ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในประเทศไทย เป็นใบอนุญาตให้บุคคลประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดยสภาวิศวกร เริ่มต้นในประเทศไทยครั้งแรกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505[1] ปัจจุบันบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542[2] ประกอบด้วยสาขาวิศวกรรมควบคุม ได้แก่ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ประวัติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2505 ได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ต้องมีใบอนุญาต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร และวุฒิวิศวกร ซึ่งใบอนุญาตจะออกให้สำหรับผู้ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ โดยมี "คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ก.ว.) เป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต สำหรับ ก.ว. จะมีสำนักงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ก.ว.

ในระยะแรกมีการกำหนดวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมไว้ 5 สาขา คือ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมเหมืองแร่ [3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 กำหนดให้การออกใบอนุญาตเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาวิศวกร ซึ่งในปัจจุบันสาขาวิศวกรรมควบคุมประกอบไปด้วย 7 สาขา (ที่จะต้องออกใบอนุญาต) ได้แก่ (1) วิศวกรรมโยธา (2) วิศวกรรมเหมืองแร่ (3) วิศวกรรมเครื่องกล (4) วิศวกรรมไฟฟ้า (5) วิศวกรรมอุตสาหการ (6) วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (7) วิศวกรรมเคมี

ประเภท

แก้

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ละสาขาแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

  1. วุฒิวิศวกร
  2. สามัญวิศวกร
  3. ภาคีวิศวกร
  4. ภาคีวิศวกรพิเศษ

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้