เหงื่อ

(เปลี่ยนทางจาก เหงื่อออก)

เหงื่อ เป็นของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน

หยดเหงื่อบนใบหน้า

เหงื่อประกอบด้วย น้ำ(H2O) 99% ส่วนอีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์(NaCl) ยูเรีย (CO(NH2)2) น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม(K) แมกนีเซียม(Mg) สังกะสี(Zn)

ชนิดของเหงื่อ

แก้

เหงื่อที่ผลิตจาก Eccrine Sweat Glands

แก้

ต่อมเหงื่อชนิดนี้พบทั่วตามร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งจะผลิตเหงื่อที่มีลักษณะใสเหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น เพราะร่างกายจะขับเหงื่อชนิดนี้ออกมาเมื่อทำกิจกรรมหนักๆ หรืออยู่ในสภาวะอากาศร้อน

เหงื่อที่ผลิตจาก Apocrine Sweat Glands

แก้

ต่อมเหงื่อชนิดนี้กระจายตัวอยู่บางแห่งของร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ทวารหนัก หัวหน่าว ก้น แผ่นหลัง เหงื่อที่ได้จะมีลักษณะเหนียวใสและมีส่วนผสมของไขมันอยู่มากจึงทำให้เหงื่อชนิดนี้มีกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำหน้าที่ในการกระตุ้นอารมณ์เพศจึงเป็นคนละกลิ่นที่เกิดจากการหมักหมมของขี้ไคล

การขับเหงื่อ

แก้

เหงื่อจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นกับ "ความร้อน" และ "อารมณ์" ซึ่งทำให้สมองหลั่งสารเคมีชื่อ แอซีทิลโคลีน (Acetylcholine) ที่อยู่บริเวณปลายประสาทออกมากกระตุ้นต่อมเหงื่อให้ผลิตเหงื่อ

ปริมาณเหงื่อของแต่ละคนขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ อากาศ ความผันผวนของอากาศ ซึ่งอากาศร้อนมีความชื้นในอากาศสูงจะทำให้เหงื่อออกมากกว่าวันที่ฝนตกซึ่งมีความชื้นในอากาศต่ำ

กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน หากต้องออกแรงมากจะทำให้เหงื่อออกมากซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่ไม่ค่อยจะออกแรง

โรคบางชนิดสามารถทำให้ปริมาณของเหงื่อเปลี่ยนแปลงได้ เช่น โรคเครียด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือคอพอก วัณโรค เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะใกล้หมดประจำเดือน สิ่งเหล่านี้ทำให้เหงื่อออกมาก ส่วนโรคผิวหนังไม่ว่าจะเป็นผด ผื่น สะเก็ดเงิน ผิวหนังแตกหยาบ ไมเกรนจะทำให้เหงื่อออกน้อย

อ้างอิง

แก้
  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 พศจิกายน 2551

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้