เรือดำน้ำในอาเซียน

เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศของบรรดาสมาชิกอาเซียน มีภูมิศาสตร์ติดกับทะเลและเป็นหมู่เกาะ อีกทั้งเมื่อนับความยาวของชายฝั่งและทะเลแล้ว ยังมีความยาวมากที่สุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งทรัพยากรธรรมทั้งน้ำมัน แหล่งอาหาร รวมถึงมีแหลมสุมาตราและช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ของ การขนส่งสินค้า และการเดินทางโดยเรือ ซึ่งในภูมิภาคมีประวัติความขัดแย้งทางทะเลจากการคุกคามของประเทศจีนที่มีต่อประเทศที่ติดกับทะเลจีนใต้

ประเภทของเครื่องยนต์ที่ใช้ในเรือดำน้ำ

แก้

การพัฒนาความเงียบของเรือดำน้ำ

แก้

กล่าวถึงการพัฒนาความเงียบของเรือดำน้ำโซเวียต เรือดำน้ำของโซเวียตมีความเงียบมากขึ้น การพัฒนาความเงียบของของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าของโซเวียตทำใหมันมีความเงียบมาก จนได้รับฉายาว่า หลุมดำแห่งห้วงมหาสมุทร

ปฏิบัติการเรือดำน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แก้

กรณีพิพาทอินโดจีน

แก้

หลังจากที่เรือดำน้ำได้แสดงถึงความสามารถในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยก็ได้เห็นถึงความสำคัญของเรือดำน้ำจึงได้สั้งต่อเรือดำน้ำจากญี่ปุ่นจำนวน 4 ลำ ซึ่งเรือดำน้ำไทยก็ทำให้เรือรบฝรั่งเศสไม่กล้าบุกไทยจนสงครามสิ้นสุดลง

สงครามมหาเอเชียบูรพา

แก้

ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ประเทศไทยประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทัพเรือจึงจัดเรือหลวงสมุยเดินทางฝ่าอันตราย เพื่อลำเลียงน้ำมันเชื้อเพลิงจากสิงคโปร์มายังประเทศไทยหลายครั้ง จนกระทั่งในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างการลำเลียงน้ำมันเป็นเที่ยวที่ 18 เรือหลวงสมุย ภายใต้การนำของ นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล ได้ถูกเรือดำน้ำพันธมิตรโจมตีจมลง บริเวณนอกฝั่งรัฐตรังกานู ทำให้มีผู้เสียชีวิต 31 นาย นอกจากนี้ กองทัพเรือยังสูญเสียกำลังพลจากการต่อสู้ป้องกันการโจมตีทางอากาศของเครื่องบินพันธมิตรในหลายพื้นที่ระหว่างสงครามเดียวกันอีก 7 นาย

พิพาทหมู่เกาะสแปรตลีย์

แก้

ในอดีตได้เกิดการรบในปี 1988 เมื่อกองทัพเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนาม เกิดปะทะกันขึ้นบริเวณแนวปะการังจอห์นสันของหมู่เกาะสแปรตลีย์ ส่งผลให้เรือของเวียดนามจมไปหลายลำและลูกเรือกว่า 70 คนเสียชีวิต (จึงทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ยึดเพิ่มอีก 6 เกาะ) และในเดือนกุมภาพันธ์ 1995 จีนจัดตั้งกองกำลังบนแนวปะการังมิสชีฟ กลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองกับฟิลิปปินส์ซึ่งประท้วงการกระทำของจีนและจับชาวประมงจีนไป 62 คน

ในปัจจุบันข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ระหว่างจีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย บรูไนและไต้หวัน จึงทำให้หลายประเทศในอาเซียนจำเป็นต้องจัดหาเรือดำน้ำโดยเร็วเพื่อใช้ในการปกป้องเกาะที่ยึดไว้อยู่ ซึ่งแบ่งได้เป็นจีน 9 เกาะ, ไต้หวัน 1 เกาะ, เวียดนาม 29 เกาะ, ฟิลิปปินส์ 11 เกาะ, มาเลเซีย 3 เกาะ ส่วนบรูไนอ้างสิทธิอย่างเดียว ไม่ได้ยึดเกาะ ซึ่งจีน ไต้หวัน และ เวียดนาม อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ทั้งหมด ส่วนมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปร็ตลีย์เพียงบางส่วน

พิพาทหมู่เกาะพาราเซล

แก้

ในอดีตได้เกิดการรบในปี 1974 โดยในการรบที่หมู่เกาะพาราเซลระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐเวียดนาม ทางกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ส่งเรือคอร์เวต 4 ลำ กับเรือดำน้ำ 2 ลำ ต่อสู้กับเรือฟริเกต 3 ลำ กับ เรือคอร์เวต 1 ลำของกองทัพเรือเวียดนามใต้ และได้รับชัยชนะในการรบ จึงทำให้งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ปกครองหมู่เกาะพาราเซลตั้งแต่นั้นจนปัจจุบัน

ในปัจจุบันชาวเวียดนามได้มีการประท้วงจีนที่ได้ยึดหมู่เกาะพาราเซล (หลังเวียดนามใต้ได้รบแพ้จีนในการรบที่หมู่เกาะพาราเซลในปี พ.ศ. 2517) ซึ่งเวียดนามได้อ้างสิทธิ เวียดนามจึงได้ซื้ออาวุธเป็นจำนวนมาก ทั้งซื้อเรือรบ ซื้อจรวจต่อต้านเรือรบผิวน้ำและใต้น้ำและซื้อเรือดำน้ำจากรัสเซีย เพิ่มปกป้องผลประโยชน์ทางทะเล

พิพาทเกาะปะการังสการ์โบโรห์

แก้

ฟิลิปปินส์มีแผนที่จะซื้อเรือดำน้ำ เพื่อปกป้องตนเองจากการถูกคุกคามจากเรือรบจีนที่มาตรงเกาะปะการังสการ์โบโรห์ ซึ่งอยู่ไกล้ฟิลิปปินส์มาก โดยเกาะปะการังสการ์โบโรห์ ได้ถูกจีนยึดไว้แล้ว จึงทำให้ฟิลิปปินส์ต้องเสริมสร้างแสนยานุภาพกองทัพโดยเร็วเนื่องจากกองทัพฟิลิปปินส์มีแต่อาวุธเก่า ๆ

ช่องแคบมะละกา

แก้

มาเลเซียได้ใช้เรือดำน้ำ เพื่อควบคุมช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทะเลที่สำคัญของโลก ซึ่งเรือสินค้าโดยเฉพาะเรือบรรทุกน้ำมันใช้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งทางทะเลระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนสิงคโปร์ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างช่องแคบมะละกา ที่ถือเป็นจุดเดินเรือสินค้านานาชาติ และยังถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโลก จึงต้องมีเรือรบที่ทรงประสิทธิภาพเข้ามาประจำการเพื่อดูแลอธิปไตยเหนือน่านน้ำ สิงคโปร์มีความจำเป็นที่ต้องมีเรือดำน้ำ

การพัฒนาหน่วยเรือดำน้ำของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

แก้
 
เรือหลวงมัจฉาณุ เป็นเรือดำน้ำของไทยในอดีต
  •   ไทยเคยมีเรือดำน้ำซึ่งเป็นชาติที่ 2 ในเอเชียแต่เป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการได้แก่ ร.ล.มัจฉาณุ, ร.ล.วิรุณ, ร.ล.สินสมุทร และร.ล.พลายชุมพล โดยทั้ง 4 ลำได้ปฏิบัติการในอ่าวไทยหลายครั้งตั้งแต่สงครามอินโดจีนทั้งการรับและส่งสายลับพลพรรคขบวนการเสรีไทย และการโจมตีเรือของฝ่ายอักษะด้วยตอร์ปิโดซึ่งได้ปลดประจำการแล้วทุกลำในปี พ.ศ. 2494 เนื่องด้วยอายุการใช้งาน ความปลอดภัยและเทคโนโลยีการดำน้ำ ปัจจุบันแม้จะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับช่องแคบมะละกา แต่ช่องแคบนี้ก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากพอ ๆ กับ 3 ประเทศที่กล่าวถึง อ่าวไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของการเดินเรือเข้า–ออก เรือดำน้ำจะสามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ การค้นหาเรือดำน้ำในเขตน้ำตื้นเป็นสิ่งที่ยากเย็นพอสมควร โดยเฉพาะกับเรือเครื่องยนตร์ดีเซล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งชั้นความเค็มและชั้นความร้อนหรืออุณหภูมิที่มีผลต่อการเดินทางของเสียง ราชนาวีไทยเคยมีโครงการที่จะจัดหาเรือดำน้ำโดยได้รับข้อเสนอที่น่าสนใจจากหลายๆประเทศทั้งเยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศสและรัสเซีย แต่โครงการนี้ไม่เคยประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดด้วยปัญหาต่างๆทั้งด้านงบประมาณและปัญหาทางการเมือง แต่ในปี 2013 กองทัพเรือไทยกำลังก่อสร้างอาคารกองเรือดำน้ำและศูนย์ฝึกเรือดำน้ำ ซึ่งจะมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคม 2014 ประกอบด้วยศูนย์ฝึกเรือดำน้ำราคา 540 ล้านบาท เครื่องจำลองการฝึกเรือดำน้ำกับค่าการฝึกต่าง ๆ มูลค่า 200 ล้านบาท สำหรับการเตรียมความรู้ให้กับกำลังพลเพื่อรองรับการมีเรือดำน้ำ และกองทัพเรือมีแผนจะจัดซื้อเรือดำน้ำอย่างน้อย 3 ลำในแผนพัฒนากองทัพ 10 ปี[1] แต่ในปี 2014 กองทัพเรือไทยได้เปิดเผยแผนการใหม่ที่จะจัดซื้อเรือดำน้ำใหม่จำนวน 1 ลำ แทนการซื้อเรือลำน้ำที่ใช้แล้วหลายลำตามแผนการก่อนหน้านี้ ซึ่งเปลี่ยนไปจากแผนการเดิมที่เคยพยายามซื้อเรือขนาดเล็กที่ปลดระวางแล้วจากเยอรมนี แต่แผนการถูกล้มเลิกไปในต้นปี 2553 ส่วนลำใหม่จะเป็นเรือที่ต่อในเยอรมนีหรือในเกาหลี ซึ่งแผนการจัดซื้อของราชนาวีอยู่ใน "ชอปปิ้งลิสต์" ประจำปี 2557 ของกองทัพไทย[2]
  •   สิงคโปร์เป็นชาติที่สองในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ ซึ่งแม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่สิงคโปร์ก็ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลก คือช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นทางผ่านที่สำคัญของการเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดีย ไปสู่ มหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพเรือสิงคโปร์มีการพัฒนาที่ก้าวหน้า ไกลกว่าชาติอื่นๆในภูมิภาคนี้ กองทัพเรือสิงคโปร์เริ่มโครงการเรือดำน้ำมือสองจากสวีเดน ชั้นซยอร์แมน จำนวน 4 ลำ เรือทั้ง 4 ลำ เข้ารับการซ่อมใหญ่และปรับปรุงเพื่อให้สามารถปฏิบัติการในเขตร้อนได้ และมีเรือดำน้ำมือสองชั้นอาเชอร์ จากสวีเดน จำนวน 2 ลำ ที่ติดตั้งระบบ AIP ซึ่งล่าสุดก็ได้สั้งซื้อเรือดำน้ำชั้นอินวินซิเบิล (รุ่น Type 218SG) จากเยอรมนี จำนวน 2 ลำ โดยจะได้รับมอบในปี 2020[3]
  •   อินโดนีเซียเป็นชาติที่สามในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่นับพันเกาะ ในทศวรรษที่ 1960 กองทัพมีเรือดำน้ำจากสหภาพโซเวียตหลายประเภททั้งเรือลาดตระเวน เรือพิฆาตรวมทั้งเรือดำน้ำชั้นวิสกี ในทศวรรศที่ 1980 กองทัพเรืออินโดนีเซียสั่งต่อเรือดำน้ำชั้น 209 จาก อดีตเยอรมันตะวันตกจำนวน 2 ลำ และได้ลงนามจัดซื้อและต่อเองในประเทศเรือดำน้ำชั้น 209 มือสอง รุ่นปรับปรุง ในชื่อ U-209 1400 mod จากกองทัพเรือเกาหลีใต้ 3 ลำ และได้วางแผนที่จะต่อเรือดำน้ำเองอีก 9 ลำภายใต้ลิขสิทธิ์ U-209 1400 mod ของเกาหลีใต้[4]
  •   มาเลเซียเป็นชาติที่สี่ในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยเป็นอีกประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของช่องแคบมะละกาทางชายฝั่งตะวันตก และเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อ้างการมีผลประโยชน์ในหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งอยู่ห่างจากรัฐซาบะฮ์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 300 ไมล์ โดยรวมแล้วเมื่อพิจารณาจากการมีชายฝั่งทะเลยาวเหยียด นับตั้งแต่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดสตูลของไทย เรื่อยมาจนถึงสิงคโปร์ แล้ววกกลับขึ้นไปทางเหนือจนถึงชายแดนส่วนที่ติดกับจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งชายฝั่งของรัฐซาราวัค จนถึงหมู่เกาะสแปรทลีย์ สั่งต่อเรือดำน้ำชั้นสคอเปเน จำนวน 2 ลำโครงการ ซึ่งลำแรกจะต่อที่อู่ ดีซีเอ็น ในประเทศฝรั่งเศส และลำที่สองจะต่อที่อู่เรือของไอซาร์ในประเทศสเปน
  •   เวียดนามเป็นชาติที่ห้าในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ เหตุผลที่เวียดนามต้องการเรือดำน้ำเนื่องจากประเทศนี้มีข้อพิพาทกับหลายประเทศทางทะเลเวียดนาม ซึ่งจัดหาเรือดำน้ำมือหนึ่งชั้นกิโล จากรัสเซีย จำนวน 6 ลำ ซึ่งจะมีกำหนดส่งมอบเรือครบทั้ง 6 ลำ ภายในปี ค.ศ. 2016 โดยได้รับเข้าประจำการลำแรกในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2014[5] ลำที่ 2 ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2014 ลำที่ 3 ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014[6]
  •   พม่าเป็นชาติที่หกในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยจะได้เรือดำน้ำมือสองชั้นกิโล จากอินเดีย จำนวน 1 ลำ มาใช้เป็นเรือฝึก[7]
  •   กัมพูชากำลังจะได้เรือดำน้ำมือสองจากจีนไม่ทราบจำนวน
  •   ฟิลิปปินส์ต้องการจัดหาเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า เพื่อเข้าประจำการจำนวน 3 ลำ[8]
ทำเนียบเรือดำน้ำในประเทศอาเซียน[ต้องการอ้างอิง]
ประเทศ ประจำการ ปลดประจำการ กำลังต่อ วางแผน อ้างอิง
  ไทย 0 (+2) 4 1 3
  สิงคโปร์ 4 2 2 2
  อินโดนีเซีย 5 0 3 6
  มาเลเซีย 2 0 0 6 [9]
  เวียดนาม 6 0 0 0
  พม่า 2 (+1) 0 0 2
  กัมพูชา 0 (+1) 0 0 0
  ฟิลิปปินส์ 0 0 0 3 [10]

รูปภาพเรือดำน้ำในปัจจุบันของอาเซียน

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. [1]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-09. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-18. สืบค้นเมื่อ 2014-02-26.
  4. [2][ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-09. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  6. [3][ลิงก์เสีย]
  7. [4]
  8. [5]
  9. [6]
  10. [7]