โลกอาหรับ
โลกอาหรับ (อาหรับ: العالم العربي) อดีตมีชื่อว่า บ้านเกิดอาหรับ (الوطن العربي)[7][8][9] มีอีกชื่อว่า ชาติอาหรับ (الأمة العربية) หรือ รัฐอาหรับ[10] ประกอบด้วย 22 ประเทศอาหรับที่เป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ[6] ประเทศส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก, แอฟริกาเหนือ, แอฟริกาตะวันตก และแอฟริกาตะวันออก ภูมิภาคนี้แผ่จากมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตกจรดทะเลอาหรับทางตะวันออก และจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือจรดมหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้[6] ส่วนตะวันออกของโลกอาหรับมีชื่อเรียกว่าอัลมัชริก และฝั่งตะวันตกมีชื่อเรียกว่าอัลมัฆริบ ภาษาอาหรับถือเป็นภาษากลางทั่วโลกอาหรับ
พื้นที่ | 13,132,327 ตารางกิโลเมตร (5,070,420 ตารางไมล์)[1] |
---|---|
ประชากร | 436,000,000[2] |
ความหนาแน่น | 29.839/กม2 (70.37/ตร ไมล์)[3] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2.782 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] |
จีดีพีต่อหัว | 6,647 ดอลลาร์สหรัฐ[5] |
เดมะนิม | ชาวอาหรับ |
ประเทศ | 22 รัฐอธิปไตย |
ดินแดน | สันนิบาตอาหรับ[6] |
เขตเวลา | UTC±00:00 ถึง UTC+04:00 |
โดเมนระดับบนสุด | .africa, .asia |
เมืองใหญ่ | เมืองสำคัญในโลกอาหรับ |
มอลตา ประเทศเกาะในยุโรปใต้ที่ภาษาประจำชาติมีที่มาจากภาษาอาหรับ (ผ่านภาษาอาหรับซิซิลี) ไม่ได้รวมในภูมิภาคนี้ เช่นเดียวกันกับประเทศชาด, เอริเทรีย และอิสราเอลที่ยอมรับภาษาอาหรับเป็นหนึ่งในภาษาราชการหรือภาษาที่ใช้ในการทำงาน แต่ไม่ได้รวมในภูมิภาคนี้เนื่องไม่ได้เป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ (ถึงแม้ว่าชาดและเอริเทรียจะขอเป็นสมาชิกเต็มตัวใน ค.ศ. 2014 ก็ตาม) โลกอาหรับมีประชากรรวมประมาณ 422 ล้านคน (ณ ค.ศ. 2012)[11] และมีจีดีพีที่ 2.782 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)
ในประวัติศาสตร์หลังสมัยคลาสสิก โลกอาหรับมักมีส่วนเกี่ยวโยงกับอดีตจักรวรรดิและรัฐเคาะลีฟะฮ์อาหรับ ชาตินิยมอาหรับถือกำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ร่วมกับขบวนการชาตินิยมอื่น ๆ ในจักรวรรดิออตโตมัน มีการจัดตั้งสันนิบาตอาหรับขึ้นใน ค.ศ. 1945 เพื่อเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของอาหรับ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้การรวมตัวทางการเมืองของประเทศอาหรับลุล่วงไปได้ โครงการนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ อุดมการณ์รวมกลุ่มอาหรับ (Pan-Arabism)[12][13]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Arab World – Surface area". indexmundi.com.
- ↑ "Arab World | Data". data.worldbank.org. สืบค้นเมื่อ 6 May 2022.
- ↑ "Population density (people per sq. km of land area) | Data". data.worldbank.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "GDP (current US$) | Data". data.worldbank.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "GNI per capita, Atlas method (current US$) | Data". data.worldbank.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Frishkopf: 61: "No universally accepted definition of 'the Arab world' exists, but it is generally assumed to include the twenty-two countries belonging to the Arab League that have a combined population of about 280 million (Seib 2005, 604). For the purposes of this introduction, this territorial definition is combined with a linguistic one (use of the Arabic language, or its recognition as critical to identity), and thereby extended into multiple diasporas, especially the Americas, Europe, Southeast Asia, West Africa, and Australia."
- ↑ Khan, Zafarul-Islam. "The Arab World – an Arab perspective". milligazette.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Phillips, Christopher (2012). Everyday Arab Identity: The Daily Reproduction of the Arab World (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 94. ISBN 978-1-136-21960-3.
- ↑ Mellor, Noha; Rinnawi, Khalil; Dajani, Nabil; Ayish, Muhammad I. (2013). Arab Media: Globalization and Emerging Media Industries (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. ISBN 978-0745637365.
- ↑ "Majority and Minorities in the Arab World: The Lack of a Unifying Narrative". Jerusalem Center For Public Affairs.
- ↑ "World Arabic Language Day". UNESCO. 18 December 2012. สืบค้นเมื่อ 12 February 2014.
- ↑ "Arab League Sends Delegation to Iraq". Encyclopedia.com. 8 October 2005. สืบค้นเมื่อ 13 February 2011.
- ↑ "Arab League Warns of Civil War in Iraq". Encyclopedia.com. 8 October 2005. สืบค้นเมื่อ 13 February 2011.
บรรณานุกรม
แก้- Frishkopf, Michael (2010). "Introduction: Music and media in the Arab world and Music and media in the Arab world as music and media in the Arab world: A metadiscourse". ใน Frishkopf, Michael (บ.ก.). Music and media in the Arab world. Cairo: The American University in Cairo Press. ISBN 978-977-416-293-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว โลกอาหรับ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)