เลาทรวาไชนมนเทียร

เลทรวาไชนมนเทียร (ฮินดี: लौद्रवा जैन मंदिर) เป็นไชนมนเทียรในหมู่บ้านเลาทรวา อำเภอไชสัลเมร์ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย เป็นมนเทียรในนิกายศเวตามพรของศาสนาไชนะ[1]

เลาทรวาไชนมนเทียร
ต้นกัลปวฤกษ์ในเลาทรวาไชนมนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาเชน
นิกายเศวตามพร
เทพพระปารศวนาถ
เทศกาลมหาวีรชยันตี
หน่วยงานกำกับดูแลทรัสต์ศรีไชสัลเมร์เลาทรวาปุรปารศวนาถไชนศเวตามพร
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเลาทรวา อำเภอไชสัลเมร์ รัฐราชสถาน
เลาทรวาไชนมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
เลาทรวาไชนมนเทียร
ที่ตั้งในรัฐราชสถาน
พิกัดภูมิศาสตร์26°59′7.3″N 70°48′9.5″E / 26.985361°N 70.802639°E / 26.985361; 70.802639
สถาปัตยกรรม
รูปแบบมารุ-คุรชร
เริ่มก่อตั้งศตวรรษที่ 9
วัด2

เลาทรวาสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีโดยราวัล เทวราช (Rawal Deoraj) แห่งเผ่าภติ ในศตวรรษที่ 8-9[2][3][4][5] โดยนมนเทียรนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 9 พร้อม ๆ กับเมือง ก่อนที่ราวัล ไชสัล จะย้ายราชธานีไปไชสัลเมร์ในปี 1156[6][7][8] หลังจากนั้นมา มนเทียรถูกทำลายและปล้นโดยมะห์มุดแห่งกัซนี และ มุฮัมมัดแห่งโกร์ และถูกทำลายในปี 1152 ต่อมาจึงได้รับการบูรณะในปี 1615[9] กลายเป็นสิ่งปลูกสร้างเดียวจากอดีตราชธานีเลาทรวาที่ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน[10][11]

มนเทียรสร้างขึ้นด้วยหินทรายและหินปูนสีเหลือง[12] ประดับอย่างสวยงามวิจิตร มีโตรณะ, ประติมากรรมรูปกัลปวฤกษะ และ กัลปุตระ[13][14][15] เลาทวราไชนมนเทียรได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมไชนะของรัฐราชสถาน[16][17]

ตามตำนานเล่าว่าทุก ๆ เย็นจะมีงูออกมาจากหลุมในมนเทียรเพื่อออกมาดื่มนมที่ศาสนิกชนถวายบูชาไว้ ตามความเชื่อว่ากันว่าผู้ใดมองเห็นงูในมนเทียร ถือว่าได้รับพร[14]

อ้างอิง

แก้

บรรณานุกรม

แก้

หนังสือ

แก้

อินเทอร์เน็ต

แก้