เมงูมิ คูริฮาระ

(เปลี่ยนทางจาก เมะงุมิ คุริฮะระ)

เมงูมิ คูริฮาระ (ญี่ปุ่น: 栗原恵; อังกฤษ: Megumi Kurihara; 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1984 – ) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวญี่ปุ่น ผู้ทำหน้าที่ให้แก่สังกัดโอกายามะซีกัลส์ นอกจากนี้ เธอยังทำหน้าที่ร่วมกับวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และ 2008 ทั้งนี้ เธอมีชื่อเล่นคือ "ปรินเซสเม็ก" (プリンセス・メグ)[1]

เมงูมิ คูริฮาระ
เมงูมิ คูริฮาระ นักวอลเลย์บอลหญิงชาวญี่ปุ่น
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มเมงูมิ คูริฮาระ
ชื่อเล่นปรินเซสเม็ก
สัญชาติ ญี่ปุ่น
เกิด (1984-07-31) 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1984 (40 ปี)
เอตาชิมะ จังหวัดฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนสูง1.86 m (6 ft 1 in)*
น้ำหนัก69 kg (152 lb)
กระโดดตบ315 ซม.
บล็อก295 ซม.
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวตีด้านนอก
สโมสรปัจจุบันฮิตะชิรีวาเล
หมายเลข11
อาชีพ
ปีทีม
ค.ศ. 2000–2003
ค.ศ. 2003–2004
ค.ศ. 2004–2011
ค.ศ. 2011–2012
ค.ศ. 2012–2014
มัธยมปลายยุวสตรีมิตาจิริ
เอ็นอีซี เรดร็อกเก็ตส์
ไพโอเนียร์เรดวิงส์
ไดนาโมคาซัน
โอกายามะซีกัลส์
ทีมชาติ
ญี่ปุ่น ทีมชาติญี่ปุ่น
อัปเดทล่าสุด: 14 สิงหาคม ค.ศ. 2014

ทั้งนี้ เธอเคยเข้าแข่งขันในระดับอาชีพร่วมกับฮารูกะ มิยาชิตะ ให้แก่สังกัดสโมสรโอกายามะซีกัลส์[2]

ประวัติ

แก้

เมงูมิ คูริฮาระ เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่เป็นนักเรียนระดับชั้นเกรดสี่ เธอรู้สึกว่าการเล่นวอลเลย์บอลดีขึ้นเมื่อครั้งที่อยู่โรงเรียนมัธยมต้นโอตสึ ที่ฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโงะ และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1998 เมื่อเธอเป็นนักเรียนระดับชั้นเกรดแปด เธอก็ได้ย้ายที่เรียนใหม่ โดยเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมปลายยุวสตรีมิตาจิริ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมัธยมปลายเซเอ) ที่โฮฟุ จังหวัดยามางูจิ และได้สามประสบการณ์ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับมัธยมปลาย ซึ่งได้แก่ รายการอินเตอร์-ไฮสคูล, มหกรรมกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น และการแข่งขันวอลเลย์บอลในฤดูใบไม้ผลิ จากนั้น เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นเมื่อเป็นนักเรียนชั้นที่ปีสามของโรงเรียนมัธยมปลาย

ในปี ค.ศ. 2003 เธอได้เข้าร่วมทีมเอ็นอีซี เรดร็อกเก็ตส์ ในการแข่งขันวี.ลีก (วี.พรีเมียร์ลีก) เธอชนะรางวัลอินทรีสาวซึ่งเป็นธงอินทรีดำในเดือนพฤษภาคมของปีดังกล่าว ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เธอซึ่งอยู่ในวัย 19 ปีได้เป็นจุดดึงดูดความสนใจร่วมกับคานะ โอยามะ ปีถัดมา เธอได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และทีมของเธอประสบความสำเร็จโดยได้อันดับห้าจากการแข่งขันครั้งดังกล่าว

เดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 เธอถูกไล่ออกจากทีมเอ็นอีซี เรดร็อกเก็ตส์ โดยเหตุผลที่เธอได้รับคือ "รูปแบบของเธอไม่เข้ากันกับรูปแบบของทีมเอ็นอีซี" โดยมีข่าวลือว่าจะมีการโอนย้ายเธอสู่การแข่งขันลีกวอลเลย์บอลอิตาลี แต่แล้วเธอก็ได้เข้าร่วมทีมไพโอเนียร์เรดวิงส์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004

เมงูมิ คูริฮาระ ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันวี.ลีก ของฤดูกาล 2004–05 เนื่องด้วยกฎของการประชุมที่ว่า "ผู้เล่นที่เซ็นสัญญากับสโมสรหลังจากเริ่มฤดูกาลแข่งขันไปแล้ว ไม่สามารถร่วมการแข่งในลีกช่วงดังกล่าวได้" ครั้นเมื่อมีการแข่งขันชิงธงครั้งหนึ่งได้จัดขึ้นเป็นธงอินทรีดำ ซึ่งมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 เธอได้เป็นผู้มีส่วนช่วยให้ทีมสามารถคว้าแชมป์การแข่ง ภายหลังจากการประชุม เธอได้ออกจากทีมไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เนื่องด้วยความขัดแย้งที่มีต่ออารี เซริงเงอร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ แต่แล้วเธอก็ได้กลับมาทำหน้าที่ต่อในช่วงกลางเดือนสิงหาคม และสำหรับฤดูกาล 2005–06 เธอได้มีส่วนร่วมนับตั้งแต่นัดเปิดเกม นับว่าเธอเป็นผู้มีส่วนช่วยในการพาทีมไพโอเนียร์เรดวิงส์เข้าครองแชมป์การแข่งขันในช่วงสองฤดูกาลแรกเป็นอย่างมาก รวมถึงเธอยังได้รับรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมสาขาช่วยเหลือยอดเยี่ยม, เสิร์ฟยอดเยี่ยม และหนึ่งใน 6 นักกีฬายอดเยี่ยม

ในปี ค.ศ. 2006 เธอได้รับเลือกในการทำหน้าที่ร่วมกับวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น แต่เธอได้รับบาดเจ็บระหว่างการฝึกซ้อมที่ค่ายและได้รับการส่งตัวไปฟื้นฟูสมรรถภาพในช่วงระยะเวลาประมาณครึ่งปี

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 เธอได้ออกไปจากทีมไพโอเนียร์เรดวิงส์[3]

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ทางสโมสรวอลเลย์บอลโอกายามะซีกัลส์ ได้ประกาศว่าเมงูมิ คูริฮาระ จะย้ายจากสังกัดสโมสรไดนาโมคาซัน เพื่อร่วมทีมของตนในฤดูกาลถัดไป[4]

สังกัดสโมสร

แก้

รางวัลที่ได้รับ

แก้

บุคคล

แก้

สโมสร

แก้

ทีมชาติ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 5月21日(水) - RSKテレビ - メッセージ RSK地域スペシャル
  2. "復活の栗原恵、逸材の宮下遥Vリーグ唯一の市民クラブ「岡山シーガルズ」がアツい". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-16. สืบค้นเมื่อ 2014-08-14.
  3. "Pioneer Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2014-08-14.
  4. Okayama Seagulls. "栗原恵選手の入団について". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 11 July 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้