เตียวซี[2] (สิ้นพระชนม์ กรกฎาคม หรือ สิงหาคม ค.ศ. 237)[a] เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า จักรพรรดินีจิ้งอาย เป็นจักรพรรดินีแห่งรัฐจ๊กก๊ก พระนางเป็นบุตรสาวคนโตของขุนพลแห่งจ๊กก๊ก เตียวหุย และเป็นหลานสาวของขุนพลแห่งวุยก๊ก แฮหัวเอี๋ยน[3] พระนางอภิเษกกับเจ้าชาย เล่าเสี้ยน ในปี ค.ศ. 223 และกลายเป็นเจ้าหญิงรัชทายาทแห่งจ๊กก๊ก ต่อมาในปีเดียวกัน หลังจากพระราชบิดาของเจ้าชายเล่าเสี้ยน พระเจ้าเล่าปี่ เสด็จสวรรคต เจ้าชายเล่าเสี้ยนเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก และพระนางกลายเป็นจักรพรรดินี พระนางสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 237 และพระศพถูกฝังที่หนานหลิง (南陵)[4]

เตียวซี (จางชื่อ) /
จักรพรรดินีจาง (จางหฺวางโฮ่ว)
張氏 / 張皇后
จักรพรรดินีจ๊กก๊ก
ดำรงตำแหน่งค.ศ. 223 – กรกฎาคม หรือ สิงหาคม ค.ศ. 237
ก่อนหน้างอซี
ถัดไปจักรพรรดินีจาง
ประสูติไม่ทราบ
สวรรคตกรกฎาคม หรือ สิงหาคม ค.ศ. 237[a]
นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน
คู่อภิเษกเล่าเสี้ยน
พระสมัญญานาม
จักรพรรดินีจิ้งอาย (敬哀皇后)
พระราชบิดาเตียวหุย
พระราชมารดาไม่ทราบ[b]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 ชีวประวัติของเล่าเสี้ยนใน จดหมายเหตุสามก๊ก บันทึกว่า จักรพรรดินีจางสิ้นพระชนม์ในเดือน 6 ปีที่ 15 ศักราช Jianxing ในรัชสมัยเล่าเสี้ยน[1] ซึ่งตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคมถึง 8 สิงหาคม ค.ศ. 237 ตามปฏิทินกริกอเรียน
  2. ไม่มีบันทึกว่าลูกสาวคนใด (คนแรกหรือคนที่สอง) ของเตียวหุยเป็นแม่ของเด็กชายที่เล่าเสี้ยนให้ความเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับแฮหัวป๋า

อ้างอิง

แก้
  1. ([建興]十五年夏六月,皇后張氏薨。) Sanguozhi vol. 33.
  2. ("ฝ่ายพระเจ้าเล่าเสี้ยนรักษาราชสมบัติยังหามีมเหษีไม่ ขงเบ้งมหาอุปราชแลขุนนางทั้งปวงพร้อมกัน เห็นลูกสาวเตียวหุยชื่อนางเตียวซีอายุได้สิบเจ็ดปีมีปัญญาหลักแหลมดี ก็นำมาตั้งให้เปนมเหษีพระเจ้าเล่าเสี้ยน") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 19, 2024.
  3. (初,建安五年,時霸從妹年十三四,在本郡,出行樵採,為張飛所得。飛知其良家女,遂以為妻,產息女,為劉禪皇后。) Weilue annotation in Sanguozhi vol. 9.
  4. (後主敬哀皇后,車騎將軍張飛長女也。章武元年,納為太子妃。建興元年,立為皇后。十五年薨,葬南陵。) Sanguozhi vol. 34.

บรรณานุกรม

แก้