เกาะบอร์เนียว

(เปลี่ยนทางจาก บอร์เนียว)

บอร์เนียว (อังกฤษ: Borneo) หรือ กาลีมันตัน (อินโดนีเซีย: Kalimantan) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเกาะกรีนแลนด์ (อันดับ 1) และเกาะนิวกินี (อันดับ 2) มีประเทศ 3 ประเทศอยู่ในเกาะบอร์เนียว คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย[1] อยู่บริเวณใจกลางกลุ่มเกาะมลายูและประเทศอินโดนีเซีย ในทางภูมิศาสตร์ เกาะบอร์เนียวเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บอร์เนียว
กาลีมันตัน
แผนที่ภูมิประเทศของเกาะบอร์เนียว
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด0°N 114°E / 0°N 114°E / 0; 114
กลุ่มเกาะหมู่เกาะซุนดาใหญ่
พื้นที่748,168 ตารางกิโลเมตร (288,869 ตารางไมล์)
อันดับพื้นที่3
ระดับสูงสุด13,435 ฟุต (4095 ม.)
จุดสูงสุดกีนาบาลู
การปกครอง
เขตเบอไลต์
บรูไน-มัวรา
เติมบูรง
ตูตง
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดบันดาร์เซอรีเบอกาวัน (ประชากร 276,608 คน คน)
จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก
กาลีมันตันกลาง
กาลีมันตันใต้
กาลีมันตันตะวันออก
กาลีมันตันเหนือ
เมืองใหญ่สุดซามารินดา (pop. 842,691 คน)
รัฐซาบะฮ์
ซาราวัก
เมืองใหญ่สุดกูจิง (pop. 617,886 คน)
ประชากรศาสตร์
ประชากร23,720,000 คน (2020)
ความหนาแน่น28.59/กม.2 (74.05/ตารางไมล์)

ศัพทมูลวิทยา

แก้

เกาะนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ ในระดับนานาชาติมีชื่อเรียกว่า บอร์เนียว ซึ่งมีที่มาจากการติดต่อของชาวยุโรปในอาณาจักรบรูไนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยในแผนที่ช่วง ค.ศ. 1601 เมืองบรูไนถูกระบุเป็นบอร์เนียว และมีการเรียกทั้งเกาะด้วยชื่อเดียวกัน[2][3] ชื่อ Borneo ในภาษาอังกฤษอาจมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า váruṇa (वरुण) ซึ่งอาจหมายถึง "น้ำ" หรือพระวรุณ เทพแห่งฝนของศาสนาฮินดู[4]

ประชากรท้องถิ่นเรียกพื้นที่นี้ว่า เกลมันตัน หรือ กาลีมันตัน[5] โดยบางส่วนคาดว่าศัพท์นี้มีที่มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า กาลมันถนะ หมายถึง "อากาศที่แผดเผา" ซึ่งน่าจะสื่อถึงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เขตร้อนที่ร้อนและชื้น อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่รู้ทั้งภาษาและอิทธิพลของภาษาดัตช์จะรู้ว่า คำว่า kali หมายถึง "ลำเหมือง" และ mantan มาจากศัพท์ภาษาดัตช์ว่า diamantan หรือ "เพชร" ทำให้กาลีมันตันมีความหมายว่า "ลำเหมืองเพชร" ซึ่งสื่อถึงการหาเพชรหยาบตามธรรมชาติได้ง่ายโดยการขุดลงไปในพื้นที่บางส่วนของเกาะ[6] ซลาเม็ต มุลจานา (Slamet Muljana) นักประวัติศาสตร์ชาวอินโดนีเซีย กล่าวแนะว่า คำว่า กาลมันถนะ มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตสองศัพท์คือ กาละ (เวลาหรือฤดู) กับ มันถนะ (ปั่น ก่อไฟ หรือก่อไฟด้วยการเสียดสี)[7] ซึ่งน่าจะสื่อถึงความร้อนของสภาพภูมิอากาศในบริเวณนี้[8]

ภูมิศาสตร์

แก้

เกาะบอร์เนียวล้อมรอบด้วยทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลซูลูทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทะเลเซเลบีสกับช่องแคบมากัสซาร์ทางตะวันออก และทะเลชวากับช่องแคบการีมาตาทางใต้

ดินแดนทางตะวันตกของเกาะบอร์เนียวได้แก่ คาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตรา ทางใต้ได้แก่ เกาะชวา ทางตะวันออกได้แก่ เกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะโมลุกกะ ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ หมู่เกาะฟิลิปปินส์

จุดสูงที่สุดของเกาะบอร์เนียว คือเขากีนาบาลูในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย มีความสูง 4,101 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

การปกครอง

แก้
 
เขตปกครองทางการเมืองบนเกาะบอร์เนียว

ทางการเมืองการปกครอง เกาะบอร์เนียวแบ่งออกเป็น :

ประวัติศาสตร์

แก้

เกาะบอร์เนียวเป็นพื้นที่สำคัญในการเผชิญหน้าระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย ในช่วง พ.ศ. 2505–2509 (ค.ศ. 1962–1966)

อ้างอิง

แก้
  1. Donna Marchetti (2 August 1998). "Borneo's Wild Side". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.
  2. "Kaart van het eiland Borneo, 1601, Benjamin Wright".
  3. "ANTIQUE MAP BORNEO BY DE BRY (C.1602)".
  4. Media, Kompas Cyber (13 December 2018). "Hari Nusantara, Kenali Nama Lawas 5 Pulau Besar di Indonesia Halaman all". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
  5. "Kalimantan". Encyclopaedia Britannica. Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 December 2019.
  6. Eugene Linden (17 March 2011). The Ragged Edge of the World: Encounters at the Frontier Where Modernity, Wildlands and Indigenous Peoples Meet. Penguin Publishing Group. pp. 30–. ISBN 978-1-101-47613-0.
  7. "Sanskrit Dictionary". sanskritdictionary.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
  8. Muljana, Slamet (1960). Sriwidjaja (ภาษาอินโดนีเซีย). Pertjetakan Arnoldus. pp. 78–79.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • L. W. W Gudgeon; Allan Stewart (1913), British North Borneo / by L. W. W. Gudgeon ; with twelve full-page illustrations in colour by Allan Stewart, Adam and Charles Black
  • Redmond O'Hanlon (1984). Into the Heart of Borneo: An Account of a Journey Made in 1983 to the Mountains of Batu Tiban with James Fenton. Salamander Press. ISBN 978-0-9075-4055-7.
  • Eric Hansen (1988). Stranger in the Forest: On Foot Across Borneo. Century. ISBN 978-0-7126-1158-9.
  • Gordon Barclay Corbet; John Edwards Hill (1992). The mammals of the Indomalayan Region: a systematic review. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-854693-1.
  • Robert Young Pelton (1995). Fielding's Borneo. Fielding Worldwide. ISBN 978-1-5695-2026-0.
  • Ghazally Ismail (1996–2001). A Scientific Journey Through Borneo. Kota Samarahan: Universiti Malaysia Sarawak.
  • K. M. Wong; Chew Lun Chan (1997). Mount Kinabalu: Borneo's Magic Mountain: An Introduction to the Natural History of One of the World's Great Natural Monuments. Kota Kinabalu: Natural History Publications. ISBN 978-983-812-014-2.
  • Dennis Lau (1999). Borneo: a photographic journey. Travelcom Asia. ISBN 978-983-99431-1-5.
  • John Wassner (2001). Espresso with the Headhunters: A Journey Through the Jungles of Borneo. Summersdale. ISBN 978-1-84024-137-2.
  • Less S. Hall; Greg Richards; Mohamad Tajuddin Abdullah (2002), "The bats of Niah National Park, Sarawak", The Sarawak Museum Journal
  • Mohd Azlan J.; Ibnu Martono; Agus P. Kartono; Mohamad Tajuddin Abdullah (2003), "Diversity, Relative Abundance and Conservation of Chiropterans in Kayan Mentarang National Park, East Kalimantan, Indonesia", The Sarawak Museum Journal
  • Mohd Tajuddin Abdullah (2003), Biogeography and variation of Cynopterus brachyotis in Southeast Asia (PhD thesis ed.), Brisbane: University of Queensland
  • Catherine Karim; Andrew Alek Tuen; Mohamad Tajuddin Abdullah (2004), "Mammals", The Sarawak Museum Journal
  • Less S. Hall; Gordon G. Grigg; Craig Moritz; Besar Ketol; Isa Sait; Wahab Marni; M.T. Abdullah (2004), "Biogeography of fruit bats in Southeast Asia", The Sarawak Museum Journal
  • Stephen Holley (2004). A White Headhunter in Borneo. Kota Kinabalu: Natural History Publications. ISBN 978-983-812-081-4.
  • Wild Borneo: The Wildlife and Scenery of Sabah, Sarawak, Brunei, and Kalimantan. New Holland Publishers. 2006. ISBN 978-1-84537-378-8.
  • Mel White (November 2008), Borneo's Moment of Truth, National Geographic
  • Anton Willem Nieuwenhuis (2009). Quer durch Borneo (ภาษาดัตช์). BoD – Books on Demand. ISBN 978-3-86195-028-8.
  • G. W. H. Davison (2010). A Photographic Guide to Birds of Borneo: Sabah, Sarawak, Brunei and Kalimantan. New Holland. ISBN 978-1-84773-828-8.
  • John Mathai (2010), Hose's Civet: Borneo's mysterious carnivore, Nature Watch 18/4: 2–8
  • John Mathai; Jason Hon; Ngumbang Juat; Amanda Peter; Melvin Gumal (2010), Small carnivores in a logging concession in the Upper Baram, Sarawak, Borneo, Small Carnivore Conservation 42: 1–9
  • Charles M. Francis (2013). A Photographic Guide to Mammals of South-East Asia. Bloomsbury Publishing Plc. ISBN 978-1-84773-531-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   คู่มือการท่องเที่ยว เกาะบอร์เนียว จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Borneo