เนอการากู
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เนอการากู (รูมี: Negaraku, ยาวี: نڬاراكو, แปลว่า "แผ่นดินของข้า" หรือ "ประเทศของข้า") เป็นเพลงชาติของสหพันธรัฐมาเลเซีย เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียเมื่อสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงสรรเสริญประจำรัฐเปรัก[1] ซึ่งเพลงนี้ได้หยิบยืมทำนองมาจากเพลงฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า "ลารอซาลี" (La Rosalie) อีกชั้นหนึ่ง ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงนี้คือ ปีแยร์-ฌ็อง เดอ เบร็องเฌ (Pierre-Jean de Béranger) ชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2323 - 2400
คำแปล: แผ่นดินของข้า | |
---|---|
เนื้อร้อง | หลายคน (ผู้แต่งต้นฉบับ: Ahmad Mulkliff Mohd Nor), พ.ศ. 2497 |
ทำนอง | ปีแยร์-ฌ็อง เดอ เบร็องเฌ |
รับไปใช้ | พ.ศ. 2500 |
ตัวอย่างเสียง | |
เนอการากู (บรรเลง) |
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เพลงที่มีทำนองคล้ายคลึงกัน
แก้เพลงที่มีทำนองคล้ายคลึงกัน ได้ถูกบันทึกลงบนแผ่นเสียงทั้งสามตามที่ปรากฏนี้ ต่อมาได้มีการนำทำนองของเพลงทั้งสามไปปรับแก้สำหรับใช้เป็นเพลงชาติมาเลเซีย:
ค.ศ. 1930
'มามูลา มูน' บนแผ่นเสียงพาร์โลโฟน (รหัสอ้างอิง: F.2211) บรรเลงโดย เจอรัลโด และ วงออเครสตร้าของเขา ขับร้องโดย แดนนี่ วากค์ เมื่อ ค.ศ. 1930 มีลักษณะเป็นเพลงแจ๊สยอดนิยมของอังกฤษในช่วงเวลาต่อมา. ทำนองเพลงแจ๊สเข้ากับการเต้นลีลาศในจังหวะฟ็อกซ์ทรอท.
ค.ศ. 1940
'ไอ แชล รีเทิร์น' ขับร้องโดย แอนนี เชลท์ตัน ค.ศ. 1940 บนแผ่นเสียง Decca 78rpm record (รหัสอ้างอิง. F.10037/DR.17340) จัดจำหน่ายโดย ปิควิกมิวสิก.
ค.ศ. 1950
ระเบียบ
แก้ข้อบังคับและธรรมเนียมปฏิบัติ
แก้การบรรเลง และ ขับร้องเพลงชาติ ในฉบับพิธีการ หรือ ฉบับสังเขป จะกระทำในงานพิธีการ ในส่วนของสถานีวิทยุ และ โทรทัศน์ การบรรเลงเพลงชาติการะทำในช่วงเปิด-ปิดสถานี และ ช่วงที่มีการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีที่ทางรัฐบาลจัด (พิธีในทางศาสนจักร และ พิธีการทางทหาร) ประกอบกับการเชิญธงในริ้วขบวนยาลูร์ เกมิลังในงานพิธี.
ตามความในมาตรา 8 (1) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยเพลงชาติ ค.ศ. 1968[2] ผู้ใดไม่เคารพธงชาติ เพลงชาติ แสดงอาการดูหมิ่น เหยียดหยามต่อสัญลักษณ์ของชาติ. หรือ การกระทำในที่สาธารณะ ต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 100 ริงกิต หรือ จำคุกตามเจตนาของการกระทำดังกล่าว.
การบรรเลง
แก้การบรรเลง และ ขับร้องเพลงชาติ มีทั้งฉบับพิธีการ และ ฉบับสังเขป ในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีที่เป็นทางการ หรือ กึ่งทางการในตำแหน่งชั้นยศต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติ.
ฉบับพิธีการ
แก้การขับร้องและ บรรเลงเพลงชาติฉบับพิธีการ จะกระทำได้ในกรณี:
- ยังดี เปอร์ตวน อากง และ รายา ประไหมสุหรี อากง (พระราชบัญญัติธรรมเนียมทางทหาร ค.ศ.1957) ประกอบการชักธงพระอิสริยยศขึ้นสู่ยอดเสา;
- เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีที่รัฐบาลจัด; (การถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุ และ โทรทัศน์)
- ช่วงเวลาเปิด-ปิดสถานีวิทยุและโทรทัศน์
- ริ้วขบวนธงยาลูร์ เกมิลังประกอบขบวนเดินสวนสนาม;
- การเชิญธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร และ โรงเรียน สถานศึกษา หรือ วิทยาลัยทหาร มีการร้องเพลงชาติประกอบการเชิญธงชาติ ธงเรือแสดงสัญชาติ ธงทหารขึ้นสู่ยอดเสา ของช่วงพิธีหน้าเสาธง.
- การแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติที่มาเลเซียลงแข่งขัน (ก่อนการแข่งขัน หรือ พิธีมอบเหรียญรางวัล).
โอกาสพิเศษ
แก้การขับร้องและ บรรเลงเพลงชาติในโอกาศสำคัญ จะใช้งานพิธีต้อนรับประมุขแห่งรัฐต่างประเทศที่มาเยือน หรือ การต้อนรับเอกอัคราชทูตของมาเลเซียประจำประเทศต่าง ๆ.
ฉบับสังเขป
แก้เพลงชาติฉบับสังเขป บรรเลงสำหรับ รายา ประไหมสุหรี อากง, สมเด็จพระบรมราชกุมารี และ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีที่เป็นการคำนับสุลต่านในแต่ละรัฐ. มีการบรรเลงเพลงประจำรัฐต่อท้ายเพลงชาติฉบับสังเขป.
เพลงชาติฉบับสังเขป บรรเลงในงานพิธีกึ่งทางการที่สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จในบางโอกาส.
ฉบับย่อ
แก้เพลงชาติฉบับย่อ บรรเลงในงานพิธีไม่เป็นทางการที่สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ในบางโอกาสมีการบรรเลงเพลงประจำรัฐต่อท้าย.
เนื้อร้อง
แก้ภาษามลายู อักษรรูมี | ภาษามลายู อักษรยาวี | ถอดเสียงเป็นอักษรไทย | คำแปล |
---|---|---|---|
Negaraku |
،نڬاراكو، |
เนอการากู |
แผ่นดินของข้า |
สื่อ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Unity and progress are anthem themes. The Sunday Times. August 25, 1957
- ↑ s 3 National Anthem Act 1968 เก็บถาวร 2013-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ดูเพิ่ม
แก้- อัลลาห์ ลันจุตคัน อุเซีย สุลต่าน (เพลงสรรเสริญประจำรัฐเปรัก)
- Terang Bulan (เพลงซึ่งได้รับความนิยมทั่วไปในแถบมหาสมุทรอินเดีย ทำนองมาจากเพลง La Rosalie)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นการากู - Negaraku by AllMalaysia.info เก็บถาวร 2009-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- นการากู (ขับร้อง) เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เพลงนการากู บรรเลงในงานประกาศเอกราช พ.ศ. 2500