • ครั้งที่จัดเร็วที่สุด คือ ครั้งที่ 8 ในปี พ.ศ. 2531 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปีเดียวกัน
  • ครั้งที่จัดช้าที่สุด คือ ครั้งที่ 25 ปี พ.ศ. 2555 ร่วมกับรางวัลพระสุรัสวดี(ตุ๊กตาทอง) ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2556

ลำดับงานประกาศผลรางวัล

แก้
ครั้งและปีที่จัด วันที่ประกาศผล สถานที่ประกาศผลและมอบรางวัล สถานีโทรทัศน์ถ่ายทอด
ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2523 วันที่ 10 มกราคม 2524 โรงละครแห่งชาติ ช่อง 7
ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2524 วันที่ 16 มกราคม 2525 โรงละครแห่งชาติ ช่อง 5
ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2525 วันที่ 22 มกราคม 2526 โรงละครแห่งชาติ ช่อง 5
ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2526 วันที่ 21 มกราคม 2527 โรงละครแห่งชาติ ช่อง 3
ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2528 วันที่ 15 มีนาคม 2529 พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า
(โรงภาพยนตร์แกรนด์พาต้า)
ช่อง 3
ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2529 วันที่ 14 มีนาคม 2530 พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า ช่อง 7
ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2530 วันที่ 19 มีนาคม 2531 พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า ช่อง 7
ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2531 วันที่ 24 ธันวาคม 2531 พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า ช่อง 7
ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2532 วันที่ 13 มกราคม 2533 พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า ช่อง 7
ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2533 วันที่ 4 มกราคม 2534 พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า ช่อง 7
ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2534 วันที่ 10 มกราคม 2535 พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า ช่อง 7
ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2535 วันที่ 22 มกราคม 2536 ห้องประชุมชั้น 5 พาต้า หัวหมาก ช่อง 7
ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2536 วันที่ 21 มกราคม 2537 หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่อง 7
ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2537 วันที่ 13 มกราคม 2538 บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ช่อง 7
ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2538 วันที่ 19 มกราคม 2539 หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่อง 7
ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2539 วันที่ 17 มกราคม 2540 เอ็มซีซีฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ ช่อง 7
ครั้งที่ 17 ประจำปี พ.ศ. 2540 วันที่ 16 มกราคม 2541 หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่อง 7
ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2541 วันที่ 17 มกราคม 2542 หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 7
ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2542 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2543 หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 7
ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2543 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 7
ครั้งที่ 21 ประจำปี พ.ศ. 2544 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2545 หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 7
ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2545 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2546 หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 7
ครั้งที่ 23 ประจำปี พ.ศ. 2547 วันที่ 23 เมษายน 2548 โรงละครไทยอลังการ พัทยา ช่อง 5
ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2554 วันที่ 10 มีนาคม 2555 ห้องประชุมมงคลอาภา ๑ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
IPM SHOW
ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2555 วันที่ 4 พฤษภาคม 2556 หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่อง 11 [4]

ผลรางวัล

แก้

ในที่นี้ จะเป็นผลการตัดสินรางวัลเมขลาทุกครั้งที่จัด

รางวัลประเภทละครโทรทัศน์ (เฉพาะผู้แสดง)

แก้
ครั้ง(ปี)ที่จัด ผู้แสดงนำชายดีเด่น ผู้แสดงนำหญิงดีเด่น ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น ผู้แสดงประกอบหญิงดีเด่น
ครั้งที่ 1 (2523) นพพล โกมารชุน
สี่แผ่นดิน (ช่อง 5)
ดาราละครโทรทัศน์ดีเด่นชาย
นันทวัน เมฆใหญ่
สี่แผ่นดิน (ช่อง 5)
ดาราละครโทรทัศน์ดีเด่นหญิง
- -
ครั้งที่ 2 (2524) ชลิต เฟื่องอารมย์
ไฟอารมณ์ (ช่อง 3)
ลินดา ค้าธัญเจริญ
ชลาลัย (ช่อง 9)
สมจินต์ ธรรมทัต
เขาชื่อกานต์ (ช่อง 3)
รัชนู บุญชูดวง
ไฟรักไฟพยาบาท (ช่อง 3)
ครั้งที่ 3 (2525) นิรุตติ์ ศิริจรรยา
ปีกทอง (ช่อง 3)
สุมาลี เหล่าชุนสุวรรณ
ผู้หญิงคนหนึ่ง (ช่อง 7)
อำนวย ศิริจันทร์
ฝันรัก (ช่อง 3)
ดวงตา ตุงคะมณี
สนิมสังคม (ช่อง 3)
ครั้งที่ 4 (2526) นพพล โกมารชุน
น้ำตาลไหม้ (ช่อง 3)
ธิติมา สังขพิทักษ์
พระจันทร์หลงเงา (ช่อง 3)
จีรศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ
สองพธู (ช่อง 5)
อรสา พรหมประทาน
อีแตน (ช่อง 3)
ครั้งที่ 5 (2528) ฉัตรชัย เปล่งพานิช
ตี๋ใหญ่ (ช่อง 5)
กุลกนิช คุ้มครอง
คำพิพากษา (ช่อง 3)
มีศักดิ์ นาครัตน์
คำพิพากษา (ช่อง 3)
เยาวเรศ นิสากร
มัสยา (ช่อง 7)
ครั้งที่ 6 (2529) โกวิท วัฒนกุล
แม่เอิบ (ช่อง 5)
นาถยา แดงบุหงา
แหวนทองเหลือง (ช่อง 7)
นพพล โกมารชุน
สายโลหิต (ช่อง 3)
เยาวเรศ นิสากร
แหวนทองเหลือง (ช่อง 7)
ครั้งที่ 7 (2530) ฉัตรชัย เปล่งพานิช
ปริศนา (ช่อง 3)
อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
ทองเนื้อเก้า (ช่อง 7)
วิทยา สุขดำรงค์
ทองเนื้อเก้า (ช่อง 7)
ดวงตา ตุงคะมณี
แต่ปางก่อน (ช่อง 3)
ครั้งที่ 8 (2531) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
สวรรค์เบี่ยง (ช่อง 7)
จารุณี สุขสวัสดิ์
ตะรุเตา (ช่อง 7)
ชลิต เฟื่องอารมย์
เวิ้งระกำ (ช่อง 7)
เยาวเรศ นิสากร
อีสา (ช่อง 7)
ครั้งที่ 9 (2532) บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
คนเหนือดวง (ช่อง 7)
วรรณิศา ศรีวิเชียร
กลิ่นร่ำ (ช่อง 3)
ปัญญา นิรันดร์กุล
สมการวัย (ช่อง 7)
สมฤทัย กล่อมน้อย
อยู่เพื่อรัก (ช่อง 7)
ครั้งที่ 10 (2533) ธงไชย แมคอินไตย์
คู่กรรม (ช่อง 7)
กมลชนก โกมลฐิติ
คู่กรรม (ช่อง 7)
รุจน์ รณภพ
ขมิ้นกับปูน (ช่อง 7)
ดวงดาว จารุจินดา
คู่กรรม (ช่อง 7)
ครั้งที่ 11 (2534) โกวิท วัฒนกุล
ไผ่แดง (ช่อง 7)
จินตหรา สุขพัฒน์
สี่แผ่นดิน (ช่อง 3)
ปัญญา นิรันดร์กุล
ตะวันชิงพลบ (ช่อง 7)
สมฤทัย กล่อมน้อย
สุสานคนเป็น (ช่อง 7)
ครั้งที่ 12 (2535) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
คนบาป (ช่อง 5)
อภิรดี ภวภูตานนท์
ลอดลายมังกร (ช่อง 7)
เด่น ดอกประดู่
ลอดลายมังกร (ช่อง 7)
อัญชลี ไชยศิริ
คนบาป (ช่อง 5)
ครั้งที่ 13 (2536) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
คนละโลก (ช่อง 5)
มนฤดี ยมาภัย
นางทาส (ช่อง 7)
บดินทร์ ดุ๊ก
คนละโลก (ช่อง 5)
วาสิฏฐี ศรีโลฟุ้ง
หมาดำ (ช่อง 5)
ครั้งที่ 14 (2537) ศรัณยู วงศ์กระจ่าง
ทวิภพ (ช่อง 7)
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
ทวิภพ (ช่อง 7)
ศิริศักดิ์ นันทเสน
วิมานมะพร้าว (ช่อง 7)
พิศมัย วิไลศักดิ์
ปีกมาร (ช่อง 5)
ครั้งที่ 15 (2538) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
ความรักสีดำ (ช่อง 5)
ปรียานุช ปานประดับ
คือหัตถาครองพิภพ (ช่อง 7)
พลรัตน์ รอดรักษา
ขุนศึก (ช่อง 9)
ญาณี จงวิสุทธิ์
ผู้กองยอดรัก (ช่อง 9)
ครั้งที่ 16 (2539) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
สาบนรสิงห์ (ช่อง 5)
ชลิตา เฟื่องอารมย์
สาบนรสิงห์ (ช่อง 5)
พอเจตน์ แก่นเพชร
ด้วยแรงอธิษฐาน (ช่อง 7)
สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์
มงกุฎดอกส้ม (ช่อง 7)
ครั้งที่ 17 (2540) พีท ทองเจือ
ซอสามสาย (ช่อง 3)
สุวนันท์ คงยิ่ง
ตะวันทอแสง (ช่อง 7)
ฤทธิ์ ลือชา
นางละคร (ช่อง 7)
ดวงดาว จารุจินดา
เงิน เงิน เงิน (ช่อง 7)
ครั้งที่ 18 (2541) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
ไฟริษยา (ช่อง 7)
จริยา แอนโฟเน่
ซอยปรารถนา 2500 (ช่อง 7)
มนต์ชัย ภราดรบัญชา
เผื่อใจไว้เจ็บ (ช่อง 7)
อภิรดี ภวภูตานนท์
ดวงยิหวา (ช่อง 3)
ครั้งที่ 19 (2542) ธีรภัทร์ สัจจกุล
ข้ามสีทันดร (ช่อง 7)
พรชิตา ณ สงขลา
เมียหลวง (ช่อง 3)
ฤทธิ์ ลือชา
ขุนเดช (ช่อง 7)
ดวงดาว จารุจินดา
ข้ามสีทันดร (ช่อง 7)
ครั้งที่ 20 (2543) พีท ทองเจือ
อังกอร์ (ช่อง 7)
กมลชนก โกมลฐิติ
อาญารัก (ช่อง 3)
ปัญญา นิรันดร์กุล
เจ้าสัวน้อย (ช่อง 7)
จริยา แอนโฟเน่
อาญารัก (ช่อง 3)
ครั้งที่ 21 (2544) อำพล ลำพูน
ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (ช่อง 3)
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
ปิ่นไพร (ช่อง 7)
กรรชัย กำเนิดพลอย
ลูกทาส (ช่อง 5)
สุวัจนี ไชยมุสิก
โนห์รา (ช่อง 7)
ครั้งที่ 22 (2545) จุลจักร จักรพงษ์
ลูกผู้ชายหัวใจเพชร (ช่อง 7)
พิยดา อัครเศรณี
ร้อยเล่ห์ เสน่ห์ร้าย (ช่อง 5)
อัมรินทร์ สิมะโรจน์
จิตสังหาร (ช่อง 7)
อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
รอยไถ (ช่อง 7)
ครั้งที่ 23 (2547) แอนดริว เกร็กสัน
เรือนไม้สีเบจ (ช่อง 3)
ละครชีวิต
เจษฎาภรณ์ ผลดี
นางสาวจริงใจกับนายแสนดี (ช่อง 7)
ละครหรรษา
ดาราโทรทัศน์แสดงนำชายมหาชน
วรนุช วงษ์สวรรค์
แม่อายสะอื้น (ช่อง 7)
ละครชีวิต
พิยดา อัครเศรณี
บางรักซอย (ช่อง 9)
ละครหรรษา
ดาราโทรทัศน์แสดงนำหญิงมหาชน
สุประวัติ ปัทมสูต
แม่อายสะอื้น (ช่อง 7)
สุฐิตา ปัญญายงค์
แม่อายสะอื้น (ช่อง 7)
ครั้งที่ 24 (2554) ณเดชน์ คูกิมิยะ
เกมร้ายเกมรัก (ช่อง 3)
อารยา เอ ฮาร์เก็ต
ดอกส้มสีทอง (ช่อง 3)
ชุมพร เทพพิทักษ์
เงาพราย (ช่อง 3)
ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
ตลาดอารมณ์ (ช่อง 5)
ครั้งที่ 25 (2555) ณเดชน์ คูกิมิยะ
ธรณีนี่นี้ใครครอง (ช่อง 3)
อุรัสยา เสปอร์บันด์
ธรณีนี่นี้ใครครอง (ช่อง 3)
โกสินทร์ ราชกรม
รากบุญ (ช่อง 3)
ศิรพันธ์ วัฒนจินดา
บ่วง (ช่อง 3)

อ้างอิง

แก้
  1. นิตยสารทีวีพูล ฉบับที่ 212 : 17-23 มิถุนายน 2537
  2. แถลงข่าวประกาศรางวัลเมขลาปี 2554
  3. จากสูจิบัตรงานประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 16 ปี 2539
  4. สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงฯเทิดพระเกียรติ “อัครศิลปินแห่งชาติ”[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้