โฮโซกาวะ กราเชีย
โฮโซกาวะ ทามะ (ญี่ปุ่น: 細川玉; โรมาจิ: Hosokawa Tama, สกุลเดิม อาเกจิ) ส่วนใหญ่เรียกเป็น โฮโซกาวะ การาชะ (ญี่ปุ่น: 細川ガラシャ; โรมาจิ: Hosokawa Garasha; ค.ศ. 1563 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1600) เป็นสมาชิกขุนนางตระกูลอาเกจิจากยุคเซ็งโงกุ[1] เป็นบุตรสาวของอาเกจิ มิตสึฮิเดะ แต่งงานกับโฮโซกาวะ ทาดาโอกิ เมื่อมิตสึฮิเดะก่อกบฏที่วัดฮนโน นางกักขังตัวเองอยู่คนเดียวจนกระทั่งคืนดีกับทาดาโอะกิอีกครั้ง แล้วก็หันมานับถือศาสนาคริสต์ เข้ารับพีธีล้างบาปและเปลี่ยนชื่อเป็นกราเชีย กล่าวกันว่าเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ
ประวัติ
แก้โฮโซกาวะ กราเชีย เดิมมีชื่อว่าอาเกจิ ทามะ เป็นบุตรสาวคนที่สามของอาเกจิ มิตสึฮิเดะ กับนางซูมากิ ฮิโรโกะ (ญี่ปุ่น: 妻木煕子; โรมาจิ: Sumaki Hiroko) ภรรยาเอกของมิตสึฮิเดะใน พ.ศ. 2125 เมื่ออายุเพียงสิบห้าปี ทามะได้สมรสกับโฮโซกาวะ ทาดาโอกิ (ญี่ปุ่น: 細川忠興; โรมาจิ: Hosokawa Tadaoki) ไดเมียวแห่งแคว้นทังโงะ (ญี่ปุ่น: 丹後; โรมาจิ: Tango) ทางตอนเหนือของนครเกียวโตในปัจจุบัน และอีกเพียง 6 เดือนต่อมา อะเกะชิ มิซึฮิเดะ บิดาของนางทะมะได้ทำการล้อมฮนโนจิและสังหารโอะดะ โนะบุนะงะผู้เป็นนายของตน มิซึฮิเดะครองอำนาจอยู่เพียงสิบสองวัน ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ ก็ได้ยกทัพมาทำการแก้แค้นให้แก่โนะบุนะงะ มิซึฮิเดะบิดาของนางทะมะเสียชีวิตในที่รบ
นอกจากจะสูญเสียบิดาแล้ว นางทะมะยังถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นธิดาของผู้ทรยศ ทะดะโอะกิสามีของนางทะมะซึ่งทั้งรังเกียจและสงสารนาง จึงได้ส่งนางทะมะไปเก็บตัวไว้ในกระท่อมบนเขาชื่อว่ามิโดะโนะ (ญี่ปุ่น: 味土野; โรมาจิ: Midono) ในแคว้นทังโงะ เป็นเวลาสองปี จนกระทั่งพ.ศ. 2127 เมื่อการเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว ทะดะโอะกิจึงย้ายนางทะมะไปกักขังไว้ที่คฤหาสน์ตระกูลโฮะโซะกะวะในเมืองโอซะกะ
ในระหว่างที่เก็บตัวอยู่ในเมืองโอซะกะนั้นเอง ข้ารับใช้ของนางทะมะชื่อว่า นางคิโยะฮะระ มาเรีย (ญี่ปุ่น: 清原マリア; โรมาจิ: Kiyohara Maria) ผู้นับถือคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก ได้นำนางทะมะให้รู้จักกับคริสต์ศาสนา และจัดแจงให้นางทะมะได้มีโอกาสฟังธรรมจาก ทะกะยะมะ อุกง (ญี่ปุ่น: 高山右近; โรมาจิ: Takayama Ukon) ไดเมียวผู้ศรัทธาในคริสต์ศาสนา นางทะมะได้ยึดถือคริสต์ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ในพ.ศ. 2130 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ได้ประกาศกฎหมายยับยั้งการเผยแผ่คริสต์ศาสนา เป็นเหตุให้นางทะมะเกรงว่าตนจะไม่มีโอกาสได้ประกอบพิธีศีลจุ่มเข้ารีต เนื่องจากนางทะมะไม่สามารถออกจากบ้านไปพบบาทหลวงได้ นางมาเรียจึงเป็นผู้ประกอบพิธีศีลจุ่ม (Baptism) ชำระบาปให้แก่นางทะมะ และได้รับชื่อใหม่ว่า "กราเชีย" (Gracia) หรือออกเสียงเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "คาราชะ" (ญี่ปุ่น: ガラシャ; โรมาจิ: Karasha)
ใน พ.ศ. 2153 หลังจากที่โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ถึงแก่อนิจกรรม ความขัดแย้งระหว่างอิชิดะ มิสึนะริ กับ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุก็เริ่มขึ้น อิเอะยะซุต้องการกองทัพ 1,600 คนจากทะดะโอะกิ ส่วนฝ่ายมิสึนะริประจำทัพที่ปราสาทโอะซะกะและรวบรวมพลกำลังพลเพื่อเตรียมการรบกับอิเอะยะซุ ทะดะโอะกิผู้เป็นสามีของกราเชียให้การสนับสนุนฝ่ายอิเอะยะซุ เมื่อสงครามเซะกิงะฮะระเริ่มขึ้น อิชิดะ มิซึนะริ มีนโยบายจับบุตรและภรรยาของไดเมียวผู้สนับสนุนอิเอะยะซุไว้เป็นตัวประกัน เพื่อให้ไดเมียวเหล่านั้นหันมาให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายตน แต่ทะดะโอะกิมีคำสั่งไว้ว่า หากมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ให้นางกราเชียทำอัตวินิบาตกรรมตามธรรมเนียมเพื่อที่จะไม่ถูกฝ่ายมิซึนะริจับไปเป็นตัวประกัน มิฉะนั้นจะฝากฝังให้ซะมุไรข้ารับใช้ที่ชื่อว่า โอะกะซะวะ โซไซ (Ogasawara Shōsai) เป็นผู้สังหารนางกราเชีย นางกราเชียได้ปรึกษาประเด็นนี้กับผู้รู้ทางคริสต์ศาสนา ต่างกล่าวย้ำแก่นางกราเชียว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นบาปมหันต์ขัดกับหลักคริสต์ศาสนา
แม้ว่าจะขัดกับหลักคริสต์ศาสนา แต่ตามธรรมเนียมของซะมุไรญี่ปุ่นโบราณ สตรีหากจะโดนจับกุมเป็นเชลยต้องชิงฆ่าตัวตายเสียก่อน เพื่อปกป้องเกียรติของตนเองและสามี นางกราเชียจึงได้ให้ โอะกะซะวะ โซไซ ใช้หอกแทงร่างกายของนางจนถึงแก่ความตายด้วยอายุ 37 ปี จากนั้นโอะกะซะวะ โซไซ จึงได้วางเพลิงเผาคฤหาสน์โฮะโซะกะวะจนวอดวายและทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตตามไป หลังจากเพลิงสงบลง บาทหลวงเนชชี่-โซลโด ออร์กันติโน (Gnecchi-Soldo Organtino) มิชชันนารีชาวอิตาลีเป็นผู้เก็บกระดูกของนางกราเชียไปฟังไว้ที่โบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งในเมืองซะไก ปีต่อมาพ.ศ. 2154 ทะดะโอะกิผู้เป็นสามีได้ย้ายเถ้ากระดูกของนางกราเชียไปฟังไว้ยังวัดโซเซ็ง-จิ (ญี่ปุ่น: 崇禅寺; โรมาจิ: Sōzen-ji) ในเมืองโอซะกะ แต่ก็ปรากฏมีสุสานของนางกราเชียที่วัดไดโตะกุจิ (ญี่ปุ่น: 大徳寺; โรมาจิ: Daitoku-ji) ที่นครเกียวโตด้วยเช่นกัน
โฮโซกาวะ กราเชีย มีบุตรธิดากับโฮโซกาวะ ทาดาโอกิ ผู้เป็นสามีทั้งหมดห้าคน เป็นบุตรชายสามคน บุตรสาวสองคน บุตรชายคนที่สามชื่อว่า โฮโซกาวะ ทาดาโตชิ (ญี่ปุ่น: 細川忠利; โรมาจิ: Hosokawa Tadatoshi) ได้รับการแต่งตั้งเป็นไดเมียวปกครองปราสาทคุมะโมะโตะใน พ.ศ. 2176 และสืบเชื้อสายปกครองปราสาทคุมะโมะโตะไปตลอดสมัยเอโดะ
นวนิยาย
แก้ตัวละครในนิยายอิงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นกราเชียมักปรากฏใน ทั้งนิยายและละคร เว็บไซต์ของรายการในรอบ 40 อักขระเวทีละคร ภาพยนตร์ ละครทีวี ฯลฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2430 ถึง พ.ศ. 2549 นอกจากนี้เธอยังเป็นที่นิยมในการเขียน หรือการพูดบ่อย ๆ ถึงประวัติศาสตร์ของประเทศในระยะเวลา ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในนวนิยายของมิอุระ อะยะโนะ ซึ่งตามประวัติค่อนข้างใกล้ชิด ชื่อกราเชียเป็นหนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับรายการโทรทัศน์ต่อมาเมื่อละครองค์ประกอบของเรื่องนี้ก็ค่อนข้างจะใกล้ชิดมะริโกะ กราเชีย แม้ว่าท่าทางของเธอเปลี่ยนไปเป็นคนละคน และสองคนตายมันก็ไม่มีอะไรเหมือนเดิม
ความเกี่ยวข้องในสมัยใหม่
แก้กราเชีย ปรากฏเป็นตัวละครในวิดีโอเกมของบริษัท Koei คือ Samurai Warriors 2 Xtreme Legends และ Samurai Warriors 3 Xtreme Legends รวมไปถึงเกม Warriors Orochi 3 ด้วย[2] เธอเป็นตัวละครที่เล่นได้ในโหมดเรื่องราวหลังเครดิตของโปเกมอนคอนเควสต์ โดยโปเกมอนประจำตัวของเธอคือ Gothorita กับ Gothitelle[3] เธอเป็นบรรพพบุรุษของโมริฮิโระ โฮโซกาวะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Hosokawa Gracia" in Japan Encyclopedia, p. 358; 細川ガラシャ at Nihon jinmei daijiten; retrieved 2013-5-29.
- ↑ "Warriors Orochi 3 Character List – Koei Warriors". Koei Warriors. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-08. สืบค้นเมื่อ 2012-01-02.
- ↑ "Gracia + Munna – Pokemon Conquest Characters". Pokemon. สืบค้นเมื่อ 2012-06-17.
- ↑ Harry Burton-Lewis. "The Christian Year in Review : Significant Events of 1992". Nirc.nanzan-u.ac.jp. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
อ่านเพิ่ม
แก้- J. Laures, Two Japanese Christian Heroes, Rutland, VT: Bridgeway Press Books, 1959.
- Charles Ralph Boxer, "Hosokawa Tadaoki and the Jesuits, 1587–1645" in Portuguese Merchants and Missionaries in Feudal Japan, 1543–1640, by Variorum Reprints (1986), ISBN 978-0860781806