เอ.เย.ยาดิน
อาเธอร์ จอห์น อเล็กซานเดอร์ จาร์ดีน (อังกฤษ: Arthur John Alexander Jardine)[1] หรือโดยย่อว่า เอ. เย. ยาดิน (อังกฤษ: A. J. Jardine; เกิด พ.ศ. 2404) เป็นอธิบดีกรมกองตระเวนคนที่ 3 ยาดินเป็นชาวอังกฤษ ซึ่งเคยรับราชการเป็น ผู้บังคับการตำรวจในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2440 ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5[2]ได้เข้ามารับราชการตำรวจไทยในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บังคับการกองตระเวน 5 มิถุนายน พ.ศ. 2440 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งสำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้นมีพระราชเสาวนีย์ ให้ เอ.เย.ยาดิน ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมหรืออธิบดีกรมกองตระเวน[3]สืบต่อจากพระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) ยาดินได้ชักชวนเพื่อนชาวอังกฤษจากอินเดียมาร่วมงาน โดยได้ปรับปรุงกิจการตำรวจให้ก้าวหน้าขึ้นตามแนวทางตำรวจอินเดีย[4]
เอ.เย.ยาดิน | |
---|---|
อธิบดีกรมกองตระเวน | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2447 | |
ก่อนหน้า | พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) |
ถัดไป | อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน |
ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 เอ.เย.ยาดิน ได้กราบบังคบทูลลาออกจากราชการหลังเป็นอธิบดีกรมกองตระเวนได้ 7 ปี เพื่อกลับอินเดีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์โท อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมกองตระเวนแทน[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. 2566. p. จ.
- ↑ เอ.เย.ยาดิน http://politic.myfirstinfo.com[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกระทรวงนครบาล
- ↑ "พระปิยมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้สร้าง "ความเป็นปึกแผ่นแก่กิจการตำรวจ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-15. สืบค้นเมื่อ 2015-01-18.
- ↑ ผู้บังคับกองโปลิศคนที่สี่แห่งสยาม - บ้านมหา
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า | เอ.เย.ยาดิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) |
อธิบดีกรมกองตระเวน คนที่ 3 (2440 – 2447) |
อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน |