หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ
หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (อังกฤษ: SI derived Units)[1] คือหน่วยที่เกิดจากการรวมกันของหน่วยฐานเอสไอโดยการคูณหรือหาร เพื่อใช้ในเรื่องการวัดและการแสดงปริมาณต่างๆ ซึ่งหน่วยอนุพันธ์สามารถมีได้มากมายไม่จำกัด เนื่องจากปริมาณต่างๆในโลกนี้ที่คนเราอยากรู้ก็ไม่สามารถจำกัดได้ เพียงแต่เลือกหน่วยพื้นฐานมาประกอบเข้าด้วยกันให้ถูกต้อง
หน่วยประกอบของหน่วยเอสไอ
แก้ก่อนหน้าปีพ.ศ. 2538 ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศเคยจัดหน่วยเรเดียนและสเตอเรเดียน ไว้เป็นหน่วยประกอบของหน่วยเอสไอ (อังกฤษ: Supplementary units) แต่ได้ถูกยกเลิกไปภายหลังและถูกรวมเข้ากับหน่วยอนุพัทธ์เป็นหน่วยที่ไม่มีไดเมนชัน ซึ่งเมื่อลดรูปอย่างต่ำดูแล้วพบว่าไม่มีหน่วยฐานมาเกี่ยวข้อง
หน่วยอนุพันธ์ที่มีชื่อเฉพาะ
แก้หน่วยฐานสามารถรวมกันเป็นหน่วยอนุพัทธ์ได้เพื่อใช้วัดและการแสดงปริมาณอื่นๆ นอกเหนือจากปริมาณฐาน นอกจากหน่วยเรเดียนและสตีเรเดียนแล้ว ยังมีหน่วยอื่นๆ ที่มีชื่อหน่วยเฉพาะซึ่งส่วนมากเกิดจากนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ
ชื่อหน่วย | สัญลักษณ์ | ปริมาณ | การแสดงออกในรูปหน่วยฐาน |
---|---|---|---|
เฮิรตซ์ | Hz | ความถี่ | s−1 |
เรเดียน | rad | มุม | m·m−1 (ไม่มีไดเมนชัน) |
สเตอเรเดียน | sr | มุมตัน | m2·m−2 (ไม่มีไดเมนชัน) |
นิวตัน | N | แรง | kg m s −2 |
จูล | J | พลังงาน | N m = kg m2 s−2 |
วัตต์ | W | กำลัง | J/s = kg m2 s−3 |
ปาสคาล | Pa | ความดัน | N/m2 = kg m −1 s−2 |
ลูเมน | lm | ฟลักซ์ส่องสว่าง | cd sr = cd |
ลักซ์ | lx | ความสว่าง | cd sr m−2 |
คูลอมบ์ | C | ประจุไฟฟ้า | A s |
โวลต์ | V | ความต่างศักย์ | J/C = kg m2 A−1 s−3 |
โอห์ม | Ω | ความต้านทานไฟฟ้า | V/A = kg m2 A−2 s−3 |
ฟารัด | F | ความจุไฟฟ้า | Ω−1 s = A2 s4 kg−1 m−2 |
เวเบอร์ | Wb | ฟลักซ์แม่เหล็ก | kg m2 s−2 A−1 |
เทสลา | T | ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก | Wb/m2 = kg s−2 A−1 |
เฮนรี | H | ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า | Ω s = kg m2 A−2 s−2 |
ซีเมนส์ | S | ความนำ | Ω−1 = kg−1 m−2 A2 s3 |
เบ็กแรล | Bq | กันมันตภาพรังสี | s−1 |
เกรย์ | Gy | ขนาดกำหนดของการดูดกลืนรังสี | J/kg = m2 s−2 |
ซีเวิร์ต | Sv | ขนาดกำหนดของกัมมันตภาพรังสี | J/kg = m2 s−2 |
องศาเซลเซียส | °C | อุณหภูมิอุณหพลวัต | K − 273.15 |
คาทัล | kat | อำนาจการเร่งปฏิกิริยา | mol/s = s−1·mol |
สำหรับหน่วยอื่นๆ เช่นลิตร ไม่ใช่หน่วยเอสไอโดยตรง แต่เป็นหน่วยที่ยอมรับให้ใช้กับระบบเอสไอ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ไผ่ ทิมาศาสตร์ (12 Jun 2017). "การวัดและหน่วยวัด". คลังความรู้ SciMath. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 1 Jun 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)