ไก่ฟ้าหน้าเขียว
ไก่ฟ้าหน้าเขียว | |
---|---|
ตัวผู้ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Galliformes |
วงศ์: | Phasianidae |
สกุล: | Lophura |
สปีชีส์: | L. ignita |
ชื่อทวินาม | |
Lophura ignita (Shaw, 1797) |
ไก่ฟ้าหน้าเขียว (อังกฤษ: Crested fireback; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lophura ignita) เป็นไก่ฟ้าที่มีความสวยงาม มีลักษณะเด่นคือมีแผ่นหนังที่หน้าสีฟ้า ต่างจากไก่ฟ้าชนิดอื่นๆที่มีแผ่นหนังสีแดง พบในประเทศไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตรา
อนุกรมวิธาน
แก้มี 4 ชนิดย่อย
- L. i ignita พบในบอร์เนียวและเกาะบังกา ตัวผู้มีขนหางตรงกลางสีน้ำตาล ขาขาว ตีนแดง ตัวเมียมีหางออกดำเข้ม ขาขาว
- L. i. nobilis พบในบอร์เนียวและเกาะบังกา ตัวผู้มีขนหางตรงกลางสีน้ำตาล ขาขาว ตีนแดง ตัวเมียมีสีหางออกดำเข้ม ขาขาว
- L. i. rufa พบในไทย มาเลเซียตะวันตก และสุมาตรา ตัวผู้มีขนหางตรงกลางสีขาว ขาแดง ตีนดำออกน้ำเงินมีลายขาว ตัวเมียมีหางสีน้ำตาลแดง ขาแดง
- L. i. macartneyi พบในทางตะวันออกเฉียงใต้ของสุมาตรา ตัวผู้มีขนหางสีขาว ขาขาว ตีนออกแดง
ลักษณะทั่วไป
แก้เป็นไก่ฟ้าขนาดกลาง มีแผ่นหนังที่หน้าสีฟ้า ขาสีแดง ตัวผู้ยาว 67 - 72 ซม. มีขนหงอนบนหัว ขนที่คอหน้าอกและหลังตอนบนมีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน ส่วนล่างของหลังมีสีแดงแกมน้ำตาล ขนหางคู่กลาง 2 คู่มีสีขาว คู่ต่อมาครึ่งด้านในเป็นสีขาว ครึ่งด้านนอกเป็นสีดำ คู่ต่อ ๆ มาสีดำ ตัวเมียยาว 57 - 60 ซม. ขนส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลแกมแดง ขนใต้ท้องสีน้ำตาลแกมดำมีขอบขาว
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
แก้มีถิ่นกำเนิดในตอนใต้ของไทยตลอดจนถึงมาเลเซีย บอร์เนียวและสุมาตรา[2] ในประเทศไทยมีเฉพาะภาคใต้เท่านั้น พบในป่าดงดิบที่เป็นป่าต่ำ ไม่ชอบออกหากินตามป่าโปร่งหรือที่โล่งเตียน ชอบอยู่ป่าต่ำมากกว่าป่าสูง
พฤติกรรม
แก้ไก่ฟ้าหน้าเขียวอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ มีตัวผู้เป็นจ่าฝูง หากินตอนกลางวันตามป่าดงดิบชื้นที่ทึบในระดับที่ไม่สูงมากนัก อาจพบใกล้ลำธาร ไม่ค่อยออกมาในที่โล่ง เมื่อเห็นศัตรูจะวิ่งหนีเข้าซ่อนตามพุ่มไม้ บางครั้งจะบินหนีไปใกล้ ๆ แล้วลงเดินวิ่งต่อไป กินแมลงต่าง ๆ ตัวหนอน ยอดหญ้า พืชอ่อน ๆ เมล็ดพืช และผลไม้บางชนิดเป็นอาหาร
การสืบพันธุ์
แก้ผสมพันธุ์ประมาณเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ทำรังใต้พุ่มเตี้ย ๆ ที่รกทึบ ทำรังด้วยใบไม้และใบหญ้าแห้ง ๆ วางไข่ครั้งละประมาณ 4 - 8 ฟอง ตัวเมียจะฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 24 - 25 วัน ลูกไก่ฟ้าหน้าเขียว แรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว เมื่อลืมตาลุกขึ้นยืนเดินได้ ก็จะเดินตามแม่ไปหาอาหารได้หลังออกจากไข่ 3 - 4 ชั่วโมง
อ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2004). Lophura ignita. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 30 October 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ↑ Crested fireback เก็บถาวร 2010-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ARKive.org
- Crested Fireback Pheasant เก็บถาวร 2008-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน GBEF.org
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- BirdLife Species Factsheet เก็บถาวร 2006-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- gbwf.org - Crested Fireback เก็บถาวร 2008-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- IUCN Red List เก็บถาวร 2004-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Red Data Book เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน