ยุคเรวะ
ยุคเรวะ (ญี่ปุ่น: 令和時代; โรมาจิ: Reiwa jidai)[1] เป็นยุคปัจจุบันของปฏิทินทางการของญี่ปุ่น โดยรัชศกเรวะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019[2] ซึ่งเริ่มนับจากวันที่สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ พระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 126 ในวันหลังสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดของยุคเฮเซ[3] โดยนามรัชศกเรวะได้มีการประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2019 โดย โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เป็นผู้ประกาศนามรัชศกในครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศรัชสมัยใหม่ เรวะ เพื่อต้อนรับรัชสมัยของสมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่ โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการสิ้นสุดของยุครัชสมัย เฮเซ ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปีอีกด้วย[4]
เรวะ | |||
---|---|---|---|
1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 – ปัจจุบัน | |||
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ (ค.ศ. 2023) | |||
สถานที่ | ญี่ปุ่น | ||
เมืองหลวง | โตเกียว | ||
พระมหากษัตริย์ | สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ | ||
นายกรัฐมนตรี | |||
เหตุการณ์สำคัญ |
| ||
|
โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้อธิบายถึงชื่อของรัชสมัยใหม่ โดยคำว่า “เร” หมายถึง ความรุ่งเรืองหรือคำสั่ง ส่วนคำว่า “วะ” หมายถึง สันติภาพหรือความสามัคคี[5]
นอกจากนี้การตั้งชื่อรัชสมัยยังเป็นครั้งแรกที่นำตัวอักษรจากกวีโบราณของญี่ปุ่น มารวมกับอักษรคันจิยุคจีนโบราณ โดยในการตั้งชื่อรัชสมัยในครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ถึง 9 คน[6] ค้นหาชื่อที่เหมาะสม นอกจากนี้ถ้าหากมีชื่อรัชสมัยใดเล็ดลอดออกมาก็จะยกเลิกชื่อนั้นและหาชื่อใหม่ ก่อนที่จะประกาศอย่างเป็นทางการ โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่ารัชสมัยใหม่จะใช้คำว่า “อังคิว” ที่แปลว่า สันติสุขและความยั่งยืน[7]
ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงการตั้งชื่อรัชสมัยใหม่ว่า “เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งของชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะพบกับจุดเปลี่ยนของประเทศครั้งใหญ่ (สื่อถึงความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง) แต่คุณค่าและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจะไม่จางหายไปไหน” ซึ่งประเพณีการตั้งชื่อรัชสมัยนี้ยังมีมานานถึง 1,300 ปีอีกด้วย[8]
เปลี่ยนปีรัชศก
แก้- 1 เมษายน ค.ศ. 2019 : ได้มีการประกาศนามรัชศกใหม่คือ เรวะ อย่างเป็นทางการเพื่อแสดงว่าปีรัชศก เฮเซ กำลังจะสิ้นสุดลงโดยได้มีการบังคับใช้ปีรัชศกเรวะอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
เหตุการณ์ในปีเรวะ
แก้- 30 เมษายน ค.ศ. 2019: ในปีที่ 30 รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระองค์ได้ประกอบพิธีสละราชบัลลังก์ให้กับ เจ้าชายนารูฮิโตะ พระราชโอรสองค์ใหญ่ที่มกุฎราชกุมาร
- 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019: เจ้าชายนารูฮิโตะได้ประกอบพิธีขึ้นทรงราชย์ที่ พระราชวังอิมพีเรียล พร้อมกับการประกาศใช้รัชศกเรวะ
- 22 ตุลาคม ค.ศ. 2019: สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก ณ พระราชวังหลวงโตเกียว
- 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019: ชินโซ อาเบะ กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่นและทำลายสถิติ 2,883 วันของอดีตนายกรัฐมนตรี คัตสึระ ทาโร ในยุคจักรพรรดิเมจิ - จักรพรรดิไทโช[9] เขาลาออกด้วยเหตุผลด้านสุขภาพในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 และรับตำแหน่งแทนโดยโยชิฮิเดะ ซูงะ อดีตหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี[10]
- มีนาคม ค.ศ. 2020: ญี่ปุ่นเริ่มประสบกับ การระบาดใหญ่ของโควิด-19 เนื่องจากหลายประเทศรายงานว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020: สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ สถาปนา เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ พระราชอนุชาขึ้นเป็น โคชิ หรือมกุฎราชกุมาร
- 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 (ปีเรวะที่ 4): อดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ถูกลอบสังหารโดย เท็ตสึยะ ยามางามิ ในเมือง นารา
ตารางเทียบศักราช
แก้เรวะ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | 2023 | 2024 | 2025 | 2026 | 2027 | 2028 |
พ.ศ. | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 | 2567 | 2568 | 2569 | 2570 | 2571 |
เรวะ | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
ค.ศ. | 2029 | 2030 | 2031 | 2032 | 2033 | 2034 | 2035 | 2036 | 2037 | 2038 |
พ.ศ. | 2572 | 2573 | 2574 | 2575 | 2576 | 2577 | 2578 | 2579 | 2580 | 2581 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "新元号「令和(れいわ)」 出典は万葉集" (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ McCurry, Justin (2019-04-01). "Reiwa: Japan prepares to enter new era of 'fortunate harmony'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ "New Japanese imperial era Reiwa takes name from ancient poetry". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-01.
- ↑ "สำคัญไฉนรัชสมัยจักรพรรดิญี่ปุ่น". สยามรัฐ. 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ "ญี่ปุ่นประกาศชื่อรัชศก 'เรวะ' เริ่มรัชสมัยใหม่เดือนหน้า". ไทยโพสต์. 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ "'Reiwa' รัชศกใหม่แทนปีเฮเซของญี่ปุ่น". โพสต์ทูเดย์. 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ "ญี่ปุ่นประกาศชื่อรัชสมัย เรวะ รับพระจักรพรรดิองค์ใหม่". ข่าวสด. 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ "ญี่ปุ่นประกาศยุครัชสมัยใหม่ "เรวะ" รับสมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่". BrandInside. 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ Harding, Robin (20 November 2019). "Shinzo Abe becomes Japan's longest-serving prime minister". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 20 November 2019.
- ↑ "Yoshihide Suga officially named as Japan's new Prime Minister, replacing Shinzo Abe".
ก่อนหน้า | ยุคเรวะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เฮเซ | ศักราชของญี่ปุ่น (1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 – ปัจจุบัน) |
— |