เชาวน์ดิศ อัศวกุล
รองศาสตราจารย์ ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล เป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงข่ายโทรคมนาคม มีผลงานวิจัยเด่นคือ ระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ICT เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัด และ โครงการวัดคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) นอกจากนี้ ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ
แก้ดร.เชาวน์ดิศ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ประวัติการศึกษา
แก้- พ.ศ. 2528 ประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเมืองนครราชสีมา
- พ.ศ. 2533 มัธยมศึกษา โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2537 ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2543 ปริญาเอก ดุษฎีบัณฑิต สาขาโครงข่ายโทรคมนาคม อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
ประวัติการทำงาน
แก้- อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน)
- หัวหน้าห้องปฏิบัติการพื้นฐานระบบสื่อสาร Communication System Basic Laboratory คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นักวิจัยสังกัดห้องปฏิบัติการวิจัยระบบโทรคมนาคม Telecommunication System Research Laboratory (TSRL) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นักวิจัยสังกัดกลุ่มวิจัยด้าน Intelligent Transport System (ITS) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกียรติประวัติ
แก้- เหรียญรางวัลผลการเรียนดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ พ.ศ. 2534
- ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2538-2543
สมาคมวิชาชีพ
แก้- Student Member of Institute of Electrical Engineering (IEE) (พ.ศ. 2538- 2543)
- Member of Institute of Electronics and Electrical Engineering (IEEE) (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน)
- Member of IEEE Intelligent Transportation System Society (พ.ศ. 2547- ปัจจุบัน)
ผลงานทางวิชาการ
แก้หนังสือ
แก้- เชาวน์ดิศ อัศวกุล, "เมืองแห่งขุนเขา สายธาร และทะเลหมอก กับบริบทของ รถติด.com," นานาสาระสำหรับประชาชน, ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล, ปี 2546, หน้าที่ 137 - 140.
บทความวิชาการ
แก้- C. Aswakul and J. Barria, "Performance analysis of single-link system with nonlinear equivalent capacity," IEEE Communications Letters, Vol. 4, No. 2, February 2000, pp. 71-73.
- C. Aswakul and J. Barria, "Analysis of dynamic service separation with trunk reservation policy," IEE Proceedings - Communications, Vol. 149, No. 1, February 2002, pp. 23-28.
- สมโภชน์ รอดวงษ์ และเชาวน์ดิศ อัศวกุล, "แนวโน้มของเทคโนโลยีต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน," วารสารสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 2, เล่มที่ 3, กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2546, หน้าที่ 59-60.
บทความนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ
แก้- ฉัตรขวัญ วรรณศิริ และเชาวน์ดิศ อัศวกุล, “การวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดเส้นทางที่ดีที่สุด โดยคิดค่าเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายโทรคมนาคม,” การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 28, ภูเก็ต, 20-21 ตุลาคม 2548. (national conference paper in Thai)
- เศรษฐา รพีพันธุ์ และเชาวน์ดิศ อัศวกุล, “การปรับปรุงการควบคุมการตอบรับการเรียกเข้าในโครงข่ายสื่อผสมแบบไร้สาย โดยการใช้ข้อมูลการเคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการ,” การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 28, ภูเก็ต, 20-21 ตุลาคม 2548. (national conference paper in Thai)
- พนิดา วีระวุฒิพล, Sigit Basuki Wibowo และเชาวน์ดิศ อัศวกุล, “ระบบทดสอบโครงข่ายแอดฮอกไร้สาย สำหรับประเมินการควบคุมจิตเตอร์ในการส่งทราฟฟิกแบบอัตราบิตคงที่,” การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 28, ภูเก็ต, 20-21 ตุลาคม 2548. (national conference paper in Thai)
- Chatkwan Wannasiri and Chaodit Aswakul, “Performance Evaluation of Optimal Interconnection-based Routing Algorithms in Multi-operator Telecommunication Network,” Proceedings of IPSI 2005, Montenegro, September 2005.
- C. Aswakul and J. Barria, “Error Analysis of of Multiservice Single-Link System Studies Using Linear Approximation Model,” Proceedings of IEEE International Conference on Communications (ICC 2005), Seoul, South Korea, May 2005.
- K. Suksomboon, C. Aswakul, S. Sekkuntod and L. Wuttisittikulkij,”Fair norminal guaranteeing utilization by trunk reservation policy using cooperative game theory,” Proceedings of ISCITT 2004, Sapporo, Japan, October 2004.
- S. Soatthiyanont and C. Aswakul, “Study of rerouting strategy for dynamic alternative routing in symmetric multiple-service networks,” presented at 1st ECTI Annual Conference (ECTI-CON2004), Pattaya, Thailand, 13-14 May 2004.
- A. Bukkonprasert, C. Aswakul and L. Wuttisittikulkij, “Performance comparison of CAC schemes using limited access probability in two-type traffic environments,” presented at 6th IEEE International Conference on Advanced Communication Technology (IEEE ICACT 2004), Korea, 9-11 February 2004, pp. 665 - 670.
- C. Aswakul and J. Barria, "Performance analysis of ATM routing with nonlinear equivalent capacity: symmetric case," presented at IEEE International Conference on Computer Communications and Networks (ICCCN) 2001, 15-17 October 2001, Arizona, USA.
- T. Siangsukone, C. Aswakul and L. Wuttisittikulkij, "Study of Optimised bucket widths in Calendar Queue for Discrete Event Simulator," presented at Thailand's Electrical Engineering Conference (EECON-26), 6-7 November 2003, Phetchaburi
- กลิกา สุขสมบูรณ์, เชาวน์ดิศ อัศวกุล และลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ, "นโยบายการจองทรังค์อย่างยุติธรรม ในการควบคุมการตอบรับการเรียกโดยใช้ ทฤษฎีเกมความร่วมมือ (Fair trunk reservation policy in call admission control using cooperative game theory)," การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 26 (EECON-26), 6-7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546, จ.เพชรบุรี
- อัครเดช บุคคลประเสริฐ, เชาวน์ดิศ อัศวกุล และลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ, "การควบคุมการตอบรับการเรียก โดยใช้ความน่าจะเป็นของการจำกัด การเข้าใช้ในระบบที่ให้บริการหลายแบบ (Call admission control using limited access probability in multiservice system)," การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 26 (EECON-26), 6-7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546, จ.เพชรบุรี
หัวข้องานวิจัย
แก้- Intelligent Transportation System
- Mobile Ad Hoc Network Protocol Analysis, Design and Implementation
- Next-Generation Telecommunication Network Analysis and Design
- Traffic Modelling and Controls in Large-Scale Network
รายวิชาที่บรรยาย
แก้- Probability and Statistics in Electrical Engineering
- Traffic Engineering in Communication Networks
- Communication Engineering Laboratory
- Electrical Engineering Laboratory
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[2]
- พ.ศ. 2563 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๗๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๓๒, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ หน้า ๘๔, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔