แล็กทูโลส (อังกฤษ: Lactulose) เป็นน้ำตาลที่ดูดซึมไม่ได้ สามารถใช้รักษาอาการท้องผูก[1][4] โดยใช้รับประทาน ซึ่งปกติจะออกฤทธิ์ภายใน 8–12 ชั่วโมง แต่อาจใช้เวลาถึง 2 วันก่อนที่อาการท้องผูกจะดีขึ้น[2][3] นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาโรคสมองจากตับ (hepatic encephalopathy)[1][4] โดยใช้รับประทาน หรือสอดในไส้ตรง[1]

แล็กทูโลส
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/ˈlæktjʊls/
ชื่อทางการค้าCholac, Generlac, Consulose, Duphalac และอื่น ๆ
ชื่ออื่น4-O-β-D-Galactosyl-D-fructose
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682338
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: B (ไม่มีความเสี่ยงในสัตว์)
ช่องทางการรับยาปาก (รับประทาน)
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลดูดซึมได้ไม่ดี
การเปลี่ยนแปลงยา100% ในลำไส้ใหญ่โดยแบคทีเรียในลำไส้
ระยะเริ่มออกฤทธิ์8 ถึง 48 ชั่วโมง[2][3]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ1.7–2 ชั่วโมง
การขับออกอุจจาระ
ตัวบ่งชี้
  • 4-O-β-D-Galactopyranosyl-β-D-fructofuranose
    OR
    (2S,3R,4S,5R,6R)-2-((2R,3S,4S,5R)-4,5-Dihydroxy-2,5-bis(hydroxymethyl)tetrahydrofuran-3-yloxy)-6-(hydroxymethyl)tetrahydro-2H-pyran-3,4,5-triol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.022.752
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC12H22O11
มวลต่อโมล342.297 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O[C@H]2[C@H](O[C@@H]1O[C@H](CO)[C@H](O)[C@H](O)[C@H]1O)[C@H](O[C@]2(O)CO)CO
  • InChI=1S/C12H22O11/c13-1-4-6(16)7(17)8(18)11(21-4)22-9-5(2-14)23-12(20,3-15)10(9)19/h4-11,13-20H,1-3H2/t4-,5-,6+,7+,8-,9-,10+,11+,12-/m1/s1 checkY
  • Key:JCQLYHFGKNRPGE-FCVZTGTOSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

แล็กทูโลส อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทำให้มีลมในท้อง และปวดท้อง[1] รวมถึงมีโอกาสสร้างความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งอาจุเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง[1] ทั้งนี้ ไม่พบหลักฐานว่าแล็กทูโลสเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์[1] โดยทั่วไปจึงพิจารณาว่าแล็กทูโลสปลอดภัยต่อผู้ที่กำลังให้นมลูก[5] แล็กทูโลสจัดอยู่ในยาระบายแบบออสโมซิส (osmotic laxative)[6]

แล็กทูโลสถูกผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1929 และได้ใช้เป็นยาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950[7][8] อยู่ในบัญชียาหลักแห่งองค์การอนามัยโลก[9] ซึ่งรวบรวมยาที่จำเป็น มีประสิทธิผล และปลอดภัยที่สุดในระบบสาธารณสุข แล็กทูโลสมีจำหน่ายทั้งในรูปแบบยาสามัญ และยาที่มีชื่อทางการค้า[4]

แล็กทูโลสสามารถผลิตได้จากน้ำตาลแล็กโทสที่พบในนม ซึ่งเป็นไดแซ็กคาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลคู่) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของโมเลกุลของโมโนแซ็กคาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) กาแล็กโทส และกลูโคส อย่างละ 1 โมเลกุล[10][1]

การแพทย์

แก้

ท้องผูก (constipation)

แก้

แล็กทูโลสใช้เพื่อรักษาอาการท้องผูกที่ไม่ทราบสาเหตุและเรื้อรัง (chronic idiopathic constipation) ในคนไข้ทุกอายุ โดยเป็นการรักษาแบบระยะยาว[11] นอกจากนี้ ยังสามารถใช้แล็กทูโลสเพื่อแก้ท้องผูกที่เป็นผลของยาโอปิออยด์ และใช้รักษาอาการของโรคริดสีดวงทวารโดยทำอุจจาระให้อ่อนนุ่มลง[12][13]

ขนาดของแล็กทูโลสเพื่อรักษาอาการท้องผูกที่ไม่ทราบสาเหตุและเรื้อรัง จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการท้องผูก และผลที่ต้องการ ตั้งแต่เป็นตัวทำอุจจาระให้อ่อนนุ่มลง ไปจนถึงทำให้ท้องร่วง โดยจะลดขนาดของแล็กทูโลสลงในผู้ป่วยภาวะมีกาแล็กโทสในเลือด (galactosemia) เนื่องจากการสังเคราะห์แล็กทูโลสจะใช้โมโนแซ็กคาไรด์ชนิดกาแล็กโทสในกระบวนการ

ภาวะแอมโมเนียเกินในเลือด (hyperammonemia)

แก้

แล็กทูโลสมีประโยชน์ในการรักษาภาวะแอมโมเนียเกินในเลือด (hyperammonemia) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมองจากตับ (hepatic encephalopathy) คือ ยาจะช่วยดักจับแอมโมเนีย (NH3) ในลำไส้ใหญ่[14] โดยอาศัยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ เพื่อทำลำไส้ใหญ่ให้เป็นกรด แล้วเปลี่ยนแอมโมเนียซึ่งสามารถแพร่อย่างเป็นอิสระให้เป็นแอมโมเนียม ไอออน (NH+
4
) ซึ่งไม่สามารถแพร่กลับเข้าสู่เลือด[15]

ยามีประโยชน์ป้องกันภาวะแอมโมเนียเกินในเลือดที่เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา valproic acid เพื่อรักษาโรคลมชัก โรคอารมณ์สองขั้ว และโรคไมเกรน[16]

การรักษาโรคสมองจากตับโดยทั่วไปจำเป็นต้องรับประทานแล็กทูโลสค่อนข้างมากถึง 3–4 ครั้งต่อวัน จึงทำให้มีอาการท้องร่วงเป็นครั้งคราว และท้องอืดเรื่อย ๆ เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ป่วยที่รับประทานแล็กทูโลสในระดับนี้ โดยทั่วไปจะต้องใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และกางเกงในพลาสติกสำหรับกิจกรรมนอกบ้าน หรือเมื่อนอน (โดยอาจต้องใช้เบาะป้องกันเตียงด้วย) เนื่องจากอาการท้องร่วงอาจเกิดได้อย่างรวดเร็วโดยไร้สัญญาณเตือน

ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ (small intestine bacterial overgrowth; SIBO)

แก้

แล็กทูโลสสามารถใช้สำหรับทดสอบว่า มีภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ (small intestine bacterial overgrowth; อักษรย่อ: SIBO) หรือไม่ แต่มีงานวิจัยหลายงานได้ตั้งข้อสงสัยอย่างหนักถึงความน่าเชื่อถือ ของการวินิจฉัย SIBO ด้วยวิธีนี้[17][18][19][20]

การทดสอบจะให้ผู้รับการทดสอบรับประทานแล็กทูโลสเป็นจำนวนมาก แล้วตรวจสอบว่ามีแก๊สไฮโดรเจนในลมหายใจหรือไม่ การทดสอบจะมีผลเป็นบวกถ้าพบว่ามีไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นในลมหายใจ ก่อนถึงเวลาที่คาดว่าแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะย่อยสลายน้ำตาลได้ การทดสอบนี้มาจากผลงานวิจัยเบื้องต้นที่ได้เสนอสมมติฐานว่า การย่อยสลายที่เกิดก่อนมาจากลำไส้เล็ก อย่างไรก็ตาม ภายหลังก็มีการเสนอคำอธิบายอีกอย่างว่า เป็นค่าแปรปรวนของเวลาที่อาหารผ่านลำไส้เล็กในแต่ละบุคคล[20]

การใช้ในผู้มีครรภ์ (pregnancy) และผู้ให้นมลูก (breastfeeding)

แก้

ไม่พบหลักฐานว่าแล็กทูโลสเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์[1] โดยทั่วไปจึงพิจารณาว่าแล็กทูโลสปลอดภัยต่อผู้ที่กำลังให้นมลูก[5]

ผลข้างเคียง

แก้

ผลข้างเคียงสามัญของแล็กทูโลส อาจทำให้ ปวดท้อง ท้องร้อง (borborygmus) และมีอาการท้องอืด (flatulence) ในบุคคลทั่วไป การรับประทานแล็กทูโลสที่มากเกินจะทำให้รู้สึกไม่สบาย แต่ก็ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต[21]

ผลข้างเคียงที่ไม่สามัญ อาจทำให้ คลื่นไส้ และอาเจียน ในบุคคลที่ไวต่อแล็กทูโลส เช่น คนชรา หรือผู้ที่ไตทำงานได้ไม่เต็มที่

การรับประทานแล็กทูโลสเกินขนาด อาจทำให้มีภาวะขาดน้ำ และความปั่นป่วนของอิเล็กโทรไลต์ เช่น ระดับแมกนีเซียมต่ำเกิน

การรับประทานแล็กทูโลสไม่ได้ทำให้น้ำหนักเพิ่ม เพราะร่างกายไม่สามารถย่อยแล็กทูโลสได้ และแล็กทูโลสไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งนี้ แม้แล็กทูโลสจะมีโอกาสทำให้ฟันผุน้อยกว่าซูโครส แต่น้ำตาลทุกชนิดก็อาจทำให้ฟันผุ จึงเป็นปัจจัยที่ควรพิจารณาสำหรับบุคคลที่ไว หรือเสี่ยงต่อสถานการณ์นี้

กลไกการทำงาน

แก้

แล็กทูโลส เป็นไดแซ็กคาไรด์ ที่เกิดจากโมโนแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุลประกอบกัน คือ ฟรักโทส และกาแล็กโทส อย่างละ 1 โมเลกุล[1] ปกติจะไม่พบแล็กทูโลสในน้ำนมดิบ แต่จะสามารถพบได้เมื่อนำน้ำนมดิบไปผ่านกระบวนการให้ความร้อน[22] โดยความร้อนยิ่งสูงเท่าใด ปริมาณก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น (จาก 3.5 mg/L ในนมพาสเจอร์ไรซ์ที่ผ่านความร้อนต่ำ เป็น 744 mg/L ในนมสเตอริไลซ์ในบรรจุภัณฑ์)[23] แล็กทูโลสที่ผลิตเพื่อการค้า ผลิตโดยกระบวนการเปลี่ยนไอโซเมอร์ (isomerization) ของแล็กโทส

แล็กทูโลส ไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าลำไส้เล็ก และไม่ได้ย่อยสลายโดยเอนไซม์ของมนุษย์ ดังนั้น แล็กทูโลสจึงดำรงอยู่ในอาหารที่เคี้ยวแล้วตลอดทางเดินอาหาร โดยเป็นตัวกักน้ำไว้ผ่านกระบวนการออสโมซิส ซึ่งทำอุจจาระให้อ่อนนุ่มลง และขับถ่ายออกมาได้ง่ายขึ้น

แล็กทูโลส ยังมีฤทธิ์ทุติยภูมิในลำไส้ใหญ่ เพราะแบคทีเรียในลำไส้จะใช้แล็กทูโลสในการหมักดอง และสร้างเมแทบอไลต์เช่น แอซิเตต ซึ่งมีทั้งฤทธิ์ดูดน้ำ (ออสโมซิส) และกระตุ้นการบีบรูดของลำไส้ แต่ก็ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ด้วย เช่น มีเทน ที่เป็นสาเหตุของการผายลม

แบคทีเรียในโคลอน (ลำไส้ใหญ่) จะย่อยสลายแล็กทูโลส ให้กลายเป็นกรดไขมันห่วงโซ่สั้น ซึ่งรวมถึงกรดแล็กติกและกรดน้ำส้ม โดยกรดไขมันห่วงโซ่สั้นส่วนหนึ่งจะแยกตัวออก แล้วทำสิ่งที่อยู่ในโคลอนให้เป็นกรด ด้วยการเพิ่มความหนาแน่นของไฮโดรเจน ไอออน (H+) ในลำไส้[15] นอกจากนี้ยังช่วยเปลี่ยนแอมโมเนีย (NH3) ให้กลายเป็นแอมโมเนียม ไอออน (NH+
4
) ซึ่งดูดซึมไม่ได้ จึงเท่ากับดักแอมโมเนียไว้ในลำไส้ และลดความเข้มข้นของแอมโมเนียในเลือด ดังนั้น แล็กทูโลสจึงมีประสิทธิผลรักษาโรคสมองจากตับ[24] โดยแล็กทูโลสเป็นยาป้องกันระดับทุติยภูมิ ของโรคสมองจากตับ สำหรับคนไข้ที่มีตับแข็ง[25] นอกจากนี้ งานวิจัยในปี ค.ศ. 2007 ยังพบว่า มีการทำงานทางประชานที่ดีกว่า สำหรับบุคคลที่มีตับแข็งและเป็นโรคสมองจากตับในระดับน้อยซึ่งรักษาด้วยแล็กทูโลส[26]

สังคมและวัฒนธรรม

แก้

ชื่อ

แก้

แล็กทูโลส เป็นชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ (INN)[27] แล็กทูโลสถูกขายภายใต้ชื่อการค้าต่าง ๆ หลายชื่อ เช่น Cholac, Chronulac, Constilac, Generlac, Consulose, Constulose, Enulose, Kristalose, Duphalac และ ชื่อทางการค้าอื่น ๆ

การวางจำหน่าย

แก้

แล็กทูโลสเป็นยาสามัญ[4] สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาในหลายประเทศ แต่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์เพื่อซื้อในสหรัฐ ไนจีเรีย และออสเตรีย

การใช้เป็นสารเติมแต่งอาหาร

แก้

ในหลายประเทศที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาสำหรับซื้อแล็กทูโลส อาจใช้แล็กทูโลสเป็นสารเติมแต่งอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

การใช้ในเชิงสัตวแพทยศาสตร์

แก้

มีงานวิจัยรองรับว่า แล็กทูโลส สามารถใช้เป็นยาระบายในสัตว์ได้[28]

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Lactulose". drugs.com (ภาษาอังกฤษ). The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-04. สืบค้นเมื่อ 2015-08-11.
  2. 2.0 2.1 Goldman, Ann; Hain, Richard; Liben, Stephen (2006). Oxford textbook of palliative care for children (ภาษาอังกฤษ) (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 352. ISBN 9780198526537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  3. 3.0 3.1 Helms, Richard A. (2006). Textbook of therapeutics : drug and disease management (ภาษาอังกฤษ) (8 ed.). Philadelphia, Pa. [u.a.]: Lippincott Williams & Wilkins. p. 1310. ISBN 9780781757348. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Hamilton, Richard J. (2013). Tarascon pocket pharmacopoeia : 2013 classic shirt-pocket edition (ภาษาอังกฤษ) (27th ed.). Burlington, Ma.: Jones & Bartlett Learning. p. 111. ISBN 9781449665869. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  5. 5.0 5.1 Jones, Wendy (2013). Breastfeeding and Medication (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 127. ISBN 9781136178153. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  6. Whitlow, Charles (2009). Improved Outcomes in Colon and Rectal Surgery (ภาษาอังกฤษ). New York: Informa Healthcare. p. 366. ISBN 9781420071535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  7. McSweeney, Paul L.H.; Fox, Patrick F. (2009). Advanced dairy chemistry (ภาษาอังกฤษ) (3rd ed.). New York: Springer-Verlag. p. 236. ISBN 9780387848655. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  8. Schumann, C (Nov 2002). "Medical, nutritional and technological properties of lactulose. An update". European journal of nutrition (ภาษาอังกฤษ). 41 Suppl 1: I17-25. doi:10.1007/s00394-002-1103-6. PMID 12420112.
  9. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019 (ภาษาอังกฤษ). Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
  10. Kuntz, Hans-Dieter (2008). Hepatology textbook and atlas : history, morphology, biochemistry, diagnostics, clinic, therapy (ภาษาอังกฤษ) (3rd ed.). Heidelberg: Springer. p. 887. ISBN 9783540768395. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  11. "Lactulose". nih.gov (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2015-08-25.
  12. Panesar, Parmjit S.; Kumari, Shweta (2011-11-01). "Lactulose: Production, purification and potential applications". Biotechnology Advances (ภาษาอังกฤษ). 29 (6): 940–948. doi:10.1016/j.biotechadv.2011.08.008. ISSN 0734-9750. PMID 21856402.
  13. Bae, Sun Hwan (July 2010). "Long-term safety of PEG 4000 in children with chronic functional constipation: A biochemical perspective" (ภาษาอังกฤษ). Korean Journal of Pediatrics. 53 (7): 741–744. doi:10.3345/kjp.2010.53.7.741. ISSN 1738-1061. PMC 3004485. PMID 21189949.
  14. Shukla, S; Shukla, A; Mehboob, S; Guha, S (Mar 2011). "Meta-analysis: the effects of gut flora modulation using prebiotics, probiotics and synbiotics on minimal hepatic encephalopathy". Alimentary pharmacology & therapeutics (ภาษาอังกฤษ). 33 (6): 662–71. doi:10.1111/j.1365-2036.2010.04574.x. PMID 21251030.
  15. 15.0 15.1 Patil, DH; Westaby, D; Mahida, YR; Palmer, KR; Rees, R; Clark, ML; Dawson, AM; Silk, DB (Mar 1987). "Comparative modes of action of lactitol and lactulose in the treatment of hepatic encephalopathy". Gut (ภาษาอังกฤษ). 28 (3): 255–9. doi:10.1136/gut.28.3.255. PMC 1432706. PMID 3570029.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Gerstner, Thorsten; Buesing, Deike; Longin, Elke; Bendl, Claudia; Wenzel, Dieter; Scheid, Brigitte; Goetze, Gisela; Macke, Alfons; Lippert, Gerhard; Klostermann, Wolfgang; Mayer, Geert; Augspach-Hofmann, Regine; Fitzek, Sabine; Haensch, Carl-Albrecht; Reuland, Markus; Koenig, Stephan A. (2006). "Valproic acid induced encephalopathy - 19 new cases in Germany from 1994 to 2003 - A side effect associated to VPA-therapy not only in young children". Seizure (ภาษาอังกฤษ). 15 (6): 443–448. doi:10.1016/j.seizure.2006.05.007. ISSN 1059-1311. PMID 16787750.
  17. Vanner, S (Apr 2008). "The lactulose breath test for diagnosing SIBO in IBS patients: another nail in the coffin". Am. J. Gastroenterol. (ภาษาอังกฤษ). 103 (4): 964–5. doi:10.1111/j.1572-0241.2008.01798.x. PMID 18371132.
  18. Barrett, JS; Irving, PM; Shepherd, SJ; Muir, JG; Gibson, PR (Jul 2009). "Comparison of the prevalence of fructose and lactose malabsorption across chronic intestinal disorders". Aliment. Pharmacol. Ther. (ภาษาอังกฤษ). 30 (2): 165–74. doi:10.1111/j.1365-2036.2009.04018.x. PMID 19392860.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Grover, M; Kanazawa, M; Palsson, OS; Chitkara, DK; Gangarosa, LM; Drossman, DA; Whitehead, WE (Sep 2008). "Small intestinal bacterial overgrowth in irritable bowel syndrome: association with colon motility, bowel symptoms, and psychological distress". Neurogastroenterol. Motil. (ภาษาอังกฤษ). 20 (9): 998–1008. doi:10.1111/j.1365-2982.2008.01142.x. PMID 18482250.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. 20.0 20.1 Yu, D; Cheeseman, F; Vanner, S (Mar 2011). "Combined oro-caecal scintigraphy and lactulose hydrogen breath testing demonstrate that breath testing detects oro-caecal transit, not small intestinal bacterial overgrowth in patients with IBS". Gut (ภาษาอังกฤษ). 60 (3): 334–40. doi:10.1136/gut.2009.205476. PMID 21112950.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  21. "Safety Data Sheet Lactulose" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2016-12-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. Luzzana, M; Agnellini, D; Cremonesi, P; Caramenti, G; De Vita, S (September–October 2003). "Milk lactose and lactulose determination by the differential pH technique" (PDF). Le Lait (ภาษาอังกฤษ). 83 (5): 409–16. doi:10.1051/lait:2003022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-12.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  23. Marconi, E; Messia, MC; Amine, A; Moscone, D; Vernazza, F; Stocchi, F; Palleschi, G (2004). "Heat-treated milk di?erentiation by a sensitive lactulose assay" (PDF). Food Chemistry (ภาษาอังกฤษ). 84: 447–50. doi:10.1016/S0308-8146(03)00268-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-16.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. Gluud, Lise Lotte; Vilstrup, Hendrik; Morgan, Marsha Y. (2016-04-18). "Non-absorbable disaccharides versus placebo/no intervention and lactulose versus lactitol for the prevention and treatment of hepatic encephalopathy in people with cirrhosis". The Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). 4: CD003044. doi:10.1002/14651858.CD003044.pub3. ISSN 1469-493X. PMID 27089005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  25. Sharma, BC; Sharma, P; Agrawal, A; Sarin, SK (Sep 2009). "Secondary prophylaxis of hepatic encephalopathy: an open-label randomized controlled trial of lactulose versus placebo". Gastroenterology (ภาษาอังกฤษ). 137 (3): 885–91, 891.e1. doi:10.1053/j.gastro.2009.05.056. PMID 19501587.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Prasad, S; Dhiman, RK; Duseja, A; Chawla, YK; Sharma, A; Agarwal, R (Mar 2007). "Lactulose improves cognitive functions and health-related quality of life in patients with cirrhosis who have minimal hepatic encephalopathy". Hepatology (ภาษาอังกฤษ). 45 (3): 549–59. doi:10.1002/hep.21533. PMID 17326150.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. "International Nonproprietary Names for Pharmaceutical Preparations. Recommended International Non-Proprietary Names (Rec. I.N.N.) : List 7" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). World Health Organization. 1967. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-18. สืบค้นเมื่อ 2016-11-09.
  28. "Constipation and Obstipation in Small Animals - Digestive System". Veterinary Manual (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 Jun 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้