โรเจอร์ มัวร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เซอร์ โรเจอร์ จอร์จ มัวร์ เคบีอี (อังกฤษ: Sir Roger George Moore KBE; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1927 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2017) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เขาเป็นนักแสดงคนที่สามที่แสดงเป็นสายลับอังกฤษ เจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ชุดบอนด์ของอีออนโปรดักชันส์ โดยเขาแสดงในภาพยนตร์บอนด์ทั้งหมดเจ็ดเรื่อง ระหว่างปี ค.ศ. 1973 ถึง 1985 โดยแสดงตั้งแต่ พยัคฆ์มฤตยู 007 จนถึง 007 พยัคฆ์ร้ายพญายม ทำให้เขาเป็นนักแสดงที่แสดงเป็นบอนด์ในภาพยนตร์ชุดบอนด์ของอีออนมากที่สุด[2][3]
โรเจอร์ มัวร์ | |
---|---|
มัวร์ ในปี ค.ศ. 1973 | |
เกิด | โรเจอร์ จอร์จ มัวร์ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1927 สตอกเวลล์, ลอนดอน, อังกฤษ |
เสียชีวิต | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 แครนส์-มอนแทนา, สวิตเซอร์แลนด์[1] | (89 ปี)
ที่ฝังศพ | สุสานโมนาโก |
ศิษย์เก่า | ราชสถานศิลปะการละคร |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 1945–2016 |
มีชื่อเสียงจาก |
|
คู่สมรส |
|
บุตร | 3, รวมถึง เดโบราห์ มัวร์ |
เว็บไซต์ | roger-moore |
ลายมือชื่อ | |
มัวร์แสดงเป็น ไซมอน เทมพลาร์ ในละครชุดแนวระทึกขวัญลึกลับของอังกฤษเรื่อง เดอะเซนต์ (1962–1969) เขายังมีบทบาทในละครชุดอเมริกา โดยแสดงเป็น โบ มาเวอริก ในละครชุดแนวตะวันตก มาเวอริก (1960–1961) ซึ่งเขาแทนที่ เจมส์ การ์เนอร์ ในฐานะนักแสดงนำ และร่วมแสดงนำในหนังโลดโผน-ตลกเรื่อง เดอะเพอร์สะเวเดอส์! (1971–1972) มัวร์ยังคงแสดงบนหน้าจออย่างต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษ หลังจากเขาเกษียณจากแฟรนไชส์บอนด์ การปรากฏตัวครั้งสุดท้ายของมัวร์คือในตอนนำร่องของละครชุด เซนต์ ใหม่ ซึ่งกลายเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์เมื่อปี ค.ศ. 2017
มัวร์ได้รับการแต่งตั้งเป็น ทูตสันถวไมตรีของยูนิเซฟ ในปี ค.ศ. 1991 และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินโดย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปี ค.ศ. 2003 สำหรับการทำงานเพื่อการกุศล ในปี ค.ศ. 2007 เขาได้รับดาวบน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม สำหรับผลงานของเขาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในปี ค.ศ. 2008 รัฐบาลฝรั่งเศสแต่งตั้งเขาให้เป็นผู้บัญชาการของ เครื่องอิสริยาภรณ์ของศิลปะและจดหมาย
มัวร์เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รวมอายุได้ 89 ปี[4][5]
ผลงาน
แก้ชื่อภาพยนตร์ | ปีที่ฉาย |
Perfect Strangers | ค.ศ. 1945 |
Caesar and Cleopatra | ค.ศ. 1945 |
Gaiety George | ค.ศ. 1946 |
Piccadilly Incident | ค.ศ. 1946 |
Paper Orchid | ค.ศ. 1949 |
Trottie True | ค.ศ. 1949 |
Honeymoon Deferred | ค.ศ. 1950 |
One Wild Oat | ค.ศ. 1951 |
The Last Time I Saw Parris | ค.ศ. 1954 |
Interrupted Melody | ค.ศ. 1955 |
The King's Thief | ค.ศ. 1955 |
Diane | ค.ศ. 1956 |
The Miracle | ค.ศ. 1959 |
The Sins of Rachel Cade | ค.ศ. 1961 |
Gold of the Seven Saints | ค.ศ. 1961 |
Romulus and the Sabines | ค.ศ. 1962 |
No Man's Land | ค.ศ. 1962 |
Vendetta for the Saint | ค.ศ. 1968 |
The Fiction Makers | ค.ศ. 1968 |
Crossplot | ค.ศ. 1969 |
The Man Who Haunted Himself | ค.ศ. 1970 |
Live and Let Die | ค.ศ. 1973 |
Gold | ค.ศ. 1974 |
The Man with the Golden Gun | ค.ศ. 1974 |
That Lucky Touch | ค.ศ. 1975 |
London Conspiracy | ค.ศ. 1976 |
Sherlock Holmes in New York | ค.ศ. 1976 |
Street People | ค.ศ. 1976 |
Shout at the Devil | ค.ศ. 1976 |
The Spy Who Loved Me | ค.ศ. 1977 |
The Wild Geese | ค.ศ. 1978 |
Moonraker | ค.ศ. 1979 |
North Sea Hijack (หรือ ffolkes) | ค.ศ. 1980 |
The Sea Wolves | ค.ศ. 1980 |
Sunday Lovers | ค.ศ. 1980 |
The Cannonball Run | ค.ศ. 1981 |
For Your Eyes Only | ค.ศ. 1981 |
Octopussy | ค.ศ. 1983 |
Curse of the Pink Panther | ค.ศ. 1983 |
The Naked Face | ค.ศ. 1984 |
A View to a Kill | ค.ศ. 1985 |
Fire, Ice & Dynamite | ค.ศ. 1990 |
Bullseye | ค.ศ. 1990 |
Bed & Breakfast | ค.ศ. 1992 |
The Quest | ค.ศ. 1996 |
The Saint | ค.ศ. 1997 |
Spice World | ค.ศ. 1997 |
The Enemy | ค.ศ. 2001 |
Na svoji vensni | ค.ศ. 2002 |
Boat Trip | ค.ศ. 2002 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Roger Moore: Ein Schweizer Werbestar".
- ↑ "Roger Moore, the longest-serving Bond" CNN, 23 May 2017; Retrieved 23 May 2017
- ↑ "Sir Roger Moore: 'Sir Sean Connery is the best Bond'" BBC News, 10 October 2012; Retrieved 23 May 2017
- ↑ "Sir Roger Moore, James Bond actor, dies aged 89". BBC News. May 23, 2015. สืบค้นเมื่อ May 25, 2017.
- ↑ ""โรเจอร์ มัวร์" ตำนานพยัคฆ์ร้าย 007 เสียชีวิตแล้ว". Nation TV. May 23, 2017. สืบค้นเมื่อ May 25, 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ส่วนตัวโรเจอร์ มัวร์ เก็บถาวร 2011-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน