เดช เดชประดิยุทธ

พลเอก เดช เดชประดิยุทธ หรือ หลวงเดชประดิยุทธ์ (นามเดิม เดช แสงเงิน; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) เป็นอดีตรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม (ครม.24, 25) และอดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก

เดช เดชประดิยุทธ
รัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
ดำรงตำแหน่ง
8 ธันวาคม – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2494
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
ดำรงตำแหน่ง
28 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445
อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี
เสียชีวิต21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (56 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงแฉล้ม เดชประดิยุทธ

ประวัติ

แก้

พล.อ.เดช มีชื่อเดิมว่า เดช แสงเงิน เกิดที่ตำบลสะพานยาว อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 เป็นบุตรของร้อยเอก หลวงธนมัยพิบูลย์ (สว่าง แสงเงิน) กับนางไผ่ แสงเงิน ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนวัดชิโนรสาราม จากนั้นจึงไปเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2455 จนถึงปี พ.ศ. 2464 โดยเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ครั้นจบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก

พล.อ.เดช สมรสกับ คุณหญิงแฉล้ม เดชประดิยุทธ

พล.อ.เดช ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น พลเรือเอก พลอากาศเอก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2499[1]

งานราชการ

แก้

พล.อ.เดช ได้เข้ารับราชการทหารเป็นนายร้อยตรี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465[2]เป็นทหารอยู่ถึงปี พ.ศ. 2474 ท่านก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเดชประดิยุทธ์ และได้ใช้บรรดาศักดิ์นี้สืบมาจนถึง ปี พ.ศ. 2485 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงขอคืนบรรดาศักดิ์

หลวงเดชประดิยุทธ์ ได้ยศเป็นนายพันตรี ในปี พ.ศ. 2475 ชีวิตทหารได้ผ่านเหตุการณ์กบฏที่ทหารได้เข้าไปมีส่วนร่วมมาก คือ กบฏบวรเดชในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 และกรณีกบฏ พ.ศ. 2481 ที่อ้างว่าเป็นกบฏพระยาทรงสุรเดช

ในสมัยหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงเวลาแรกในปี พ.ศ. 2484 หลวงเดชฯ ได้รับยศเป็นนายพันเอก และอีก 3 ปีต่อมา สมัยที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลวงเดชฯ ได้ขึ้นเป็นนายพลตรี ในปี พ.ศ. 2487 ตอนที่เกิดการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 หลวงเดชฯ มีตำแหน่งเป็นจเรทหารบก และรักษาการณ์ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก[3] แต่ไม่ได้มีชื่ออยู่ในคณะรัฐประหาร หลังการรัฐประหารแล้วก็ยังเจริญในหน้าที่ทหารจนได้เป็นนายพลโทในปี พ.ศ. 2492 และที่สำคัญปรากฏว่าในเดือนเมษายน ปี 2494 ก็ได้ขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก[4] จึงนับว่าเป็นนายทหารที่ได้รับการยอมรับมากคนหนึ่ง

การที่ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก ที่มีพลเอก ผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้บัญชาการทหารบก ดังนั้น ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ปี 2494 ท่านจึงเป็นหนึ่งในสามนายทหารบกที่มีรายชื่ออยู่ใน “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ที่ร่วมกันประกาศยึดอำนาจประเทศ นายทหารบก 3 คน ได้แก่ พลเอก ผิน ชุณหะวัณ พลโท เดช เดชประดิยุทธ์ และพลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในวันเดียวกัน[5]

ในปี พ.ศ. 2495 ได้เป็นเสนาธิการกลาโหม[6]

การยึดอำนาจครั้งนั้นทำให้มีการล้มรัฐบาลจอมพล ป. ไปด้วย แต่ก็เพียงระยะเวลาสั้นมากไม่ถึงวัน เพราะได้มีการตั้งจอมพล ป. กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกในวันเดียวกัน

พล.อ.เดช ได้รับแต่งตั้งเป็นสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[7] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นเพียง 3 วันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม.24)[8] และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา คือ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 25 ในปี พ.ศ. 2495 ต่อมาอีก 2 ปีหลังจากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์อีกตำแหน่งหนึ่ง[9] จนถึงปี พ.ศ. 2498 ก็พ้นจากตำแหน่ง[10]คงเหลือเพียงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงตำแหน่งเดียว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลเอก เดช เดชประดิยุทธ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
  2. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๒๘๐๕)
  3. ทำเนียบอดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  5. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี รับแต่งตั้งเป็นสภาผู้แทนราษฎรไทย
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ปรับปรุงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ (๑. พลตรี ศิริ สิริโยธิน พ้นจากตำแหน่ง ๒. พลเอก เดช เดชประดิยุทธ ดำรงตำแหน่ง)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง (จอมพล ผิน ชุณหะวัณ พลเอก เดช เดชประดิยุทธ นายพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ พลโท ประยูร ภมรมนตรี)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๙๐, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๒, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๓๐ ง หน้า ๑๒๒๕, ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๙๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๔, ๒๙ เมษายน ๒๔๘๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๒๓๒๔, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๘๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๙๔, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๕๓, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑๙, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗