ท็อปส์[1] (อังกฤษ: Tops) เป็นกิจการค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภค ในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2539 โดย บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น มีสาขารวมทั้งหมด 250 สาขาทั่วประเทศใน พ.ศ. 2559 และตั้งเป้าขยายสาขาครบ 600 สาขาภายใน พ.ศ. 2564

บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด
ประเภทพาณิชย์
อุตสาหกรรมบริการ
รูปแบบบริษัทจำกัด
ก่อนหน้าเซ็นทรัล ซูเปอร์มาร์เก็ต
โรบินสัน ซูเปอร์มาร์เก็ต
บิ๊กซี (เวียดนาม)
ก่อตั้งพ.ศ. 2537
สำนักงานใหญ่99/9 หมู่ 2 ชั้น 15-17 อาคารเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
พื้นที่ให้บริการไทย ไทย
เวียดนาม เวียดนาม
บริการซูเปอร์มาร์เก็ต, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ศูนย์อาหาร,ศูนย์การค้า
เว็บไซต์http://corporate.tops.co.th

ประวัติ

แก้

ท็อปส์ เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการในส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตของ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2537 ตามแผนยุทธศาสตร์การควบรวมกิจการซ้ำซ้อน หลังจากที่เซ็นทรัลรีเทลเข้าควบคุมกิจการและเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ที่ก่อนหน้านี้ควบรวมแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็น เพาเวอร์บาย แผนกสินค้ากีฬาเป็น ซูเปอร์สปอร์ต และแผนกเครื่องเขียนเป็น บีทูเอส ไม่นานหลังจากนั้นเซ็นทรัลรีเทล ได้เปิดทดลองสาขาในชื่อ เซฟวัน ซูเปอร์มาร์เก็ต ก่อนเปิดบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ และ รอยัล เอโฮลด์ ของเนเธอร์แลนด์ ในชื่อ บริษัท ซีอาร์ซี เอโฮลด์ จำกัด เพื่อซื้อสิทธิ์การบริหารจาก ท็อปส์ สหรัฐอเมริกา มาบริหารแทน และเปิดสาขาแรกในสถานประกอบการบันเทิงรอยัลซิตี้อเวนิว ในปี พ.ศ. 2539[2] ต่อมาได้เปิดสาขาที่ เซ็นทรัล ชิดลม ในปี พ.ศ. 2541 และสาขารูปแบบ Standalone สาขาแรกที่ประชานิเวศน์ ในปี พ.ศ. 2542

หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2547 เซ็นทรัลรีเทล ได้ตัดสินใจซื้อกิจการ "ท็อปส์" ทั้งหมด 46 สาขาจาก รอยัล เอโฮลด์ เพื่อให้เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตของคนไทยเต็มตัว โดยเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด และยังได้ซื้อกิจการ ฟู้ดไลอ้อน ซูเปอร์มาร์เก็ต ในประเทศไทยทั้งหมด เพื่อนำเอาสาขานอกห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และโรบินสันมาเปลี่ยนเป็นท็อปส์ทั้งหมด จากนั้นไม่นานเซ็นทรัลรีเทลก็ได้ประกาศแผนปรับปรุงภาพลักษณ์ของท็อปส์ใหม่ทั้งหมด โดยเน้นความสดใส และความตื่นเต้น รวมถึงแตกรูปแบบสาขาใหม่คือ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ (ปัจจุบันคือ ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์) ขึ้นที่เซ็นทรัล ชิดลม และเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อจับตลาดลูกค้าพรีเมี่ยมที่มีกำลังซื้อสูงโดยเฉพาะ และยังเป็นการชน เอ็มโพเรียม กูร์เมต์ มาร์เก็ต ของกลุ่มเดอะมอลล์โดยตรง รวมถึงยังซื้อสิทธิ์ร้านกาแฟ เซกาเฟรโด ซาเนตติ มาบริหารในประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

ในปี พ.ศ. 2565 ท็อปส์ได้ประกาศตัดซับแบรนด์ "มาร์เก็ต", "มาร์เก็ต ฟู้ดแอนด์ไวน์", "เดลี่" มาใช้ชื่อ "ท็อปส์" เพียงอย่างเดียว, ปรับชื่อ "เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์" เป็น "ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์" พร้อมเพิ่มแบรนด์ใหม่ "ท็อปส์ คลับ" และ "ท็อปส์ ไฟน์ ฟู้ด" เพื่อเน้นอัตลักษณ์ของแบรนด์มากขึ้น[1]

ปัจจุบัน ท็อปส์ ถือเป็นกิจการค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภค ในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวนสาขาที่มากถึง 250 สาขาทั่วประเทศใน พ.ศ. 2559 รวมถึงยังมีสาขาแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าย่านชานเมืองที่ต้องการร้านขนาดใหญ่ และยังมีกิจการร้านเสริมความงาม เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มความงามอีกช่องทางหนึ่งด้วย

นโยบายสวัสดิภาพสัตว์

แก้

ท็อปส์ได้ประกาศว่าจะเลิกขายเนื้อหมูจากแม่หมูที่ถูกขังไว้ในคอกขังเดี่ยวในระยะตั้งครรภ์[3]

รูปแบบธุรกิจหลัก

แก้

สาขาขนาดใหญ่

แก้
ประเภท พื้นที่ ลักษณะ จำนวน สาขาเรือธง
โก! โฮลเซลล์
(Go! Wholesale)
5,000-15,000 ตรม. ศูนย์ค้าส่งอาหารขนาดใหญ่สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย เน้นกลุ่มลูกค้า โรงแรม ร้านอาหาร แคทเทอริง (HoReCa) ลูกค้าโชห่วย และลูกค้าทั่วไปที่ต้องการซื้อสินค้าคราวละมาก ๆ หรือผู้ที่ชื่นชอบการทำอาหาร ภายใต้แนวคิด "The Food Professional" มีจุดเด่นด้านบริการและไลฟ์อควอเรียมขนาดใหญ่ที่จัดแสดงสัตว์น้ำและอาหารทะเลคุณภาพจากทั่วโลก และในบางสาขามีโซนสมาร์ทฟาร์มที่ปลูกผักออร์แกนิกเพื่อจำหน่ายในสาขา รวมถึงมีคาเฟ่ "โกเฟ่" ให้บริการลูกค้า ในจำนวนนี้ปรับปรุงมาจากบีเอ็นบีโฮม 2 สาขา ไทวัสดุ 1 สาขา และท็อปส์คลับ 1 สาขา 8 เซ็นทรัล พระราม 2
พลาซา
(Tops Plaza)
9,800-22,000 ตรม. ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ภายในประกอบด้วยซูเปอร์มาร์เก็ต "ท็อปส์" ร้านค้าในพื้นที่เช่าโซนพลาซ่า และอาจมีห้างสรรพสินค้าและโรงภาพยนตร์บางสาขาด้วย 4 ท็อปส์ พลาซา พิจิตร
ไฟน์ ฟู้ด
(Tops Fine Food)
2,000-4,000 ตรม. รูปแบบสาขาพิเศษเพื่อจับกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม-ลักชัวรี่ คัดสรรสินค้าระดับโลกที่ไม่เคยมีวางจำหน่ายมาก่อนในประเทศไทย เป็นที่แรกและที่เดียว รวมถึงในสาขาสุขุมวิท 49 จะมีร้านอาหารระดับไฟน์ไดน์นิ่ง MR. FRENCH เปิดทำการร่วมแทน ท็อปส์ อีทเทอรี ด้วย 2 สุขุมวิท 49
ฟู้ด ฮอลล์
(Tops Food Hall)
4,000-8,000 ตรม. รูปแบบสาขาขนาดใหญ่เพื่อจับกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยม โดยแบ่งแผนกภายในออกเป็นสัดส่วนภายใต้คอนเซปท์ Shop-in-shop ประกอบด้วย
  • เจมส์ เดอะบุชเชอร์ แผนกเนื้อสัตว์
  • ฟิชมองเกอร์ แผนกอาหารทะเล
  • เฟรชฟอร์มฟิลด์* และจริงใจมาร์เก็ต* แผนกพืชผักและผลไม้
  • เดอะเบเกอร์* แผนกเบเกอรี และร้านกาแฟ โดย คอฟฟี อะริกาโต
  • แฮมแอนด์บรีย์ แผนกขายสินค้าแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากชีส โดยมีจุดเด่นที่บางสาขามีห้องขนาดใหญ่ที่รวบรวมชีสทุกสายพันธุ์ และเนื้อดรายเอจคุณภาพสูง
  • ท็อปส์ อีทเทอรี ร้านอาหารประจำซูเปอร์มาร์เก็ต โดยจะมีในท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ บางสาขาเท่านั้น แต่เดิมเป็นจุดบริการอาหาร กระจายในแผนกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และเบเกอรี แต่ในฟอร์แมตปัจจุบัน ได้นำมารวมเป็นจุดเดียวในรูปแบบร้านอาหาร
  • ท็อปส์ ไวน์ เซลลาร์* ห้องไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์คุณภาพสูง
  • เฮลทิฟูล* แผนกเน้นสินค้าออร์แกนิกส์และสินค้าเพื่อสุขภาพ
  • ท็อปส์วีตา* และท็อปส์แคร์* แผนกเน้นสินค้าประเภทยา วิตามิน และอาหารเสริม
  • เอเชียนเซนส์* และคูร์ซีนมาสเตอร์* แผนกอาหารแห้ง
  • โฟรสเซ่น แอนด์ โค.* แผนกอาหารและสินค้าแช่แข็ง
  • สแนคเกอร์* แผนกขนมและของขบเคี้ยว
  • เพ็ทแอนด์มี* แผนกสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง
  • เบบี้แอนด์มี* แผนกสินค้าสำหรับแม่และเด็ก
  • เอเวอร์คลีน* แผนกสินค้าอุปโภคในกลุ่มของใช้ภายในบ้าน เช่น น้ำยาทำความสะอาดบ้าน น้ำยาสำหรับเสื้อผ้า อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านเป็นต้น
  • ท็อปส์ เลาจน์ พื้นที่รับรองลูกค้า ซึ่งสามารถสั่งอาหารและเครื่องดื่มจากเดอะเบเกอร์ รวมถึงสินค้าบางส่วนจากแผนกสแนคเกอร์, แฮมแอนด์บรีย์ และไวน์เซลลาร์ มานั่งรับประทานภายในโซนนี้ได้

รวมถึงยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนหนึ่งวางจำหน่าย โดยสินค้าส่วนใหญ่มักเป็นสินค้านำเข้าระดับสูงและออร์แกนิกส์ สินค้าประเภทใหม่ ๆ ที่แตกต่างสาขาทั่วไปเป็นหลัก ในจำนวนนี้ปรับปรุงมาจากมาร์เก็ต 6 สาขา และรูปแบบนี้มีชื่อเดิม คือ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ (Central Food Hall)
หมายเหตุ: * แผนกที่มีให้บริการใน ท็อปส์ บางสาขาหรือทุกสาขา

21 เซ็นทรัล ชิดลม
สุขุมวิท 39 (สาขาอาคารแยกจำเพาะ)[4]
อีตไทย
(Eathai)
2,000-4,000 ตรม. รูปแบบสาขาพิเศษเพื่อจับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก ภายในแบ่งพื้นที่เป็นส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กที่เน้นสินค้าประเภทโอท็อป ของฝาก สินค้าภายในประเทศ และศูนย์อาหารขนาดใหญ่ที่รวบรวมร้านอาหารไทยพื้นบ้านไว้เป็นจำนวนมาก 1 เซ็นทรัล เอ็มบาสซี
ไทยเฟเวอริท
(Thai Favourite)
1,500-2,000 ตรม. รูปแบบสาขาพิเศษเพื่อจับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลักเน้นกลุ่มสินค้าประเภทโอท็อปของฝาก สินค้าภายในประเทศเป็นหลัก 3 เซ็นทรัลมารีนา
กรีน
(Tops Green)
1,500-3,000 ตรม. รูปแบบสาขาพิเศษเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยมรุ่นใหม่ ภายในเน้นสินค้าพื้นเมืองคุณภาพสูงทั้งอาหารสดและอาหารแห้งในราคาที่เอื้อมถึงได้ 1 กาดจริงใจ
ท็อปส์
(Tops)
1,000-4,500 ตรม. รูปแบบสาขาทั่วไปเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงเน้นสินค้าคุณภาพสูงทั้งอาหารสดอาหารแห้งราคาที่เอื้อมถึงได้ และบางสาขามีแผนกของ ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ บางส่วน และร้านอาหาร at TASTE เปิดให้บริการด้วย ในจำนวนนี้ปรับปรุงมาจากซูเปอร์สโตร์ 9 สาขา, ฟู้ด แอนด์ ไวน์ 5 สาขา และซูเปอร์คุ้ม 43 สาขา แต่เดิมรูปแบบนี้มีชื่อว่า ท็อปส์ ซูเปอร์ (Tops Super) และ ท็อปส์ มาร์เก็ต (Tops Market) ตามลำดับ 140 เซ็นทรัล เวสต์เกต

สาขาขนาดเล็ก

แก้
ประเภท พื้นที่ขาย ลักษณะ จำนวนสาขา สาขาเรือธง
ท็อปส์ เดลี่
(Tops Daily)
600-1,000 ตรม. รูปแบบร้านสะดวกซื้อที่ครบครันทั้งสินค้า อาหาร และบริการ ในรูปแบบมินิซูเปอร์มาร์เก็ต มีสาขากระจายทั่วประเทศ ทั้งแบบภายในศูนย์การค้า และแบบร้านค้าที่มีอาคารแยกจำเพาะ โดยส่วนหนึ่งปรับปรุงมาจากแฟมิลี่มาร์ท[5] 511 สุขุมวิท 33
ท็อปส์ ไวน์เซลล่าร์
(Tops Wine Cellar)
600-1,000 ตรม. รูปแบบร้านพิเศษที่คัดสรรไวน์คุณภาพชั้นเลิศมาวางจำหน่าย เดิมเป็นแผนกเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ของ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ แต่ภายหลังได้ขยายร้านเพิ่มเติมในท็อปส์บางสาขา และเปิดเป็นร้าน Standalone ในหัวหิน พัทยา และภูเก็ต 3 หัวหิน
มัทสึคิโยะ 250-1,000 ตรม. รูปแบบร้านความงามครบวงจรที่เซ็นทรัลฟู้ดรีเทล ซื้อสิทธิ์การบริหารมาจากมัทสึโมโตะ คิโยชิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นร้านความงามขนาดกลางที่มีสินค้าครบครัน ทั้งในประเทศ และสินค้านำเข้าจากมัทสึโมโตะ คิโยชิ[6] มัทสึคิโยะเป็นรูปแบบเดียวของท็อปส์ที่มีสาขาในศูนย์การค้าของกลุ่มเดอะมอลล์[7] 27 เซ็นทรัล ลาดพร้าว
เฮลธิฟูล
(Healthiful)
250-1,000 ตรม. รูปแบบร้านพิเศษที่คัดสรรสินค้าเพื่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เดิมเป็นแผนกอาหารสดและอาหารแห้งในกลุ่ม Wellbeing ของเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ แต่ภายหลังได้ขยายไปยังท็อปส์บางสาขา และเปิดเป็นร้าน Standalone ที่ศูนย์การค้าเดอะคริสตัล วีรันดา 1 คริสตัล วีรันดา
จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต 600-1,000 ตรม. รูปแบบร้านพิเศษที่ร่วมมือกับหน่วยธุรกิจ "เซ็นทรัลทำ" คัดสรรทั้งสินค้า อาหาร และบริการ จากทั่วประเทศไทยให้มาอยู่ภายใต้รูปแบบมินิซูเปอร์มาร์เก็ต โดยเป็นแผนกย่อยในท็อปส์บางสาขา และเปิดเป็นร้าน Standalone ในเซ็นทรัล บางนา และเซ็นทรัลเวิลด์ 2 เซ็นทรัล บางนา

รูปแบบสาขาในอดีต

แก้
ประเภท พื้นที่ขาย ลักษณะ จำนวนสาขา สาขาเรือธง
ซูเปอร์สโตร์
(Tops Superstore)
3,500-7,000 ตรม. รูปแบบสาขาในลักษณะไฮเปอร์มาร์เก็ต มีสินค้าจากร้านค้าของเซ็นทรัลรีเทล ไม่ว่าเพาเวอร์บาย-ซูเปอร์สปอร์ต บีทูเอส ออฟฟิศเมท และเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง ร่วมจำหน่ายในพื้นที่ด้วย ปัจจุบันทุกสาขาได้รับการปรับปรุงเป็น "ท็อปส์" 9 เซ็นทรัล ศาลายา
มาร์เก็ตเพลส
(Tops MarketPlace)
1,500 - 2,000 ตรม. รูปแบบสาขาพิเศษในเมืองท่องเที่ยว ภายในเน้นสินค้าคุณภาพสูงทั้งอาหารสดและอาหารแห้งในราคาที่เอื้อมถึงได้ มีสินค้าจากต่างประเทศมากกว่ารูปแบบปกติ[8] บางสาขามีบริการล่ามภาษาต่างประเทศเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และการส่งสินค้าถึงบ้าน[9] ปัจจุบันทุกสาขาได้รับการปรับปรุงเป็น "ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์" และ "ท็อปส์" 10 เซ็นทรัล ชิดลม
ซิตี้มาร์เก็ต 1,500 - 2,000 ตรม. รูปแบบสาขาพิเศษเพื่อตอบสนองลูกค้าวัยทำงาน โดยมีสาขาที่อาคารสาทรซิตี้ และออลซีซั่น เพลส[9] ปัจจุบันสาขาออลซีซั่น เพลส ได้รับการปรับปรุงเป็น "ท็อปส์" ส่วนสาขาสาทรซิตี้ได้ย้ายไปยังอาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ 2 ออลซีซั่น เพลส
มาร์เก็ต ฟู้ดแอนด์ไวน์
(Tops Market Food & Wine)
1,500 - 2,000 ตรม. รูปแบบสาขาพิเศษเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าพรีเมียมรุ่นใหม่ ภายในเน้นสินค้าคุณภาพสูงทั้งอาหารสดและอาหารแห้งในราคาที่เอื้อมถึงได้ และมีแผนกเซ็นทรัลไวน์เซลลาร์เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าที่ต้องการไวน์ชั้นเลิศ ปัจจุบันทุกสาขาได้รับการปรับปรุงเป็น "ท็อปส์" ยกเว้นสาขาเซ็นทรัล เวสต์เกต ที่ปรับปรุงเป็นดอง ดอง ดองกิ 5 เซ็นทรัล เวสต์เกต
มาร์เก็ต
(Tops Market)
1,500 - 2,000 ตรม. รูปแบบสาขาทั่วไปเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง โดยบางสาขาปรับปรุงมาจากท็อปส์ ซูเปอร์ ภายในเน้นสินค้าคุณภาพสูงทั้งอาหารสดและอาหารแห้งในราคาที่เอื้อมถึงได้ และบางสาขามีแผนกเซ็นทรัลไวน์เซลลาร์ด้วย ปัจจุบันทุกสาขาได้รับการปรับปรุงเป็น "ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์" และ "ท็อปส์" 93 เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ
ซูเปอร์
(Tops Super)
1,500 - 2,000 ตรม. รูปแบบสาขาทั่วไปเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าระดับกลาง เน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน ปัจจุบันทุกสาขาได้รับการปรับปรุงเป็น "ท็อปส์"[10]
ซูเปอร์คุ้ม 1,500 - 2,000 ตรม. รูปแบบสาขาทั่วไปเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าที่สินค้าคุณภาพ ราคาประหยัด สด ครบ สุดคุ้ม เป็นกันเอง โดยสาขาบางส่วนปรับปรุงมาจากท็อปส์ ซูเปอร์ ต่อมาเซ็นทรัลรีเทลได้ปิดสาขาซูเปอร์คุ้มบางส่วนและปรับปรุงสาขาที่เหลือเป็น "ท็อปส์" 43 ไทวัสดุ บางนา กม.8
เซกาเฟรโด ซาเนตติ
(Segafredo Zanetti)
100-200 ตรม. รูปแบบร้านกาแฟที่เซ็นทรัลฟู้ดรีเทลซื้อสิทธิ์การบริหารมาจาก เซกาเฟรโด ซาเนตติ ประเทศอิตาลี เปิดให้บริการในรูปแบบร้านกาแฟเต็มรูปแบบภายในซูเปอร์มาร์เก็ตท็อปส์ และภายในศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเซ็นทรัลบางสาขา ปัจจุบันทุกสาขาได้ปิดกิจการแล้ว 15 เซ็นทรัลเวิลด์
แฟมิลี่มาร์ท
(FamilyMart)
250 - 400 ตรม. รูปแบบร้านสะดวกซื้อที่ครบครันทั้งสินค้า และบริการ ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัลซื้อกิจการและสิทธิ์การบริหารในประเทศไทยมาดำเนินการต่อ มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ในจำนวนนี้เป็นสาขาที่ปรับมาจาก ท็อปส์ เดลี่ เดิมจำนวนหนึ่ง และมีลักษณะการให้บริการในสองระดับ คือระดับทั่วไปและระดับพรีเมี่ยม โดยในระดับพรีเมี่ยม จะมีบาร์อาหารสดปรุงสำเร็จ ตู้แช่อาหารสดแบบเปิด และบาร์ไอศกรีมฮาเกนดาซอยู่ในสาขาด้วย ปัจจุบันทุกสาขาได้รับการปรับปรุงเป็น "ท็อปส์ เดลี่"[5] ~200[11] -
คลับ
(Tops Club)
15,000 ตรม. ศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่เพื่อจับกลุ่มลูกค้าพรีเมียม เพรียบพร้อมด้วยสินค้านำเข้าทั้งแบบขายปลีกและขายส่ง เป็นรูปแบบสาขาเดียวของท็อปส์ที่ต้องสมัครสมาชิกก่อนเข้าใช้บริการ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็น "โก โฮลเซลล์"[12] 1 เซ็นทรัล พระราม 2

รูปแบบธุรกิจอื่น ๆ

แก้

ท็อปส์ พลาซ่า

แก้
 
ท็อปส์ พลาซ่า

ท็อปส์ พลาซ่า (อังกฤษ: Tops Plaza) เป็นศูนย์การค้าในความดูแลของบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด เน้นทำเลในจังหวัดเล็ก โดยเปิดสาขาแรกที่จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ภายในประกอบด้วยซูเปอร์มาร์เก็ต "ท็อปส์" ร้านค้าในพื้นที่เช่าโซนพลาซ่า และอาจมีห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เพาเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต และโรงภาพยนตร์ร่วมเปิดให้บริการด้วย

สาขา วันที่ พื้นที่ ตั้งอยู่ ร่วมกับ
ท็อปส์ พลาซา
พิจิตร 22 ธันวาคม 2560 21,000 ตร.ม. ท็อปส์ พลาซ่า พิจิตร เพาเวอร์บาย, บีทูเอส, ฟิต สปอร์ต และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
พะเยา 25 มกราคม 2561 22,000 ตร.ม. ท็อปส์ พลาซ่า พะเยา โรบินสัน, เพาเวอร์บาย, บีทูเอส, ซูเปอร์สปอร์ต และเอสเอฟ ซีเนม่า
สิงห์บุรี 26 ตุลาคม 2561 12,000 ตร.ม. ท็อปส์ พลาซ่า สิงห์บุรี เพาเวอร์บาย
ขอนแก่น (เมืองพล) 14 ธันวาคม 2561 9,800 ตร.ม. ท็อปส์ พลาซ่า เมืองพล เพาเวอร์บาย และบีทูเอส

โก! โฮลเซลล์

แก้
 
โก โฮลเซลล์

โก! โฮลเซลล์ (อังกฤษ: Go! Wholesale) เป็นห้างสรรพสินค้าประเภทร้านค้าปลีกในรูปการขายส่ง (Cash and Carry) ในความดูแลของ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ จำกัด อันเป็นบริษัทย่อยของเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล เน้นทำเลคุณภาพที่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งจังหวัด โดยเปิดสาขาแรกที่ ไทวัสดุ x บีเอ็นบี โฮม สมุทรปราการ (ถนนศรีนครินทร์) จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สาขา วันที่ พื้นที่ จังหวัดที่ตั้ง หมายเหตุ
โก! โฮลเซลล์
ศรีนครินทร์ 1 (แยกการไฟฟ้า) 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 7,000 ตร.ม. จังหวัดสมุทรปราการ เปิดร่วมกับ ไทวัสดุ x บีเอ็นบี โฮม สมุทรปราการ
เชียงใหม่ 1 (เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต) 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 8,000 ตร.ม. จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ใน เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ปรับปรุงจากบีเอ็นบี โฮม สาขาเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต
ชลบุรี 1 (อมตะ) 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566 5,500 ตร.ม. จังหวัดชลบุรี ปรับปรุงจาก ไทวัสดุ ชลบุรี (ท้องคุ้ง-นาป่า)
ชลบุรี 2 (พัทยาใต้) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2566 7,000 ตร.ม. จังหวัดชลบุรี ปรับปรุงจาก บีเอ็นบี โฮม สาขาพัทยาใต้
พระราม 2 19 มกราคม พ.ศ. 2567 15,000 ตร.ม. กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ใน เซ็นทรัล พระราม 2 ปรับปรุงจากท็อปส์คลับ
ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต 3 เมษายน พ.ศ. 2567 10,000 ตร.ม. จังหวัดปทุมธานี เปิดร่วมกับ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
รามคำแหง (สุขาภิบาล 3) 30 เมษายน พ.ศ. 2567 10,000 ตร.ม. กรุงเทพมหานคร
ภูเก็ต 1 (หาดราไวย์) 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 5,000 ตร.ม. จังหวัดภูเก็ต ปรับปรุงจาก โลตัส โก เฟรช ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาราไวย์
ภูเก็ต 2 (เมืองภูเก็ต) 23 กันยายน พ.ศ. 2567 6,000 ตร.ม. จังหวัดภูเก็ต
เจริญราษฎร์ ธันวาคม พ.ศ. 2567 กรุงเทพมหานคร
ขอนแก่น พ.ศ. 2568 จังหวัดขอนแก่น
อุดรธานี พ.ศ. 2568 จังหวัดอุดรธานี
หาดใหญ่ พ.ศ. 2568 จังหวัดสงขลา

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ลูกค้าไม่จำ "เซ็นทรัล รีเทล"หั่น 4แบรนด์ลูกเหลือชื่อเดียว "tops"". thansettakij. 2022-10-26.
  2. ไขข้อข้องใจ “ท็อปส์” ในไทยมีกี่โมเดล และความหมายของ “T-O-P-S” หลังซีอาร์ซีจัดพอร์ตแบรนด์ใหม่
  3. https://www.pigprogress.net/World-of-Pigs1/Articles/2018/8/Thai-retailer-Tops-converts-to-group-housing-for-sows-325871E/
  4. ratirita (2022-06-23). "CRC เล่นใหญ่! เปิด Tops Food Hall สุขุมวิท 39 เจาะฟู้ดรีเทลพรีเมียม โมเดลสแตนด์อโลนแห่งแรก". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. 5.0 5.1 ไม่มีแล้ว “Family Mart” เซ็นทรัลยกเครื่องใหม่ เปลี่ยนเป็น “Tops Daily” ทุกสาขาทั่วไทย
  6. "เซ็นทรัล อิมพอร์ตร้าน "มัทสึคิโยะ" เข้าไทย ประเดิมสาขาลาดพร้าว". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-10-27.
  7. "สาขาทั้งหมด - matsumotokiyoshi". matsumotokiyoshi.co.th.
  8. "CENTRAL 2548 กินรวบค้าปลีกทั้งใน - นอก". mgronline.com. 2005-04-01.
  9. 9.0 9.1 ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส บาย ท็อปส์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
  10. "ความแตกต่างระหว่างท็อปส์ ซูเปอร์ และท็อปส์ มาร์เก็ต | OK NATION". www.oknation.net.
  11. "FamilyMart โบกมือลาประเทศไทย! CRC ทยอยปรับโฉมเป็น Tops Daily #beartai". #beartai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-12.
  12. "ปิดฉาก 1 ปี Tops CLUB ปิดสาขา-ปรับขายออนไลน์ โยกสมาชิกขึ้น Tops Prime ดีเดย์ 2 ต.ค.66 นี้| Brand Buffet". brandbuffet.in.th.