โพแทสเซียมไซยาไนด์
โพแทสเซียมไซยาไนด์ (อังกฤษ: potassium cyanide) มีสูตรเคมีคือ KCN มีลักษณะเป็นของแข็งผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดีมาก มักใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทอง การสังเคราะห์ทางอินทรีย์และการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า โพแทสเซียมไซยาไนด์มีความเป็นพิษสูงมาก มีกลิ่นจาง ๆ คล้ายอัลมอนด์ แต่การได้กลิ่นนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม[4] และมีบันทึกจากผู้ที่ฆ่าตัวตายด้วยสารนี้ว่ามีรสฉุนแสบลิ้น[5]
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
โพแทสเซียมไซยาไนด์
| |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
เคมสไปเดอร์ | |
ECHA InfoCard | 100.005.267 |
EC Number |
|
ผับเคม CID
|
|
RTECS number |
|
UNII | |
UN number | 1680 |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
KCN | |
มวลโมเลกุล | 65.12 g/mol |
ลักษณะทางกายภาพ | ผลึกของแข็งสีขาว deliquescent |
กลิ่น | จาง ๆ คล้ายอัลมอนด์ |
ความหนาแน่น | 1.52 g/cm3 |
จุดหลอมเหลว | 634.5 องศาเซลเซียส (1,174.1 องศาฟาเรนไฮต์; 907.6 เคลวิน) |
จุดเดือด | 1,625 องศาเซลเซียส (2,957 องศาฟาเรนไฮต์; 1,898 เคลวิน) |
71.6 g/100 ml (25 °C) 100 g/100 ml (100 °C) | |
ความสามารถละลายได้ ใน เมทานอล | 4.91 g/100 ml (20 °C) |
ความสามารถละลายได้ ใน กลีเซอรอล | ละลายได้ |
ความสามารถละลายได้ ใน ฟอร์มาไมด์ | 14.6 g/100 mL |
ความสามารถละลายได้ ใน เอทานอล | 0.57 g/100ml |
ความสามารถละลายได้ ใน ไฮดรอกซีลามีน | 41 g/100 ml |
pKa | 11.0 |
−37.0·10−6 cm3/mol | |
ดัชนีหักเหแสง (nD)
|
1.410 |
อุณหเคมี | |
Std molar
entropy (S⦵298) |
127.8 J K−1 mol−1 |
Std enthalpy of
formation (ΔfH⦵298) |
−131.5 kJ/mol |
ความอันตราย | |
GHS labelling: | |
อันตราย | |
H290, H300, H310, H330, H370, H372, H410 | |
P260, P264, P273, P280, P284, P301+P310 | |
NFPA 704 (fire diamond) | |
จุดวาบไฟ | ไม่ติดไฟ |
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC): | |
LD50 (median dose)
|
5 mg/kg (oral, rabbit) 10 mg/kg (oral, rat) 5 mg/kg (oral, rat) 8.5 mg/kg (oral, mouse)[2] |
NIOSH (US health exposure limits): | |
PEL (Permissible)
|
TWA 5 mg/m3[1] |
REL (Recommended)
|
C 5 mg/m3 (4.7 ppm) [10-minute][1] |
IDLH (Immediate danger)
|
25 mg/m3[1] |
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) | ICSC 0671 |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
แอนไอออนอื่น ๆ
|
โพแทสเซียมไซยาเนต โพแทสเซียมไทโอไซยาเนต |
แคทไอออนอื่น ๆ
|
โซเดียม รูบิเดียมไซยาไนด์ ลิเทียมไซยาไนด์ ซีเซียมไซยาไนด์ |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
ไฮโดรเจนไซยาไนด์ |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
การผลิต
แก้ก่อนปี ค.ศ. 1900 โพแทสเซียมไซยาไนด์ได้จากการสลายโพแทสเซียมเฟอร์โรไซยาไนด์ ดังสมการ:[6]
K4[Fe(CN)6] → 4 KCN + FeC2 + N2
ต่อมาได้จากการผสมไฮโดรเจนไซยาไนด์กับสารละลายในน้ำ 50% ของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ แล้วทำให้ระเหยในสุญญากาศ:[7]
- HCN + KOH → KCN H2O
ประมาณการว่ามีการผลิตโพแทสเซียมไซยาไนด์ 50,000 ตันต่อปี[8]
ความเป็นพิษ
แก้โพแทสเซียมไซยาไนด์เป็นสารยับยั้งการหายใจระดับเซลล์และยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างพลังงานและเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก ผิวหนังเกิดผื่นแดงเนื่องจากเนื้อเยื่อไม่สามารถใช้ออกซิเจนจากเลือดได้ ต่อมาผู้ป่วยจะหมดสติและอาจมีภาวะชัก และจะเสียชีวิตจากภาวะพร่องออกซิเจน
ขนาดของโพแทสเซียมไซยาไนด์ที่ทำให้เสียชีวิตอยู่ที่ 200–300 มิลลิกรัม[9] ช่วงเวลาของการออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดในกระเพาะอาหารที่จะเปลี่ยนโพแทสเซียมไซยาไนด์เป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์
โพแทสเซียมไซยาไนด์ใช้ในการกระทำอัตวินิบาตกรรมของบุคคลในประวัติศาสตร์หลายคน เช่น แอร์วิน รอมเมิล, เอฟา เบราน์, โยเซฟ เกิบเบลส์, ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์, แฮร์มันน์ เกอริงและแอลัน ทัวริง
โพแทสเซียมไซยาไนด์สามารถขจัดความเป็นพิษได้ด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ [H2O2 ] หรือสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ [NaOCl] ดังสมการ:[8]
- KCN + H2O2 → KOCN + H2O
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0522". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ "Cyanides (as CN)". Immediately Dangerous to Life and Health Concentrations (IDLH). National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ "POTASSIUM CYANIDE | CAMEO Chemicals | NOAA".
- ↑ Online 'Mendelian Inheritance in Man' (OMIM) 304300
- ↑ "The only taste: Cyanide is acrid". hindustantimes.com. Hindustan Times.
- ↑ Von Wagner, Rudolf (1897). Manual of chemical technology. New York: D. Appleton & Co. p. 474 & 477.
- ↑ Pradyot Patnaik. Handbook of Inorganic Chemicals. McGraw-Hill, 2002, ISBN 0-07-049439-8
- ↑ 8.0 8.1 Andreas Rubo, Raf Kellens, Jay Reddy, Joshua Wooten, Wolfgang Hasenpusch "Alkali Metal Cyanides" in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry 2006 Wiley-VCH, Weinheim, Germany. doi:10.1002/14356007.i01_i01
- ↑ John Harris Trestrail III. Criminal Poisoning - Investigational Guide for Law Enforcement, Toxicologists, Forensic Scientists, and Attorneys (2nd edition). pg 119
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โพแทสเซียมไซยาไนด์
- International Chemical Safety Card 0671
- Hydrogen cyanide and cyanides (CICAD 61)
- National Pollutant Inventory - Cyanide compounds fact sheet
- NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards
- CSST (Canada)
- NIST Standard Reference Database
- Institut national de recherche et de sécurité (1997). "Cyanure de sodium. Cyanure de potassium". Fiche toxicologique n° 111, Paris:INRS, 6pp. (ในภาษาฝรั่งเศส)
เกลือและอนุพันธ์โคเวเลนต์ของไซยาไนด์ไอออน | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
HCN | He | ||||||||||||||||||
LiCN | Be(CN)2 | B | C | NH4CN | OCN−, -NCO |
FCN | Ne | ||||||||||||
NaCN | Mg(CN)2 | Al(CN)3 | SiCN | P(CN)3 | SCN−, -NCS, (SCN)2, S(CN)2 |
ClCN | Ar | ||||||||||||
KCN | Ca(CN)2 | Sc(CN)3 | Ti(CN)4 | VO(CN)3 | Cr(CN)3 | Mn(CN)2 | Fe(CN)3, Fe(CN)64+, Fe(CN)63+ |
Co(CN)2, Co(CN)3 |
Ni(CN)2 Ni(CN)42− |
CuCN | Zn(CN)2 | Ga(CN)3 | Ge | As(CN)3 | SeCN− (SeCN)2 Se(CN)2 |
BrCN | Kr | ||
RbCN | Sr(CN)2 | Y(CN)3 | Zr(CN)4 | Nb | Mo | Tc | Ru | Rh | Pd(CN)2 | AgCN | Cd(CN)2 | In(CN)3 | Sn | Sb | Te(CN)2, Te(CN)4 |
ICN | XeCN | ||
CsCN | Ba(CN)2 | Hf | Ta | W | Re | Os | Ir | Pt | Au | Hg2(CN)2, Hg(CN)2 |
TlCN | Pb(CN)2 | Bi(CN)3 | Po | At | Rn | |||
Fr | Ra | Rf | Db | Sg | Bh | Hs | Mt | Ds | Rg | Cn | Nh | Fl | Mc | Lv | Ts | Og | |||
↓ | |||||||||||||||||||
La | Ce(CN)3, Ce(CN)4 |
Pr | Nd | Pm | Sm | Eu | Gd(CN)3 | Tb | Dy | Ho | Er | Tm | Yb | Lu | |||||
Ac | Th | Pa | UO2(CN)2 | Np | Pu | Am | Cm | Bk | Cf | Es | Fm | Md | No | Lr |