เวเบอร์ (หน่วยวัด)
ในทางฟิสิกส์ เวเบอร์[1] (อังกฤษ: weber สัญลักษณ์ Wb) เป็นหน่วยอนุพัทธ์เอสไอของฟลักซ์แม่เหล็ก โดยที่ ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก 1 เวเบอร์ต่อตารางเมตร มีค่าเท่ากับ 1 เทสลา
เวเบอร์ | |
---|---|
ระบบการวัด | หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ |
เป็นหน่วยของ | ฟลักซ์แม่เหล็ก |
สัญลักษณ์ | Wb |
ตั้งชื่อตาม | วิลเฮ็ล์ม เอดูอาร์ท เวเบอร์ |
การแปลงหน่วย | |
1 Wb ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
หน่วยฐานเอสไอ | 1 kg⋅m2⋅s−2⋅A−1 |
หน่วยเวเบอร์ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน วิลเฮ็ล์ม เอดูอาร์ท เวเบอร์
นิยาม
แก้หน่วยเวเบอร์สามารถนิยามขึ้นมาได้จากกฎของฟาราเดย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กผ่านวงล้อมสนามแม่เหล็กรอบ ๆ วงนั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็ก 1 เวเบอร์ต่อวินาที จะทำเหนี่ยวนำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1 โวลต์ (ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ทั้ง 2 ขั้วของวงจร)
“ | เวเบอร์ (หน่วยของฟลักซ์แม่เหล็ก) — เวเบอร์เป็นฟลักซ์แม่เหล็กที่เชื่อมขั้ว ๆ หนึ่งของวงจร ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1 โวลต์ หากแรงเคลื่อนไฟฟ้าลดลงเหลือ 0 ในอัตราสม่ำเสมอใน 1 วินาที[2] | ” |
โดยปกติแล้วหน่วยเวเบอร์สามารถแสดงเป็นหน่วยอื่นแทนได้มากมายดังต่อไปนี้
โดยที่
Wb = เวเบอร์
Ω = โอห์ม
C = คูลอมบ์
V = โวลต์
T = เทสลา
J = จูล
m = เมตร
s = วินาที
A = แอมแปร์
H = เฮนรี
Mx = แมกซ์เวลล์
อ้างอิง
แก้- ↑ "คลังศัพท์ไทย โดยศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สืบค้นคำว่า weber)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
- ↑ "CIPM, 1946: Resolution 2 / Definitions of Electrical Units". International Committee for Weights and Measures (CIPM) Resolutions. International Bureau of Weights and Measures (BIPM). 1946. สืบค้นเมื่อ 2008-04-29.