เต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม (อังกฤษ: Leatherback turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dermochelys coriacea) เป็นเต่าทะเล จัดเป็นเต่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวในวงศ์ Dermochelyidae และสกุล Dermochelys

เต่ามะเฟือง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยโฮโลซีน 0.012–0Ma
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: เต่า
Testudines
อันดับย่อย: อันดับย่อยเต่า
Cryptodira
วงศ์ใหญ่: Chelonioidea
Chelonioidea
วงศ์: วงศ์เต่ามะเฟือง
Dermochelyidae
วงศ์ย่อย: Dermochelyinae
Dermochelyinae
Blainville, 1816[3]
สกุล: Dermochelys
Dermochelys
(Vandelli, 1761)[3]
สปีชีส์: Dermochelys coriacea
ชื่อทวินาม
Dermochelys coriacea
(Vandelli, 1761)[3]
ชื่อพ้อง[4]
รายการชื่อพ้อง
  • Testudo coriacea Vandellius, 1761
  • Testudo coriaceous Pennant, 1769 (ex errore)
  • Testudo arcuata Catesby, 1771
  • Testudo lyra Lacépède, 1788
  • Testudo marina Wilhelm, 1794
  • Testudo tuberculata Pennant, 1801
  • Chelone coriacea Brongniart, 1805
  • Chelonia coriacea Oppel, 1811
  • Testudo lutaria Rafinesque, 1814
  • Dermochelys coriacea Blainville, 1816
  • Sphargis mercurialis Merrem, 1820
  • Coriudo coriacea Fleming, 1822
  • Scytina coriacea Wagler, 1828
  • Dermochelis atlantica LeSueur, 1829 (nomen nudum)
  • Sphargis coriacea Gray, 1829
  • Sphargis tuberculata Gravenhorst, 1829
  • Dermatochelys coriacea Wagler, 1830
  • Chelyra coriacca Rafinesque, 1832 (ex errore)
  • Dermatochelys porcata Wagler, 1833
  • Testudo coriacea marina Ranzano, 1834
  • Dermochelys atlantica Duméril & Bibron, 1835
  • Dermatochelys atlantica Fitzinger, 1835
  • Dermochelydis tuberculata Alessandrini, 1838
  • Sphargis coriacea var. schlegelii Garman, 1884
  • Dermatochaelis coriacea Oliveira, 1896
  • Sphargis angusta Philippi, 1899
  • Dermochelys schlegelii Stejneger, 1907
  • Dermatochelys angusta Quijada, 1916
  • Dermochelys coriacea coriacea Gruvel, 1926
  • Dendrochelys (Sphargis) coriacea Pierantoni, 1934
  • Dermochelys coriacea schlegeli Mertens, Müller & Rust, 1934 (ex errore)
  • Chelyra coriacea Bourret, 1941
  • Seytina coriacea Bourret, 1941
  • Sphargis schlegelii Bourret, 1941
  • Dermochelys coriacea schlegelii Carr, 1952
  • Dermochelys coriacea schlegelli Caldwell, 1962 (ex errore)
  • Dermochelys schlegeli Barker, 1964
  • Dermochelys coricea Das, 1985 (ex errore)

เต่ามะเฟืองสามารถแยกออกจากเต่าประเภทอื่นได้โดยการสังเกตที่กระดองจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับผลมะเฟือง และครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ ตั้งแต่ออกจากไข่ ความลึกที่เต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ถึง 1,280 เมตร[5]


การขยายพันธุ์

แก้

เต่ามะเฟืองเพศเมียจะขึ้นมาวางไข่บนชายหาด ประมาณ 66-104 ฟอง/รัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการวางไข่ เช่น อายุ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของสถานที่วางไข่

วงจรชีวิต

แก้

เต่ามะเฟืองจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 60-70 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ของสภาพแวดล้อม หลังจากฟักตัวแล้ว โดยมีประมาณ 85% ที่ฟักตัวได้ ลูกเต่าจะคลานออกจากรัง ลงสู่ทะเลโดยทันที เนื่องจากเป็นเต่ามะเฟืองเป็นเต่าน้ำลึก จึงไม่สามารถเก็บมาอนุบาลได้เป็นเวลานานซึ่งต่างกับเต่าทะเลสายพันธุ์อื่น ในวัยเจริญพันธุ์จะเติบโตและใช้เวลาอยู่ในทะเลเกือบชั่วชีวิต

อาหารของเต่ามะเฟือง

แก้

เต่ามะเฟือง เนื่องจากเต่ามะเฟืองมีจะงอยปากที่สบกันเหมือนกรรไกร จึงมักกินอาหารที่อ่อนนุ่ม เช่น แมงกะพรุน แพลงก์ตอน สาหร่ายน้ำลึก

การกระจายพันธุ์

แก้

เนื่องจากเต่าทะเล ส่วนใหญ่จะมีการเดินทางตามกระแสน้ำอุ่น จึงสามารถพบเต่ามะเฟืองได้ตามทวีป หรือ ประเทศที่มีกระแสน้ำอุ่นพัดผ่าน รวมถึงประเทศในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย หมู่เกาะอินดีส ปาปัวนิวกินี และ ในฝั่งทะเลแคริบเบียน

การอนุรักษ์

แก้

เนื่องจากลูกเต่ามะเฟือง โดยธรรมชาติเมื่อฟักออกมาจะคลานลงทะเลทันที ไม่สามารถมาอนุบาลได้นานเพราะเป็นเต่าทะเลน้ำลึก จึงควรอนุรักษ์เต่ามะเฟืองโดยการไม่รบกวนสถานที่วางไข่ ไม่รับประทานไข่เต่า ไม่ทิ้งถุงพลาสติกลงทะเลเพราะเต่ามะเฟืองอาจะคิดว่าเป็นแมงกะพรุนและกินเข้าไป เมื่อพบว่าเต่าบาดเจ็บควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2562

อ้างอิง

แก้
  1. Wallace, B.P.; Tiwari, M.; Girondot, M. (2013). "Dermochelys coriacea". IUCN Red List of Threatened Species. 2013: e.T6494A43526147. doi:10.2305/IUCN.UK.2013-2.RLTS.T6494A43526147.en. สืบค้นเมื่อ 11 October 2021.
  2. "Appendices | CITES". Cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. 3.0 3.1 Rhodin, A. G. J.; van Dijk, P. P.; Inverson, J. B.; Shaffer, H. B. (14 December 2010). Turtles of the world, 2010 update: Annotated checklist of taxonomy, synonymy, distribution and conservation status (PDF). Chelonian Research Monographs. Vol. 5. p. 000.xx. doi:10.3854/crm.5.000.checklist.v3.2010. ISBN 978-0965354097. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 July 2011.
  4. Uwe, Fritz; Havaš, Peter (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 174–176. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  5. "เต่ามะเฟือง".

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Wood, Roger Conant; Johnson-Gove, Jonnie; Gaffney, Eugene S.; Maley, Kevin F. (1996). "Evolution and phylogeny of the leatherback turtles (Dermochelyidae), with descriptions of new fossil taxa". Chelonian Conservation and Biology. 2: 266–286.
  • The Leatherback Turtle: Biology and Conservation. United States, Johns Hopkins University Press, 2015.
  • Rake, Jody Sullivan. Leatherback Sea Turtles. United States, Capstone Press, 2012.
  • Hirsch, Rebecca E.. Leatherback Sea Turtles: Ancient Swimming Reptiles. United States, Lerner Publishing Group, 2015.
  • ชีวิตสัตว์ทะเล. สมชาย วงส์การุณ. ปัญญาใส. 2542. หน้า 20

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้