เนื้อเยื่อบุผิว
เนื้อเยื่อบุผิว (อังกฤษ: Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก
เนื้อเยื่อบุผิว | |
---|---|
ประเภทของเยื่อบุผิว | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D004848 |
TH | H2.00.02.0.00002 |
FMA | 9639 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์ |
ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน[1][2]: 3 เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้
การแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อบุผิว
แก้การแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อบุผิวอาศัยหลัก 3 ประการ
- รูปร่างลักษณะของเซลล์
- จำนวนชั้นของเซลล์
- การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นบนสุด
รูปร่างลักษณะของเซลล์
แก้- สความัส (Squamous) เซลล์มีรูปร่างแบน ถ้าเซลล์เรียงตัวชั้นเดียวเรียกว่า ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) พบที่ถุงลมในปอด เซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแพร่ผ่านของสาร นอกจากนั้นยังพบเซลล์แบบสความัสนี้ในไต และช่องว่างส่วนใหญ่ในลำตัว เซลล์เหล่านี้ไม่ค่อยมีกระบวนการเมตาบอลิซึมมากนัก ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ของน้ำ สารละลาย และสารอื่นๆ
- คิวบอยดัล (Cuboidal) เซลล์มีลักษณะเหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์ ความสูงเท่าๆ กับความกว้าง นิวเคลียสมักอยู่บริเวณกลางเซลล์
- คอลัมนาร์ (Columnar) เซลล์มีความสูงมากกว่าความกว้าง เซลล์ที่เรียงตัวชั้นเดียวเรียกว่า ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) นิวเคลียสมักอยู่ใกล้กับฐานเซลล์ พบบุผิวที่ลำไส้เล็ก และพบเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมหลั่งสารเรียกว่า เซลล์กอบเลท (Goblet cell) อยู่กระจายทั่วไปในชั้นของเนื้อเยื่อนี้เพื่อทำหน้าที่หลั่งเมือก ด้านบนของเซลล์อาจพบส่วนที่ยื่นออกมาคล้ายเส้นขนขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครวิลไล (Microvilli) ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มพื้นที่การดูดซึม
- เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) เป็นเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวลักษณะพิเศษพบบุในอวัยวะที่สามารถยืดหดได้ เช่น ยูโรทีเลียม (Urothelium) ที่บุอยู่ในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ดังกล่าวสามารถเลื่อนไถลซึ่งกันและกันได้ขึ้นกับว่าอวัยวะนั้นกำลังยืดหรือหด ถ้ามีการยืดจะทำให้เห็นเนื้อเยื่อผิวบริเวณนั้นบางลง ในทางกลับกันถ้าเกิดการหดจะเห็นเนื้อเยื่อนี้หนาขึ้น
จำนวนชั้นของเซลล์
แก้- เดี่ยว หรือ ซิมเปิล (Simple) ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวชั้นเดียว
- เป็นชั้นๆ หรือ สแตรทิฟายด์ (Stratified) ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวหลายชั้น มีเซลล์ชั้นล่างสุดชั้นเดียวที่ติดอยู่กับเบซัล ลามินา (basal lamina) การจำแนกประเภทให้อาศัยสังเกตรูปร่างลักษณะเซลล์ที่อยู่ด้านบน เนื้อเยื่อนี้สามารถทนต่อแรงดึงหรือกดได้มากกว่า
- เป็นชั้นๆ เทียม หรือ ซูโดสแตรทิฟายด์ และซีเลีย (Pseudostratified with cilia) มักเป็น ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (pseudostratified columnar epithelium) ลักษณะเซลล์เรียงตัวเป็นชั้นเดียว แต่ตำแหน่งของนิวเคลียสซ้อนกันจนมองดูเหมือนกับว่าเซลล์มีหลายชั้น การระบุชนิดเซลล์นี้สามารถสังเกตได้ว่ามีซีเลีย (เซลล์ที่เป็นซูโดสแตรทิฟายด์อาจจะมีซีเลีย แต่เซลล์ที่เป็นสแตรทิฟายด์จะไม่มีซีเลีย) เซลล์ที่มีขนจะแข็งแรงกว่าเซลล์ปกติประมาณ 10 เท่า
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นบนสุด
แก้- คีราตินไนซด์ (Keratinized) เซลล์จะมีคีราติน (โปรตีนโครงเซลล์ (cytoskeleton)) เซลล์เนื้อเยื่อบุผิวที่เกิดคีราตินไนซด์พบที่ผิวหนัง ปาก และจมูก ช่วยให้ผิวหนังเหนียว สาก และทำให้สารแพร่ผ่านเข้าไม่ได้
- ซีเลียเอต (Ciliated) เยื่อหุ้มเซลล์ที่ด้านบนของเซลล์จะมีส่วนยื่นประกอบด้วยไมโครทิวบูล (microtubule) ที่สามารถเคลื่อนพัดโบกเป็นจังหวะเพื่อพัดพาเมือกและสารอื่นๆ ในท่อ มักจะพบซีเลียได้ในระบบหายใจและเซลล์บุผิวท่อนำไข่ (oviduct)
ตัวอย่างเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว
แก้ระบบ | เนื้อเยื่อ | เนื้อเยื่อบุผิว | ประเภท |
ไหลเวียน | หลอดเลือด (blood vessels) | ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) | เนื้อเยื่อบุโพรง |
ย่อยอาหาร | ท่อของต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (ducts of submandibular glands) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) | - |
ย่อยอาหาร | เหงือก (attached gingiva) | สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinized) | - |
ย่อยอาหาร | ด้านบนของลิ้น (dorsum of tongue) | สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinized) | - |
ย่อยอาหาร | เพดานแข็ง (hard palate) | สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinized) | - |
ย่อยอาหาร | หลอดอาหาร (esophagus) | สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) | - |
ย่อยอาหาร | กระเพาะอาหาร (stomach) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) | - |
ย่อยอาหาร | ลำไส้เล็ก (small intestine) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) | - |
ย่อยอาหาร | ลำไส้ใหญ่ (large intestine) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) | - |
ย่อยอาหาร | ไส้ตรง (rectum) | สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) | - |
ย่อยอาหาร | ทวารหนัก (anus) | สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinised) | - |
ย่อยอาหาร | ถุงน้ำดี (gallbladder) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) | - |
ต่อมไร้ท่อ | ฟอลลิเคิล (ถุงน้อย) ของต่อมไทรอยด์ (thyroid follicles) | ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) | - |
ประสาท | อีเพนดีมา (ependyma) | ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) | - |
น้ำเหลือง | ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) | ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) | เนื้อเยื่อบุโพรง |
ปกคลุมร่างกาย | ผิวหนัง - เซลล์ชั้นบนสุดที่ตายแล้ว (skin - dead superficial layer) | สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinised) | - |
ปกคลุมร่างกาย | ท่อต่อมเหงื่อ (sweat gland ducts) | สแตรทิฟายด์ คิวบอยดัล (Stratified cuboidal) | - |
ปกคลุมร่างกาย | มีโซทีเลียม (เนื้อเยื่อบุช่องว่างในลำตัว) (mesothelium of body cavities) | ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) | - |
สืบพันธุ์เพศหญิง | รังไข่ (ovaries) | ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) | เนื้อเยื่อบุผิวในระบบสืบพันธุ์ (เพศหญิง) (germinal epithelium (female)) |
สืบพันธุ์เพศหญิง | ท่อนำไข่ (Fallopian tubes]) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Simple columnar, ciliated) | - |
สืบพันธุ์เพศหญิง | มดลูก (uterus) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Simple columnar, ciliated) | - |
สืบพันธุ์เพศหญิง | เยื่อบุมดลูก (endometrium) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) | - |
สืบพันธุ์เพศหญิง | คอมดลูก (ด้านใน) (cervix (endocervix)) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) | - |
สืบพันธุ์เพศหญิง | คอมดลูก (ด้านนอก) (cervix (ectocervix)) | สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) | - |
สืบพันธุ์เพศหญิง | ช่องคลอด (vagina | สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) | - |
สืบพันธุ์เพศหญิง | แคมใหญ่ (labia majora) | สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinised) | - |
สืบพันธุ์เพศชาย | ทิวบูไล เรกไท (tubuli recti) | ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) | เนื้อเยื่อบุผิวในระบบสืบพันธุ์ (เพศชาย) (germinal epithelium (male)) |
สืบพันธุ์เพศชาย | เรเต เทสทิส (rete testis) | ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) | - |
สืบพันธุ์เพศชาย | ดักทิวไล เอฟเฟอเรนทส์ (ductuli efferentes) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (Pseudostratified columnar) | - |
สืบพันธุ์เพศชาย | เอพิดิไดมิส (epididymis) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ และสเตอริโอซีเลีย (Pseudostratified columnar, with stereocilia) | - |
สืบพันธุ์เพศชาย | หลอดนำอสุจิ (vas deferens) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (Pseudostratified columnar) | - |
สืบพันธุ์เพศชาย | ท่อฉีดอสุจิ (ejaculatory duct) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) | - |
สืบพันธุ์เพศชาย (ต่อม) | ต่อมคาวเปอร์ หรือ ต่อมบัลโบยูรีทรัล (Cowper's or bulbourethral glands) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) | - |
สืบพันธุ์เพศชาย (ต่อม) | ถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicle) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (Pseudostratified columnar) | - |
ทางเดินหายใจ | คอหอยส่วนปาก (oropharynx) | สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) | - |
ทางเดินหายใจ | กล่องเสียง (larynx) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Pseudostratified columnar, ciliated) | เนื้อเยื่อบุผิวในระบบทางเดินหายใจ (respiratory epithelium) |
ทางเดินหายใจ | ท่อลม (trachea) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Pseudostratified columnar, ciliated) | เนื้อเยื่อบุผิวในระบบทางเดินหายใจ (respiratory epithelium) |
ทางเดินหายใจ | หลอดลมฝอย (respiratory bronchioles) | ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) | - |
รับสัมผัส | กระจกตา (cornea) | สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) | เนื้อเยื่อบุผิวส่วนกระจกตา (corneal epithelium) |
รับสัมผัส | จมูก (nose) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (Pseudostratified columnar) | olfactory epithelium |
ขับถ่าย | ไต - ท่อไตส่วนต้น (proximal convoluted tubule) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Simple columnar, ciliated) | - |
ขับถ่าย | ไต - ท่อส่วนบางที่ไหลขึ้นของห่วงเฮนเล (ascending thin limb) | ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) | - |
ขับถ่าย | ไต - ท่อไตส่วนปลาย (distal convoluted tubule) | ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) | - |
ขับถ่าย | ไต - ท่อรวม (collecting duct) | ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) | - |
ขับถ่าย | กรวยไต (renal pelvis) | เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) | ยูโรทีเลียม (urothelium) |
ขับถ่าย | ท่อไต (ureter) | เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) | ยูโรทีเลียม (urothelium) |
ขับถ่าย | กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) | เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) | ยูโรทีเลียม (urothelium) |
ขับถ่าย | ท่อปัสสาวะที่ผ่านต่อมลูกหมาก (prostatic urethra) | เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) | ยูโรทีเลียม (urothelium) |
ขับถ่าย | ท่อปัสสาวะหลังต่อมลูกหมาก (membranous urethra) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Pseudostratified columnar, non-ciliated) | - |
ขับถ่าย | ท่อปัสสาวะที่ผ่านองคชาต (penile urethra) | ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Pseudostratified columnar, non-ciliated) | - |
ขับถ่าย | ช่องเปิดภายนอกของท่อปัสสาวะ (external urethral orifice) | สแตรทิฟายด์ สความัส (Stratified squamous) | - |
บริเวณเชื่อมติดกันของเซลล์ (Cell junction)
แก้บริเวณเชื่อมติดกันของเซลล์ (Cell Junction) เป็นโครงสร้างภายในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ มักพบมากในบริเวณเนื้อเยื่อบุผิว ประกอบด้วยโปรตีนที่ซับซ้อนและช่วยในการยึดติดกันระหว่างเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ระหว่างเซลล์และเมตริกซ์ภายนอกเซลล์ (extracellular matrix) หรือเป็นโครงสร้างขวางกั้นระหว่างเซลล์ทางด้านข้าง (paracellular barrier) และควบคุมการขนส่งระหว่างเซลล์ทางด้านข้าง
เนื้อเยื่อบุผิวที่คัดหลั่งสาร
แก้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น การหลั่งสารเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ต่อมเกิดจากการหวำของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวและต่อมาได้เจริญเติบโตภายใต้เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ต่อมแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ ต่อมไร้ท่อ (endocrine glands) และ ต่อมมีท่อ (exocrine glands) ต่อมไร้ท่อเป็นต่อมที่หลั่งสารออกมายังผิวโดยตรงโดยไม่ผ่านท่อ ต่อมที่เป็นต่อมไร้ท่อจัดอยู่ในระบบต่อมไร้ท่อ
วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology)
แก้เนื้อเยื่อบุผิวเจริญมาจากชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน (embryological germ layers) ทั้ง 3 ชนิด คือ
- จากเอ็กโทเดิร์ม เช่น หนังกำพร้า
- จากเอนโดเดิร์ม เช่น เซลล์บุทางเดินอาหาร
- จากเมโซเดิร์ม เช่น เซลล์บุช่องว่างในลำตัว
อ้างอิง
แก้- ↑ Eurell JA, Frappier BL, บ.ก. (2006). Dellmann's Textbook of Veterinary Histology. Wiley-Blackwell. p. 18. ISBN 978-0-7817-4148-4.
- ↑ Freshney RI (2002). "Introduction". ใน Freshney RI, Freshney M (บ.ก.). Culture of epithelial cells. John Wiley & Sons. ISBN 978-0-471-40121-6.
อ่านเพิ่มเติม
แก้- Green H (September 2008). "The birth of therapy with cultured cells". BioEssays. 30 (9): 897–903. doi:10.1002/bies.20797. PMID 18693268.
- Kefalides NA, Borel JP, บ.ก. (2005). Basement membranes: cell and molecular biology. Gulf Professional Publishing. ISBN 978-0-12-153356-4.
- Nagpal R, Patel A, Gibson MC (March 2008). "Epithelial topology". BioEssays. 30 (3): 260–266. doi:10.1002/bies.20722. PMID 18293365.
- Yamaguchi Y, Brenner M, Hearing VJ (September 2007). "The regulation of skin pigmentation". The Journal of Biological Chemistry. 282 (38): 27557–27561. doi:10.1074/jbc.R700026200. PMID 17635904.
- Molecular Biology of the Cell, 4th edition, Alberts et al., 2002
- วินิดา บัณฑิต. วิทยาฮิสโต 1: เซลล์และเนื้อเยื่อพื้นฐาน. กรุงเทพ: ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Epithelium Photomicrographs
- ภาพเนื้อเยื่อจากมหาวิทยาลัยแคนซัส epithel-epith02(อังกฤษ) Simple squamous epithelium of the glomerulus (kidney)
- Diagrams of simple squamous epithelium
- ภาพเนื้อเยื่อจากมหาวิทยาลัยแคนซัส epithel-epith12(อังกฤษ) Stratified squamous epithelium of the vagina
- ภาพเนื้อเยื่อจากมหาวิทยาลัยแคนซัส epithel-epith14(อังกฤษ) Stratified squamous epithelium of the skin (thin skin)
- ภาพเนื้อเยื่อจากมหาวิทยาลัยแคนซัส epithel-epith15(อังกฤษ) Stratified squamous epithelium of the skin (thick skin)
- Stratified squamous epithelium of the esophagus
- Microanatomy Web Atlas