โพแทสเซียม
โพแทสเซียม (อังกฤษ: Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K
Potassium pearls (in paraffin oil, ~5 mm each) | ||||||
โพแทสเซียม | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
การอ่านออกเสียง | /pəˈtæsiəm/ | |||||
รูปลักษณ์ | silvery gray | |||||
Standard atomic weight Ar°(K) | ||||||
| ||||||
โพแทสเซียมในตารางธาตุ | ||||||
| ||||||
หมู่ | group 1: hydrogen and alkali metals | |||||
คาบ | คาบที่ 4 | |||||
บล็อก | บล็อก-s | |||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | [Ar] 4s1 | |||||
จำนวนอิเล็กตรอนต่อชั้น | 2, 8, 8, 1 | |||||
สมบัติทางกายภาพ | ||||||
วัฏภาค ณ STP | ของแข็ง | |||||
จุดหลอมเหลว | 336.7 K (63.5 °C, 146.3 °F) | |||||
จุดเดือด | 1032 K (759 °C, 1398 °F) | |||||
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) | 0.862 g/cm3 | |||||
เมื่อเป็นของเหลว (ณ m.p.) | 0.828 g/cm3 | |||||
Critical point | 2223 K, 16[2] MPa | |||||
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว | 2.33 kJ/mol | |||||
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ | 76.9 kJ/mol | |||||
ความจุความร้อนโมลาร์ | 29.6 J/(mol·K) | |||||
สมบัติเชิงอะตอม | ||||||
เลขออกซิเดชัน | −1, +1 (ออกไซด์เป็นเบสที่แรง) | |||||
อิเล็กโตรเนกาทิวิตี | Pauling scale: 0.82 | |||||
รัศมีอะตอม | empirical: 227 pm | |||||
รัศมีโคเวเลนต์ | 203±12 pm | |||||
รัศมีวานเดอร์วาลส์ | 275 pm | |||||
เส้นสเปกตรัมของโพแทสเซียม | ||||||
สมบัติอื่น | ||||||
โครงสร้างผลึก | รูปลูกบาศก์กลางตัว | |||||
การขยายตัวจากความร้อน | 83.3 µm/(m⋅K) (ณ 25 °C) | |||||
การนำความร้อน | 102.5 W/(m⋅K) | |||||
สภาพต้านทานไฟฟ้า | 72 n Ω⋅m (ณ 20 °C) | |||||
ความเป็นแม่เหล็ก | พาราแมกเนติก[3] | |||||
มอดุลัสของยัง | 3.53 GPa | |||||
โมดูลัสของแรงเฉือน | 1.3 GPa | |||||
Bulk modulus | 3.1 GPa | |||||
Speed of sound thin rod | 2000 m/s (ณ 20 °C) | |||||
Mohs hardness | 0.4 | |||||
Brinell hardness | 0.363 MPa | |||||
เลขทะเบียน CAS | 7440-09-7 | |||||
ประวัติศาสตร์ | ||||||
การค้นพบ | ฮัมฟรี เดวี (1807) | |||||
การแยกให้บริสุทธิ์เป็นครั้งแรก | ฮัมฟรี เดวี (1807) | |||||
สัญลักษณ์ | "K": from New Latin kalium | |||||
ไอโซโทปของโพแทสเซียม | ||||||
ไม่มีหน้า แม่แบบ:กล่องข้อมูลไอโซโทปของโพแทสเซียม | ||||||
สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาละตินว่า Kalium[4] ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้
โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อน ๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม
สารประกอบสำคัญ
แก้- โพแทสเซียมไนเตรต - ใช้เป็นส่วนผสมในดินปืน
- โพแทสเซียมคลอไรด์ - ใช้ในการประหารนักโทษ โดยเป็นยาเข็มสุดท้ายที่จะฉีด เพื่อหยุดการเต้นของหัวใจ
- โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ - ใช้ทำสบู่
- โพแทสเซียมคาร์บอเนต - ใช้ทำแก้ว สีย้อม และสบู่
- โพแทสเซียมฟอสเฟส - KPO3
- โพแทสเซียมฟลูออไรด์ - KF
- โพแทสเซียมโบรไมด์ - KBr
- โพแทสเซียมไทรฟลูออโรอะซีเตต - CF3COOK
- โพแทสเซียมเมทิลไทรฟลูออโรโบเรต - CH3BF3K
- โพแทสเซียม เฮกซะโบรโมเทลลูเรต(IV) - K2TeBr6
ประโยชน์
แก้- ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยให้การทำงานของหัวใจเต้นเป็นปกติ
- ช่วยลดความดันโลหิต
- ช่วยรักษาภูมิแพ้
- ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใส โดยมีออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง
- ช่วยกำจัดของเสียต่าง ๆ ในร่างกาย
ผลเสียของการรับประทานโพแทสเซียม
แก้ร่างกายอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ หากรับประทานโพแทสเซียมในปริมาณตั้งแต่ 18 กรัมขึ้นไป และโรคจากการขาดโพแทสเซียม ได้แก่อาการบวม และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (ไฮโปไกลซีเมีย) สำหรับศัตรูของธาตุโพแทสเซียม ได้แก่ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ [5][6]
การรับประทานโพแทสเซียม
แก้- โพแทสเซียมในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
- เกลือโพแทสเซียมอินทรีย์ประกอบไปด้วย กลูโคเนต ซิเทรต ฟูเมเรต และเกลือโพแทสเซียมอนินทรีย์ จะประกอบไปด้วย ซัลเฟต คลอไรด์ ออกไซด์ คาร์บอเนต
- คุณสามารถหาซื้อแบบแยกเป็นโพแทสเซียม ซิเทรต กลูโคเนต คลอไรด์ ได้ในขนาดประมาณ 600 mg. ซึ่งจะมีโพแทสเซียมผสมอยู่ประมาณ 100 mg. โดยรูปแบบที่แนะนำคือ ไกลซิเนตโพแทสเซียมซิเทรต
- ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน แต่โดยทั่วไปแล้วขนาดตั้งแต่ 1,600 – 2,000 mg. ต่อวันถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับผู้ใหญ่ผู้ที่สุขภาพแข็งแรง
- สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
- สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
- สำหรับผู้ที่กำลังลดความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
- หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป
คุณสมบัติทางร่างกายของโพแทสเซียม
แก้โพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
- ระดับโพแทสเซียมปกติในเลือด 3.5 – 5.0 mEq/L
- ระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือดน้อยกว่า 3.5 mEq/L จะทำให้ ซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
- ระดับโพแทสเซียมสูงในเลือดมากกว่า 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ระดับโพแทสเซียมในอาหารชนิดต่าง
แก้- อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่าง ๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
- อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน
- อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ควรปรับการประทานอาหารผัก-ผลไม้
โพแทสเซียมและโซเดียม
แก้- ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
- ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
อ้างอิง
แก้- ↑ "Standard Atomic Weights: Potassium". CIAAW. 1979.
- ↑ Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 4.122. ISBN 1439855110.
- ↑ Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.
- ↑ http://www.webelements.com/potassium/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-12. สืบค้นเมื่อ 2015-05-14.
- ↑ http://www.cmed.cmu.ac.th/thai/knowledge-62[ลิงก์เสีย]