แขวงราษฎร์พัฒนา
ราษฎร์พัฒนา เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 13 แขวงที่ตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดตามประกาศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[3] สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย บางแห่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
แขวงราษฎร์พัฒนา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khwaeng Rat Phatthana |
แผนที่เขตสะพานสูง เน้นแขวงราษฎร์พัฒนา | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | สะพานสูง |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 9.009 ตร.กม. (3.478 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[2] | |
• ทั้งหมด | 42,537 คน |
• ความหนาแน่น | 4,721.61 คน/ตร.กม. (12,228.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10240 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 104402 |
ประวัติ
แก้แขวงราษฎร์พัฒนาเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแขวงสะพานสูง เขตบางกะปิ ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งเขตบึงกุ่มแยกจากเขตบางกะปิ โดยกำหนดให้แขวงสะพานสูงอยู่ในท้องที่การปกครองของเขตนี้ด้วย[4] จากนั้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในบริเวณนี้อีกครั้ง โดยโอนแขวงสะพานสูงมาขึ้นกับเขตสะพานสูงที่จัดตั้งขึ้นใหม่[5] จนกระทั่งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้แยกท้องที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแขวงสะพานสูงออกมาจัดตั้งเป็น แขวงราษฎร์พัฒนา[6] โดยนำชื่อถนนราษฎร์พัฒนาที่ตัดผ่านพื้นที่มาใช้เป็นชื่อแขวง
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้แขวงราษฎร์พัฒนาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตสะพานสูง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[6]
- ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงคันนายาว (เขตคันนายาว) และแขวงมีนบุรี (เขตมีนบุรี) มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงมีนบุรี (เขตมีนบุรี) และแขวงคลองสองต้นนุ่น (เขตลาดกระบัง) มีคลองลาดบัวขาวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงทับช้าง (เขตสะพานสูง) มีคลองทับช้างล่างเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงสะพานสูง (เขตสะพานสูง) มีถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
การคมนาคม
แก้ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงราษฎร์พัฒนา ได้แก่
ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงราษฎร์พัฒนา ได้แก่
อ้างอิง
แก้- ↑ กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2566 พื้นที่ เขตสะพานสูง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1044&rcodeDesc=เขตสะพานสูง 2566. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ "เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงใน 7 เขต กทม". สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. 2017-08-31. สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้งเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 155 ง): 18. 16 กันยายน 2532.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 6–19. 18 พฤศจิกายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2017-09-02.
- ↑ 6.0 6.1 "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสะพานสูง และตั้งแขวงราษฎร์พัฒนา แขวงทับช้าง เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 47–49. 31 สิงหาคม 2560.