วิศวกรรมเหมืองแร่
วิศวกรรมเหมืองแร่ (อังกฤษ: mining engineering) สาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่เป็นประยุกต์ความรู้ทางวิศวกรรมหลาย ๆ ด้านเพื่อค้นหา ขุดแยก และจัดการกับแร่ธาตุจากแหล่งธรรมชาติ โดยมีสาขาย่อย คือ
- การแต่งแร่ (mineral processing)
- การทำเหมืองเปิด (surface mining)
- การทำเหมืองใต้ดิน (underground mining)
- การจัดการสิ่งแวดล้อมในงานเหมืองแร่ (Environmental management in mining)
- วิศวกรรมธรณี (geological engineering) : ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมเหมืองแร่และโยธา
ในประเทศที่พัฒนาด้านอุตสาหกรรมหนักอย่างรวดเร็ว จะให้ความสำคัญแก่สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่มาก เพราะเป็นสาขาที่เกี่ยวกับการนำสินแร่และโลหะ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมพื้นฐานที่จำเป็นมาใช้งาน
ลักษณะการวางแผนออกแบบ และควบคุมการทำเหมืองแร่ กระบวนการผลิตสินแร่ และกระบวนการแยกแร่ รวมไปถึงงานโลหกรรม และวัสดุศาสตร์ นอกจากนี้วิศวกรเหมืองแร่ต้องมีความรู้ทางด้านธรณีวิทยา โลหะวิทยา เทคโนโลยีปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ อีกทั้งเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมแร่ทั้งในด้านการจัดการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการแก้ไข
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทย
แก้มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
หลักสูตรวิศวกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทยมีเปิดสอนอยู่ 4 แห่งที่สภาวิศวกรรับรองวุฒิ คือ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์