เนวิล เชมเบอร์ลิน

อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร อยู่ในวาระระหว่าง ค.ศ. 1937 ถึง 1940

อาร์เธอร์ เนวิล เชมเบอร์ลิน (อังกฤษ: Arthur Neville Chamberlain) เป็นนักการเมืองพรรคอนุรักษนิยมชาวอังกฤษ เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรตั้งแต่พฤษภาคม ค.ศ. 1937 ถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1940 เชมเบอร์ลินเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดจากนโยบายจำยอมสละของเขา นโบบายนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นสาเหตุทำให้นาซีเยอรมนีเข้มแข็งเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงนามความตกลงมิวนิกของเขาในปี 1938 ซึ่งยอมยกภูมิภาคซูเดเทินลันท์ซึ่งประชากรพูดภาษาเยอรมันในประเทศเชโกสโลวาเกียให้แก่เยอรมนี ทว่าเมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ยังคงก้าวร้าวโดยบุกครองโปแลนด์ บริเตนจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน 1939 และเชมเบอร์ลินนำบริเตนผ่านแปดเดือนแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง

เนวิล เชมเบอร์ลิน
เนวิล เชมเบอร์ลิน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
เชมเบอร์ลินในปี 1936
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม 1937 – 10 พฤษภาคม 1940
กษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 6
ก่อนหน้าสแตนลีย์ บอลดวิน
ถัดไปวินสตัน เชอร์ชิล
หัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม 1937 – 9 ตุลาคม 1940
ก่อนหน้าสแตนลีย์ บอลดวิน
ถัดไปวินสตัน เชอร์ชิล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อาร์เธอร์ เนวิล เชมเบอร์ลิน

18 มีนาคม พ.ศ. 2412
เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (71 ปี)
ไฮส์ฟิลด์ปาร์ค เฮกฟิลด์ แฮมป์เชียร์ ประเทศอังกฤษ
ที่ไว้ศพเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
เชื้อชาติสหราชอาณาจักร
ศาสนาเอกภาพนิยม
พรรคการเมืองพรรคอนุรักษนิยม
คู่สมรสแอน เชมเบอร์ลิน
บุตร
  • โดโรธี เชมเบอร์ลิน (ลอยด์)
  • ฟรานซิส เชมเบอร์ลิน
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเมสัน (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม)
วิชาชีพนักธุรกิจ
ลายมือชื่อลายเซ็นเนวิล เชมเบอร์ลิน

หลังทำงานในธุรกิจและการปกครองส่วนท้องถิ่นและให้หลังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการราชการแห่งชาติช่วงสั้น ๆ ในปี 1916-1917 เชมเบอร์ลินตามบิดา โจเซฟ เชมเบอร์ลิน และพี่ชายต่างมารดา ออสเตน เชมเบอร์ลิน เป็นสมาชิกรัฐสภาในการเลือกตั้งทั่วไปปี 1918 ขณะอายุได้ 49 ปี เขาปฏิเสธตำแหน่งรัฐมนตรีผู้น้อย โดยคงเป็นผู้นั่งที่นั่งหลัง (backbencher) จนปี 1922 เขาได้รับเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วในปี 1923 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แล้วเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลังรัฐบาลที่มีพรรคแรงงานนำอายุสั้น เขากลับมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ริเริ่มมาตรการปฏิรูปต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 1924 ถึง 1929 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลแห่งชาติในปี 1921

เมื่อสแตนลีย์ บอล์ดวินเกษียณในเดือนพฤษภาคม 1937 เชมเบอร์ลินสืบตำแหน่งเขาเป็นนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งของเขาถูกครอบงำโดยปัญหานโยบายต่อประเทศเยอรมนีที่ก้าวร้าวเพิ่มขึ้น และการปฏิบัติของเขาที่มิวนิกเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวอังกฤษในเวลานั้น เมื่อฮิตเลอร์ยังคงก้าวร้าวต่อ เชมเบอร์ลินปฏิญาณจะพิทักษ์เอกราชของโปแลนด์หากโปแลนด์ถูกโจมตี ซึ่งเป็นพันธมิตรที่นำบริเตนเข้าสู่สงครามเมื่อเยอรมนีโจมตีโปแลนด์ในปี 1939

เชมเบอร์ลินลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 หลังฝ่ายสัมพันธมิตรถูกต้อนให้ถอยจากนอร์เวย์ เพราะเขาเชื่อว่ารัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกพรรคการเมืองสำคัญ และพรรคแรงงานและอนุรักษนิยมจะไม่เข้าร่วมรัฐบาลที่เขาเป็นหัวหน้า วินสตัน เชอร์ชิลสืบตำแหน่งเขาแต่เขายังเป็นที่เคารพอยู่มากในรัฐสภาโดยเฉพาะในหมู่อนุรักษนิยม สุขภาพที่ทรุดโทรมจากโรคมะเร็งทำให้เขาต้องลาออกในเวลาต่อมา เชมเบอร์ลินเป็นสมาชิกสำคัญในคณะรัฐมนตรีฝ่ายสงครามของเชอร์ชิล โดยเป็นหัวหน้าเมื่อเชอร์ชิลไม่อยู่ เชมเบอร์ลินถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หกเดือนหลังลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้